Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรก น้ำคร่ำ…
บทที่ 6
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรก น้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ
ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ
1.น้ำคร่ำมากกว่าปกติ (polyhydramnios)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมาก
เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 หรือ 97.5 ของแต่ละอายุครรภ์
พยาธิสรีรวิทยา
ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำจะสัมพันธ์กับ
ความสมดุลของปริมาณของเหลวที่เข้าและออกจากถุงน้ำคร่ำ
สาเหตุ
ด้านมารดา
มารดาเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก
GI tract obstruct , anencephalus
Twin-twin transfusion syndrome (TTTS)
การจำแนกแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน (acute hydramnios ) มีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วัน ทำให้หญิงตั้งครรภ์มี
อาการไม่สุขสบาย ปวดหลังและหน้าขา แน่นอึดอัดในช่องท้อง หายใจลำบาก
2.ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง (chronic hydramnios ) ปริมาณน้ำคร่ำจะค่อยๆเพิ่มขึ้น
ผลต่อการตั้งครรภ
ผลต่อทารก
เกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกำหนด
เกิดภาวะ fetal distress จากการเกิดสายสะดือย้อย
ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงท
ผลต่อมารดา
เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่ เช่น อึดอัด
หายใจลำบาก ท้องอืด
เกิดการคลอดก่อนกำหนด
ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลง
ตกเลือดหลังคลอด
และติดเชื้อหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
1.แน่นอึดอัด หายใจลำบาก เจ็บชายโครง
มีอาการบวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติอาการ และอาการแสดงการเกิดภาวะครรภ์แฝดน้ำ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หาค่า amniotic fluid index (AFI) เกณฑ์ในการวินิจฉัยครรภ์แฝดน้ำคือ
การวัดAFI
ได้ค่ามากกว่า 24 เซนติเมตรขึ้นไป
การตรวจร่างกาย พบหน้าท้องขยายใหญ่
คลำหาส่วนต่างๆของทารกได้ลำบากและฟังเสียง FHS ไม่ได้ยินหรือได้ยิน
ไม่ชัดเจน
การดูแลรักษา
การเจาะดูดน้ำคร่ำออก (amnioreduction)
การรักษาด้วยยา prostaglandin synthetase inhibitors อายุครรภ์น้อยกว่า
32 สัปดาห์
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
4.ให้ยาขับปัสสาวะหากพบมีภาวะบวม
ให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก (tocolytic drug)
การเจาะถุงน้ำในระยะคลอด ให้น้ำคร่ำไหลช้าที่สุด
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในรายที่มีส่วนนำและท่าของทารกที่ผิดปกติ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกาย
ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง จากการขยายตัวของมดลูก
➢ จัดท่ามารดานอนตะแคง ยกศีรษะสูงประมาณ 30 องศา
➢ สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ congestive heart failure
➢ แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
➢ แนะนำให้มารดาสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย
➢ ดูแลให้ได้รับการเจาะดูดน้ำคร่ำออก ตามแผนการรักษาของแพทย์
สัญญาณชีพ, FHS, การหดรัดตัวของมดลูก ก่อนและหลังการรักษา
➢เฝ้าระวังและตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนกับหญิงตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะ
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกัน
การตกเลือดหลังคลอด
ให้การพยาบาล
โดยเฉพาะดูแลการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ระยะคลอด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ให้นอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ฟัง FHS ในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15 นาที
ให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
ขณะแพทย์เจาะถุงน้ำ ต้องระมัดระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ แล้วควรจัดให้มารดา
6.นอนพักบนเตียงเพื่อป้องกันภาวะสายสะดือย้อย
น้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ (oligohydramnios)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 300 มิลลิลิตร
สาเหตุ
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การตั้งครรภ์เกินกำหนด
รกเสื่อมสภาพ
ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 18, turner syndrome
ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ โดยเฉพาะระบบของไตและ
ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นไตตีบ (renal agenesis) มีถุงน้ำในท่อไต (cystic kidneys)
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
ผลต่อทารก
2.มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
3.ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia) เนื่องจากมีการกดต่อผนังทรวงอก
1.Amniotic band syndrome คือการเกิดเยื่อพังผืดรัดและดึงรั้งมือ
และแขนหลายบริเวณ
เนื่องจากการมีน้ำคร่ำน้อยในโพรงมดลูก
4.ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
5.ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การวินิจฉัย
การวัดดัชนีน้ำคร่ำ amniotic fluid index (AFI) มีค่าน้อยกว่า 5 เซนติเมตร
