Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ใช้ในระบบประสาทอัตโนมัติ (Drug used in Autonomic Nervous System) -…
ยาที่ใช้ในระบบประสาทอัตโนมัติ
(Drug used in Autonomic Nervous System)
การทำงานระบบประสาทอัตโนมัติ
ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system)
ทำงานเพื่อให้สามารถต่อสู้หรือถอยหนี" (Fight or Fight)
เพิ่มการใช้พลังงานทำให้หัวใจเต้นเร็วเพิ่ม cardiac output
หลอดลมขยายการทำงานของระบบทางเดินอาหารลดลง
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous system)
การชะลอหรือห้ามระบบ"เพื่อให้พักผ่อนหรือย่อยอาหาร" (Rest or Digest)
ลดอัตราการเต้นของหัวใจหลอดลมตีบแคบลงกระเพาะอาหารและกระเพาะปัสสาวะบีบตัวเพิ่มการหลั่งกรดและน้ำย่อย
สารสื่อประสาท (neurotransmitter)
และตัวรับ (Receptor) ในระบบประสาทอัตโนมัติ
ระบบประสาทซิมพาเทติกเรียกว่า Adrenergic agents
Noradrenaline (NE)
ตัวรับเฉพาะที่เรียกว่า Adrenergic receptor
มีชนิด Alpha และ Beta
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเรียกว่า Cholinergic agents
Acetylcholine (ACh)
จับกับตัวรับเฉพาะที่เรียกว่า Cholinergic receptor
ชนิด Muscarinic (M)
ชนิด Nicotinic receptors (N)
ระบบโซมาติก
มีเส้นประสาทที่ไปยังกล้ามเนื้อลายซึ่งหลั่ง Ach ออกฤทธิ์ที่ Nicotinic receptors กล้ามเนื้อลาย
ประเภทของ Adrenergic receptors
Alpha 1
พบที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดทางเดินปัสสาวะ
มดลูกทำให้เกิดตอบสนองแบบหดตัวยกเว้นระบบทางเดินอาหารทำให้การยับยั้งการเคลื่อนไหว
Alpha 2
พบที่ปลายประสาทซิมพาเทติกที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ
ในสมองการกระตุ้นจะยับยั้งการหลั่งของ norepinephrine (NE)
Beta1
พบที่หัวใจเมื่อถูกกระตุ้นจะเพิ่มแรงบีบตัวอัตราการเต้นของหัวใจ
Beta 2
พบที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหลอดลมทางเดินปัสสาวะ
มดลูกเมื่อถูกกระตุ้นจะเกิดการคลายตัว
กล้ามเนื้อลายก่อให้เกิดการสลายไกลโคเจน
Beta 3
พบที่เซลล์ไขมันเมื่อมีการกระตุ้น
ทำให้เกิดการสลายไขมัน
ประเภทของ Cholinergic receptor
Nicotinic receptor พบที่ปมประสาท
Muscarinic receptor
M1 พบที่สมอง Peripheral neuron และ Gastric parietal
เมื่อมีการกระตุ้นทำให้เกิดการตอบสนองแบบ Excitation
M2 พบที่หัวใจและบางส่วนของ Peripheral neuron
การกระตุ้นทำให้เกิดการตอบสนองแบบยับยั้ง
M3 พบได้ตามต่อมมีท่อต่าง ๆ
กล้ามเนื้อเรียบของทางเดินอาหารทางเดินหายใจการกระตุ้นทำให้เกิดการตอบสนองแบบ Excitation
M4 พบที่ระบบประสาท
การกระตุ้นทำให้เสริมการหลั่งของ Dopamine
M5 พบที่ Dopamine neuron
การกระตุ้นทำให้เสริมการหลั่งของ Dopamine
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัติโนมัติ
ยาโคลิเนอร์จิค (Cholinergic drugs)
กลไกการออกฤทธิ์ของยา
ออกฤทธิ์กระตุ้น Cholinergic receptor (Muscarinic และ Nicotinic receptor) โดยตรง
ทางอ้อมโดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Acetylcholinesterase cholinesterase (ChE)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบไหลเวียนเลือด
ทำให้หลอดเลือดขยายตัว (vasodilation) ลดความดันโลหิตลดการเต้นของหัวใจ
ระบบหายใจ
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหลอดลมหดตัวต่อมในหลอดลมหลั่งสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้นถ้าการกระตุ้นมีมากจะเกิดอาการคล้ายหืด (asthma)
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหดตัว (detrusor muscle) เพิ่มความดับกระเพาะปัสสาวะเพิ่มการบีบตัวของท่อปัสสาวะและการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูด (sphincter) และ trigone ของกระเพาะปัสสาวะ
