Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สัจจะและบริการว่าด้วย “คุณธรรมจริยธรรม” - Coggle Diagram
สัจจะและบริการว่าด้วย “คุณธรรมจริยธรรม”
ต้นแบบชีวิต(The Life Model) : ตัวชี้วัดความเป็นผู้ใหญ่
3.วัยผู้ใหญ่
อายุตั้งแต่13ปี–จนมีลูกคนแรก(13 ขวบเป็นวัยแรกสุดที่เราอาจบรรลุหน้าที่ของวัยผู้ใหญ่ได้)หน้าที่หลักที่ต้องทำให้สำเร็จในช่วงวัยนี้คือ:ดูแลตนเองและผู้อื่นในเวลาเดียวกันปัญหาสำคัญที่จะตามมาในวัยผู้ใหญ่หากไม่สามารถทำหน้าที่ให้สำเร็จได้ตามช่วงวัย:ขาดศักยภาพที่จะมีความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ
2.วัยเด็ก
อายุตั้งแต่ 4 –12 ปี(12 ขวบเป็นวัยแรกสุดที่เด็กจะสามารถทำหน้าที่ในวัยนี้ได้อย่างครบถ้วน)หน้าที่หลักที่ต้องทำให้สำเร็จในช่วงวัยนี้คือ:ดูแลตนเองปัญหาสำคัญที่จะตามมาหากไม่สามารถทำหน้าที่ให้สำเร็จได้ตามช่วงวัย:ไม่มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง
4.วัยพ่อแม่: มีลูกคนแรก –ลูกคนสุดท้องเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
หน้าที่หลักที่ต้องทำให้สำเร็จในช่วงวัยนี้คือ:เรียนรู้ที่จะเสียสละเพื่อลูกปัญหาสำคัญที่จะตามมาหากไม่สามารถทำหน้าที่ให้สำเร็จได้ตามช่วงวัย:ห่างเหินหรือขัดแย้งกันในครอบครัว
1.วัยทารก
วัยทารก : ทารกแรกเกิดถึง 3 ขวบ(เด็กแรกเกิดและวัยเตาะแตะจะอยู่ในช่วงวัยนี้จนกว่าเขาจะสามารถบอกความต้องการของตัวเองได้อย่างชัดเจน)หน้าที่หลักที่ต้องทำให้สำเร็จในช่วงวัยนี้คือ:เรียนรู้ที่จะรับปัญหาส าคัญที่จะตามมาในวัยผู้ใหญ่หากไม่สามารถทำหน้าที่ให้สำเร็จได้ตามช่วงวัย:มีความสัมพันธ์ที่อ่อนแอและสับสนวุ่นวาย/รุนแรงหน้าที่ของเรา
ผู้สูงวัย: เริ่มต้นเมื่อลูกคนสุดท้องกลายเป็นผู้ใหญ่
หน้าที่หลักที่ต้องทำให้สำเร็จในช่วงวัยนี้คือ:ดูแลชุมชนด้วยความเสียสละปัญหาสำคัญที่จะตามมาหากไม่สามารถทำหน้าที่ให้สำเร็จได้ตามช่วงวัย:ระดับความเป็นผู้ใหญ่ของชุมชนโดยรวมถดถอย/เสื่อมลง
ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม
คุณธรรมจริยธรรม
เป็นพื้นฐานที่สำคัญของคนทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพใดไม่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและแห่งวิชาชีพนั้นๆ การขาดคุณธรรมจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้ายต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตได้อีกด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งวงการวิชาชีพครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร นักการเมืองการปกครอง ฯลฯ จึงมีคำกล่าวว่าเราไม่สามารถสร้างครูดีบนพื้นฐานของคนไม่ดี และไม่สามารถสร้างแพทย์ ตำรวจ ทหารและนักการเมืองที่ดี ถ้าบุคคลเหล่านั้นมีพื้นฐานทางนิสัยและความประพฤติที่ไม่ดี
คุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญ
3. ช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้แก่บุคคลในชาติ
4. ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนมากขึ้น
2. ช่วยให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
5. ช่วยให้มนุษยนำความรู้และประสบการณมาสร้างสรรค์แต่สิ่งที่มีคุณค่า
1. ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ
6. ช่วยควบคุมความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เจริญไปพร้อม ๆกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยพายัพ กับ หลักพันธกิจ 5 ประการเจตนารมณ์ของหลักพันธกิจ 5 ประการของมหาวิทยาลัยพายัพ
การมุ่งเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรมของมหาวิทยาลัยพายัพ
เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของหลักพันธกิจ 5 ประการ และการมุ่งเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างชัดเจน มหาวิทยาลัยพายัพโดยสำนักงานศาสนกิจได้จัดให้มีการเผยแพร่หลักพันธกิจของมหาวิทยาลัยพายัพแก่นักศึกษาและบุคลากร โดยหลักพันธกิจ 5 ประการได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการศาสนกิจ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยพายัพ ในปีพ.ศ. 2553 และแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ใหม่ของมหาวิทยาลัยปี 2553-2559 คณะกรรมการสภามาหาวิทยาลัยได้มีค าสั่งให้ทำการเผยแพร่หลักพันธกิจให้แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยพายัพทุกคนหลักพันธกิจ 5 ประการของมหาวิทยาลัยพายัพได้แก่
