Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่ปัญหาทางระบบประสาท, นางสาวรติมา มณีคำ เลขที่ 17 รุ่น 36/2…
การพยาบาลเด็กที่ปัญหาทางระบบประสาท
ชักจากไข้สูง (Febrile convulsion)
ชนิด
Primary febrile convulsion (ไม่มีความผิดปกติของสมอง)
Secondary febrile convulsion (มีความผิดปกติของสมอง)
การรักษา
ระยะที่กำลังมีอาการชัก
กรณีที่มีการชักเกิน 5 นาที ต้องทำให้หยุดชักเร็วที่สุด โดยให้ยาระงับอาการชัก
เช่น diazepam ทางหลอดเลือดดำหรือทางทวารหนัก
ให้ยาลดไข้ ร่วมกับ เช่น ตัวลดไข้ (เน้นขณะชักห้ามให้ยาชนิดรับประทาน)
ระยะหลังชัก
ซักประวัติตรวจร่างกายโดยละเอียด ให้ยาป้องกันการชัก รับประทานทุกวันนาน 1-2 ปี
เช่น Phenobarbital , Depakine
โรคลมชัก (Epilepsy)
ชนิด
Partial seizure ชักกระตุกเฉพาะที่
Generalized seizure
Primary generalized epilepsy ไม่มีความผิดปกติในระบบประสาท
Secondary generalized epilepsy มีความผิดปกติในระบบประสาท
สาเหตุ
Developmental and degenerative disorders
โรคติดเชื้อของสมอง
พันธุกรรม
รอยโรคในสมองที่ทำให้เซลล์ประสาทหลั่งคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ
ได้รับอันตรายจากการคลอด
Metabolic และ Toxic etiologies
การรักษา
รักษาตามสาเหตุที่วินิจฉัยได้ เช่น ผ่าตัดเอารอยโรคที่สมองออก
รักษาด้วยอาหาร Ketogenic diet คือการจัดอาหารสัดส่วนที่มีปริมาณไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ โปรตีนต่ำ
รักษาโดยการใช้ยาระงับอาการชักและยาป้องกันการชักซ้ำ
การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
คำแนะนำสำคัญสำหรับผู้ปกครอง
ให้เด็กรับประทานยากันชักต่อเนื่องทุกวันนาน อย่างน้อย 2 ปีห้ามหยุดยาเอง แนะนำวิธีการป้องกันอุบัติเหตุขณะชัก
มาตรวจตามนัดเพื่อแพทย์ประเมินอาการและปรับระดับยากันชักให้เหมาะสม
ชักจากการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง
หรือเนื้อสมอง
Meningitis
สาเหตุ
เชื้อไวรัส (Viral หรือ Asepitc meningitis)
พยาธิ (Eosinophilic meningitis)
เชื้อแบคทีเรีย (Bacterial meningitis)
เชื้อรา (Fungal memingitis)
การวินิจฉัย
Cerebrospinal fluid test
White cell count ไม่พบ
Glucose 50-75 mg/dl(ครึ่งหนึ่งของน้ำตาลในเลือด)
Red cells ไม่พบ
Protein 14-45 mg/dl
Pressure
อาการ
อาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ เช่น มีไข้
ปวดศีรษะมาก ซึมลง กระหม่อมโป่งตึง อาเจียน ชัก
อาการแสดงของการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง
คอแข็ง (Stiffness of neck)
Kernig’s sign ได้ผลบวก
Brudzinski’s sign ได้ผลบวก
การรักษา
การรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ให้ยานอนหลับ ให้ยากันชัก ให้ยาลดอาการบวมของสมอง ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำรักษาภาวะไม่สมดุลย์สารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์อาจต้องเจาะคอหรือใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่มีปัญหาการหายใจหรือหมดสติ
การป้องกัน ควรฉีดวัคซีน เช่น Hib vaccine , JE vaccine,BCG
การรักษาเฉพาะ คือ ให้ยาปฏิชีวนะที่สอดคล้องกับผลการเพาะเชื้อน้ำไขสันหลังที่เป็นสาเหตุ
Encephalitis
สาเหตุ
เชื้อรา
เชื้อปาราสิต
เชื้อแบคทีเรีย
ปฏิกิริยาต่อวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันโรคไอกรน หรือวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
เชื้อไวรัส
อาการ
