Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มี ปัญหาระบบทางเดินหายใจ, นางสาวศิรินาถ…
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มี
ปัญหาระบบทางเดินหายใจ
กรณีศึกษาที่1
อาการสำคัญ
: หายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม มีเสียงดังวี๊ด 3ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
3 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล ไอแห้ง ๆ และเหนื่อย ต้องไปพ่นยา VENTOLIN ที่โรงพยาบาลและได้รับยา PREDISOLONE มารับประทานต่อที่บ้าน ส่วนมากจะไอมากเวลากลางคืนโดยเฉพาะช่วงใกล้เช้าจะมีอาการมากหอบประมาณเดือนละ 2 ครั้ง มารดาพ่นยา VENTOLIN ให้แล้วอาการดีขึ้น
2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้สูง ปวดศรีษะ ไอถี่ๆ มีน้ํามูก มารดาให้รับประทานยาลดไข้และยาแก้อักเสบแต่ยังมี ไข้ต่ำ ๆ และอาเจียนปนเสมหะเป็นก้อน รับประทานอาหารได้น้อย
3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล หายใจหอบเสียงวี๊ด อกบุ๋ม มารดาพ่นยาขยายหลอดลมอาการไม่ดีขึ้นจึงนําส่งโรงพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
: Domain4 Class4
แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ
(Ineffective breathing pattern)
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective data
เมื่ออายุ 1 ปี แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบ
3 เดือนก่อน ไอแห้งๆ และเหนื่อย ส่วนมากจะไอมากเวลากลางคืนโดยเฉพาะช่วงใกล้เช้า
2 วันก่อน มีไข้สูง ปวดศีรษะ ไอถี่ๆ มีน้ำมูก รับประทานยาลดไข้และยาแก้อักเสบแต่ยังมีไข้ ต่ำๆ และอาเจียนปนเสมหะเป็นก้อน
3 ชั่วโมงก่อน หายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม มีเสียงวี๊ด
สิ่งแวดล้อมที่บ้าน ติดตุ๊กตา มีพรมในห้องนอน เลี้ยงแมวเปอร์เซีย 1 ตัว เครื่องนอนซักทุก 3 สัปดาห์
เมื่ออายุ 2 ปี เวลาเล่นหรือหัวเราะ ร้องไห้มากๆ จะมีอาการไอและดูเหนื่อย มีน้ำมูกใสเป็นๆ หายๆ เมื่อสัมผัสอากาศเย็นหรือถูกฝุ่น
Objective data
Vital sign : RR = 46/min, O_2 sat = 93%
เด็กกระสับกระส่าย หายใจเร็ว ปีกจมูกบาน หอบเหนื่อยขณะพูดและร้องไห้
Mild dry lip , purulent nasal discharge, swelling and redness nasal turbinate, Intercostal retraction, expiratory wheezing and crepitation upper lobe both lung, prolonged expiratory phase
Chest X-ray hyperinflation
skin prick test positive to house dust mite 10x8 mm.
เป้าหมายทางกการพยาบาล
:
การหายใจมีประสิทธิภาพ
เกณฑ์การประเมินผล
Siriraj clinical asthma score ให้อยู่ในเกณฑ์ 0-4 คะแนน : RR < 40/min , ไม่มีเสียงวี๊ด ,
ไม่มีอาการหอบเหนื่อย
Vital sign : RR 22-30/min , O_2sat ≥ 95-100 %
ไม่มีอาการกระสับกระส่าย
ปอดขยายตัวปกติ
ฟังปอดไม่มีเสียง wheezing และ crepitation
ไม่เกิดอาการของโรคที่รุนแรง
ไม่มีสารคัดหลั่ง เช่น หนอง ออกจากจมูก
ไม่มีการดึง รั้ง , ไม่มีอาการหายใจลำบาก , O_2sat ≥ 95 %
กิจกรรมทางพยาบาล
ประเมินอาการโรคหืดโดยใช้ Siriraj clinical asthma score ของผู้ป่วยเพื่อประเมินระดับความรุนแรงของโรคทุก 2-4 ชั่วโมง
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจนจากการหายใจ สัญญาณชีพและวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือด ทุก 4 ชั่วโมง
จัดให้นอนศีรษะสูง 30-45 องศา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับ On O_2 cannula 3 LPM keep O_2 Sat > 95% ตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยา ตามแผนการรักษา
Ventolin 1⁄2 nebulizer + NSS up to 4 ml. NB q 15min x 3 dose then q 1hr
Methylprednisolone 15 mg v q 6 hr.
Beradual 1⁄2 nebulizer + NSS up to 4ml.NB q 6 hr.
Inflammide MDI 1 puff bid.
Ventolin MDI 4 puff with spacer q 4 hr.
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ 5% DN/3 1000 ml. v 60 ml./hr ตามแผนการรักษา
ติดตามและประเมินผลข้างเคียงจากการได้รับยา
ฟังเสียงปอดเป็นระยะๆ ขณะที่เหนื่อยหอบเพื่อประเมินการหดรัดตัวที่ผิดปกติของหลอดลม
กระตุ้นให้ผู้ป่วยฝึกการหายใจวันละหลายๆ ครั้ง
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลปลอบโยนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาล
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ เช่น Chest X-ray
เปิดโอกาสให้ครอบครัวได้อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยตลอด ในระยะแรกๆ หรือ ในขณะมีอาการหอบ หายใจลำบาก โดยช่วยปลอบโยนเพื่อให้คลายความกลัวและความวิตกกังวล
ยึดหลักการดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดกับผู้ป่วยและครอบครัว
แนวทางการให้คำแนะนำโดยนำกิจกรรมตามรูปแบบ D-METHOD
D - Diagnosis
คือการให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ถึงสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
1.1 การให้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของอาการโรคหืด เช่น อาการไอ หายใจลำบาก หายใจเสียงหวีด
1.2 การให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหืด เช่น ประวัติโรคหืดในครอบครัว
1.3 การให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เช่น ค้นหาและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่สามารถก่อให้เกิดอาการหอบในผู้ป่วย
M - Medicine
การแนะนำการใช้ยาที่ตนเองได้รับ อย่างละเอียด ข้อบ่งใช้ ขนาด วิธีใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยาและสังเกตภาวะแทรกซ้อน
ยา Ventolin , ยา Amoxicillin ,ยา Inflammide MDI , ยา Prednisolone , ยา Beradual
E - Environment
การจัดสิ่งแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วย วิธีการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้โรคหืดกำเริบ
ทำความสะอาดบ้าน การหลีกเลี่ยงละอองเกสร,การสูบบุหรี่
T - Treatment คือ
ทักษะที่เป็นตามแผนการรักษา รวมถึงการเฝ้าสังเกตอาการ
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ สอนการพ่นยา การสอนและสาธิตการประเมินความรุนแรงของโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน โดยใช้เกณฑ์ของ Siriraj Clinical Asthma Score (SCAS)
H - Health
การส่งเสริม ฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถร่วมกิจกรรมประจำวันได้เป็นปกติ โดยไม่ให้อาการกำเริบ
O - Out patient
การมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้านในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินตลอดจนการส่งตัวผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
D – Diet
การเลือกรับประทานอาหารเหมาะสมกับโรค หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ส่งเสริมให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
สาเหตุของการเกิดโรค
โรคหืดหรือหอบหืดเกิดจากการอักเสบของหลอดลมเรื้อรังร่วมกับการที่หลอดเลือดมีความไวต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของโรคหืด
สารก่อภูมิแพ้ใน เช่น ฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ รวมทั้งสารพิษในอากาศ เช่น ควันบุหรี่ เป็นต้น
ยาที่ใช้ในผู้ป่วยรายนี้
ยา Ventolin
ข้อบ่งใช้ : ใช้สำหรับอาการหดของหลอดลมในผู้ป่วยโรคหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หายใจลำบากเฉียบพลัน หืดเฉียบพลันชนิดรุนแรง
ข้อควรระวังในการใช้ยา : ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ภาวะแทรกซ้อน : เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ปวดศีรษะ ตะคริว เกิดการแพ้ยาในเด็ก หลอดลมเกิดการหดเกร็งเมื่อใช้ยาในรูปแบบยาสูด หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ยา Inflammide MDI
ข้อบ่งใช้ : โรคหืด โรคริดสีดวงจมูก โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
