Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหานีโอพลาซึม - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหานีโอพลาซึม
มะเร็งในเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
มะเร็งเม็ดเลือดขาว คือกลุ่มของโรคที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวที่มีการสร้างเม็ดเลือดขาวทั้งในรูปของตัวอ่อนและตัวแก่ออกมามากมายและควบคุมไม่ได้ ทำให้มีจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนแทรกอยู่ในไขกระดูกและอวัยวะต่างๆเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก และพบมากในช่วงอายุระหว่าง 2-5 ปี
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิดหลัก คือ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia – AML) เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอิลอยด์ พบได้บ่อยกว่าชนิดลิมฟอยด์ ถึงแม้มะเร็งชนิดนี้จะสามารถพบได้ทุกช่วงอายุ แต่มักจะพบบ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ (Acute Lymphoblastic Leukemia – ALL) เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมฟอยด์ มักพบในผู้ป่วยอายุน้อยหรือผู้ป่วยสูงอายุ อาจพบภาวะต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วยได้ มักการตอบสนองต่อการรักษาดีกว่า
สาเหตุ
รังสี
ยา
พันธุกรรม
ติดเชื้อ
อาการและอาการแสดง
ไข้ ซีด เลือดออก ปวดข้อหรือปวดกระดูก ตับ ม้าม และต่อม น้ำเหลืองมีขนาดโต มีก้อนที่คอหรือในท้อง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC: พบ Hct ต่ำ, เกร็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวมักสูงเป็นหมื่นหรือแสนตัวต่อลบ.มม.
เจาะไขกระดูก
การรักษา
การให้เคมีบำบัด
การแก้ไขภาวะซีด ภาวะติดเชื้อ
การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
มะเร็งที่ต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
กลุ่มโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ในต่อมน้ำเหลืองผิดปกติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของอวัยวะในระบบน้ำเหลือง โดยทั่วไปพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การได้รับยากดภูมิคุ้มกันเป็นระยะเวลานานๆ
Lymphoma จะถูกแบ่งออกเป็นสองชนิด
Hodgkin’s Lymphoma (Hodgkin’s Disease, HL)
Lymphoma(non-Hodgkins’s Lymphoma หรือ NHLs)
โรค Hodgkin’s disease จะเกิดจาก B cells ที่ผิดปกติ ส่วนพวก Lymphoma (NHL) มีต้นตอมาจากเซลล์ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็น B หรือ T cells และ สามารถแยกจากกันได้โดยตัวชี้บ่งทางพันธุกรรม
อาการและอาการแสดง
ต่อมน้ำเหลืองโต
ตับม้ามโต
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ระยะของโรค
Stage I เป็นที่ต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียวหรือกลุ่มเดียว หรือเป็นเพียงแห่งเดียว ยกเว้นตับ ปอด ไขกระดูก
Stage II เป็นต่อมน้ำเหลืองหลายกลุ่ม แต่ยังอยู่ด้านเดียวกันของกระบังลม
Stage III เป็นต่อมน้ำเหลืองทั้งสองข้างของกระบังลม หรือเป็นที่ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นๆ อีก 1 แห่ง
Stage IV เป็นที่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ทั้งในต่อมน้ำเหลือง และนอกต่อมน้ำเหลือง เช่น ตับ ปอด ไขกระดูก ระบบประสาทส่วนกลาง
การรักษา
ผสมผสานระหว่างเคมีบำบัด รังสีรักษา และการปลูกถ่ายไขกระดูก
ยาเคมีบำบัดที่ได้ผลดี: Cyclophosphamide, Vincristine, เพรดนิโซโลน
พยาธิสภาพ
เกิดจากการที่เซลล์ในต่อมน้ำเหลืองที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในร่างกาย มีการแบ่งตัวผิดปกติ จนเกิดเป็นก้อน ตำแหน่งที่พบบ่อย คือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ (Cervical lymph node)
มะเร็งที่ไต (Wilm’s tumor)
ภาวะเนื้อไต มีการเจริญเติบโตผิดปกติ กลายเป็นก้อนเนื้องอกภายในเนื้อไต
อาการแสดง
คลำพบก้อนในท้อง
เบื่ออาหาร ปัสสาวะเป็นเลือด และมีอาการซีด
ความดันโลหิตสูง
การรักษา
ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก
รังสีรักษา ที่บริเวณตำแหน่งของโรค
ให้เคมีบำบัด
ห้ามคลำท้อง
ระยะของโรค
ระยะ 1 - เนื้องอกมีผลอยู่ภายในไตเท่านั้นและยังไม่เริ่มแพร่กระจาย สามารถกำจัดออกได้ด้วยการผ่าตัด
ระยะ 2 - เนื้องอกได้เริ่มแพร่กระจายไปไกลกว่าไตไปยังโครงสร้างใกล้เคียง แต่ก็ยังสามารถกำจัดออกได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการผ่าตัด
ระยะ 3 - เนื้องอกมีการแพร่กระจายเกินกว่าขอบเขตของไต โดยอาจพบในรูปแบบที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปก่อนผ่าตัดหรือระหว่างผ่าตัด (หรือระหว่างผ่าตัด) รูปแบบที่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง หรือไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งออกอย่างสมบูรณ์โดยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
ระยะ 4 - เนื้องอกได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอดหรือตับ ซึ่งเรียกว่าระยะโรคลุกลาม หรือระยะโรคแพร่กระจาย
ระยะ 5 - พบเนื้องอกในไตทั้งสองข้าง (Bilateral Wilms’ tumour)
มะเร็งที่เซลล์ประสาท (Neuroblastoma)
พยาธิสภาพ
ก้อนเนื้องอกมักเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ประสาทอ่อน (neural crest) ซึ่งมีทั่วไปในร่างกาย แต่มักพบที่บริเวณต่อมหมวกไตชั้นเมดัลลา (adrenal medulla) จึงทำให้มีอาการท้องโตหรือคลำก้อนได้ในท้อง ตำแหน่งอื่นๆ ที่อาจพบก้อน ได้แก่ แนวเส้นประสาทซิมพาเธติค เช่น ในช่องอก ช่องไขสันหลัง คอ หลังลูกตา
อาการและอาการแสดง
มักพบที่บริเวณต่อมหมวกไตชั้นเมดัลลา (adrenal medulla) มีอาการท้องโตหรือคลำก้อนได้ในท้อง
ถ้ามีการแพร่กระจายของมะเร็งอาจมีตาโปน
เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง ซีด อ่อนเพลีย ปวดกระดูก
การวินิจฉัย
การเจาะไขกระดูก อาจพบเซลล์มะเร็ง
การตรวจเลือด อาจพบภาวะซีด เกล็ดเลือดต่ำ หากมีการกระจายของโรคเข้าไปในไขกระดูก
Ultrasound, CT abdomen
การรักษา
การผ่าตัด
การให้รังสีรักษา หลังผ่าตัด
การให้ยาเคมีบัดบัด
การปลูกถ่ายไขกระดูก