ปวดบริเวณต้นคอ คอแข็ง (Stiffness of neck)
ซึมลง จนถึงขั้นโคม่าได้ภายใน 24 – 72 ชั่วโมง
ปวดศีรษะ
ชัก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ
กระสับกระส่าย อารมณ์ผันแปร เพ้อ คลั่ง อาละวาด
ไข้สูง
การหายใจไม่สม่ำเสมอ
การรักษา
การให้ยา ระงับชัก ลดอาการบวมของสมอง นอนหลับ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
รักษาสมดุลของปริมาณน้ำเข้า – ออก ของร่างกาย
ให้ออกซิเจน, เจาะคอ หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
โรคไข้สมองอักเสบ
Japanese encephalitis (JE)
อาการและอาการแสดง
เริ่มจากมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย
ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว
บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ
ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค
ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว และมักจะมีความพิการเหลืออยู่
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจแยกเชื้อไวรัส เจอี จากเลือด หรือน้ำไขสันหลังซึ่งพบได้ยาก
การวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหาIgM antibody เฉพาะต่อไวรัส เจอี ในน้ำไขสันหลังและในเลือด
การรักษา
ให้ยาลดไข้ ลดการบวมของสมอง ระงับอาการชัก
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งโดยการดูดเสมหะบ่อยๆ
ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit
ถ้ามีเสมหะมากอาจต้องทำ tracheostomy บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
การป้องกัน
ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย
ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุ 1 ปีครึ่งครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2-4 wk แล้วฉีดครั้งที่ 3
หลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV
หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ
หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการชัก
ดูแลให้ได้รับยากันชัก ยาคลายกล้ามเนื้อตรงตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาระงับอาการชักตรงตามแผนการรักษาในรายที่มีอาการชักนาน
ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูง ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น เพื่อให้ไข้ลด ถ้าไข้ไม่ลดรายงานแพทย์ทราบเพื่อให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา
ขณะที่ผู้ป่วยชัก ควรป้องกันอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุ
เตรียมไม้กดลิ้นไว้ที่โต๊ะข้างเตียงในรายที่มีอาการชักเกร็ง
ช่วยแพทย์ในการเตรียมตรวจ และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตามแผนการรักษา
ขณะชักให้งดอาหาร น้ำ ทางปาก ตามแผนการรักษา
ให้การพยาบาลผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวล และจัดสิ่งแวดล้อมรอบเตียงให้เงียบและอากาศถ่ายเทได้สะดวก
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตรงตามแผนการรักษาในรายที่หายใจขัด เขียว
ภายหลังให้การพยาบาลยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้ง และจัดสิ่งแวดล้อมรอบเตียงให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขณะชัก
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดูดเสมหะ
สังเกตและบันทึกลักษณะการชัก และระดับความรู้สึกตัวขณะชัก