การวัดโพรงน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง (maximum ventrical pocket, MVP) โดยการสำรวจโพรงน้ำคร่ำเพื่อหาส่วนที่ลึกที่สุด หากพบว่า MVP มีค่าน้อยกว่า 1 หรือ 2 เซนติเมตร ให้ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย
ในกรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ ขนาดของถุงน้ำคร่ำ (mean gestational sac) กับขนาดของทารก โดยวัดจาก crown-rump length (CRL)
การรักษา
พิจารณาตามอายุครรภ์
1.การเติมน้ำคร่ำ (amnioinfusion) ด้วย normal saline/ ringers lactate 5%
glucose เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดแฟบ
2.การดื่มน้ำมากๆ ทำให้ปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
3.การประเมินภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด และการรักษาภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว และแนวทางการรักษา
ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร้ำ (amnioinfusion) ตามแผนการรักษาของแพทย์
รับฟังปัญหา แสดงความเห็นอกเห็นใจ และกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ระบายความรู้สึก
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intra Uterine Growth Restriction: IUGR)
หมายถึง ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ไม่เป็นไป
ตามปกติ ถึงแม้อายุครรภ์จะครบกำหนดแล้วก็ตาม
ทารกที่มีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์(small for gestational age: SGA) แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม :
ทารกที่มีขนาดเล็กตามธรรมชาติ (constitutionally small) หมายถึงทารกที่มีขนาดเล็กเนื่องมาจากมารดาตัวเล็ก หรือปัจจัยทางพันธุกรรม โดยไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต
2 ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intra Uterine Growth Restriction: IUGR/ Fetalgrowth restriction: FGR) หมายถึงทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะทุพโภชนาการ
สาเหตุ
ด้านมารดา
มารดามีรูปร่างเล็ก
ภาวะขาดสารอาหาร น้ำหนักของมารดาไม่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางรุนแรง เช่น โรคธาลัสซีเมีย
มารดามีภาวะติดเชื้อ
โรคของมารดา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพของมารดา เช่น การใช้สารเสพติด การใช้ยา
การตั้งครรภ์แฝด ทำให้สารอาหารที่ไปยังทารกลดลง
ด้านทารก
ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้าง และอวัยวะของร่างกาย เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (anencephalus) ผนังหน้าท้องไม่ปิด (gastroschisis)
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ เช่น cytomegalovirus, rubella, toxoplasma gondii,listeriosis, วัณโรค, การติดเชื้อมาเลเลีย
ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 21, trisomy 13, trisomy 18
การจำแนกประเภทของ IUGR
1.ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (symmetrical IUGR) ทารกในกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตช้าทุกระบบของร่างกาย
สตรีตั้งครรภ์มีภาวะทุพโภชนาการ
สัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซมหรือการติดเชื้อในระยะแรกของการตั้งครรภ
การได้รับยาหรือสารเสพติด
ทารกพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะความพิการเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด
ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (asymmetrical IUGR) ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าแบบไม่ได้สัดส่วน
การวินิจฉัย
การซักประวัติ เพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมของการเกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
การตรวจร่างกาย
1.พบว่าขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์ 3 เซนติเมตรขึ้นไป
น้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อยหรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก
3.การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (ultrasound)
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำมารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือ สารเสพติด
แนะนำให้มารดาพักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้าย ซึ่งจะช่วยให้การไหลเวียนเลือดที่รกดีขึ้น
3.ติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยแนะนำให้มารดานับลูกดิ้นทุกวัน การทำ NST,OCT นอกจากนี้ควรได้รับการตรวจสุขภาพโดยการ U/S โดยตรวจซ้ำทุก
2-3 สัปดาห์
ระยะคลอด
1.ควรติดตาม ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด เพราะทารก มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ fetal distress
2.ติดตามประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
3.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจทารกทุก ½ - 1 ชั่วโมง
4.หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด เนื่องจากยาจะกดการหายใจของทารกได้
5.กุมารแพทย์ และเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดไว้ให้พร้อม
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะ
hypoglycemia, hypothermia, polycythemia เป็นต้น