Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหานีโอพลาสมา - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหานีโอพลาสมา
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันใน เด็ก
(ACUTE LEUKEMIA)
ความหมาย
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ในเด็ก และพบมากในช่วงอายุระหว่าง 2-5 ปี มะเร็งเม็ดเลือดขาว คือกลุ่มของโรคที่มีความ ผิดปกติของเม็ดเลือดขาวที่มีการสร้างเม็ดเลือด ขาวทั้งในรูปของตัวอ่อนและตัวแก่ออกมา มากมายและควบคุมไม่ได้ ทำให้มีจำนวนของ เซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนแทรกอยู่ใน ไขกระดูกและอวัยวะต่างๆเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วย ถึงแก่กรรมได้
สาเหตุ
รังสี
ยา
พันธุกรรม
ติดเชื้อ
อาการและอาการแสดง
ไข้ ซีด เลือดออก ปวด ข้อหรือปวดกระดูก ตับ ม้าม และต่อม น้ำเหลือง มีขนาดโต มีก้อนที่คอหรือในท้อง
การรักษา
การให้เคมีบำบัด
การแก้ไขภาวะซีด ภาวะติดเชื้อ
การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
(HODGKIN’S DISEASE)
ความหมาย
กลุ่มโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวของ เซลล์ในต่อมน้ำเหลืองผิดปกติ ทำให้ มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา ของอวัยวะในระบบน้ำเหลือง โดย ทั่วไปพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่อาจเกิด จากการติดเชื้อไวรัส การได้รับยากด ภูมิคุ้มกันเป็นระยะเวลานานๆ
พยาธิสภาพ
เกิดจากการที่เซลล์ในต่อมน้ำเหลืองที่ตำแหน่งใดตำแหน่ง หนึ่งในร่างกาย มีการแบ่งตัวผิดปกติ จนเกิดเป็นก้อน ตำแหน่ง ที่พบบ่อย คือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ (Cervical lymph node)
อาการและอาการแสดง
ต่อมน้ำเหลืองโต
ตับม้ามโต
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การรักษา
ผสมผสานระหว่างเคมีบำบัด รังสีรักษา และการปลูกถ่ายไขกระดูก
ยาเคมีบำบัดที่ได้ผลดี: Cyclophosphamide, Vincristine, เพ รดนิโซโลน
ระยะของโรค
Stage I เป็นที่ต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียวหรือกลุ่มเดียว หรือเป็น เพียงแห่งเดียว ยกเว้นตับ ปอด ไขกระดูก
Stage II เป็นต่อมน้ำเหลืองหลายกลุ่ม แต่ยังอยู่ด้านเดียวกันของ กระบังลม
Stage III เป็นต่อมน้ำเหลืองทั้งสองข้างของกระบังลม หรือเป็น ที่ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นๆ อีก 1 แห่ง
Stage IV เป็นที่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ทั้งในต่อมน้ำเหลือง และนอกต่อมน้ำเหลือง เช่น ตับ ปอด ไขกระดูก ระบบประสาท ส่วนกลาง
มะเร็งที่ไต (WILM’S TUMOR)
ความหมาย
ภาวะเนื้อไต มีการเจริญเติบโตผิดปกติ
กลายเป็นก้อนเนื้องอกภายในเนื้อไต
อาการและอาการแสดง
คลำพบก้อนในท้อง
เบื่ออาหาร ปัสสาวะเป็นเลือด และมีอาการซีด
ความดันโลหิตสูง
การรักษา
ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก
รังสีรักษา ที่บริเวณตำแหน่งของโรค
ให้เคมีบำบัด
ห้ามคลำท้อง
มะเร็งเนื้อเยื่อประสาท
(NEUROBLASTOMA)
ความหมาย
มะเร็งเกิดจากเซลล์ประสาทอ่อน (Neural crest) พบโรค ได้ตามแนวของเส้นประสาทซิมพาเธติค
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่นอน แต่เนื่องจากเป็น เนื้องอกที่พบมากในวัย เด็ก และมีรายงานพบว่ามีผู้ป่วยหลาย คนในครอบครัวเดียวกัน จึงมีข้อสันนิษฐานว่าอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
