Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การประเมินสัญญาณชีพ - Coggle Diagram
บทที่ 2 การประเมินสัญญาณชีพ
1.สัญญาณชีพ
ความหมายของสัญญาณชีพ
สัญญาณชีพ (Vital signs) เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบถึงการมีชีวิตสามารถสังเกตและตรวจพบได้จาก อุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต สิ่งเหล่านี้เกิดจากการทำงานของอวัยวะของร่างกายที่สำคัญมากต่อชีวิต
ข้อบ่งชี้ในการวัดสัญญาณชีพ
5) ก่อนและหลังให้ยาบางชนิดที่มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular) การหายใจ และการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
6) เมื่อสภาวะทั่วไปของร่างกายผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง
4) ก่อนและหลังการตรวจวินิจฉัยโรคที่ต้องใส่เครื่องมือตรวจเข้าไปภายในร่างกาย
7) ก่อนและหลังการให้การพยาบาลที่มีผลต่อสัญญาณชีพ
3) ก่อนและหลังการผ่าตัด
2) วัดตามระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติของโรงพยาบาลหรือตามแผนการรักษาของแพทย์
1) เมื่อแรกรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล
ค่าปกติของสัญญาณชีพ
ค่าสัญญาณชีพของแต่ละบุคคล ปกติจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และตรวจในขณะพัก หรือหลังการเคลื่อนไหว
2 อุณหภูมิของร่างกาย
อุณหภูมิในร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
อุณหภูมิส่วนแกนกลาง (Core temperature)
เป็นอุณหภูมิของเนื้อเยื่อชั้นลึก (Deep tissue) ของร่างกาย
อุณหภูมิผิวนอก (Surface temperature)
เป็นอุณหภูมิเนื้อเยื่อชั้นผิว (Skin subcutaneous tissue fat) หลอดเลือดส่วนปลายและอวัยวะส่วนปลาย
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความร้อน และการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
กรณีร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากร่างกายจะเกิดกลไกการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น
1) กลไกของร่างกาย (Physiological mechanisms)
ชนิดกลไกของร่างกาย
การนำความร้อน (Conduction)
หมายถึง การระบายความร้อนโดยอาศัยสื่อร่างกายต้องสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่เย็นกว่าซึ่งอาจจะเป็นอากาศรอบตัวหรือวัตถุ
การพาความร้อน (Convection)
หมายถึง การระบายความร้อนโดยอาศัยตัวกลาง
การแผ่รังสี (Radiation)
หมายถึง การส่งผ่านความร้อนในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากพื้นผิววัตถุหนึ่งไปยังพื้นผิวของอีกวัตถุหนึ่ง โดยไม่มีการสัมผัสกันของทั้ง 2 พื้นผิว
การระเหยเป็นไอ (Evaporation)
หมายถึง การระบายความร้อนออกมาโดยการระเหยจากพื้นผิวของร่างกาย หรือการระบายความร้อนออกมาโดยการระเหยของน้ำไปเป็นไอ
2) กลไกของการเกิดพฤติกรรม (Behavioral mechanism)
ปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิของร่างกาย
1) ความผันแปรในรอบวัน
ช่วงเวลาระหว่างวันอุณหภูมิร่างกายปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน
2) อายุ
อุณหภูมิร่างกายของเด็กทารกแรกเกิดจะไม่คงที่ เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายยังทำงานไม่เต็มที่จนกว่าจะถึงวัยผู้ใหญ่
3) การออกกำลังกาย
ขณะออกกำลังกายพลังงานความร้อนจะถูกผลิตออกมาจากการหดตัว และการคลายตัวของกล้ามเนื้อ และมีการทำงานเพิ่มขึ้นของระบบอื่น ๆ
4) อารมณ์
ผู้ที่มีความเครียดจะทำให้ไปกระตุ้นระบบประสาทซิมพาธิติกเพิ่มการหลั่ง Epinephrine และ Nor-epinephrine ซึ่งจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ (BMR) จึงมีผลทำให้มีการผลิตความร้อนเพิ่มมากขึ้น
7) ภาวะโภชนาการและชนิดของอาหารที่รับประทาน
คนผอมมากจะมีเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและไขมันน้อย ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายต่ำได้
