Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
0097FD23-499B…
บทที่ 3แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
-
ตัวอย่างของการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ได้ทบทวนและพัฒนาแนวคิดของการพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมใหม่โดยเน้นองค์ประกอบของการดูแลใน 4 มิติ
การให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยกายและจิต และเคารพในการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกาย เพราะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความใกล้ชิด
การสร้างสัมพันธภาพเป็นจุดสำคัญของการพยาบาลและเป็นพื้นฐานการดูแลคนซึ่งไม่ใช่เฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลเท่านั้น
ผู้ป่วยจะมีการให้คุณค่ากับสุขภาพและวิถีชีวิตที่หลากหลาย รวมทั้งการให้คุณค่ากับประเพณีวัฒนธรรมในการดูแลแบบโบราณ คุณค่าของชุมชน และแบบตะวันตก (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเยาวชนรุ่นปัจจุบัน)
พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลาย เช่น มีระบบประกันสุขภาพที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ ทั้งของประเทศ จังหวัดและของกลุ่มสังคมในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ
-
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
-
-
-
-
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
การดูแลทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายแตกต่างกันจะยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง จะพิจารณาถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ความเข้าใจภาษา ตลอดจนความแตกต่างในมิติทางขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนร่วมด้วย
วัฒนธรรมจึงเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ สิ่งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมสามารถสร้างความสมดุลกลมกลืนให้ มนุษย์ได้ ความไวทางวัฒนธรรมจึงเป็นคุณสมบัติสำคัญในการให้การพยาบาลในความหลากหลายทางวัฒนธรรม สุขภาพในแต่ละมิติ โดยเฉพาะมิติด้านร่างกาย สังคม จิตใจ อารมณ์
การดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ
-
มีความเข้าใจ ตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ เชื้อชาติ เพศ และพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
-
มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity) รู้จักสังเกต ค้นหา ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดาเนินชีวิตตลอดจนพฤติกรรมการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยซึ่งสะท้อนแนวคิดด้านวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
มีบุคลิกภาพ ท่าทางเป็นมิตร เข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้ มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม
-
-
-
-
-
-
-
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ความเข้าใจถึงบริบทของสังคมในภูมิภาคต่างๆ ที่แตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ย่อมจะต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบได้แก่ การศึกษาข้ามวัฒนธรรม หรือการศึกษาวัฒนธรรมข้ามชาติ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม เป็นการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการ ทางการพยาบาล ค่านิยมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และ แบบแผนของพฤติกรรมต่างๆ ของคนในเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
การปฏิบัติการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดทางการพยาบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการพยาบาลและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้รับบริการ