Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ความหมาย
เป็นการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการ ทางการพยาบาล ค่านิยมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และ แบบแผนของพฤติกรรมต่างๆ ของคนในเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อให้การตอบสนอง ที่สอดคล้องกับความต้องการการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมนั้น
ความเข้าใจถึงบริบทของสังคมในภูมิภาคต่างๆ ที่แตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ย่อมจะต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบได้แก่ การศึกษาข้ามวัฒนธรรม (Cross cultural study) หรือการศึกษาวัฒนธรรมข้ามชาติ (Inter - cultural study) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่
เป็นแนวทางที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ ที่จะช่วยอธิบายถึงความแตกต่างของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของสังคมเหล่านั้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมใน
ยุคศตวรรษที่21
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
ในการดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ ดังนี้
2) มีความเข้าใจ ตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ เชื้อชาติ เพศ และพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
3) มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
4) มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity)
1) มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคม
5) มีบุคลิกภาพ ท่าทางเป็นมิตร เข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม
6) สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้
7) ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
8) สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสม และสอดคล้องตามวัฒนธรรม
9) บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
10) พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
11) ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติ
12) สามารถรักษาลับของข้อมูล ความเชื่อของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
มีกรอบแนวคิดทางการพยาบาล 4 มโนมติ
ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยม บรรทัดฐานของแต่ละบุคคล
ด้านบุคคล ซึ่งแต่ละคนย่อมมีแบบแผนการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
ด้านสุขภาพ เป็นสภาวะการผสมผสานการตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาล ควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดร่วมสมัย ที่จะสะท้อนถึงการให้การพยาบาลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
พยาบาลมีการมีความไวทางวัฒนธรรม
องค์กรมีความไวทางวัฒนธรรม เช่นมี ล่ามภาษา มีป้ายหรือสัญลักษณ์หลายภาษา
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นการพยาบาลตามวิถีชีวิตของมนุษย์สิ่งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดสาคัญที่สามารถนำมาใช้พัฒนาทักษะด้านความเข้าใจความต่างทางวัฒนธรรม
เป็นการผสมผสานการพยาบาลตามมาตรฐานที่สภาการพยาบาลกาหนดร่วมกับการนำข้อมูลเชิงวัฒนธรรมของผู้รับบริการมาวางแผนการพยาบาล
มีความไว(SENSITIVE) ในการรับรู้ความ แตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้รับบริการ
เเนวคิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม
แนวคิดของมนุษนิยม
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
ความสำคัญของวัฒนธรรมต่อระบบบริการสุขภาพ
การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบ สุขภาพระดับปฐมภูมิ
การรณรงค์เกี่ยวกับ เพศสภาวะ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทชายและหญิง มีการ เคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกัน
การยอมรับนับถือ การมีคุณค่า ศักดิ์ศรีของชีวิตมนษุษย์ความเชื่อ วิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคล และสิทธิมนุษยชน
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคม
ประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปในพื้นที่ต่างๆเพิ่มขึ้น
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในกระบวนการพยาบาล Nursing process
Nursing tAssessemntประเมินข้อมูลดูวิถีชีวิต แนวคิดและความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
Nursing diagnosis วินิจฉัยการพยาบาลใช้มุมมองของผู้รับบริการเป็นหลัก
Nursing care plan วางแผนการพยาบาล กระทำตามความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ครอบครัวและเน้นการมีส่วนร่วม
Nursing care ปฏิบัติการพยาบาลการดูแล ควรคานึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรม และ สนองตอบต่อค่านิยม หรือไม่แตกต่างมากนัก
Nursing evaluation Nursing ประเมินผล–ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ทาให้สุขภาพดี หายจากโรค หรือตายอย่างสงบ ประเมินโดยใช้ผู้ป่วย ครอบครัวและการยอมรับของกลุ่มชนเป็นหลัก
หลักการสำคัญในการพยาบาลผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรม(4A 2I SE)
Acknowledging the nurse and client’s cultural heritage ให้ความสำคัญและเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิหลังของพยาบาล และผู้ใช้บริการซึ่งกันและกัน
Assessing the client 'view of the situation ประเมิน มุมมองหรือทัศนะในสถานการณ์หรือสภาวะที่ผู้ใช้บริการประสบอยู่
Avoiding Language Barriers หลีกเลี่ยงความผิดพลาดในการ สื่อสารด้านภาษา
Involving all family members ให้ครอบครัวมีส่วนร่วม ตลอดกระบวนการ
Identifying significant others Identifying significant others กำหนดบุคคลหรือสิ่ง สำคัญที่มีความหมายต่อวิถีชีวิต
Evaluation nursing actions ประเมินผลการกระทำ
Supporting nutritional preference ให้การสนับสนุน ด้านอาหารหรือโภชนาการที่ชอบ
Avoiding prejudice and cultural bias หลีกเลี่ยงความ ลำเอียงและอคติหรืออุปทานเกี่ยวกับวัฒนธรรม