Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
ทฤษฎีการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติโดยสังเขปของนักทฤษฎี
เมดาลิน เอ็ม ไลนินเจอร์ (Madeleine M. Leininger) เป็นพยาบาลวิชาชีพ ได้รับปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรมจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) เสนอแนวคิดการดูแลทางวัฒนธรรม (Cultural Care) ตั้งแต่ปี 1950 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนเปลี่ยนชื่อเป็นทฤษฎีการดูแลเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายและเป็นสากล (Culture care diversity and universality) เมื่อปี 1991
ความเป็นมาของทฤษฎี
ในระหว่างปี ค.ศ. 1950 ระหว่างที่ไลนินเจอร์ทำงานเป็นพยาบาลจิตเวช (psychiatric nurse) จากประสบการณ์ในการดูแลเด็กที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พบว่า เด็กเหล่านี้มีความแตกต่างกันทั้งในด้านการแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร การเล่น การนอน การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน พยาบาล และพ่อแม่ ในขณะที่พยาบาลและทีมสุขภาพยังขาดความเข้าในและยังไม่ตระหนักในความแตกต่างของทางวัฒนธรรมเหล่านี้
แนวคิดสำคัญของทฤษฎี
การดูแล (Care) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ สนับสนุน บุคคล ครอบครัว หรือชุมชน ในการตอบสนองความต้องการของตนเองและปรับปรุงวิถีชีวิต หรือการเผชิญ ความตายได้อย่างเหมาะสม
วัฒนธรรม (Culture) หมายถึง การเรียนรู้และถ่ายทอดค่านิยม ความเชื่อ บรรทัดฐานและวิถีชีวิต ของกลุ่มคน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการคิด การตัดสินใจ และการปฏิบัติของกลุ่มนั้น ๆ
การดูแลเชิงวัฒนธรรม (Cultural care) หมายถึง การเรียนรู้และการถ่ายทอดค่านิยมความเชื่อ รูปแบบวิถีชีวิต ในการส่งเสริม สนับสนุน บุคคลและชุมชน เพื่อคงไว้ซึ่งความผาสุก สุขภาวะ ในการเผชิญกับความเจ็บป่วย ความพิการ หรือความตาย
ความหลากหลายของการดูแลเชิงวัฒนธรรม (Culture care diversity) หมายถึง ความแตกต่างในความหมาย ค่านิยม รูปแบบการแสดงออก วิถีชีวิต ของแต่ละวัฒนธรรม ในการช่วยเหลือสนับสนุนการดูแลของประชาชน
ความเป็นสากลของการดูแลเชิงวัฒนธรรม (Culture care universality) หมายถึง ความหมาย ค่านิยม รูปแบบการแสดงออก วิถีชีวิต ที่เหมือนกันของแต่ละวัฒนธรรม และสะท้อนให้เห็นถึงการช่วยเหลือ สนับสนุนการดูแลของประชาชน
การพยาบาล (Nursing) หมายถึง วิชาชีพและศาสตร์ในการเรียนรู้มนุษย์ โดยมีจุดเน้นอยู่ที่การศึกษาปรากฏการณ์ดูแลของมนุษย์ และกิจกรรมในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน บุคคลหรือชุมชน ในการคงไว้ซึ่งสุขภาวะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรม
โลกทัศน์หรือทัศนะ (Worldview) หมายถึง มุมมองของบุคคลต่อโลกรอบตัวหรือค่านิยมเกี่ยวกับชีวิตหรือโลกรอบตัว
มิติของโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม (Cultural and social structure dimensions) หมายถึง การเปลี่ยนของรูปแบบหรือคุณลักษณะที่สัมพันธ์กับโครงสร้างหรือองค์ประกอบ และปัจจัยต่าง ๆ ในวัฒนธรรมนั้น ๆ ซึ่งรวมถึงปัจจัยทางศาสนา สังคม การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา เทคโนโลยี และค่านิยมทางวัฒนธรรม
บริบทของสิ่งแวดล้อม (Environmental context) หมายถึง เหตุการณ์ สถานการณ์หรือประสบการณ์เฉพาะในการให้ความหมาย การแสดงออก และความสัมพันธ์ทางสังคมของแต่ละวัฒนธรรม
ระบบการดูแลพื้นบ้าน (Generic/folk care system) หมายถึง การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม การถ่ายทอดความรู้และทักษะที่ใช้ภายในวัฒนธรรม เพื่อการช่วยเหลือสนับสนุนกระบวนการดูแลสุขภาพ
ระบบการดูแลเชิงวิชาชีพ (Professional care system) หมายถึง ความรู้ และทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ความเจ็บป่วย และสุขภาวะ ซึ่งได้รับการสอน การเรียนรู้ และ การถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ
มโนมติหลักและกรอบแนวคิดของทฤษฎี
บุคคล มีความเป็นสากลในทุกวัฒนธรรม แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของค่านิยม รูปแบบการแสดงออก วิถีชีวิต ของแต่ละวัฒนธรรม รวมทั้งมีมุมมองของบุคคลต่อโลกรอบตัวหรือค่านิยมเกี่ยวกับชีวิตหรือโลกรอบตัวที่แตกต่างกัน เรียกว่า โลกทัศน์หรือทัศนะของบุคคลเกี่ยวกับวัฒนธรรมสุขภาพ
สิ่งแวดล้อม หมายถึง โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างกัน และเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
สุขภาพ ในทุกวัฒนธรรมทั่วโลกจะมีระบบการดูแลที่เป็นสากล 2 ระบบ คือ ระบบการดูแลพื้นบ้าน (Folk/indigenous or naturalistic lay care system) และระบบการดูแลสุขภาพเชิงวิชาชีพ
การพยาบาล เป็นการช่วยเหลือดูแลบุคคลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของวัฒนธรรมซึ่งมีความหลากหลายและเป็นสากล ดังนั้น รูปแบบการดูแลจะต้องมีส่วนร่วมกันระหว่างผู้ดูแลผู้ใช้บริการในการตัดสินใจ วางแผน ดำเนินการ และประเมินผล
4.1 การสงวนและดำรงไว้ซึ่งการดูแลด้านวัฒนธรรม หรือการคงไว้ซึ่งการดูแลตามวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ (Cultural care preservation
4.2 การจัดหาและการต่อรองเพื่อการดูแลด้านวัฒนธรรม หรือการปรับการดูแลในวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ (Cultural care accommodation)
