Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตกเลือดหลังคลอด Postpartum hemorrhage, มารดา, 1563107739869, เลือด1,…
ภาวะตกเลือดหลังคลอด Postpartum hemorrhage
ความหมาย
เป็นการสูญเสียเลือดหลังคลอดมากกว่า 500 ml.ขึ้นไป หรือเมื่อมีการลดลงของความเข้มข้นของเลือด ร้อยละ 10 หรือมากกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว
ชนิดของการตกเลือดหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก (Early or immediate
postpartum hemorrhage) เป็นการตกเลือดหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมง
สาเหตุ
-Tone มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
-Trauma การฉีกขาดของช่องทางคลอด
-Tissue มีรกค้าง
-Thrombin ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
การมีเลือดออก ซึ่งอาจไหลออกมาให้เห็นทางช่องคลอด
หรืออาจไม่มีเลือดออกมาให้เห็นแต่ขังอยู่ข้างใน
1.1เกิดเลือดคั่งที่เอ็นยึดมดลูก (ไม่เห็นภายนอก)
1.2มดลูกปลิ้น จะพบว่ามีเลือดพุ่งออกมาให้เห็นเป็นจำนวนมาก
และอาจมีลิ่มเลือดสีแดงคล้ำปนออกมา
1.3การที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ส่วนใหญ่เลือดจะมีสีคล้ำ
ลิ่มเลือดปนและเลือดจะหยุดไหลเมื่อมดลูกหดรัดตัวดี
1.4มีอาการ หน้าซีด ชีพจรเต้นเร็ว ระยะแรกจะหายใจเร็ว
ต่อมาจะหายใจช้า ใจสั่น เหงื่อออกมาก อ่อนเพลี ความดันโลหิตต่ำ หมดสติและถึงแก่ชีวิตได้
การตรวจร่างกายเฉพาะที่
2.1พบมีการหดรัดตัวของมดลูก คลำหน้าท้องพบยอดมดลูกอยู่เหนือระดับสะดือหรือมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
2.2พบการฉีกขาดของช่องทางคลอดและปากมดลูก
2.3ตรวจดูชิ้นส่วนของรกที่อาจค้างอยู่ โดยการตรวจรกที่คลอดแล้วอย่างละเอียดหรือ การใช้มือตรวจภายในโพรงมดลูก
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น PT,PTT,Clotting time , Platelet count เป็นต้น
ผลจากการตกเลือด
ใจสั่น ซีดลง ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ช็อก อวัยวะภายในล้มเหลว ไม่มีน้ำนมหลังคลอด กลุ่มอาการของภาวะ Sheehan's Syndromes
การป้องกันการตกเลือด
ระยะคลอด
ดูแลไม่ให้เกิดการคลอดยาวนาน
2.ระวังการให้ยาแก้ปวดในขนาดที่มากเกินไป
หลีกเลี่ยงการทำสูติศาสตร์หัตถการอย่างยาก
ตรวจรกและช่องทางคลอดอย่างละเอียด
ระยะหลังคลอด
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง กระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะภายใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ในรายที่ได้รับยากระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ อาจให้ Oxytocin ต่อภายหลังการคลอดอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
กระตุ้นให้บุตรดูดนมมารดาทันทีหลังคลอด
ระยะก่อนคลอด
การซักประวัติอย่างละเอียด
การตรวจร่างกาย ค้นหาภาวะโลหิตจาง
การรักษาการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
การตกเลือดก่อนรกคลอด
1.V/S
2.IVF
3.T/S ,PRC
4.Retained cath
5.Drug-----Oxytocin
6.ทำคลอดรกโดยวิธี Cord traction
7.ถ้าจำเป็นให้ฉีด Methergin 0.2 mg เข้าทาง
หลอดเลือดดำ
8.ตรวจรกที่คลอดแล้วอย่างละเอียด
9.คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
:warning:
การตกเลือดภายหลังรกคลอด
1.V/S
2.Hb,Hct
3.I/O
4.ATB
5.Drug
การตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง (Late or Delay
postpartum hemorrhage) เป็นการตกเลือดหลัง 24 ชั่วโมง - 6 สัปห์ดาหลังคลอด
สาเหตุ
มีก้อนเลือด หรือเศษรกค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก
2.ภาวะติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
3.เลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด
4.สาเหตุร่วมกันที่พบได้บ่อย ได้แก่
ภาวะมีเศษรกค้างในโพรงมดลูกร่วมกับการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
5.เลือดออกจากแผลของมดลูกภายหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมะเร็งไข่ปลาอุก (พบได้น้อย)
ผลของการตกเลือดหลังคลอด
-ภาวะซีด อ่อนเพลีย สุขภาพทรุดโทรม
-ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย
-เกิด Necrosis ของต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Sheehan’ s syndrome)
-อาจเกิด diabetes insipidus
การรักษาการตกเลือดหลังคลอด