จัดให้ผู้ป่วยนอนราบ ตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสำลักเสมหะ น้ำลาย ไม่ผูกรัดหรือตรึงผู้ป่วย ขณะชักเพื่อป้องกันกระดูกหัก
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ อย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง
การให้คำแนะนำและเตรียมความรู้แก่บิดา
แนะนำวิธีการปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยมีไข้
แนะนำวิธีปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการชัก
ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโรค
แนะนำการดูแลให้ยากันชัก และผลข้างเคียงของยา
โรคสมองพิการ
(Cerebral Palsy)
หมายถึง
คนที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว สมองทำงานงานผิดปกติทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้โดยเกิดขึ้นก่อนอายุ 8 ปี
จึงมักมีปัญหาการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ในการหายใจและการพูดด้วย รวมทั้งอาจมีปัญหาทางสายตา และการได้ยินร่วมด้วย
สาเหตุ
ระยะคลอด
เป็นสาเหตุของสมองพิการร้อยละ 30 ได้แก่ สมองขาดออกซิเจน ได้รับอันตรายจากการคลอด คลอดยากคลอดยาก รกพันคอ คลอดท่าก้น การใช้คีมดึงเด็ก
ระยะหลังคลอด
เป็นสาเหตุของสมองพิการร้อยละ 5 ได้แก่ การได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ ตัวเหลืองเมื่อแรกเกิด เส้นเลือดที่สมองมีความผิดปกติการ
ขาดออกซิเจนจากการจมน้ำ การติดเชื้อบริเวณสมองเช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีที่สมอง เป็นต้น การได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว ยาฆ่าแมลง
ระยะก่อนคลอด
การมีเลือดออกทางช่องคลอดของมารดาช่วงระหว่างการตั้งครรภ์เดือนที่6-9 มารดาขณะตั้งครรภ์ขาดสารอาหาร มารดามีภาวะชักหรือมีภาวะปัญญาอ่อน การเกิดก่อนกำหนด การเกิดน้ำหนักตัวน้อย มารดาขณะตั้งครรภ์มีการใช้ยาบางชนิดทำให้สมองเด็กมีพัฒนาการผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
ลักษณะอ่อนปวกเปียก อาจหายใจช้า พัฒนาการช้าเช่น การดูด
การกลืน การเคี้ยว ทำให้สำลักนมหรืออาหารได้ง่าย รีเฟล็กซ์ผิดปกติ
การเคลื่อนไหวกับสมดุลของร่างกายมีความผิดปกติถ้าสมองส่วนที่เสียนั้นควบคุมการทรงตัว ภาวะปัญญาอ่อนตั้งแต่ขนาดน้อยถึงมาก พูดไม่ชัดเจน
การรักษา
การให้ early stimulation เพื่อให้สมองส่วนต่างๆที่ไม่มีความเสียหายได้พัฒนา
การแก้ไขความผิดปกติของการรับรู้ที่สำคัญ
การทำกายภาพบำบัดของกล้ามเนื้อแขน ขา หรือลำตัว
การแก้ไขความผิดปกติของระบบประสาทส่วนอื่น
การให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ได้แก่ diazepam,baclofen
การให้คำแนะนำผู้ปกครองในการดูแลเด็กในชีวิตประจำวันและส่งเสริมให้เด็กฝึกทักษะการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายตามความสามารถและศักยภาพอย่างเหมาะสม
การพยาบาล
เสี่ยงต่อพัฒนาการช้ากว่าวัย/มีพัฒนาการช้ากว่าวัย เนื่องจากความบกพร่องของระบบประสาท
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากความบกพร้องด้านการเคลื่อนไหว/ระบบประสาท
ได้รับสารอาหารน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย เนื่องจากปัญหาการรับประทานอาหาร
บิดา มารดาหรือผู้ดูแลเด็กขาดความรู้ในการดูแลเด็ก
Hydrocephalus
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง
หมายถึง
มีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณ ventricleของสมองและ subarachnoid space มากกว่าปกติน้ำไขสันหลังที่คั่งในปริมาณมากจะทำให้เกิดความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
