Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle…
บทที่ 3
แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
3.1 ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ความเข้าใจถึงบริบทของสังคมในภูมิภาคต่างๆ ที่แตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ย่อมจะต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
การศึกษาข้ามวัฒนธรรม หรือการศึกษาวัฒนธรรมข้ามชาติ
การปฏิบัติการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดทางการพยาบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการพยาบาลและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้รับบริการ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing) จึงเป็นการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการ ทางการพยาบาล ค่านิยมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และ แบบแผนของพฤติกรรมต่างๆ ของคนในเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อให้การตอบสนอง ที่สอดคล้องกับความต้องการการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมนั้น
3.3 แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
กรอบแนวคิดทางการพยาบาล 4 มโนมติ
(2) ด้านบุคคลซึ่งแต่ละคนย่อมมีแบบแผนการดําเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
(3) ด้านสุขภาพเป็นสภาวะการผสมผสานการตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาลควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
(1) ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่สิ่งแวดล้อมทางกายภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเช่นค่านิยมบรรทัดฐานของแต่ละบุคคล
(4) การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
ตัวอย่างของการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ทบทวนและพัฒนาแนวคิดของการพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมใหม่โดยเน้นองค์ประกอบของการดูแลใน 4 มิติ
2) การสร้างสัมพันธภาพเป็นจุดสําคัญของการพยาบาลและเป็นพื้นฐานการดูแลคนซึ่งไม่ใช่เฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลเท่านั้น แต่รวมถึงระหว่างญาติกับพยาบาล พยาบาลญี่ปุ่นให้ความสําคัญกับการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยระหว่างการรักษาเสมอ
3) ผู้ป่วยจะมีการให้คุณค่ากับสุขภาพและวิถีชีวิตที่หลากหลาย รวมทั้งการให้คุณค่ากับประเพณีวัฒนธรรมในการดูแลแบบโบราณ คุณค่าของชุมชน และแบบตะวันตก (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเยาวชนรุ่นปัจจุบัน)
1) การให้ความสําคัญกับความเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยกายและจิต และเคารพในการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกาย เพราะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความใกล้ชิด ดังนั้นพยาบาลญี่ปุ่นจึงสัมผัสผู้ป่วยอย่างมีสติ (ระมัดระวัง) เพื่อการรักษาหรือทําให้ผู้ป่วยเกิดความสงบทางจิตใจและเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
4) พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลาย เช่น มีระบบประกันสุขภาพที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ ทั้งของประเทศ จังหวัดและของกลุ่มสังคมในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติพยาบาลและการตัดสินใจของคน
โสภา อิสระณรงค์พันธ์ (2560)ได้สรุปเกี่ยวกับหลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมไว้ว่า
3.การดูแลทางด้านวัฒนธรรมคือ คุณค่าความช่วยเหลือ ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุงสภาพการณ์ส่วนบุคคล การเผชิญความตายความรู้ทางด้านวัฒนธรรมจะช่วยในการดูแลของพยาบาล
4.การมองโลก คือ การมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคม เช่น ศาสนา เศรษฐกิจ และการศึกษา ซึ่งให้ความหมายและระเบียบวัฒนธรรมแก่กลุ่มชน
2.การดูแล คือ พฤติกรรมการช่วยเหลือ สนับสนุนเพิ่มความสามารถ เกิดการพัฒนา เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิตแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล คือ การดูแลเชิงวิชาชีพที่ให้ความสําคัญกับวัฒนธรรม
1.วัฒนธรรมคือการให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจําวันของกลุ่มชนเรียนรู้สืบต่อกันเกิดพื้นฐานและวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม เป็นลักษณะเฉพาะ
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
6.1. การสงวนการดูแลด้านวัฒนธรรมคือตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในวัฒนธรรมที่เฉพาะเพื่อดํารงไว้ซึ่งสุขภาพหายจากการเจ็บป่วย และเผชิญความตาย
6.2.การจัดหาการดูแลด้านวัฒนธรรมคือ ช่วยเหลือให้ผู้รับบริการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจง
6.3.การวางรูปแบบการดูแลด้านวัฒนธรรมคือตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในการปรับตัวให้เข้ากับแบบแผนชีวิตใหม่ที่แปลกแตกต่าง
3.4 ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
ในการดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ ดังนี้
6)สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติวัฒนธรรม
7)ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
5)มีบุคลิกภาพท่าทางเป็นมิตรเข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติวัฒนธรรม
8)สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสมและสอดคล้องตามวัฒนธรรม
4)มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity) รู้จักสังเกตค้นหาค่านิยมความเชื่อวิถีการดาเนินชีวิตตลอดจนพฤติกรรมการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยซึ่งสะท้อนแนวคิดด้านวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
9)บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
3)มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
10)พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
2)มีความเข้าใจตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อเชื้อชาติ เพศ และพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
11)ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติศาสนาและวัฒนธรรมโดยคํานึงกฎระเบียบและจรรยาบรรณวิชาชีพ
1)มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในทุกวัฒนธรรม
12)สามารถรักษาลับของข้อมูลความเชื่อของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล จึงสามารถอธิบายได้ ดังนี้
3.การวางแผนการพยาบาล ให้กระทําตามความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ครอบครัวและเน้นการมีส่วนร่วม
4.การปฏิบัติการพยาบาลและการดูแล ควรคํานึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรม และ สนองตอบต่อค่านิยม หรือไม่แตกต่างมากนัก
2.การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาลใช้มุมมองของผู้รับบริการเป็นหลัก
5.การประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะทําให้สุขภาพดี หายจากโรค หรือตายอย่างสงบ ประเมินโดยใช้ผู้ป่วย ครอบครัวและการยอมรับของกลุ่มชนเป็นหลัก
1.การประเมินผู้ป่วย ดูข้อมูลดูวิถีชีวิต และแนวคิดความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
3.2 วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
2.เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
3.เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
1.เป็นการค้นหาคําตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
ระบบบริการสุขภาพ ในมิติต่อไปนี้
2.การยอมรับนับถือ การมีคุณค่า ศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ความเชื่อ วิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคล และสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการประกาศสิทธิของผู้ป่วย ข้อกําหนดตาม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติและข้อกําหนดของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย ปี พศ. 2540 ส่งผลให้ ประชาชนสามารถเรียกร้องตามสิทธิของผู้ป่วยในการรับบริการในสถานบริการและเรียกร้องให้ผู้บริการด้าน สุขภาพมองผู้รับบริการเพิ่มขึ้นโดยไม่มองตามธรรมเนียมปฏิบัติแบบดั้งเดิม
3.การรณรงค์เกี่ยวกับ เพศสภาวะ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทชายและหญิง มีการ เคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันในการดํารงตําแหน่งในสังคมของชายหญิงเพิ่มขึ้น ทําให้ต้อง ปรับเปลี่ยนระบบการให้บริการสุขภาพเพื่อให้เหมาะสมกับเพศสภาวะ
1.ประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปในพื้นที่ต่างๆเพิ่มขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงสถานบริการในทุกระดับได้ดี จึงส่งผลให้สถานบริการต้องเร่งจัดระบบการ ให้บริการเพื่อรองรับประชาชนที่มีความหลากหลายและมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันตามสภาพพื้นที่
4.การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคม และ ประชาชนสามารถรับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย ส่งผลต่อระบบการบริการต้องมีการ ปรับเปลี่ยนและติดตามความรู้ใหม่ๆให้เหมาะสมและทันกับเหตุการณ์
5.การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบ สุขภาพระดับปฐมภูมิที่ต้องการใช้แนวคิด ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในการให้บริการจึงทําให้พยาบาลชุมชนผู้ซึ่ง รับผิดชอบการให้บริการระดับปฐมภูมิต้องปรับวิธีคิด และกระบวนการท างานในชุมชน ในการเพิ่มมิติทาง สังคมวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีของผู้รับบริการมากขึ้น เพื่อให้เกิดภาพการบริการที่ตรงตามสภาพ ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม