Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา, รูปภาพ6, รูปภาพ7, รูปภาพ8,…
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา
ซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
(Iron deficiency anemia)
อาการและอาการแสดง
ซีด เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ เฉื่อยชา ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องผูกหรือท้องเสีย
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตั้งครรภ์ของมารดา ประวัติการคลอด ชนิดของนมและอาหารเสริม
การตรวจร่างกาย
เพื่อสังเกตและหาสาเหตุภาวะซีด ได้แก่ สีผิว ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เยื่อบุตา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะมีขนาดเล็ก ติดสีจาง serum feritin น้อยกว่า 10 นาโนกรัม/ดล.
การรักษา
แก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุ
เช่น การให้ยาถ่ายพยาธิ
การให้เลือด
รายที่มีภาวะซีดมาก หรือมีอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย โดยให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed red cell)
การให้เหล็กโดยการกิน (Ferrous sulfate)
ให้วันละ 3 ครั้ง ระหว่างมื้ออาหาร ถ้าให้เหล็กไปพร้อมกับอาหาร หรือให้ร่วมกับนมจะขัดขวางการดูดซึม ทำให้การดูดซึมลดลง
ความหมาย
พบบ่อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
มักเกิดจากการได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย ปัญหาการดูดซึมที่ลำไส้ไม่ดีจากท้องร่วงเรื้อรัง หรือมีการอักเสบของลำไส้
โรคไขกระดูกฝ่อ
(Aplastic anemia)
เป็นภาวะที่มี RBC, WBC, Plt. น้อยลงหรือไม่มี เนื่องจากมีความผิดปกติในไขกระดูก
สาเหตุ
ความผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital)
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง จากการทำลาย
ของเนื้อเยื่อ stem cell ในไขกระดูก
ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic)
การได้รับยาบางชนิด ได้แก่ ยาเคมีบำบัด, Chloramphenical,
ยาแก้ปวด, ยากันชัก
การได้รับสารเคมีบ่อยๆ ซึ่งเป็นพิษต่อระบบเลือด เช่น ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์
เกิดภายหลังการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบ
เกิดภายหลังการได้รับรังสีการรักษาในขนาดสูง
อาการและอาการแสดง
Low Platelet
เลือดออกในอวัยวะต่างๆ มีจุดจ้ำเลือดตามลำตัวและแขนขา เลือดออก ตามไรฟันและเลือดกำเดา เลือดออกในทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
Low RBC
ซีด เหนื่อยง่าย ชีพจรเบาเร็ว และถ้ามีการเสียเลือดร่วมด้วย ทำให้มีอาการซีดรุนแรงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
Low WBC
ติดเชื้อง่าย มีไข้ เป็นแผลในปาก
การวินิจฉัย
การเจาะไขกระดูก
เพื่อยืนยันการวินิจฉัยให้ชัดเจนขึ้น โดยพบเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้นแทนที่เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
การตรวจนับเม็ดเลือดทั้งสามชนิด
จะพบเม็ดเลือดทั้งสามชนิดมีจำนวนลดลงอย่างชัดเจน
การรักษา
1.การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่ไขกระดูกไม่ทำงานขั้นรุนแรง คือ ซีด เลือดออก และติดเชื้อรุนแรง
2. การรักษาด้วยฮอร์โมน
ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการไม่รุนแรงมาก เนื่องจากฮอร์โมน Androgen จะกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่ง Erythropoietin
3. การรักษาด้วยยากดระบบ Immune
ใช้ในผู้ป่วยเด็กภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงานที่มีผลต่อการตรวจวินิจฉัยยืนยันว่าไขกระดูกไม่ทำงานจากปฏิกิริยาทางอิมมูน
4. การรักษาตามอาการ
ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD
(G-6-PD Deficiency)
ความหมาย
ภาวะที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 เซลล์/ไมโครลิตร
ระดับเกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000 เซลล์/ไมโครลิตร ถือว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำรุนแรง
สาเหตุ
การสร้างเกล็ดเลือดลดลง เนื่องจากโรคของไขกระดูกเอง
เกล็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าปกติ
เกล็ดเลือดถูกใช้ไปมากกว่าปกติ
พยาธิสภาพ
พบว่ามี Platelet antibody หรือ Platelet – associatedImmunoglobulin บนผิวของเกล็ดเลือด ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดถูกทำลายอย่างรวดเร็ว
เกล็ดเลือดจะเกาะกันเป็นกลุ่มเกิดเป็น platelet plug เพื่ออุดหลอดเลือดที่ฉีกขาด
อาการและอาการแสดง
จุดจ้ำเลือดที่ผิวหนัง
เลือดกำเดาไหล
เลือดออกในเยื่อบุต่างๆทั้งที่เป็นจุดเล็กๆ (petechiae) และเป็นจ้ำเลือด (ecchymosis)
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
อาการและความผิดปกติที่ควรซักถาม ได้แก่ การมีเลือดออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น จุด จ้ำเลือดตามลำตัว แขนขา
การตรวจร่างกาย
เช่น มีเลือดกำเดาไหล
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
พบว่า เกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ แต่เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวปกติ
การรักษา
ส่วนใหญ่โรคหายได้เอง 70-80 % ภายในเวลา 1-2 เดือนควรให้กิน prednisolone เพื่อให้ผนังของหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น
ธาลัสซีเมีย
(Thalassemia)
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบิน ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินลดลงโดยที่สูตรโครงสร้างของฮีโมโกลบินยังเป็นปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น เกิดปัญหาซีดเรื้อรังตั้งแต่แรกเกิด
ชนิดของโรค
1. กลุ่มอาการรุนแรงมาก
ได้แก่ ฮีโมโกลบินบาร์ทโฮดรอพส์ ฟิทัลลิสเป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด ส่วนใหญ่เสียชีวิตในครรภ์มารดาหรือภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด
2. กลุ่มอาการรุนแรงปานกลาง
ได้แก่ โฮโมซัยกัส เบต้า-ธาลัสซีเมียและเบต้า-
ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี แรกเกิดปกติ จะเริ่มมีอาการตั้งแต่ภายในขวบปีแรก
3. กลุ่มอาการรุนแรงน้อย
ได้แก่ ฮีโมโกลบินเอ็ช ผู้ป่วยจะมีอาการน้อย
เช่น ซีด และเหลืองเล็กน้อย หากมีไข้หรือติดเชื้อผู้ป่วยจะซีดลง
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติการซีดเรื้อรัง ประวัติครอบครัว
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมักพบว่ามีปริมาณต่ำทุกตัว นอกจากนั้นมักพบเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและติดสีจาง มีรูปร่างแตกต่างกัน
การรักษา
1. การรักษาทั่วไป
อธิบายให้ผู้ป่วยและผู้ปกครองเข้าใจเกี่ยวกับโรค การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
2. การให้เลือด
เพื่อเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกาย
3. การให้ยาขับธาตุเหล็ก
เพื่อป้องกันและลดภาวะเหล็กเกินในเลือด
4. การผ่าตัดม้าม (Splenectomy)
การผ่าตัดจะทำในกรณีที่ม้ามโตมากจนทำให้เกิดอาการอึดอัด หรือมีภาวะม้ามทำงานมากกว่าปกติ
5. การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
ซึ่งเป็นการรักษา โรคธาลัสซีเมียให้หายได้ ซึ่งจะช่วยให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ปกติในตัวผู้ป่วยได้
6. การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก
ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากภาวะเหล็กเกิน
โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP)
ความหมาย
ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6-PD ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงอย่างเฉียบพลันถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X – linked ส่วนใหญ่พบในเพศชาย
สาเหตุ
ยา:
ยารักษามาลาเรีย ยาปฏิชีวนะ เช่น chloramphenical ยาแก้ปวด เช่น aspirin, paracetamal
สารเคมี:
เสื้อผ้าที่อบด้วยลูกเหม็น
อาหาร:
ถั่วปากอ้าดิบๆ
การติดเชื้อ:
ไทฟอยด์ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไข้หวัด มาลาเรีย
พยาธิสภาพ
ในภาวะที่มีระดับเอ็นไซม์ลดลงหรือมีโครงสร้างที่ผิดปกติ เซลล์อื่นๆ ซึ่งมีนิวเคลียสจะสร้างเอ็นไซม์ขึ้นมาใหม่ แต่เซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งไม่มีนิวเคลียสจะไม่สามารถสร้างเอ็นไซม์ได้ทำให้เม็ดเลือดแดงมีสภาวะที่ไม่คงทน เนื่องจากฮีโมโกลบินเกิดการเสื่อมสภาพ ตกตะกอนเป็น Heinz bodies ทำให้เม็ดเลือดแดงเสียความยืดหยุ่น เกิดการแตกทำลายได้ง่าย
อาการและอาการแสดง
ซีดลงอย่างรวดเร็ว
ปัสสาวะดำเป็นสีโค๊ก (Hemoglobinuria)
ภาวะไตวาย เนื่องจากมีกรดยูริกเพิ่มจำนวนขึ้นไปอุดหลอดเลือดฝอยในไต
ตัวเหลืองภายหลังคลอดในทารกแรกเกิดที่มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6-P-D
ภาวะซีดเรื้อรัง
การรักษา
หาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการซีดได้แก่ ชนิดของยาหรือสารเคมีที่ได้รับก่อนเกิดอาการ
การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะไตวาย
ให้เลือด ถ้ามีอาการซีดมากๆ
ทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลือง รักษาด้วยPhototherapy
Hemophilia
สาเหตุ
ฮีโมฟีเลีย A (Classical Hemophilia)
พร่องแฟคเตอร์ 8 พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 80-85 % ของโรคฮีโมฟีเลีย
ฮีโมฟีเลีย B (Christmas disease)
พร่องแฟคเตอร์ 9 พบได้ประมาณ 10-15 % ของโรคฮีโมฟีเลีย
ฮีโมฟีเลีย C
พร่องแฟคเตอร์ 11 พบได้ประมาณ 5 % ของฮีโมฟีเลีย อาการไม่รุนแรงมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive
พยาธิสภาพ
ไฟบรินมาปิดหลอดเลือดที่ฉีกขาด จากนั้นเกล็ดเลือดจะมารวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเสริมกับไฟบรินทำให้เกิดลิ่มเลือดที่แข็งแรง
ผลจากการขาดองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างไฟบรินได้
การดูแล
ให้ FFP หรือ Cryoprecipitate
ห้ามเลือดและลดการมีเลือดออก
ถ้าเลือดออกในข้อให้ใช้ผ้ายืดพันไว้และให้พักข้อนิ่งๆ ป้องกันและหลีกเลี่ยงการทำให้เลือดออก / สังเกตอาการทางระบบประสาท
เมื่อเลือดหยุดออกเริ่มให้เคลื่อนไหวเพื่อป้องกันข้อติด
คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง
มีบัตรประจำตัวติดตัวเด็กตลอดเวลา ชื่อระบุ โรคที่เป็น
การป้องกันอุบัติเหตุ การจัดสิ่งแวดล้อม การเล่น การสวมเสื้อผ้า เฉพาะในเด็กและวัยรุ่นโรคนี้
การพาเด็กมารับ Vaccine ใช้เข็มเล็กสุด กดนาน 5-10 นาที
ดูแลสุขภาพฟันไม่ให้ฟันผุ หลีกเลี่ยงการใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง
หลีกเลี่ยงกีฬาที่กระทบกระแทก
ไม่ให้ผู้ป่วยอ้วน หรือ น้ำหนักมากเกินไป
ป้องกันภาวะท้องผูก ให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย
Acquired Prothrombin
Complex Deficiency (APCD)
ความหมาย
ขาดองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดตัวที่ 2 7 9 และ10 (Prothrombin Complex) โดยส่วนใหญ่จะมีอาการเลือดออกในสมอง พบมากที่สุดในช่วงอายุ 1-2 เดือน
สาเหตุ
ทารกแรกเกิดมีวิตามิน เค ในเลือดน้อยมาก
ทารกไม่ได้รับวิตามิน เค เมื่อแรกเกิด
การได้รับอาหารเสริมที่ไม่ถูกต้อง
พยาธิสภาพ
เมื่อร่างกายขาด โปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์ ทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดหยุดชะงักในระยะของการสร้างโปรทรอมบินและทรอมบิน ทำให้การสร้างไฟบริน เพื่อช่วยในการอุดรอยฉีกขาดของหลอดเลือดหยุดชะงักไปด้วย จึงเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะในสมอง
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกในสมอง ทางเดินอาหาร ผิวหนัง
ซีด ซึม ไม่ดูดนม ชัก หรือมีกระหม่อมหน้าโป่งตึง
มีจ้ำเขียวตามตัว หรือเลือดหยุดยาก
อาการตับโต ในผู้ป่วยเด็กบางราย
อาจมีอาการพิการทางสมองในระยะต่อมา
การรักษา
เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว ให้วิตามินเค 2-5 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดำ เป็นเวลา 1- 3 วัน
ให้ Fresh Frozen Plasma ถ้าผู้ป่วยมีอาการเลือดออกรุนแรง เพื่อเป็นการเพิ่มโปรทรอมบิน คอมเพล็กซ์
ให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Packed Red Cell) ถ้าซีดมาก