Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
ความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ความเข้าใจถึงบริบทของสังคมในภูมิภาคต่างๆ ที่แตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ย่อมจะต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบได้แก่ การศึกษาข้ามวัฒนธรรม
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 หรือยุคโลกาภิวัตน์ ทําให้เกิด
สังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้นจากปัจจัยหลายประการเช่น มีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้พรมแดนการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและโครงสร้างทางสังคมอย่างรวดเร็วซึ่งมีการย้ายถิ่นของคนเข้ามาประกอบอาชีพและการรับบริการทางด้านสาธารณสุขของชาวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการเตรียมรับสถานการณ์ด้านบริการสุขภาพเพื่อให้ทันและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมทั้งเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการแก่ผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรมได้ รูปแบบบริการที่มีอยู่อาจต้องมีหลายรูปแบบหรือมีการปรับเปลี่ยนทั้งในแนวคิด วิธีการ
การปฏิบัติการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดทางการพยาบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการพยาบาลและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้รับบริการ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing) จึงเป็นการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการ ทางการพยาบาล ค่านิยมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และ แบบแผนของพฤติกรรมต่างๆ ของคนในเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อให้การตอบสนอง ที่สอดคล้องกับความต้องการการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมนั้น
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
การดูแลทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายแตกต่างกันจะยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง จะพิจารณาถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ความเข้าใจภาษา ตลอดจนความแตกต่างในมิติทางขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนร่วมด้วยด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมทําให้พยาบาลต้องมีความไวทางวัฒนธรรม
ผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ
มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในทุกวัฒนธรรม
มีความเข้าใจตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อเชื้อชาติ เพศ และพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity) รู้จักสังเกตค้นหาค่านิยมความเชื่อวิถีการดาเนินชีวิตตลอดจนพฤติกรรมการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยซึ่งสะท้อนแนวคิดด้านวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
มีบุคลิกภาพท่าทางเป็นมิตรเข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติวัฒนธรรม
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติวัฒนธรรม
ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสมและสอดคล้องตามวัฒนธรรม
บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติศาสนาและวัฒนธรรมโดยคํานึงกฎระเบียบและจรรยาบรรณวิชาชีพ
สามารถรักษาลับของข้อมูลความเชื่อของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
พยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย ดูข้อมูลดูวิถีชีวิต และแนวคิดความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาลใช้มุมมองของผู้รับบริการเป็นหลัก
การวางแผนการพยาบาล ให้กระทําตามความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ครอบครัวและเน้นการมีส่วนร่วม
การปฏิบัติการพยาบาลและการดูแล ควรคํานึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรม และ สนองตอบต่อค่านิยม หรือไม่แตกต่างมากนัก
การประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะทําให้สุขภาพดี หายจากโรค หรือตายอย่างสงบ ประเมินโดยใช้ผู้ป่วย ครอบครัวและการยอมรับของกลุ่มชนเป็นหลัก
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
เป็นการค้นหาคําตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมจึงความสําคัญต่อระบบบริการสุขภาพ
ประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปในพื้นที่ต่างๆเพิ่มขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงสถานบริการในทุกระดับได้ดี
การยอมรับนับถือ การมีคุณค่า ศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ความเชื่อ วิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคล และสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการประกาศสิทธิของผู้ป่วย ข้อกําหนดตาม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
การรณรงค์เกี่ยวกับ เพศสภาวะ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทชายและหญิง มีการ เคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันในการดํารงตําแหน่งในสังคมของชายหญิงเพิ่มขึ้น
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคม และ ประชาชนสามารถรับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย ส่งผลต่อระบบการบริการต้องมีการ ปรับเปลี่ยน
การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบ สุขภาพระดับปฐมภูมิที่ต้องการใช้แนวคิด ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในการให้บริการจึงทําให้พยาบาลชุมชนผู้ซึ่ง รับผิดชอบการให้บริการระดับปฐมภูมิต้องปรับวิธีคิด
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
กรอบแนวคิดทางการพยาบาล
ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่สิ่งแวดล้อมทางกายภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคม
ด้านบุคคลซึ่งแต่ละคนย่อมมีแบบแผนการดําเนินชีวิต
ด้านสุขภาพเป็นสภาวะการผสมผสานการตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาลควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
ประเด็นการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดการดูแลตามวัฒนธรรมเดิมในโลกวัฒนธรรมใหม่ยังเป็นเรื่องที่ควรจะกล่าวถึงด้วยแนวคิดการดูแลหรือการพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น สังคมแบบรวมกลุ่ม (collective society) หรือสังคมแบบต่างคนต่างอยู่ (isolate society) และแนวนโยบายของประเทศ
องค์ประกอบของการดูแลใน 4 มิติ
การให้ความสําคัญกับความเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยกายและจิต และเคารพในการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกาย เพราะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความใกล้ชิด
การสร้างสัมพันธภาพเป็นจุดสําคัญของการพยาบาลและเป็นพื้นฐานการดูแลคนซึ่งไม่ใช่เฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลเท่านั้น
ผู้ป่วยจะมีการให้คุณค่ากับสุขภาพและวิถีชีวิตที่หลากหลาย รวมทั้งการให้คุณค่ากับประเพณีวัฒนธรรมในการดูแลแบบโบราณ คุณค่าของชุมชน และแบบตะวันตก
พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลาย เช่น มีระบบประกันสุขภาพที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ ทั้งของประเทศ จังหวัดและของกลุ่มสังคมในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ
หลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
วัฒนธรรมคือการให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจําวันของกลุ่มชนเรียนรู้สืบต่อกันเกิดพื้นฐานและวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม เป็นลักษณะเฉพาะ
การดูแล คือ พฤติกรรมการช่วยเหลือ สนับสนุนเพิ่มความสามารถ เกิดการพัฒนา เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิตแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม
การดูแลทางด้านวัฒนธรรมคือ คุณค่าความช่วยเหลือ ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุงสภาพการณ์ส่วนบุคคล การเผชิญความตาย
การมองโลก คือ การมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคม เช่น ศาสนา เศรษฐกิจ
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล คือ การดูแลเชิงวิชาชีพที่ให้ความสําคัญกับวัฒนธรรม
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
การสงวนการดูแลด้านวัฒนธรรม
การจัดหาการดูแลด้านวัฒนธรรม
การวางรูปแบบการดูแลด้านวัฒนธรรม