Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ความเข้าใจถึงบริบทของสังคมในภูมิภาคต่างๆ ที่แตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ย่อมจะต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบได้แก่ การศึกษาข้ามวัฒนธรรม ( Cross cultural study) หรือการศึกษาวัฒนธรรมข้ามชาติ (Inter - cultural study)
การปฏิบัติการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดทางการพยาบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยง ระหว่างการพยาบาลและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้รับบริการ ดังนั้นคําว่า “ข้าม” ในที่นี้ไม่ได้ หมายถึง ข้ามพรมแดน หรือใช้หลักการทางภูมิศาสตร์ แต่หมายถึงการข้าม วัฒนธรรมซึ่งเป็นหลักการทางพฤติกรรม ศาสตร์ ซึ่งเน้นกระบวนการและวิธีคิดของคนหรือกลุ่ม
คําว่า “ข้ามวัฒนธรรม” (cross cultural or transcultural มักใช้แทนกันบ่อยๆ ในวงการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม) แต่อาจมีความหมายต่างกันเล็กน้อย ตรงที่ cross cultural ไม่ได้มีการเชื่อมโยงของคนในลักษณะของการเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมนั้นๆ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing) จึงเป็นการพยาบาลที่เน้นคุณค่า และ การปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์ พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการ ทางการพยาบาล ค่านิยมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และ แบบแผนของ พฤติกรรมต่างๆ ของคนในเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อให้การตอบสนอง ที่สอดคล้องกับความ ต้องการการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมนั้น
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการค้นหาคําตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆตามหลักวิชาการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
การบริการสุขภาพในเชิงระบบ
ประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปในพื้นที่ต่างๆเพิ่มขึ้นประชาชน สามารถเข้าถึงสถานบริการในทุกระดับได้ดี
การยอมรับนับถือการมีคุณค่าศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ความเชื่อวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคลและ สิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น
การรณรงค์เกี่ยวกับเพศสภาวะและการเปลี่ยนแปลงบทบาทชายและหญิงมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันในการดํารงตําแหน่งในสังคมของชายหญิงเพิ่มขึ้น
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคมและประชาชนสามารถ รับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย
การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบสุขภาพระดับ ปฐมภูมิที่ต้องการใช้แนวคิดใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในการให้บริการจึงทําให้พยาบาลชุมชนผู้ซึ่งรับผิดชอบ การให้บริการระดับปฐมภูมิต้องปรับวิธีคิด และกระบวนการทำงานในชุมชน ในการเพิ่มมิติทาง สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีของผู้รับบริการมากขึ้น
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
แนวคิดทางการ พยาบาล 4 มโนมติ
ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่เป็น สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยม บรรทัดฐานของแต่ละบุคคล
ด้านบุคคลซึ่งแตล่ะคนย่อมมีแบบแผนการดําเนินชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
ด้านสุขภาพ เป็นสภาวะการผสมผสานการตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาล ควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
แนวคิดอื่นที่มาเกี่ยวข้องกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม เช่น แนวคิดของมนุษนิยม (Humanism) ซึ่งเป็นมุมมองด้านการให้อิสระและเน้นความเป็นมนุษย์ (liberal, humanist perspective) มุมมองนี้ เน้นความเสมอภาคเท่าเทียม ความเป็นอิสระ มีเสรีภาพเหมือนคนอื่นๆ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดสําคัญที่สามารถนํามาใช้พัฒนาทักษะด้านความเข้าใจความต่างทางวัฒนธรรม เช่น ลักษณะของโรคที่เข้ารับการรักษา ความต้องการเข้ารับการรักษา รวมถึงความแตกต่าง ด้านสังคม ความเชื่อ และวัฒนธรรมของผู้รับบริการที่แตกต่างกันมากขึ้น
ตัวอย่างของการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ทบทวนและพัฒนาแนวคิดของการ พยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมใหม่โดยเน้นองค์ประกอบของการดูแลใน 4 มิติ
การสร้างสัมพันธภาพเป็นจุดสําคัญของการพยาบาลและเป็นพื้นฐานการดูแลคนซึ่งไม่ใช่เฉพาะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลเท่านั้น แต่รวมถึงระหว่างญาติกับพยาบาล พยาบาลญี่ปุ่นให้ ความสําคัญกับการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยระหว่างการรักษาเสมอ