สาเหตุ
การอุดกั้นการไหลเวียนของน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง Obstruction of the flow of CSF
ความผิดปกติในการดูดซึมน้ำไขสันหลัง Defective absorption of CSF
การสร้างหรือการผลิตน้ำไขสันหลังมากผิดปกติ Overproduction of CSF
อาการและอาการแสดง
ตาทั้ง 2 ข้างกรอกลงข้างล่าง setting -sun sign
ตาพล่ามัว เห็นภาพซ้อน(diplopia)
อาการแสดงของความดันในกะโหลกศีรษะสูง signs of increase intracranial pressure
รีเฟลกซ์ และ tone ของขา2 ข้าง ไวกว่าปกติ(hyperactive reflex)
เสียงเคาะกะโหลกเหมือนหม้อแตก (macewensige Cracked pot sound)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
หนังศีรษะบางและมองเห็นหลอดเลือดดำที่บริเวณใบหน้าหรือศรีษะโป่งตึงเห็นชัดมากกว่าปกติ
พัฒนาการทั่วไปช้ากว่าปกติ(delay developement)
เด็กเล็กที่กระหม่อมยังไม่เปิดพบว่ากระหม่อมหน้าโป่งตึงกว่าปกติ(fontanelle bulging )
การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้าสติปัญญาต่ำกว่าปกติหรือปัญญาอ่อน(mental retardation)
ศรีษะโต/ หัวบาตร (cranium enlargement)
การวินิจฉัย
การตรวจด้วยการส่องไฟฉาย
( transillumination test)
Ventriculography
CT scan
Ultrasound
Head Circumference
ความยาวเส้นรอบวงศีรษะปกติ
6 เดือน 42+2 cm
8 เดือน 44+1 cm
4 เดือน 39+3 cm
10 เดือน 45+1 cm
2 เดือน 35+4 cm
1 ปี 45 cm
แรกเกิด 35 cm
2 ปี 47 cm
การรักษา
ผ่าตัดรักษาสาเหตุ
ผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำไขสันหลัง (Shunt)
Ventriculo-peritoneal Shunt (V-P Shunt)
การให้ยาลดการสร้างน้ำไขสันหลัง (Diamox)
ปัญหาแทรกซ้อน
Obstruction
Infection
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
อาจเกิดแผลกดทับบริเวณศีรษะ
รักษาความสะอาดของผิวหนัง
จัดปูที่นอนให้เรียบตึง
เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
ตรวจสอบประเมินการเกิดแผลกดทับสม่ำเสมอ
จัดให้นอนบนที่นอนนุ่มๆ ใช้หมอนนุ่มรองศีรษะไหล่
อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอาหาร
เนื่องจากการสำรอกอาเจียนหรือดูดนมได้น้อย
ขณะให้นมอุ้มท่าศีรษะสูงเสมอ
หลังให้นมจับเรอไล่ลม
ดูแลให้รับนมน้ำครั้งละน้อยๆโดยแบ่งให้บ่อยครั้ง
อาจเกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงจากการคั่งของน้ำไขสันหลัง
วัดเส้นรอบวงศีรษะทุกวันเวลาเดียวกัน
จัดท่านอนศีรษะสูง 15-30 องศา
ประเมินอาการความดันในกระโหลกศีรษะสูง
การพยาบาลหลังผ่าตัด
การดูแลแผลผ่าตัดและ
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
การระบายน้ำไขสันหลังเร็วเกินไป (เน้นนอนราบหลังผ่าตัด ใน 24 ชม.แรก
ปัญหาและภาวะแทรกซ้อนภายหลังทำผ่าตัดสายระบาย
การอุดตันของสายระบายน้ำในโพรงสมอง
ภาวะโพรงสมองตีบแคบ
การทำงานผิดปกติของสายระบายน้ำในโพรงสมอง
ภาวะเลือดออกในศรีษะเนื่องจากการผ่าตัด
การติดเชื้อของสายระบายน้ำในโพรงสมอง
เกิดแผลเป็นที่สมอง
Spina bifida
ชนิด
Meningocele
Myelomeningocele
Spina bifida occulta
การวินิจฉัย
มารดามีประวัติติดเชื้อขณะตั้งครรภ์การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบ Alphafetoprotienในน้ำคร่ำสูง
การตรวจร่างกายทารกพบความผิดปกติ
การรักษา
การผ่าตัดเย็บปิดถุงที่ยื่นออกมา
การพยาบาล
อาจมีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
เนื่องจากการคั่งของน้ำปัสสาวะ
ทำความสะอาดทุกครั้งหลังขับถ่าย
ให้ยา Antibiotic ตามแผนการรักษา
ทำ Crede’manuever ทุก 2-4 hr
มีกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงจากการกดเบียด
เส้นประสาทไขสันหลัง
สอนผู้ปกครองในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
สังเกตอาการอ่อนแรงของแขนขา
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ทำ Passive Exercise ให้ผู้ป่วย
อาจเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากถุงน้ำแตก
ดูแลถุงน้ำให้ชุ่มชื่น ระวังไม่ให้เกิดแผล
หมั่นตรวจสอบการฉีกขาด รั่ว
ไม่นุ่งผ้าอ้อม
ประเมินการติดเชื้อ
จัดท่านอนตะแคงหรือนอนคว่ำ
การพยาบาลหลังผ่าตัด
มีโอกาสติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดได้ง่ายจากการปนเปื้อนอุจจาระปัสสาวะ
ดูแลทำความสะอาดแผล
ดูแลให้ยา Antibiotic / check V/S
จัดท่านอนตะแคงหรือคว่ำไม่นุ่งผ้าอ้อม
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
เฝ้าระวังและสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ แผลติดเชื้อ และ Hydrocephalus
วัดเส้นรอบศีรษะทุกวันเพื่อประเมินภาวะHydrocephalus
ตรวจสอบสัญญาณชีพ อาจทุก 2-4 hr
บริหารแขนขา/ เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
Down ’s syndrome
คือ
อุบัติการณ์ ประมาณ 1:1,000
โอกาสเสี่ยงจะสูงขึ้นถ้ามารดามีอายุมากกว่า 30 ปี และจะสูงขึ้นชัดเจนมากถ้าอายุมากกว่า 35 ปี
เป็นความผิดปกติทางโครโมโซมคู่ที่ 21 และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มโรคพันธุกรรมที่ทำให้เกิดปัญญาอ่อน
บิดามารดาของผู้ป่วยจะมีโครโมโซมปกติ
อาการและอาการแสดง
brush field spot
ปากอ้าและลิ้นมักจะยื่นออก และมีรอยแตกที่ลิ้น
หูติดอยู่ต่ำ
มือกว้างและสั้น มักจะมี simian crease
คอสั้นและผิวหนังด้านหลังของคอค่อนข้างมากและนิ่ม
นิ้วก้อยโค้งงอ(clinodactyly) ร่องระหว่างนิ้วโป้งเท้าและนิ้วชี้กว้าง
เส้นลายนิ้วมือมักพบ ulnar loopมากกว่าปกติและพบ
distal triradius ในฝ่ามือ
หัวแบนกว้าง (brachiocephaly)
กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก (hypotonia)
ทางเดินอาหารอุดตัน ที่พบบ่อยคือ duodenum stenosis
Hypothyroidism
ร่างกายเจริญเติบโตช้า
Polycythemia
ความผิดปกติเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ตาเข สายตาสั้น
ความผิดปกติเกี่ยวกับหู เช่น ช่องรูหูเล็ก มีปัญหาการได้ยิน
อวัยวะเพศของผู้ชายอาจเล็กกว่าปกติ พัฒนาการทางเพศช้า
หัวใจพิการแต่กำเนิด
การติดเชื้อ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจเกิดง่ายกว่าเด็กทั่วไป
การรักษา
การรักษาโรคทางกายอื่นๆที่มีร่วมด้วย คือ โรคหัวใจระบบทางเดินอาหารอุดกั้น ภาวะฮัยโปไทรอยด์
การให้คำปรึกษาแนะนำด้านพันธุกรรม
การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัยตั้งแต่อายุยังน้อย(early stimulation)
Guillain Barre ‘s Syndrome
คือ
กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการบวมอักเสบของระบบประสาทส่วนปลายหลายๆเส้นอย่างเฉียบพลัน (Polyradiculoneuropathy) ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการติดเชื้อในร่างกาย
สาเหตุ
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติโดยมีการสร้างแอนติบอดีย์ต่อ Myelin sheath ของเส้นประสาทไขสันหลังส่วนที่เป็น
spinal nerve roots ทำให้ไขสันหลังไม่สามารถติดต่อสั่งงานมายังกล้ามเนื้อได้ตามปกติ
อาการและอาการแสดง
motor
