Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินสัญญาณชีพ - Coggle Diagram
การประเมินสัญญาณชีพ
-
ความหมายของสัญญาณชีพ
สัญญาณชีพ (Vital signs) เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบถึงการมีชีวิต สามารถสังเกตและตรวจพบได้จาก อุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต สิ่งเหล่านี้เกิดจากการทำงานของอวัยวะของร่างกายที่สำคัญมากต่อชีวิต ได้แก่ หัวใจ ปอด สมอง การทำงานของระบบไหลเวียนเลือด และระบบหายใจ
ค่าปกติของสัญญาณชีพ
- อุณหภูมิ = 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
- ชีพจร = 60-100 ครั้ง/นาที
-
-
อุณหภูมิของร่างกาย
อุณหภูมิของร่างกาย เป็นระดับความร้อนของร่างกาย ซึ่งเกิดจากความสมดุลของการสร้างความร้อนของร่างกายและการสูญเสียความร้อนจากร่างกายไปยังสิ่งแวดล้อม มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียสหรือองศาฟาเรนไฮต์
-
-
-
การประเมินอุณหภูมิของร่างกาย เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกายเรียกว่า Thermometer เรียกง่ายๆว่า ปรอท สามารถวัดอุณหภูมิของร่างกายได้ 4 วิธี ดังนี้
- การวัดอุณหภูมิทางปาก (Oral temperature) เป็นวิธีที่นิยใช้มากที่สุด ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ปรอทวัดไข้ชนิดอมในปาก มีทั้งชนิดเป็นแท่งแก้วบรรจุปรอท(Mercurial temperature) และปรอทที่เป็นดิจิทัลบอกค่าตัวเลข
- การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ (Axillary temperature) การวัดอุณหภูมิทางรักแร้จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถวัดทางปากและทวารหนัก เช่น ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว
- การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก (Rectal temperature) มักใช้วัดในเด็กเล็กที่ไม่สามารถอมปรอทได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว
- การวัดอุณหภูมิโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic temperature) ได้แก่ การวัดทางหู และการวัดทางผิวหนัง
-
-
-
ภาวะอุณหภูมิร่างกายผิดปกติและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดปกติ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท รายละเอียดดังนี้
- อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ(Hyperthermia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีการผลิตหรือรับความร้อนมากแต่ไม่สามารถระบายความร้อนออกไปนอกร่างกายได้ ไข้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะเริ่มต้น หรือระยะหนาวสั่น เกิดขึ้นเมื่อกลไกการผลิตความร้อนของร่างกายพยายามที่จะเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น อาการและอาการแสดง คือ อัตราการเต้นของชีพจรและการหายใจ เพิ่มขึ้น หนาวสั่น ซึด เหงื่อออกน้อย
- ระยะไข้ เกิดขึ้นเมื่อกลไกการผลิตความร้อนของร่างกายสูงขึ้นถึงระดับที่กำหนด อาการและอาการแสดง คือ หน้าแดง ผิวหนังอุ่น รู้สึกร้อนหรือหนาว กระสับกระส่าย หลับเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ
- ระยะสิ้นสุดไข้ เกิดขึ้นเมื่อกลไกการผลิตความร้อนของร่างกายทำงานเพิ่มขึ้นพยายามที่จะลดอุณหภูมิในร่างกายไปสู่ที่ต่ำกว่าจุดที่กำหนด อาการและอาการแสดง คื ผิวหนังแดงและรู้สึกอุ่น มีเหงื่อออก อาการหนาวสั่นลดลง
- อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ(Hypothermia) ภาวะที่อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายต่ำกว่าอุณหภูมิปกติ คือต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส เรียกว่า Subnormal temperature เนื่องจากการที่ร่างกายสูญเสียความร้อนมากไป การผลิตความร้อนไม่สมดุลกับการสูญเสียความร้อน
-
ชีพจร
-
การประเมินชีพจร การคลำชีพจรนิยมคลำตามตำแหน่งเส้นเลือดแดงที่ผ่านเหนือหรือข้างๆ กระดูกและมักเรียกชื่อชีพจรตามตำแหน่งของหลอดเลือดที่จับได้ ดังนี้
- Temporal pulse จับที่เหนือและข้างๆตา บริเวณ Temporal bone
- Carotid pulse อยู่ด้านข้างของคอ คลำได้ชัดเจนที่สุดบริเวณมุมขากรรไกรล่าง
- Brachial pulse อยู่ด้านในของกล้ามเนื้อ Bicep คลำได้ที่บริเวณข้อพับแขนด้านใน
- Radial pulse อยู่ที่ข้อมือด้านในบริเวณกระดูกปลายแขนด้านนอกหรือด้านหัวแม่มือ
- Femoral pulse อยู่บริเวณขาหนีบตรงกลางๆ ส่วนของเอ็นที่ยึดขาหนีบ
- Popliteal pulse อยู่บริเวณตรงกลางข้อพับเข่า ถ้างอเข่าจะสามารถคลำได้ง่ายขึ้น
- Dorsalis pedis pulse อยู่บริเวณกลางหลังเท้าระหว่างนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้
- Apical pulse อยู่ที่ยอดของหัวใจ หน้าอกด้านซ้ายบริเวณที่ตั้งของหัวใจ
- Posterior tibial pulse อยู่บริเวณหลังปุ่มกระดูกข้อเท้าด้านใน
การประเมินชีพจร สามารถคลำได้ 9 ตำแหน่ง แต่ Radial artery จะได้ Radial pulse ซึ่งอยู่ที่ข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นตำแหน่งที่ง่ายต่อการจับและสะดวกสำหรับผู้ป่วย จึงนิยมใช้ในการวัดสัญญาณชีพเบื้องต้น
-
การหายใจ
-
การประเมินการหายใจ
การประเมินการหายใจ เป็นการนับอัตราการหายใจเข้าและออก นับเป็นการหายใจ 1 ครั้งไปจนครบ 1 นาที เต็มมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการทำงานของปอด และทางเดินของลมหายใจ มีรายละเอียดดังนี้
-
-
- กระดาษและแบบฟอร์มการบันทึก
-
- บอกให้ผู้ป่วยทราบและขออนุญาตจับต้องตัวผู้ป่วย
- เริ่มนับการหายใจหลังจากการนับชีพจรเสร็จแล้วโดยพยาบาลยังคงจับข้อมือ ผู้ป่วยไว้เสมือนว่ากำลังนับชีพจร
- นับอัตราการหายใจ สังเกตความลึก จังหวะ และลักษณะการหายใจ ในผู้ใหญ่ สังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอก ในเด็กสังเกตการเคลื่อนไหวของท้อง
- ประเมินการหายใจเต็ม 1 นาที
- บันทึกลงกระดาษที่เตรียมไว้และบันทึกในแบบฟอร์มต่อไป
-
-
ความดันโลหิต
-
การประเมินความดันโลหิต
- การวัดความดันโลหิตโดยทางตรง (Central venous blood pressure: C.V.P) โดยวิธีใส่สายสวยเข้าไปใน Superior vena cava และใช้เครื่องมือวัดความดันของเลือดที่จะเข้าหัวใจห้องบนขวา
- การวัดความดันโลหิตโดยทางอ้อม เป็นการวัดความดันของหลอดเลือดแดง มี 2 วิธี คือ การฟัง และการคลำ เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความดันโลหิต ได้แก่ Stethoscope และ Sphygmomanometer มี 2 ชนิด คือ แบบแท่งปรอท และแบบแป้นกลม ใช้ความดันอากาศแทนปรอท ซึ่งมีความแม่นยำน้อยกว่าแบบแท่งปรอท
-
-