4.3 การวางรูปแบบและโครงสร้างใหม่เพื่อการดูแลด้านวัฒนธรรม หรือการเปลี่ยนรูปแบบการดูแลในวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ (Cultural care Repatterning)
แนวทางในการนำทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
การประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูลให้ครอบคลุมปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการดูแล
สุขภาพของบุคคล ให้ครอบคลุมทั้งมิติทางโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล วินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาลให้ครบทั้งด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ โดยเน้นผลกระทบของวัฒนธรรมต่อปัญหาของผู้ใช้บริการ ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล เช่น
1) ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากมีความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาที่ไม่สอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์
2) ไม่สามารถดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลได้ตามคำแนะนำ เนื่องจากมีความเชื่อและปฏิบัติตามวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพหลังคลอดบุตรความเชื่อและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
3) ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอสำหรับการหายของแผล เนื่องจากปฏิบัติตามความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเจอย่างเคร่งครัด
4) เสี่ยงต่อการลุกลามและเกิดความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนของโรค เนื่องจากแผนการรักษาไม่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา
5) เสี่ยงต่อแผลหายช้าและเกิดการติดเชื้อลุกลาม เนื่องจากการรักษาบาดแผลตามความเชื่อและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
การวางแผนการพยาบาล กำหนดเป้าหมายการพยาบาลที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่แสดงว่าปัญหาที่มีสาเหตุจากความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการบรรเทาลงหรือหมดไปโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม
การปฏิบัติการพยาบาล เลือกวิธีการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นการดูแลที่สอดคล้องกลมกลืนกับวัฒนธรรมของบุคคลตามหลักการดูแลเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้การพยาบาลสอดคล้องกลมกลืนกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการมากที่สุด
1) เปรียบเทียบข้อมูลแนวทางการดูแลสุขภาพตามแนวปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและวิธีการดูแลตนเองตามความเชื่อของผู้ป่วย (การสงวนและดำรงไว้ซึ่งการดูแลด้านวัฒนธรรม)
2) ร่วมกับผู้ป่วยหาแนวทางในการดูแลที่ผู้ป่วยจะสามารถปรับให้สอดคล้องกับแนวทางการดูแลที่จำเป็นได้ โดยผสมผสานความต้องการและความเชื่อของผู้ป่วย
3) ทดลองให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกสรร และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม (การวางรูปแบบและโครงสร้างใหม่เพื่อการดูแลด้านวัฒนธรรม)
การประเมินผล (Evaluation) ประเมินผลการการพยาบาลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ให้ครบทั้งด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
ตัวอย่างการปฏิบัติการพยาบาลที่นำทฤษฎีไปใช้
การประเมิน ข้อมูลสำคัญจากการประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผน
การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่า ผู้ป่วยสามารถนำอาหารมาจากบ้านได้โดยไม่ต้องรับประทานอาหารของโรงพยาบาลและให้รับประทานอาหารตามเวลาของผู้ป่วยได้
แนะนำให้รับประทานอาหารที่ย่อยช้าและมีกากใยมาก เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพด ถั่วลันเตา ถั่วต่าง ๆ ผักคะน้า บร็อคโคลี่ แครอท สาลี่ แอปเปิ้ล เป็นต้น เพื่อให้ใช้เวลาในการย่อยอาหารและให้พลังงานแก่ร่างกายนานขึ้น
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแบบแผนการรับประทานอาหารของผู้ป่วยในเดือนรอมฎอนเพื่อปรับเวลาการให้ยาและขนาดยาให้สอดคล้องกับแบบแผนการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติศาสนกิจของผู้ป่วย
ดูแลให้ได้รับยาก่อนอาหารเช้าโดยให้ยาหลังจากละศีลอด แล้วไปทำละหมาดค่ำซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที จึงกลับมารับประทานอาหาร และรับประทานยาหลังอาหารเย็น 30 นาทีก่อนกินข้าวมื้อดึก ตามวัฒนธรรมของชาวมุสลิมที่ถือศีลอด
ติดตามประเมินระดับน้ำตาลในเลือดหลังปรับยาตามแผนการรักษา
จัดห้องให้ผู้ป่วยสำหรับการละหมาดโดยประยุกต์ห้องพักพยาบาลให้มีพื้นที่สำหรับการละหมาดได้และแจ้งให้พยาบาลทราบเวลาที่ผู้ป่วยจะใช้ห้องพักพยาบาลสำหรับการละหมาดเพื่อให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติศาสนกิจได้ตามความเชื่อ
การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยตอบคำถามเกี่ยวกับอาหารที่ย่อยช้าและมีกากใยสูงได้ และบอกให้สามีเปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นข้าวกล้องและเพิ่มผลไม้หลังอาหาร
แพทย์ปรับยาให้ผู้ป่วยโดยลดขนาดยาลง หลังปรับยาระดับน้ำตาลในเลือด 100-110 มิลิกรัม/เดซิลิตร