กล้ามเนื้ออ่อนแรงอาการอัมพาตในGBS จะเริ่มต้นที่ขา เดินลำบากและจะลุกลามขึ้นที่แขนและลำตัวด้านบน รวมไปถึงกล้ามเนื้อทรวงอกแขนทั้งสองข้าง ในรายที่ไม่รุนแรงอาจเกิดแค่ปลายเท้าตกเท่านั้น เมื่อมีการลุกลามไปที่กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจทำให้หายใจล้มเหลว
อาการของประสาทสมอง
โดยเฉพาะส่วนใบหน้า ประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facaial nerve) พบความผิดปกติบ่อยที่สุดมีอัมพาตของหน้า ปิดตา และปากไม่สนิท ความผิดปกติของการแสดงสีหน้าถ้ามีความผิดปกติเส้นประสาทคู่ที่ 7 ,9 , และคู่ที่ 10ผู้ป่วยจะมีอาการกลืน พูด และหายใจลำบาก
Sensation
เริ่มมีอาการเหน็บชา เจ็บ และปวดโดยเฉพาะปลายแขนปลายขา ไหล่ สะโพก และโคนขาและอาจรุนแรงต้องให้ยาแก้ปวด แล้วจึงมีอาการอ่อนแรง ชา สูญเสีย reflex
อาการลุกลามของประสาทอัตโนมัติ
medulla oblongata เกิดความผิดปกติร่วมกับการผิดปกติในระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งถือเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยGBS
ได้แก่ การเต้นหัวใจผิดจังหวะ ความดันโลหิตไม่คงที่ หัวใจเต้นช้าหรือเร็ว หน้าแดง เหงื่อออก ปัสสาวะคั่งและท้องอืดจาก paralytic ileus
การรักษา
การรักษาด้วย Intravenous Immunglobulin (IVIG)เป็นการรักษาที่สะดวกและง่ายกว่า และมีความเสี่ยงน้อยกว่า
การแลกเปลี่ยนพลาสม่าแต่มีข้อเสียคือราคาแพงและมีโอกาสกับเป็นซ้ำได้มากกว่า plasmapheresis
การรักษาแต่เนิ่นๆ ภายใน2-4 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการครั้งแรกจะสามารถช่วยชีวิตได้เร็วขึ้น
การรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา (Plasma Exchange หรือPlasmapheresis)
วินิจฉัยการพยาบาล
พักผ่อนไม่เพียงพอ
ทุกข์ทรมานจากอาการปวดกล้ามเนื้อ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการไม่เคลื่อนไหวจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้สูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง
ขาดการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นๆจากไม่สามารถพูดได้
เสียงต่อการขาดสารอาหารจากไม่สามารถช่วยตนเองจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างสมบูรณ์
ผู้ป่วยและญาติกลัว วิตกกังวล ท้อแท้ กับอาการของโรคที่เป็นจากการขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวตลอดจนการฟื้นฟูสภาพ
เสี่ยงต่อการเกิดการหายใจไม่เพียงพอจากกล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรงอย่างเฉียบพลัน
หลักการพยาบาลในระยะเฉียบพลันและต่อเนื่อง
ติดตามประเมินการเคลื่อนไหว กำลังของกล้ามเนื้อ การรับรู้สัมผัส สภาวะของmotorsensory และ cranial nerve ช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ Observe อาการแทรกซ้อนจากการจำกัดการเคลื่อนไหว
ดูแลปัญหาการขาดสารอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยจะมีน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ต้องการพลังงานในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทำให้ได้รับอาหารไม่เพียงพอ
ให้ออกซิเจน ถ้ามีภาวการณ์หายใจไม่พอจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจพร้อมเครื่องช่วยหายใจ
สังเกตอาการปวดตามกล้ามเนื้อ
Check vital sign โดยเฉพาะ RR ต้องมีการตรวจวัด vital capacity , tidal volumeหรือ minute volume
ประคับประคองด้านจิตใจ ส่งเสริมการมองโลกในแง่ดีสำหรับผู้ป่วย
นางสาวรติมา มณีคำ เลขที่ 17 รุ่น 36/2 รหัสนักศึกษา 612001097