พยาธิสภาพ
ก้อนเนื้องอกมักเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่เกิดจากการแบ่งตัว ผิดปกติของเซลล์ประสาทอ่อน (neural crest) ซึ่งมีทั่วไปใน ร่างกาย แต่มักพบที่บริเวณต่อมหมวกไตชั้นเมดัลลา (adrenal medulla) จึงทำให้มีอาการท้องโตหรือคลำก้อนได้ในท้อง ตำแหน่งอื่นๆ ที่อาจพบก้อน ได้แก่ แนวเส้นประสาทซิ มพาเธติค เช่น ในช่องอก ช่องไขสันหลัง คอ หลังลูกตา
อาการและอาการแสดง
มักพบที่บริเวณต่อมหมวกไตชั้นเม
ดัลลา (adrenalmedulla) มีอาการท้องโตหรือคลำก้อน
ได้ในท้อง
ถ้ามีการแพร่กระจายของมะเร็งอาจมี
ตาโปน
เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง ซีด
อ่อนเพลีย ปวดกระดูก
การรักษา
การผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นการรักษาโดยการตัดก้อนมะเร็ง ซึ่งมี ประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้ เหมาะกับ กรณีที่มะเร็งอยู่ในระยะเริ่มแรก ก้อนมีขนาดไม่ใหญ่มาก และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สำคัญ แต่ถ้าก้อนมะเร็งมีขนาด ใหญ่หรือมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น การผ่า ตัดจะเป็นการช่วยประคับประคองชีวิตและช่วยเพิ่มระยะ เวลาการมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง การผ่าตัดจึงไม่ สามารถทำได้ทุกราย ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ขนาดของ ก้อนมะเร็ง ตำแหน่งและชนิดของมะเร็ง โรคมะเร็งที่รักษา โดยการผ่าตัด ได้แก่ เนื้องอกสมองชนิดเมดัลโลบลาสโต มา (Medulloblastoma) มะเร็งของเซลล์ประสาท (Neuroblastoma)
การให้รังสีรักษา หลังผ่าตัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่เกิดทันที (Acute effect) เป็นอาการ ข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างที่ได้รับการรักษาหรือภายหลัง จากการรักษาภายในระยะเวลาไม่นาน อาการข้างเคียง ชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยเด็กได้รับรังสีรักษา หรือภายหลังจากการรักษา ได้แก่ เซลล์เยื่อบุผิวหนัง เยื่อบุ ช่องปาก ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลว ถ่ายเป็นมูกเลือด ปัสสาวะเป็น เลือด เป็นต้น แต่อาการข้างเคียงชนิดนี้จะดีขึ้นหลังจาก หยุดการให้รังสีรักษา
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นภายหลัง (Late effect) เป็น อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นภายหลังจากการฉายรังสีไปแล้ว เป็นระยะเวลานานพอสมควร อาการข้างเคียงชนิดนี้เป็นตัวกำหนดขนาดของรังสีที่จะใช้บริเวณอวัยวะนั้นไม่ให้มากเกิน อาการข้างเคียงชนิดนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะไม่สามารถกลับมาปกติได้ อาการข้างเคียงในกลุ่มนี้ ได้แก่ การเกิดผังผืด เกิดรูระหว่างอวัยวะสองชนิดที่อยู่ใกล้กัน
การให้ยาเคมีบัดบัด
อาการข้างเคียงของยาบำบัดที่พบบ่อย
คลื่นไส้อาเจียน
เบื่ออาหาร
ปากอักเสบ/แผลในปาก
ท้องผูก
การกดไขกระดูก
ผมร่วง
อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
การปลูกถ่ายไขกระดูก
การวินิจฉัย
การเจาะไขกระดูก อาจพบเซลล์มะเร็ง
การตรวจเลือด อาจพบภาวะซีด เกล็ดเลือดต่ำ หากมีการกระจายของโรคเข้าไปในไขกระดูก
Ultrasound, CT abdomen