พันธกิจที่ 2 การเป็นผู้ดูแลที่สัตย์ซื่อ Faithful Stewardship (ใส่ใจ Stewardship)
รู้รับผิดหากทำผิด รู้รับชอบหากทำดี รู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้รับผิดชอบต่อตนและผู้คนในสังคม รู้สิ่งใดมีคุณค่าน่า “ใส่ใจ”
เมื่อโลกถูกทำลายด้วยมนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องหันมาใส่ใจในการรักษ์โลกด้วยการสร้างความตระหนักรู้และรับผิดชอบในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุณค่า ดูแลรักษา ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องห่วงใยผู้อื่น ห่วงใยสิ่งแวดล้อม และสร้างลักษณะนิสัยในคิดและทำเพื่อส่วนรวมโดยวิธีการ
กุญแจที่ 2 ความยั่งยืน (Sustainable)
ชาวพายัพประหยัดและใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ
กุญแจที่ 3 การพัฒนา (Development)
ชาวพายัพจะให้ความสนใจในการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการฝึกและทำจนเป็นนิสัย เพื่อจะทำให้จิตวิญญาณ อารมณ์สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ทั้งกายและใจ เข้มแข็งขึ้นพระคัมภีร์ได้บันทึกเรื่องราวการกำเนิดของจักรวาลและโลกเอาไว้ เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เป็นคำสอนทางวิทยาศาสตร์หรือประวัติศาสตร์ หากแต่เป็นเรื่องราวที่สอนความจริงประการสำคัญ คือสอนว่าพระเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาได้ทรงสร้างทุกสิ่งขึ้น ดังนั้น พระเจ้าจึงเป็นเจ้าของและเป็นผู้ครอบครองทุกสิ่ง พระองค์ทรงคู่ควรต่อการยกย่องสรรเสริญและการเชื่อฟังจากเรื่องราวในพระคัมภีร์ พระเจ้าทรงมอบหมายให้มนุษย์ดูแลรักษาสิ่งต่างๆ ที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้น และพระเจ้าทรงบัญชาให้มนุษย์มีลูกหลาน พระบัญชานี้จึงแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ต้องรักและดูแลครอบครัวของตน นี่คือรากฐานของหลักพันธกิจที่ 2 ของมหาวิทยาลัยพายัพกล่าวคือ เราต้องเป็นผู้ดูแลที่สัตย์ซื่อ (Faithful Stewardship) ในด้านความสัมพันธ์และทรัพยากรทั้งหมดที่เรามีอยู่
กุญแจที่ 1 องค์รวม (Holistic)
การสร้างลักษณะนิสัยในการห่วงใยและรักษาสิ่งแวดล้อมในองค์รวม
พันธกิจที่ 3 บริการผ่านการทรงเรียก Service through Vocation (น้้ำใจ Service )
เอื้อเฟื้อ เกื้อหนุน เพิ่มพูนไมตรี ยิ่งมียิ่งให้ ยิ่งแบ่งปันยิ่งสุขทุกข์หายกลายเป็นดีเพราะมี “น้ำใจ” ให้กัน
พระเจ้าทรงเรียก และประทานความสามารถให้คนแต่ละคน แต่ละชุมชน เพื่อรับใช้สังคม ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาผู้น า ซึ่งจะเป็นผู้รับใช้ผู้อื่นด้วยความชื่นชมยินดีและมีประสิทธิภาพเราแสวงหาการทรงเรียกจากพระเจ้าโดยการค้นหาศักยภาพของตนเอง การพัฒนาความสามารถของตนเอง ค้นหาสิ่งที่ต้องการท าโดยสอดคล้องกับความต้องการชุมชน บนพื้นฐานของความถูกต้องและเป็นธรรม โดยวิธีการ ดังนี้
กุญแจที่ 2 ความต้องการ (Needs)
ชาวพายัพเรียนรู้ที่จะรับฟังความต้องการของชุมชน และพยายามค้นหาต้นตอของปัญหาและยอมรับในความจำเป็นและการมีส่วนร่วมในปัญหานั้น
กุญแจที่ 3 บริการด้วยความถ่อมใจ
เรายินดีที่จะทำงานร่วมกับเพื่อนบ้านของเรา เพื่อแก้ปัญหาดัวยความรักและเต็มความสามารถ โดยการพยายามค้นให้พบต้นตอของปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน ดังนั้นเราจึงเป็นผู้ช่วยนำกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงหลักพันธกิจที่ 3 ของมหาวิทยาลัยพายัพ(น้ำใจ)นั่นคือการรับใช้ผู้อื่นผ่านทางความสามารถของเราโดยตระหนักถึงความต้องการของผู้อื่น จะช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยพายัพคือ รับใช้สังคมซึ่งหมายถึงการมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นมีจิตสาธารณะ สืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นดังที่ได้กล่าวไปแล้ว พัฒนาการช่วงวัยผู้ใหญ่เป็นเวลาที่เราได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันในชุมชน รวมทั้งการจัดการกับปัญหาและความท้าทายด้วยวิถีทางที่ทุกคนพึงพอใจ เราร่วมกันสร้างความชื่นชมยินดี เราร่วมกันพักเมื่อเราเหนื่อย และเราช่วยกันและกันในการกลับไปสู่ความชื่นชมยินดี รวมทั้งอดทนเมื่อพบความยากลำบาก เพื่อที่พวกเขาจะสร้างอัตลักษณ์กลุ่มร่วมกัน นั่นคือเป็นผู้ที่ห่วงใยผู้อื่น เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และเป็นผู้ที่สร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อมหาวิทยาลัยและสังคม
กุญแจที่ 1 ของประทาน (Gifts)
เราค้นพบสิ่งที่เราชอบ และความสามารถพิเศษของเราเพื่อน ามารับใช้ซึ่งกันและกันอย่างเต็มใจ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เราจะช่วยผู้อื่นให้ค้นพบความสามารถในตัวของเขาเพื่อสามารถน ามาแก้ไขปัญหาของเขาได้
พันธกิจที่ 1 การเปลี่ยนแปลงสู่สันติสุขที่แท้จริง Transformation toward True Peace (สุขใจ Peace )
เปลี่ยนที่ไหน เปลี่ยนที่ใคร เปลี่ยนที่ใจ แค่นี้ก็ “สุขใจ”
การเปลี่ยนแปลงสู่สันติสุขแท้(ชาโลม) มหาวิทยาลัยพายัพเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงสร้างและเรียกมหาวิทยาลัยพายัพให้รับใช้สังคม ดังนั้นเราจึงทำพันธกิจโดยการเป็นผู้สร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล คณะวิชา หน่วยงาน มหาวิทยาลัยพายัพ ชุมชน สังคม ประเทศ และโลก เพื่อนำสู่การพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยวิธีการ
กุญแจที่ 2 ริเริ่มอย่างสร้างสรรค์ (Proactive)
แม้เราจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากล าบาก เราเลือกที่จะเผชิญสถานการณ์ด้วยความรักอย่างสร้างสรรค์ แทนที่จะเป็น “เหยื่อ”ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
กุญแจที่ 3อยู่อย่าง “ประสานผลประโยชน์ร่วมกัน” (Live Win Together)
การแสวงหาความดีผ่านทางการเสริมสร้างความรักความสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมโดยปราศจากความกลัว มหาวิทยาลัยพายัพมิได้เปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีเป้าหมาย เป้าหมายคือการเพิ่มความสุขที่แท้จริง(ชาโลม) ในโลกทั้งส่วนบุคคลและชุมชน มีความรัก (1 โครินธ์ 13) และความยุติธรรมเป็นพื้นฐาน เราตัดสินทุกอย่างด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างสันติสุข ชาวพายัพมีการตั้งเป้าหมายส่วนตัวและมุ่งสู่การมีสันติสุขที่แท้จริงในการดำเนินชีวิต ชาวพายัพสร้างสันติสุขโดยการตอบสนองต่อทุกสถานการณ์ในชีวิตด้วยความหวังและการสร้างสรรค์ เปลี่ยนความชั่วร้ายกลายเป็นดี ดังนั้นเราจึงเป็นผู้สร้างสันติ
กุญแจที่ 1 วิสัยทัศน์ (Visionary)
ชาวพายัพมีวิสัยทัศน์ ในการแสวงหาสันติสุขที่แท้จริง จากการมีความสัมพันธ์ที่ดีงามต่อกัน มีความยุติธรรม ซึ่งเป็นการปลูกฝังอุปนิสัย การคิดไตร่ตรอง โดยเริ่มต้นจากการก าหนดเป้าหมาย หรือ อุปนิสัยแบบเริ่มต้นด้วยผลลัพธ์สุดท้าย
พันธกิจที่ 4 สร้างความไว้วางใจด้วยสัจจะ Build Trust through Truth (จริงใจ Truth)
“สร้างจิตศรัทธา นำพาความไว้ใจ ใส่ใจสัตย์ซื่อ คือ คน ...จริงใจ”
“ความจริงทั้งสิ้นคือความจริงของพระเจ้าที่จะคงอยู่ตลอดไป” ดังนั้นเราจึงยึดหลักการมีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์โปร่งใส ในการเป็นผู้นำในการดูแลนักศึกษาเราสร้างความไว้วางใจด้วยการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ และความเป็นเลิศทางวิชาชีวิต เราจึงมีเสรีภาพในการแสวงหาความรู้ทางวิชาการ และการวิจัย เราสอนและวิจัยโดยใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพและมีจริยธรรมสูงสุด โดยอาศัยวิธีการ
กุญแจที่ 2 ศักยภาพ (Competence)
ชาวพายัพ พัฒนาความรู้และทักษะต่าง ๆ ผ่านทางการสอน การวิจัย (ที่ดี) พัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตที่ดีดัวยการฝึกปฏิบัติและการมีประสบการณ์ตรง
กุญแจที่ 3 วินัย (Discipline)
ชาวพายัพจะพูดอย่างที่คิดและทำอย่างที่พูดโดยใช้หลักการการจัดลำดับความสำคัญ 4 แบบคือ 1. เรื่องสำคัญ และเร่งด่วน 2.เรื่องเร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ 3. เรื่องสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน 4. เรื่องไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนหลักพันธกิจที่ 4 ของมหาวิทยาลัยพายัพ(จริงใจ)จะช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยพายัพคือ วิชาการก้าวหน้านั่นคือการมีความรู้ทางวิชาการ มีทักษะวิชาชีพ มีความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิดวิเคราะห์ มีศักยภาพด้านการวิจัยเชิงบูรณาการพระเยซูไม่กลัวที่จะพูดความจริง แม้การกระทำนั้นจะทำให้บางคนไม่พอใจ และเนื่องจากพวกผู้นำทางศาสนารู้ว่าพระเยซูตรัสความจริงอยู่เสมอ พวกเขาจึงพยายามหลอกล่อให้พระเยซูตรัสความจริงที่จะทำให้พระองค์มีปัญหากับรัฐบาลโรมันพวกเขาถามพระองค์ว่าเป็นการถูกต้องหรือไม่ที่เราจะเสียภาษีให้แก่รัฐบาลโรมัน หากพระเยซูตอบว่า “ถูกต้อง” พระเยซูจะถูกมองว่าเป็นคนที่อ่อนแอ หรือไม่ก็เป็นพวกเดียวกับโรมันที่กดขี่ชาวยิว แต่หากพระเยซูตอบว่า “ไม่ถูกต้อง” พระองค์ก็จะกลายเป็นศัตรูกับพวกโรมันและจะถูกจับพระเยซูทรงให้พวกเขานำเงินเหรียญหนึ่งมาให้ทุกคนดู แล้วถามว่ารูปและคำจารึกบนเหรียญเป็นของใครพวกเขาทูลว่า“ของซีซาร์(กษัตริย์ของโรมัน)” พระเยซูจึงตรัสว่า“ของของซีซาร์จงให้แก่ซีซาร์และของของพระเจ้าจงถวายแด่พระเจ้า” นี่เป็นค าตอบที่ฉลาดและสร้างสรรค์ เหรียญเป็นของซีซาร์ดังนั้นจงให้แก่ซีซาร์แล้วสิ่งใดเป็นของพระเจ้า?พระคัมภีร์ที่บันทึกการทรงสร้างของพระเจ้าระบุว่าพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายของพระองค์ ซึ่งหมายความว่ามีรูปของพระเจ้าที่จารึกอยู่บนเราแต่ละคน ดังนั้น พระเยซูกำลังสอนว่าเราควรมอบชีวิตแด่พระเจ้าเนื่องจากเราเป็นของพระองค์
กุญแจที่ 1 ความซื่อสัตย์ (Integrity)
ชาวพายัพ ยึดในหลักจริยธรรม ในด้านความซื่อสัตย์ และความโปร่งใส
พันธกิจที่ 5 ชื่นชมในความหลากหลายและความเป็นสากล Delight in Diversity and Internationalization (ร่วมใจ Unity)
ประสานความหลากหลาย สลายความต่าง ร่วมมือสร้างสรรค์ สมานฉันท์ “ร่วมใจ”
พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ทุกคนให้มีคุณค่า มีเกียรติ และมีศักดิ์ศรี ดังนั้นเราจึงให้คุณค่าและเคารพในแต่ละบุคคล ในฐานะที่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อสังคมมหาวิทยาลัยได้ปลูกฝังทัศนคติที่ดี ด้วยการพัฒนาทักษะในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ศาสนา ที่หลากหลายและเป็นสากล ดังนั้นเราจึงสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่มีเอกลักษณ์ในด้านการบริการด้วยใจรักด้วยความถ่อมใจ ด้วยความชื่นชมยินดี เพื่อสร้างให้เกิดสันติสุขทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย โดยวิธีการ
กุญแจที่ 2 ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
การฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อรู้จักผู้อื่น ด้วยการเข้าใจในภาษา วัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา
กุญแจที่ 3 ประสานกำลังร่วมกัน (Synergy)
ชาวพายัพทำงานอย่างอดทน และมีความหวังเพื่อสร้างสรรสิ่งใหม่ โดยอาศัยความคิดที่หลากหลายของคนในกลุ่มทั้งนี้ มหาวิทยาลัยพายัพยึดเอาความแตกต่างและหลากหลายของคนในองค์กรมาเป็นจุดแข็งที่มุ่งให้เกิดการแบ่งปันความรู้ ความเข้าใจกัน เพื่อนำแนวความคิดที่ได้มาทำงานร่วมกัน ด้วยการให้ความเคารพ ให้เกียรติ ประสานงานกัน เพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ และนำมาซึ่งความสุขอย่างแท้จริงหลักพันธกิจที่ 5 ของมหาวิทยาลัยพายัพ(ร่วมใจ)จะช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยพายัพคือ พัฒนาสู่สากลซึ่งหมายถึงการพัฒนาตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีภาวะความเป็นผู้นำพัฒนาสมรรถนะสากล (ศักยภาพด้านภาษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ก้าวทันโลก) และรักในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้ เรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนทั่วโลกได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น การทำความเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย บ่อยครั้งที่ความกลัวทำให้เราปฏิเสธคนที่แตกต่างจากเรา แต่พระเยซูได้เล่าเรื่องที่ช่วยให้เราตอบสนองต่อความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์วันหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญบทบัญญัติคนหนึ่งถามพระเยซูว่าเขาต้องทำอย่างไรจึงจะได้ชีวิตที่ครบบริบูรณ์ พระเยซูตรัสตอบว่าเขาต้องทำตามพระบัญญัติข้อใหญ่สองข้อ คือ รักพระเจ้า และรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง แต่คนนั้นอยากจะพิสูจน์ว่าตนเองถูกต้องจึงถามพระเยซูว่า“แล้วใครคือเพื่อนบ้านของข้าพเจ้า?” ซึ่งหมายความว่าเขาจะได้รักคนที่เป็นเพื่อนบ้าน แล้วไม่ต้องรักคนที่ไม่ได้เป็นเพื่อนบ้านของเขาพระเยซูจึงเล่าเรื่องของผู้ชายชาวยิวคนหนึ่งที่เดินทางไปตามถนนที่เปลี่ยว เขาถูกโจรปล้นถูกทุบตีปางตาย และถูกทิ้งไว้ข้างทาง มีผู้นำทางศาสนาถึงสองคนที่เดินผ่านมาพบเห็นชายคนนี้ แต่กลับไม่ช่วยเหลือ ต่อมาชาวสะมาเรียคนหนึ่งเดินทางผ่านมา (ชาวยิวดูถูกและปฏิเสธชาวสะมาเรีย) พอเห็นชายคนนั้นก็รู้สึกสงสารทำการปฐมพยาบาลให้ พาชายคนนั้นไปรับการรักษาพยาบาล โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากนั้น พระเยซูตรัสถามว่า “คนไหนคือเพื่อนบ้านของชายที่ถูกโจรปล้น?” ผู้เชี่ยวชาญบทบัญญัติคนนั้นตอบว่า “คนที่เมตตาเขา”พระเยซูตรัสกับเขาว่า“จงไปทำเช่นเดียวกัน” พระเยซูไม่ได้ให้คำตอบว่าใครคือเพื่อนบ้านที่เราจะต้องรัก และใครไม่ใช่เพื่อนบ้านที่เราสามารถมองข้าม แต่พระองค์ทรงสอนว่าการเป็นเพื่อนบ้านนั้นเริ่มต้นที่ตัวเรา นั่นคือการที่เรามีใจเมตตาและห่วงใยผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือจากเรานี่คือพื้นฐานในการพัฒนาตนเองสู่การเป็นพลเมืองโลก นั่นคือการเป็นผู้คนที่ชื่นชมในความหลากหลายและพร้อมที่จะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีสำหรับผู้คนจากทั่วโลกที่เราได้พบเจอ
กุญแจที่ 1 อัตลักษณ์ (Identity)
ชาวพายัพได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของตนเอง และส่งต่อประวัติศาสตร์เหล่านี้จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อเสริมสร้างความเป็นอัตลักษณ์พายัพ
คำอธิบายหลักพันธกิจ5 ประการ ดังนี้
2) มีการใช้คำคล้องจองลงท้ายด้วย “ใจ” เป็นการสรุปแต่ละหลักพันธกิจ
3) หลักพันธกิจแต่ละหลักคือหัวใจ 5 ดวงที่แต่ละหัวใจมี 3 กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของแต่ละหลักพันธกิจ
1) หลักพันธกิจ 5 ประการได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยแล้วทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
ความหมายของ “คุณธรรม จริยธรรม”
“คุณธรรมจริยธรรม”
เป็นคำที่คนส่วนใหญ่จะกล่าวควบคู่กันเสมอ จนทำให้เข้าใจผิดได้ว่า คำทั้งสองคำมีความหมายอย่างเดียวกันหรือมีความหมายเหมือนกัน แท้ที่จริงแล้วคำว่า “คุณธรรม” กับคำว่า“จริยธรรม” เป็นคำแยกออกได้ 2 คำและมีความหมายแตกต่างกันคำว่า “คุณ” แปลว่า ความดี เป็นคำที่มีความหมายเป็นทางนามธรรม ส่วนคำว่า “จริย” แปลว่า ความประพฤติกริยาที่ควรประพฤติเป็นค าที่มีความหมายทางรูปธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2538 : 189) ให้ความหมายว่า คุณธรรม หมายถึงสภาพคุณงามความดีดังนั้น “คุณธรรม”และ“จริยธรรม”ทั้ง 2 คำนี้หมายถึง ความดีงาม เหมือนกัน แต่เป็นความดีงามคนละทาง “คุณธรรม” เป็นความดีงามทางจิตภาพ เป็นคุณลักษณะที่อยู่ภายในตัวคน คือความดีงามในจิตใจ ซึ่งท าให้เคยชินประพฤติดี เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ทำให้คนไม่ทุจริต “จริยธรรม” เป็นความดีงามทางกายภาพ คือความดีงามในคุณลักษณะที่ปรากฏภายนอก เช่น มีความรู้ดี มีความสามารถดี มีทักษะดี มีคุณลักษณะอื่นที่เหมาะสมคุณธรรมอยู่ภายในตัวคนซึ่งมองไม่เห็น จริยธรรมปรากฏภายนอกตัวคน ซึ่งมองเห็นอย่างไรก็ดี คนมีคุณธรรมเป็นคนมีความดีงามในจิตใจ ย่อมทำให้เคยชินประพฤติดี ซึ่งจะส่งผลให้มีจริยธรรม ดังนั้น“คุณธรรม” จึงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้มีจริยธรรม คือ เมื่อมีความดีงามในจิตใจ ก็ทำให้เคยชินประพฤติดี การประพฤติดีก็คือการมีจริยธรรม
สัจจะและบริการว่าด้วย “คุณธรรมจริยธรรม” กับการดำเนินชีวิต
“สัจจะ”
หมายถึง ความจริงของชีวิต ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆ ตลอดจนความเข้าใจในเรื่องคุณธรรม มหาวิทยาลัยพายัพมุ่งเน้นการสั่งสอนนักศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สนใจ ในขณะเดียวกันก็มุ่งปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรมให้นักศึกษาตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย เพราะเราเชื่อว่าการเป็นคนที่สมบูรณ์จะต้องเป็นคนเก่งและคนดีด้วย
“บริการ”
หมายความว่าเมื่อนักศึกษาเป็นคนเก่งคนดีแล้ว ต้องไม่เก็บความเก่งความดีนั้นไว้กับตัว แต่ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น มหาวิทยาลัยเน้นให้นักศึกษามีน้ำใจบริการ รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเองดังที่มีสอนในพระคัมภีร์ของคริสต์ศาสนาและยังสอดคล้องกับวิถีไทย ที่มุ่งเน้นให้คนไทยมีน้ำใจต่อกันอีกด้วยการพัฒนาตนเองให้เป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรมในบทนี้ศึกษาเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสมองที่จะช่วยเข้าใจว่าจะพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่อยากเป็นได้อย่างไร เรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยพายัพและเรียนรู้เกี่ยวกับหลักในการพัฒนาตนเองตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยพายัพพัฒนาทักษะชีวิตและพัฒนานิสัยเพื่อเป็นคนที่เราอยากเป็นในการดำเนินชีวิต
สมอง กับ คุณธรรมจริยธรรม
ในช่วง 15-20ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสามารถศึกษาการทำงานของสมองในขณะที่สมองกำลังทำงานอยู่ ดังนั้นเราจึงมีความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์และสมองนักจิตวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบประสาทได้ค้นพบว่ามีส่วนหนึ่งของสมองที่ช่วยให้เราเข้าใจอัตลักษณ์ของตนเองการมีส่วนร่วมกับชุมชนและเป้าหมายในโลกและนักจิตวิทยาก็ได้ค้นพบว่าคนเราตอบคำถามเหล่านี้ผ่านทางประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น ส่วนหนึ่งสมองส่วนที่กล่าวถึงนี้ ก็คือด้านขวาของสมองส่วน
Orbital prefrontal cortex
ซึ่งช่วยให้มนุษย์ตระหนักถึงอัตลักษณ์ของตนเอง สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และรู้เป้าหมายของตนเองนอกจากนั้น จริยธรรมและค่านิยมของมนุษย์ก็พัฒนาขึ้น ณ สมองส่วนนี้ จริยธรรมและค่านิยมของเราขึ้นอยู่กับการเข้าใจอัตลักษณ์ของตนเองการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น และการรู้เป้าหมายของเรา หากเราเคารพตนเองและผู้อื่น เราจะปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นอย่างดี เราปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่เราปรารถนาให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา คำสอนนี้พบในศาสนาหลักของโลกทุกศาสนา(The Golden Rule)นักวิจัยทางสมองค้นพบว่าประสบการณ์ที่ส าคัญที่สุดของมนุษย์ก็คือความชื่นชมยินดี (Joy)ตามความหมายของวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสมอง “ความชื่นชมยินดี” หมายถึง ความรู้สึกที่เรามีเมื่อเรารู้ว่ามีบางคนยินดีที่ได้อยู่กับเรา เราสังเกตจากสายตา สีหน้า น้ำเสียง และการสัมผัส ว่าผู้นั้นยินดีที่ได้อยู่กับเรา เมื่อเรามีประสบการณ์เหล่านี้ ด้านขวาของสมองส่วน Orbital prefrontal cortexจะได้รับการกระตุ้น ทำให้เรารู้สึกชื่นชมยินดีและพึงพอใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราสามารถเรียกสมองส่วนนี้ได้ว่า “ศูนย์กลางแห่งความชื่นชมยินดี” (Joy center)สมองส่วนนี้ช่วยให้เราเข้าใจอัตลักษณ์ของตนเอง การมีส่วนร่วมกับผู้อื่น และการรู้เป้าหมายของตนเอง อีกทั้งเป็นบริเวณที่จริยธรรมและค่านิยมของเราได้รับการพัฒนาขึ้นเราเห็นภาพที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับความชื่นชมยินดีเมื่อแม่กับลูกที่เป็นทารกสร้างความชื่นชมยินดีร่วมกัน แม่มองดูทารกด้วยความชื่นชมยินดี ทารกจึงมองเห็นความรักและความชื่นชมยินดีของแม่ผ่านทางสายตาและสีหน้าของแม่ ทารกจึงรู้สึกยินดี ยิ้ม แสดงความยินดีออกมาทางสายตา และอาจแสดงออกด้วยการขยับแขนขาด้วยความชื่นชมยินดี เมื่อแม่มองเห็นความยินดีของทารก ความยินดีของแม่ก็ทวีมากยิ่งขึ้น โดยแสดงออกทางสีหน้าและดวงตาของแม่ ซึ่งเมื่อทารกเห็นเช่นนั้น ความยินดีของทารกก็ทวีมากยิ่งขึ้นด้วย นี่คือการที่แม่และทารกสร้างความชื่นชมยินดีร่วมกันเนื่องจากศูนย์กลางแห่งความชื่นชมยินดีของทารกยังมีขนาดเล็ก เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่ ทารกจะรู้สึกว่าความรู้สึกนั้นท่วมท้นและจะหันไปเพื่อหยุดพัก แม่ที่ดีจะปล่อยให้ทารกได้หยุดพักและพร้อมเสมอเมื่อทารกหันกลับมาเพื่อสร้างความชื่นชมยินดีเพิ่มขึ้นต่อไป เมื่อทารกหันมามองแม่อีกครั้ง แม่จะยิ้มและแสดงความชื่นชมยินดี จากนั้นพวกเขาจะเริ่มต้นการสร้างความชื่นชมยินดีร่วมกันอีกครั้งประสบการณ์ของการสร้างความชื่นชมยินดีและการหยุดพักนี้ทำให้ศูนย์กลางแห่งความชื่นชมยินดีในสมองของแม่และทารกได้รับการพัฒนาให้แข็งแรงขึ้น นี่คือรากฐานที่มนุษย์ทุกคนจ าเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้แข็งแรงเพื่อจะนำไปสู่การเข้าใจอัตลักษณ์ของตนเอง การมีส่วนร่วมกับผู้อื่น และการรู้เป้าหมายของตนเอง ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือการเป็นผู้ที่มีจริยธรรมและห่วงใจผู้อื่นการเรียนรู้ที่จะสร้างความชื่นชมยินดีและหยุดพัก เป็นทักษะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อที่เราจะเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมเราสามารถสร้างความชื่นชมยินดีในชีวิตของเรา ในครอบครัว มหาวิทยาลัย และชุมชน ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้1)ยิ้มให้กับผู้คนที่เรารัก ใช้น้ำเสียงที่จริงใจ2)ถามคำถามที่ช่วยให้ผู้อื่นสามารถบอกเราได้อย่างตรงไปตรงมาว่าพวกเขารู้สึกและคิดอย่างไร ตั้งใจฟังโดยไม่ขัดจังหวะ3)พยายามเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง ทั้งความกลัว ความชื่นชมยินดี ความปรารถนา ความสามารถ และความเจ็บปวดของพวกเขา4)ให้เกียรติและเคารพผู้อื่น แสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าตนเองได้รับการยอมรับ5)สัมผัสอย่างเหมาะสม6)ค้นหาว่าสิ่งใดนำความชื่นชมยินดีมายังผู้อื่น (ศึกษาเรื่องภาษารัก7)ทำสิ่งที่เหนือความคาดหมายบ้าง8)รักและใส่ใจทารกและเด็กดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นวิธีการแสดงการยอมรับและแสดงความชื่นชมยินดีกับอีกฝ่าย เราสามารถฝึกการหยุดพักด้วยการอธิษฐาน การภาวนา การทำสมาธิ และการทำสิ่งอื่น ๆ เพื่อผ่อนคลาย
นอกจากการสร้างความชื่นชมยินดีและการหยุดพักและสงบนิ่ง เรายังต้องเรียนรู้ที่จะกลับไปสู่ความชื่นชมยินดีจากความรู้สึกในเชิงลบด้วย ชีวิตคนเราไม่ได้มีความสุขเสมอไป ดังตัวอย่างของเด็กทารกที่ต้องพบความความหิว เหนื่อย โดดเดี่ยว ฯลฯ มนุษย์ในทุกวัฒนธรรมต้องเผชิญกับความรู้สึกในเชิงลบ 6 ประการ คือ ความโกรธ ความเศร้า ความสิ้นหวัง ความอาย ความรังเกียจ และความกลัวดังนั้นเราต้องเรียนรู้ว่าจะหันจากอารมณ์ความรู้สึกในเชิงลบเหล่านี้กลับไปยังความชื่นชมยินดีได้อย่างไรพ่อแม่และผู้ดูแลเด็กสามารถช่วยให้เด็กกลับไปสู่ความชื่นชมยินดีได้โดยการฟังเด็กเล่าประสบการณ์ที่เด็กได้พบเจอ โดยการแสดงออกว่าเข้าใจความรู้สึกในเชิงลบของเด็ก โดยการสื่อสารให้เด็กรู้ว่าพ่อแม่เข้าใจว่าเด็กรู้สึกอย่างไร และโดยการช่วยให้เด็กสามารถเล่าประสบการณ์ที่เด็กพบเจอด้วยตนเองเมื่อพ่อแม่ฟังลูกด้วยความเข้าอกเข้าใจ ลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่ “ชื่นชมยินดีที่ได้อยู่กับลูกแม้ในเวลาที่ลูกมีความทุกข์” นี่คือจุดเริ่มต้นของเส้นทางกลับไปสู่ความชื่นชมยินดี (คือความมั่นใจว่ามีบางคนชื่นชมยินดีที่ได้อยู่กับเรา) การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้ลูกมีความเข้มแข็งทางอารมณ์ในการพิจารณาประสบการณ์ของตนเอง เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้สึกของตนเอง ได้หยุดและตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างไร รวมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตและมีปัญญาผ่านทางประสบการณ์นั้น ทั้งหมดนี้จะเสริมสร้างศูนย์กลางแห่งความชื่นชมยินดีในสมอง ซึ่งช่วยให้มนุษย์พัฒนาอัตลักษณ์ ค่านิยม ศีลธรรม และเป้าหมายของตนเอง รวมทั้งความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นกระบวนการที่เหมาะสมของพ่อแม่ในการตอบสนองต่อความทุกข์ของลูกจะช่วยให้ลูกสามารถจัดการกับความเจ็บปวดได้อย่างเหมาะสมตาม “เส้นทางของสมองในการจัดการกับความเจ็บปวด” (Pain Processing Pathway)ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ 1. การคงความผูกพันอย่างเหมาะสม 2. การรักษาการติดต่อสื่อสาร 3. การรักษาความสัมพันธ์ที่ดี 4. การจัดการสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์ 5. การตีความหมายเหตุการณ์อย่างถูกต้อง สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความรู้ ทักษะ ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น สติปัญญา และความเป็นผู้ใหญ่
เส้นทางของสมองในการจัดการกับความเจ็บปวดที่มี 5ส่วนนี้สอดคล้องกับกระบวนการของสมองที่มี 4 ระดับ คือ 1. ทาลามัส (Thalamus) สมองพิจารณาว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นเกี่ยวข้องกับตัวเราหรือไม่ และจะปฏิเสธข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเรา 2. อะมิกดะลา (Amygdala) เปรียบเสมือนป้อมยามที่ตัดสินใจว่าสิ่งต่างๆ ดี ไม่ดี หรือน่ากลัว 3. ซิงกูเลตคอร์เทกซ์ (Cingulate cortex) เป็นบริเวณที่เราแบ่งปันความรู้สึกกับผู้อื่น 4. ออบิโทพรอนทอล คอร์เทกซ์ (Orbitofrontal cortex) เป็นบริเวณที่เราใช้เป้าหมาย จริยธรรม ค่านิยม และอัตลักษณ์ในการตัดสินใจว่าจะทำสิ่งใดระดับทั้งหมดนี้เกิดขึ้นที่สมองซีกขวา จากนั้นประสบการณ์จะถูกนำไปยังสมองซีกซ้ายซึ่งจะมีถ้อยค าและการตีความหมายเกิดขึ้น
หากเรามีความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งทำให้เรารู้สึกว่ามีคนที่เข้าใจเราและตัวเรามีคุณค่า เราจะมีความสามารถในการทำสามส่วนแรกในเส้นทางของสมองในการจัดการกับความเจ็บปวด เราจะรู้สึกปลอดภัยในการแบ่งปันประสบการณ์ของเรา เราจะได้รับการช่วยเหลือในการจัดการกับอารมณ์ เราจะสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ และเราจะสามารถตีความหมายเหตุการณ์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ความรู้ ทักษะ ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น สติปัญญา และความเป็นผู้ใหญ่เมื่อเราเป็นเด็ก หากเราพบกับความเจ็บปวดแล้วพ่อแม่ไม่ได้ฟังและไม่เข้าใจความรู้สึกของเรา แต่ตอบสนองด้วยการพูดว่า “ไม่เป็นไร” การตำหนิ หรือการสอน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ความรู้สึกในเชิงลบของเด็กรุนแรงขึ้น จากการที่เด็กพบกับปัญหาซึ่งทำให้รู้สึกเจ็บ ในเวลานี้พ่อแม่ไม่ได้ช่วยพวกเขา แต่กลับกลายเป็นอีกปัญหาหนึ่งสำหรับพวกเขา เนื่องจากพ่อแม่ไม่เข้าอกเข้าใจ ลูกจะรู้สึกว่าทุกข์มากขึ้นและโดดเดี่ยวเนื่องจากไม่ได้รับการปลอบโยน นอกจากนั้นพวกเขาจะไม่ได้รับความช่วยเหลือให้สามารถเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองพวกเราหลายคนอาจเติบโตมาโดยที่พ่อแม่ไม่ค่อยได้ปรับตัวให้เข้ากับเราในวงจรของการสร้างความชื่นชมยินดีและการหยุดพัก อีกทั้งพ่อแม่ไม่ค่อยแสดงให้เห็นว่าเข้าใจความรู้สึกของเรา ศูนย์กลางแห่งความชื่นชมยินดีในสมองของเราจึงไม่ค่อยแข็งแรง ถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่เราอาจมีสมองที่มีความสามารถในเชิงอารมณ์เหมือนกับเด็กข่าวดีก็คือสมองส่วนนี้สามารถพัฒนาให้แข็งแรงและเติบโตขึ้นได้ตลอดชีวิตของเรา เราจึงสามารถเติบโตขึ้นและพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ คือทักษะในการสร้างความชื่นชมยินดีการหยุดพักและการกลับไปยังความชื่นชมยินดีซึ่งเราสามารถพัฒนาได้โดยการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่มีทักษะเหล่านี้ เช่น คณาจารย์และเพื่อนนักศึกษาที่มีลักษณะเหล่านี้ เพราะการได้ปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาจะท าให้เราสามารพัฒนาทักษะเหล่านี้ในชีวิตของเราและมีความชื่นชมยินดีมากขึ้นได้
ดร.เจมส์ วิลเดอร์ (Dr. James Wilder) และเพื่อนร่วมงานได้น าเสนอ
The life model (ต้นแบบของชีวิต)
ที่กล่าวถึงพัฒนาการที่ดีของมนุษย์ ซึ่งมีพื้นฐานจากวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสมองและค าสอนของคริสเตียน พวกเขากล่าวถึงพัฒนาการของมนุษย์ใน 5 ช่วงวัย คือ
วัยทารก วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ วัยพ่อแม่ และผู้สูงวัย
ลักษณะเฉพาะของวัยทารกคือการเรียนรู้ที่จะรับดังนั้นทารกควรได้รับการตอบสนองต่อความต้องการนี้โดยไม่ต้องร้องขอ พวกเขาต้องการความชื่นชมยินดี การหยุดพัก และการกลับไปยังความชื่นชมยินดีเป็นอย่างมาก อีกทั้งพวกเขาจ าเป็นต้องเริ่มต้นการค้นพบอัตลักษณ์ของตนเองว่าพวกเขามีบุคลิกลักษณะอย่างไร