Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการ และความสำคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing) จึงเป็นการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และ การปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์ พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการ ทางการพยาบาล ค่านิยมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และ แบบแผนของ พฤติกรรมต่างๆ ของคนในเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อให้การตอบสนอง ที่สอดคล้องกับความ ต้องการการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมนั้น โดยผู้ให้บริการจะต้องมีความไวในการรับรู้และให้การ พยาบาลที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุดและรู้สึกพึงพอใจในการเข้ารับบริการ
ความเข้าใจถึงบริบทของสังคมในภูมิภาคต่างๆ ที่แตกต่างกันทางด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ย่อมจะต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบได้แก่ การศึกษาข้ามวัฒนธรรม (Cross cultural study) หรือการศึกษาวัฒนธรรมข้ามชาติ (Inter - cultural study)
การปฏิบัติการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดทางการพยาบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยง ระหว่างการพยาบาลและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้รับบริการ ดังนั้นคำว่า “ข้าม” ในที่นี้ไม่ได้ หมายถึง ข้ามพรมแดน หรือใช้หลักการทางภูมิศาสตร์ แต่หมายถึงการข้าม วัฒนธรรมซึ่งเป็นหลักการทางพฤติกรรม ศาสตร์ ซึ่งเน้นกระบวนการและวิธีคิดของคนหรือกลุ่ม
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
เป็นการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
วัฒนธรรมจึงความสำคัญต่อ ระบบบริการสุขภาพ
การยอมรับนับถือ การมีคุณค่า ศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ความเชื่อ วิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของบุคคล และ สิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น
ปรับเปลี่ยน ระบบการให้บริการสุขภาพเพื่อให้เหมาะสมกับเพศสภาวะ
ให้บริการเพื่อรองรับประชาชนที่มีความหลากหลายและมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันตามสภาพพื้นที่
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสารโทรคมนาคม และ ประชาชนสามารถ รับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย
การเปลี่ยนฐานความคิดในการดูแลจากการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยเฉพาะการปฏิรูประบบ สุขภาพระดับ ปฐมภูมิที่ต้องการใช้แนวคิด ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ในการให้บริการจึงทำให้พยาบาลชุมชนผู้ซึ่ง รับผิดชอบ การให้บริการระดับปฐมภูมิต้องปรับวิธีคิด และกระบวนการท างานในชุมชน ในการเพิ่มมิติทาง สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีของผู้รับบริการมากขึ้น เพื่อให้เกิดภาพการบริการที่ตรงตามสภาพ ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นแนวคิดสำคัญที่สามารถนำมาใช้พัฒนาทักษะด้านความเข้าใจความ ต่างทางวัฒนธรรม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นการนำแนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม (holistic nursing) มาผสมผสานกับแนวคิดมานุษยวิทยา (anthropology)
ด้านบุคคล
ด้านสุขภาพ
ด้านสิ่งแวดล้อม
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
การศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ทบทวนและพัฒนาแนวคิดของการ พยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมใหม่โดยเน้นองค์ประกอบของการดูแลใน 4 มิติ
การสร้างสัมพันธภาพเป็นจุดสำคัญของการพยาบาลและเป็นพื้นฐานการดูแล
ผู้ป่วยจะมีการให้คุณค่ากับสุขภาพและวิถีชีวิตที่หลากหลาย
การให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ที่ประกอบด้วยกายและจิต
พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลาย
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรมมีทั้งมิติที่กว้างและแคบ
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้ มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มี ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม
ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
มีบุคลิกภาพ ท่าทางเป็นมิตร เข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้าน เชื้อชาติ วัฒนธรรม
สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสม
มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity) รู้จักสังเกต ค้นหา ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดาเนิน ชีวิตตลอดจนพฤติกรรมการปฏิบัติตน
บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
มีความเข้าใจ ตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ เชื้อชาติ เพศ และพฤติกรรมต่างๆ
มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
สามารถรักษาลับของข้อมูล
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการ พยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาลและการดูแล
การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาล
การประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
การประเมินผู้ป่วย ดูข้อมูล ดูวิถีชีวิต และแนวคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
การดูแลทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายแตกต่างกันจะยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง จะพิจารณาถึงวิถี ชีวิต ความเชื่อ ความเข้าใจภาษา ตลอดจนความแตกต่างในมิติทางขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของ ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนร่วมด้วย