ระบบทางเดินอาหาร
การหลั่งสารคัดหลั่งคือน้ำลายและกรดในกระเพาะอาหารต่อมในตับอ่อนและลำไส้เล็ก
ฤทธิ์ต่อตา
ทำให้ม่านตาหรี่ (miosis) เป็นผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ sphincter muscle ของและกล้ามเนื้อ iris ลดความดันในเบ้าตา
ระบบประสาทส่วนกลาง
มีฤทธิ์กระตุ้นสมองส่วน cortex (coenitive function) การเคลื่อนไหว (motor control) ความอยากอาหาร (appetite) ความปวด (nociception) และอื่น ๆ
การนำไปใช้ทางคลินิก
ใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะ Bethanechol
ใช้รักษาต้อหิน (glaucoma) ยา Pilocarpine ชนิดหยอด
ใช้รักษาอาการท้องอืดไม่ถ่าย
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษผล
ยาเกิดจากการกระตุ้น muscarinic receptor โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่มีผลทั่วร่างกาย (systemic)
เช่น Bethanechol, Pilocarpine ชนิดเม็ด ได้แก่ อาการมึนเวียนศีรษะ (dizziness) คล้ายจะเป็นลมอาเจียนทำให้มีน้ำลาย น้ำมูก น้ำตาไหล เหงื่อออก ปวดปัสสาวะ ปวดมวน
ยาต้านมัสคารินิค (Antimuscarinic drugs)
เป็นกลุ่มยาที่ปิดกั้นหรือยับยั้งฤทธิ์ของ cholinergic drugs ที่ cholinergic receptors
กลไกการออกฤทธิ์
Atropine เป็น muscarinic antagonists ออกฤทธิ์แย่งที่กับ Ach ในการจับ Muscarinic receptors แบบแข่งขัน (Competitive inhibition) ทำให้ยามีผลลดparasympathetic tone ในร่างกาย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ระบบตา
ทำให้ม่านตาขยาย (mydriasis) ไม่สามารถควบคุมเลนส์ให้มองภาพได้ชัด
ระบบทางเดินอาหาร
การปิดกั้น muscarinic receptors ทำให้้ parasympathetic tone จึงลดการบีบตัวของหลอดอาหารไปจนถึงลำไส้ใหญ่เป็นการลดทั้งความแรงและลดการขับเคลื่อนของกระเพาะอาหารและลำไส้
ระบบทางเดินหายใจ
มีฤทธิ์ขยายหลอดลม (bronchodilation) ยับยั้งการหลั่งของสารคัดหลัง (secretion) ที่จมูกปากคอและหลอดลม
กล้ามเนื้อเรียบอื่น ๆ
ลดความตึงตัวและความแรงในการบีบตัวของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะลำบากโดยเฉพาะผู้สูงอายุรวมถึงกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก
ต่อมเหงื่อ
atropine ทำให้ร่างกายขับเหงื่อได้น้อยลงส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกทางเหงื่อได้
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ทำให้หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เนื่องจากการลด parasympathetic tone ที่หัวใจ
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ปากแห้งคอแห้งตาพร่ามัวใจสั่นร้อนวูบวาบทางผิวหนังท้องผูกปัสสาวะลำบากควรสังเกตและบันทึกปริมาณน้ำดื่มและจำนวนปัสสาวะเพราะยาอาจทำให้ปัสสาวะคั่งได้
ยากระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Adrenergic drugs)
Adrenergic agents เป็นสารซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้นของประสาทซิมพาเทติก
เรียกว่า "Sympathomimetics" หรือกระตุ้น Adrenergic receptors
ยากลุ่ม Sympathonmimetics
กลุ่ม catecholamines
Epinephrine, Norepinephrine (NE), Dopamine (DA) และ Dobutamine
ออกฤทธิ์เลียนแบบการกระตุ้นประสาทซิมพาเทติกหรือกระตุ้น Adrenergic receptors มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกิดจากการออกฤทธิ์ต่อ d และ 8-receptor
Alpha-adrenergic agonist
Alpha-1 agonist
Phenylephrine เป็นยาออกฤทธิ์จำเพาะต่อ d1- receptor ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหดตัวเพิ่มแรงด้านในหลอดเลือดและเพิ่มความดันโลหิตยารูปแบบรับประทานหรือแบบพ่นจมูก