ผู้ป่วยจะมีการให้คุณค่ากับสุขภาพและวิถีชีวิตที่หลากหลาย รวมทั้งการให้คุณค่ากับประเพณี วัฒนธรรมในการดูแลแบบโบราณ คุณค่าของชุมชน และแบบตะวันตก (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเยาวชนรุ่น ปัจจุบัน)
การให้ความสําคัญกับความเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยกายและจิต และเคารพในการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่ง กันและกัน ชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกาย เพราะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความใกล้ชิด ดังนั้น พยาบาลญี่ปุ่นจึงสัมผัสผู้ป่วยอย่างมีสติ (ระมัดระวัง) เพื่อการรักษาหรือทําให้ผู้ป่วยเกิดความสงบทางจิตใจและ เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลาย เช่น มีระบบประกันสุขภาพที่แตกต่างกัน หลายรูปแบบ ทั้งของประเทศ จังหวัดและของกลุ่มสังคมในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อ การปฏิบัติพยาบาลและการตัดสินใจของคน
สรุปเกี่ยวกับหลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมไว้ว่า
วัฒนธรรม คือ การให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจําวันของกลุ่มชน เรียนรู้สืบต่อ กัน เกิดพื้นฐานและวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม
การดูแลคือพฤติกรรมการช่วยเหลือสนับสนุนเพิ่มความสามารถเกิดการพัฒนา
การดูแลทางด้านวัฒนธรรม คือ คุณค่าความช่วยเหลือ
ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุง สภาพการณ์ส่วนบุคคล การเผชิญความตาย
การมองโลกคือการมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคมเช่นศาสนาเศรษฐกิจและ การศึกษา
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล คือ การดูแลเชิงวิชาชีพที่ให้ความสําคัญกับวัฒนธรรม
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
การสงวนการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในวัฒนธรรมที่เฉพาะเพื่อ ดํารงไว้ซึ่งสุขภาพ
การจัดหาการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ช่วยเหลือให้ผู้รับบริการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ เฉพาะเจาะจง
การวางรูปแบบการดูแลด้านวัฒนธรรม คือ ตัดสินใจช่วยเหลือผู้รับบริการในการปรับตัวให้ เข้ากับแบบแผนชีวิตใหม่ที่แปลกแตกต่าง
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
การดูแลทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายแตกต่างกันจะยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง จะพิจารณาถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ความเข้าใจภาษา ตลอดจนความแตกต่างในมิติทางขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของ ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนร่วมด้วย ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมทําให้พยาบาลต้องมีความไวทางวัฒนธรรม
การดูแลผู้ป่วยหรือ ผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ
มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในทุก วัฒนธรรม
มีความเข้าใจ ตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ เชื้อชาติ เพศ และพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity) รู้จักสังเกต ค้นหา ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดาเนิน ชีวิตตลอดจนพฤติกรรมการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยซึ่งสะท้อนแนวคิดด้านวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
มีบุคลิกภาพ ท่าทางเป็นมิตร เข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้าน เชื้อชาติ วัฒนธรรม
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้ มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มี ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม
ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสม
บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการ พยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย ดูข้อมูล ดูวิถีชีวิต และแนวคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาล ใช้มุมมองของผู้รับบริการเป็นหลัก
การวางแผนการพยาบาลให้กระทําตามความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมครอบครัว และเน้นการมีส่วนร่วม
การปฏิบัติการพยาบาลและการดูแลควรคํานึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรมและสนองตอบต่อ ค่านิยม หรือไม่แตกต่างมากนัก
การประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะทําให้สุขภาพดี หายจากโรค หรือตาย อย่างสงบ ประเมินโดย ใช้ผู้ป่วย ครอบครัวและการยอมรับของกลุ่มชนเป็นหลัก