ข้อควรระวังในการใช้ยา : ยานี้เป็นยาควบคุมป้องกันอาการอักเสบของทางเดินหายใจซึ่งจะเห็นผลช้า ควรใช้ อย่างสม่ำเสมอและถูกต้องแม้ผู้ป่วยไม่มีอาการ
ภาวะแทรกซ้อน : เสียงแหบ ระคายเคืองที่ลิ้นและปาก แสบคอ ปากแห้ง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ การรับรสเสื่อมลง กระหาย ท้องเดิน
ยา Amoxicillin
ข้อบ่งใช้ : รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย
ข้อควรระวังในการใช้ยา : ผู้ป่วยโรคไต ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาตัวนี้
ภาวะแทรกซ้อน : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และต้อองแจ้งแพทย์ทันทีหากมีอาการข้างเคียงร้ายแรง ได้แก่ ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีมูกปนเลือด ลิ้นและคอบวม หายใจลำบาก เลือดออกง่าย เกิดเชื้อราในช่องปาก ตัวเหลือง ตาเหลือง
ยา Prednisolone
ข้อบ่งใช้ : ใช้รักษาและป้องกันโรคหืด
ข้อควรระวังในการใช้ยา : หลีกเลี่ยงการใช้เพรดนิโซโลนเป็นเวลานาน ในทารกแรกเกิด และเด็ก
ภาวะแทรกซ้อน : อาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s syndrome) และการเจริญเติบโตล่าช้าในเด็ก กระดูกพรุน กระดูกหัก แผลในกระเพาะอาหาร ต้อหิน ต้อกระจก ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนอักเสบ
ยา Beradual
ข้อบ่งใช้ : เป็นยาขยายหลอดลมที่ใช้ป้องกันและรักษาอาการที่เกิดจากทางเดินหายใจตีบแคบ ลงในโรคหอบหืดและโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
ข้อควรระวังในการใช้ยา : ในผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืดและผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังระดับความรุนแรงน้อย ควรใช้ยาเฉพาะเมื่อมีอาการจะดีกว่าการใช้ยาเป็นประจำ
ภาวะแทรกซ้อน : กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ปากแห้ง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็วและใจสั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ไวต่อยากลุ่มนี้
ยา Methylprednisolone
ข้อบ่งใช้ : ใช้เพื่อรักษาโรคปอด แต่สามารถรักษาโรคข้ออักเสบ (arthritis) ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด อาการแพ้ที่รุนแรง โรคมะเร็งบางชนิด สภาวะเกี่ยวกับดวงตา โรคผิวหนัง โรคไต โรคลำไส้ และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ข้อควรระวังในการใช้ยา : หลีกเลี่ยงการใช้ยา Methylprednisolone หากมีประวัติแพ้ยานี้ หรือเกิดการติดเชื้อราตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อน : การใช้ยา Methylprednisolone อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ภาวะคั่งน้ำ เวียนศีรษะ บ้านหมุน ประจำเดือนผิดปกติ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท้องอืด ไม่สบายท้อง เป็นต้น
ยา Maxiphed
ข้อบ่งใช้ : เป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลจากโรคหวัด ไซนัสอักเสบ และโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจอื่น ๆ โดยขนาดยาที่ใช้ในเด็ก 4 mg/kg/day (3-5 mg/kg/day) คิดจาก pseudoephedrine แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง หรือ 1 mg/kg/ครั้ง คิดจากน้ำหนักตัว
อาการไม่พึงประสงค์ : หายใจไม่ออก หายใจติดขัด หายใจลำบาก หน้าบวม ปากบวม หัวใจเต้นเร็ว แรง หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ
ข้อควรระวังในการใช้ยา : ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้ ไม่ควรใช้ยาซูโดอีเฟดรีนในเด็กอายุต่ำกว่า 2-4 ปี เพราะอาจมีผลข้างเคียง
ยา Paracetamol
ข้อบ่งใช้ : ยาพาราเซตามอล (paracetamol) เป็นยาที่มีฤทธิ์แก้ปวดลดไข้ สามารถใช้ได้ในเด็ก โดยขนาดยาพาราเซตามอลที่เหมาะสมคือ 10 – 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ เด็กไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 5 วัน
อาการไม่พึงประสงค์ : ปวดศีรษะ ปวดหรือไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ข้อควรระวังในการใช้ยา :ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีน้ำหนักตัวน้อย
นางสาวศิรินาถ ศรีคิรินทร์ 6102027