ใช้เป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูก
Midodrine เป็นยาออกฤทธิ์จำเพาะต่อ Alpha 1- receptor ทำให้หลอดเลือดหดตัวส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มออกฤทธิ์นาน 3-4 ชั่วโมง
ใช้ยสเมื่อผู้ป่วยมีอาการหน้ามืดจากความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
Alpha-2 agonist
Clonidine ออกฤทธิ์กระตุ้น Alpha 2- receptor ที่สมองและหลอดเลือดสามารถผ่านสมองใช้เป็นยาลดความดันโลหิตมีชนิดรับประทานและแผ่นแปะผิวหนังทำให้ลดการหดตัวของหลอดเลือดลดความต้านทานของหลอดเลือด
Beta-adrenergic agonist
การออกฤทธิ์ยากลุ่มนี้ใช้เป็นยาขยายหลอดลมสำหรับใช้แก้การเกิดหลอดลมตีบแคบมักใช้ในโรคหืดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ยาในรูปสูดพ่นออกฤทธิ์เฉพาะที่ทำให้ผลข้างเคียงต่ำปัจจุบันยากลุ่มนี้นิยมใช้ร่วมกับ corticosteroid เพื่อลดการอักเสบของทางเดินหายใจ
Indirect-acting and mixed-type adrenergic agonist
ออกฤทธิ์โดยตรงในการกระตุ้น adrenergic receptors ร่วมกับการกระตุ้นการหลั่ง NE ออกจากปลายประสาทและเป็นกลุ่มที่สามารถผ่านเข้าสมองได้ดี
ยาปิดกั้นอะดรีเนอร์จิครีเซพเตอร์ (Adrenoceptor blocking drugs)
เรียกว่า Adrenergic blocker หรือยา "sympatholytic"
ออกฤทธิ์ปิดกันที่ adrenergic receptors มีผลทางเภสัชวิทยาที่ต่างกันขึ้นกับความจำเพาะต่อ Alpha และ Beta receptor Subtype
Alpha-adrenergic antagonists (a-blocker)
Prazosin, Doxazosin
คือ selective Alpha1-antagonist ออกฤทธิ์จำเพาะต่อAlpha1-receptor ที่อยู่ภายในเซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดที่หัวใจและที่ต่อมลูกหมาก
ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบลดความต้านทานของหลอดเลือดแดงผนังหลอดเลือดขยายทำให้ลดความดันโลหิตได้ดีและรวดเร็วรวมถึงทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่ต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะคลายตัวเปิดทางเดินปัสสาวะและถ่ายปัสสาวะได้สะดวก
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
การที่ความดันโลหิตต่ำในขณะเปลี่ยนอิริยาบถ (postural hypotension) ซึ่งมักพบบ่อยจากการใช้ยาในระยะแรกๆ
Beta-adrenergic antagonists (Beta-blocker)
มีความหลากหลายในคุณสมบัติ ได้แก่ ความจำเพาะต่อ receptor Subtype
ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งที่ Beta-receptor ทำให้ Beta-adrenergic agonists ออกฤทธิ์ไม่ได้
Non-selective Beta-blocker
Propranolol, Timolol, Sotalol
จัดเป็นยาต้นแบบของ Beta-blocker ยับยั้งทั้ง Beta1 และBeta2 receptor ถูกดูดซึมได้ดีมากแต่มี first-pass metabolism สูงประโยชน์ในการรักษา
ลดอาการใจสั่นและมือสั่นในผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (hyperthyroidism)
ลดอาการตื่นเต้นได้ง่ายทำให้เกิดภาวะสงบ
Selective Beta-blocker
Atenolol, Metoprolol Metoprolol และ Atenolol
ช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นผิดจังหวะเจ็บหน้าอกและเป็นยาสำคัญใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
อาการข้างเคียงและความเป็นพิษ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด propranolol ทำให้หัวใจเต้นช้าเกิดจากการปิดกั้นตัวรับ Beta ที่หัวใจและหลอดเลือดและ atrioventricular block
ระบบหายใจจากการปิดกั้นตัวรับ Beta2 อาจทำให้หลอดลมตีบแคบ
ระบบประสาทอาจพบอาการปวดศีรษะวิงเวียนนอนไม่หลับเหนื่อยล้า
ยากลุ่มนี้มีผลกับระบบต่อมไร้ท่อและกระบวนการเมแทบอลิซึมจึงอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการตอบสนองเพิ่มระดับน้ำตาลผิดปกติ