Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.3 การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ในระยะคลอดหัวข…
บทที่ 4.3 การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ในระยะคลอด
หัวข้อ ภาวะรกค้าง รกติด**
ชนิดของรกติดแบ่งได้ตามความลึกของการฝังตัวเป็น 3 ชนิด
placenta increta ชนิดที่ trophoblast ฝังตัวลึกลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูกแต่ไม่ถึงชั้น ซีโรซ่า
placenta accrete ชนิดที่ trophoblastฝังตัวลงไปตลอดชั้นสปอนจิโอซา (spongiosa)
ของเยื่อบุมดลูกอาจเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด แต่ไม่ผ่านไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
placenta percreta ชนิดที่ trophoblast ฝังตัวลึกทะลุชั้นกล้ามเนื้อมดลูกถึงชั้นซีโรซา
ความหมาย
รกค้าง ( retained placenta) หมายถึง ภาวะที่รกไม่ลอกตัว หรือคลอดออกมาภายใน 30 นาที หลังทารกคลอด
รกติด ( placenta accreta) หมายถึง ภาวะที่รกมีการฝังตัวลึกกว่าชั้นปกติ ซึ่งปกติจะฝังตัวที่บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกแต่ในรายที่การฝังตัวผิดปกติ รกอาจฝังตัวลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้ไม่สามารถคลอดรกได้
ปัจจัยเสี่ยง
มารดาอายุมาก
ตั้งครรภ์หลายครั้ง
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหลายครั้ง
รกเกาะต่ำ
เคยมีแผลผ่าตัดที่มดลุกหรือเคยขูดมดลูก
เคยมีรกติดแน่นในครรภ์ก่อน
แนวทางการรักษา
รกไม่คลอดนานเกิน 30 นาที พิจารณาให้ oxytocin 10 ยูนิต เข้ากล้ามเนื้อ และทำ controlled cord traction หากทำแล้วรกยังไม่คลอดรายงานแพทย์เพื่อล้วงรก
อาการและอาการแสดง
มดลูกหดรัดตัวไม่ดีหลังคลอด
มีเลือดออกทางช่องคลอดจำนวนมากหลังรกคลอด
ไม่มีอาการแสดงของรกลอกตัว หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่ชัดเจน ระยะหลังรกคลอดนาน 30นาที
ตรวจพบว่ามีบางส่วนของเนื้อรกขาดไป
มารดากระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ตัวเย็นซีด เหงื่ออก ความดันโลหิตต่ำ ความรู้สึกตัวลดลง
การพยาบาล
ภายหลังล้วงรกประเมินการหดรัดตัวของมดลูก จำนวนเลือดออกและสัญญาณชีพเพื่อประเมินภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก และดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
ติดตามและประเมินภาวะติดเชื้อและตกเลือดในระยะหลังคลอด ประเมินระดับยอดมดลูก น้ำความปลา และสัญญาณชีพ