1.รายที่มีเศษรกค้าง หรือมีก้อนเลือดค้างอยู่ในโพรงมดลูกให้Oxytocinแล้วทำการขูดมดลูก
2.รายที่มีการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก พิจารณาให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก
3.รายที่มีเลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด ให้ทำความสะอาดและเย็บแผลให้เลือด
หยุด
กระบวนการพยาบาล
การประเมินสภาพ
1.การซักประวัติ
1.1ประวัติส่วนตัวเกี่ยวกับโรคเลือด
1.2ประวัติเกี่ยวกับสูติศาสตร์
1.3ประวัติผิดปกติในระยะตั้งครรภ์
2.การตรวจร่างกาย
2.1 4 T
2.2 sing shock
2.3sing infection
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น
การพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ได้รับการป้องกันการตกเลือดอย่างถูกต้อง
การป้องกันการเกิดภาวะ Hypovolemic shock
ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
การป้องกันภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ผู้ป่วยสามารถปรับตัวทางจิตสังคมหลังคลอดได้ตามปกติ
ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลและสามารถปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลังได้
แสดงบทบาทการเป็นบิดามารดาและมีความผูกพันกับทารกได้
สามารถปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด และเลี้ยงดูบุตรได้
ความวิตกกังวลลดลง (ร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว)
1. การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด
ประเมินปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด เพื่อการเฝ้าระวังและเตรียมการช่วยเหลือ
ระมัดระวังการทำคลอดทุกระยะให้ถูกวิธี
ในรายที่คาดว่าจะมีการตกเลือดให้เตรียมสารน้ำ ยา และอุปกรณ์กู้ชีวิตให้พร้อมใช้งานได้ทันที
ตรวจหากลุ่มเลือดขณะตั้งครรภ์
ดูแลในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอดอย่างใกล้ชิด
ได้แก่การหดรัดตัวของมดลูก การสังเกตจำนวนและลักษณะของเลือดที่ออกจากช่องคลอด และสัญญาณชีพ
:warning:
2. การพยาบาลขณะตกเลือด
จัดท่าให้นอนราบเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองดีขึ้น
คลึงมดลูกให้แข็งตัวเป็นระยะ
ดูแลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
ตรวจการมีเลือดออก และการหดรัดตัวของมดลูก
-ช่วยเหลือแพทย์ในการตรวจหาเศษเยื่อหุ้มรกค้าง ที่มีเศษรกค้างมักได้รับการรักษาโดยการขูดมดลูกเอาเศษรกออก หรือขูดเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ และบริเวณพื้นที่ที่มีเลือดออก เพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดี พยาบาลควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจ
-บันทึกI/O
ตรวจสอบผลการตรวจเลือด ติดตามค่า
ติดตามปริมาณน้ำคาวปลา สี กลิ่น จากจำนวนผ้าอนามัย
ถ้ามีเลือดออกไม่หยุด กรณีรักษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว แพทย์อาจพิจารณา ตัดมดลูก พยาบาลควรให้กำลังใจและอธิบายให้เข้าใจถึงความจำเป็นในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวกับสถานการณ์จริง และมีกำลังใจที่จะดูแลตนเอง
:warning:
3. การพยาบาลระยะหลังการตกเลือด
ใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้รับประทานอาหารและยาวิตามิน ธาตุเหล็ก ตามแผนการรักษา
ระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากอาการหน้ามืดเมื่อลุกนั่ง
แนะนำการคลึงมดลูก
แนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอด
การประเมินผลการพยาบาล
ผู้คลอดปลอดภัยจากภาวะตกเลือด
ผู้คลอดไม่มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง แผลฉีกขาดได้รับการ - เย็บซ่อมแซม
ผู้คลอดไม่มีภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ผู้คลอดได้รับการดูแลและสามารถปฏิบัติกิจวัติประจำวัน และแสดงบทบาทการเป็นมารดาได้
ผู้คลอดและญาติได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของอาการและการรักษาพยาบาล
ผู้คลอดปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะตกเลือดหลังคลอดได้
สรุป
ภาวะตกเลือดทางสูติกรรมถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของมารดา การป้องกัน การวินิจฉัยได้เร็ว และให้การรักษาอย่างเร่งด่วนจึงจะลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนได้
นางสาวสุภาวรรณ สังข์โชติ รหัส611001059 เลขที่58