5) ฮอร์โมน
เพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายมากกว่าเพศชาย
8) การติดเชื้อในร่างกาย
6) สิ่งแวดล้อม
อุณหภูมิของสภาพแวดล้อม สามารถเพิ่มหรือลดอุณหภูมิของร่างกายได้ ถ้าร่างกายสัมผัสอุณหภูมิแวดล้อมที่เย็น หรือร้อนเป็นเวลานานๆ
การประเมินอุณหภูมิของร่างกาย
สามารถวัดอุณหภูมิของร่างกายได้ 4 วิธี
2) การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ (Axillary temperature)
การวัดอุณหภูมิทางรักแร้จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถวัดอุณหภูมิทางปากและทางทวารหนัก
3) การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก (Rectal temperature)
กจะใช้วัดในเด็กเล็กที่ไม่สามารถอมปรอทได้หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว
1) การวัดอุณหภูมิทางปาก (Oral temperature)
เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ปรอทวัดไข้ชนิดอมในปาก มีทั้งชนิดเป็นแท่งแก้วบรรจุปรอทละปรอทที่เป็นดิจิทัลบอกค่าตัวเลข
สิ่งสำคัญในการวัดอุณหภูมิทางปาก คือ
ต้องปิดปากสนิทเมื่ออมเทอร์โมมิเตอร์
หากใช้ชนิดเป็นแท่งแก้วบรรจุปรอทต้องสลัดปรอทลงไปอยู่ในกระเปาะให้หมดก่อน แล้วจึงวางกระเปาะปรอทไว้ใต้ลิ้นข้างใดข้างหนึ่งของลิ้น
4) การวัดอุณหภูมิโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic temperature)
ได้แก่
การวัดทางหู
เป็นวัดอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย เนื่องจากอยู่ใกล้ hypothalamus ซึ่งมีศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกายอยู่ด้วย
การวัดทางผิวหนัง
โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์สัมผัสบริเวณดังกล่าวแล้วอ่านค่าที่วัดได้ เช่น หน้าผาก หลังใบหู ซอกคอ เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกายเรียกว่า “Thermometer” เรียกง่าย ๆ ว่า “ปรอท”
ภาวะอุณหภูมิร่างกายผิดปกติและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดปกติ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1) อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ (Hyperthermia)
ป็นภาวะที่ร่างกายมีการผลิตหรือรับความร้อนมากแต่ไม่สามารถระบายความร้อนออกไปนอกร่างกายได้
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะเริ่มต้น หรือระยะหนาวสั่น เกิดขึ้นเมื่อกลไกการผลิตความร้อนของร่างกายพยายามที่จะเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น
อาการและอาการแสดง คือ อัตราการเต้นของชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น หนาวสั่น ซีด ผิวหนังเย็น และเหงื่อออกน้อย
ระยะไข้ เกิดขึ้นเมื่อกลไกการผลิตความร้อนของร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับใหม่ที่กำหนดไว้
อาการและอาการแสดง คือ หน้าแดง ผิวหนังอุ่น รู้สึกร้อนหรือหนาว กระสับกระส่ายเบื่ออาหาร เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ ชีพจรและหายใจเร็ว ถ้าอุณหภูมิสูงมากๆ จะสับสน ถ้าเป็นในเด็กอาจจะชัก
ระยะสิ้นสุดไข้ เกิดขึ้นเมื่อกลไกการผลิตความร้อนของร่างกายทำงานเพิ่มขึ้นพยายามที่จะลดอุณหภูมิภายในร่างกายไปสู่อุณหภูมิใหม่ ต่ำกว่าจุดที่กำหนดไว้
อาการและอาการแสดง คือ ผิวหนังแดงและรู้สึกอุ่น มีเหงื่อออก อาการหนาวสั่นลดลง อาจเกิดภาวะขาดน้ำได้
2) อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ (Hypothermia)
หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายต่ำกว่าอุณหภูมิปกติคือต่ำกว่า 36 °C เรียกว่า Subnormal temperature หรือ Hypothermia เนื่องมาจากการที่ร่างกายสูญเสียความร้อนมากไป
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ มีดังนี้
3) วางกระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าห่มไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความอบอุ่น ระวังอันตรายจากไฟฟ้า
4) คลุมหรือโพกศีรษะด้วยผ้าขนหนูผืนใหญ่ เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน
5) ให้ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอุ่นๆ เป็นการเพิ่มอุณหภูมิแก่ร่างกายโดยการนำความร้อน
6) ถูและนวดผิวหนัง จะช่วยเพิ่มความร้อนให้กับผิวหนังโดยการเสียดสี
2) เพิ่มความหนาของผ้าห่มหรือเพิ่มจำนวนผ้าห่มให้เกิดความอบอุ่นเพิ่มขึ้น
7) ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจใช้การโอบกอดเพื่อได้รับไออุ่นจากผู้สวมกอด
1) จัดสิ่งแวดล้อมให้อบอุ่น ปิดเครื่องปรับอากาศหรือปรับอุณหภูมิสูงขึ้น
8) ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย โดยการอยู่กับผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวิตกกังวล
9) สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ค้นหาสาเหตุของอาการหนาวสั่น
3 ชีพจร
ความหมายและปัจจัยที่มีผลต่อการเต้นของชีพจร
ชีพจร (Pulse) หมายถึง การหดและขยายตัวของผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย ทำให้คลื่นความดันเลือดไปดันผนังเส้นเลือดแดงให้ขยาย
ปัจจัยที่มีผลต่อการเต้นของชีพจร ได้แก่
4) ภาวะไข้
อัตราการเต้นของชีพจรเพิ่มขึ้น เพื่อปรับตัวให้เข้ากับความดันเลือดที่ต่ำลง ซึ่งเป็นผลมาจากเส้นเลือดส่วนปลายขยายตัวทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
5) ยา
ยาบางชนิด ลดอัตราการเต้นของชีพจร
3) การออกกำลังกาย
ในระหว่างการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น จึงทำให้เพิ่มการเต้นของหัวใจเพื่อจะได้นำออกซิเจนไปกับกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
6) อารมณ์
ความกลัว ความโกรธ ความวิตกกังวล การรับรู้ความเจ็บปวด จะไปกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกทำให้หัวใจบีบตัวเร็วขึ้น
2) เพศ
หญิงจะเร็วกว่าชายเล็กน้อยในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
7) ท่าทาง
ขณะอยู่ในท่ายืนหรือนั่งชีพจรจะเต้นเร็วขึ้น ท่านอนชีพจรจะช้าลง
1) อายุ
เมื่ออายุเพิ่มขึ้นอัตราการเต้นของชีพจรจะลดลง ในผู้ใหญ่อัตราการเต้นของชีพจร 60-100 ครั้งต่อนาที (เฉลี่ย 80 ครั้งต่อนาที)
8) ภาวะเสียเลือด
การเสียเลือดจะมีผลทำให้เพิ่มการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาธิติค ทำให้อัตราการเต้นของชีพจรสูงขึ้น
การประเมินชีพจร
การคลำชีพจรนิยมคลำตามตำแหน่งเส้นเลือดแดงที่ผ่านเหนือหรือข้าง ๆ กระดูก
เรียกชื่อชีพจรตามตำแหน่งของหลอดเลือดที่จับได้ มีดังนี้
Radial pulse อยู่ที่ข้อมือด้านในบริเวณกระดูกปลายแขนด้านนอกหรือด้านหัวแม่มือ
Femoral pulse อยู่บริเวณขาหนีบตรงกลาง ๆ ส่วนของเอ็นที่ยึดขาหนีบ
Popliteal pulse อยู่บริเวณตรงกลางข้อพับเข่า ถ้างอเข่าจะสามารถคลำได้ง่ายขึ้น
Brachial pulse อยู่ด้านในของกล้ามเนื้อ Bicep คลำได้ที่บริเวณข้อพับแขนด้านใน
Dorsalis pedis pulse อยู่บริเวณกลางหลังเท้าระหว่างนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้
Carotid pulse อยู่ด้านข้างของคอ คลำได้ชัดเจนที่สุดบริเวณมุมขากรรไกรล่าง
Apical pulse อยู่ที่ยอดของหัวใจ หน้าอกด้านซ้ายบริเวณที่ตั้งของหัวใจ
Temporal pulse จับที่เหนือและข้าง ๆ ตา บริเวณ Temporal bone
Posterior tibial pulse อยู่บริเวณหลังปุ่มกระดูกข้อเท้าด้านใน
ลักษณะชีพจรที่ผิดปกติ
อัตราการเต้นของชีพจรขึ้นอยู่กับระบบประสาทอัตโนมัติ 2 ส่วน ระบบ
ระบบประสาทพาราซิมพาธิติค เมื่อถูกกระตุ้นมีผลให้อัตราการเต้นของชีพจรลดลง
ระบบประสาทซิมพาธิติค เมื่อถูกกระตุ้นมีผลเพิ่มอัตราการเต้นของชีพจร
สิ่งที่ต้องสังเกตเมื่อจับชีพจร
2) จังหวะ (Rhythm)
การเต้นชีพจร จังหวะและช่วงพักของชีพจร ชีพจรจะเต้นเป็นจังหวะ และมีช่วงพักระหว่างจังหวะ
จังหวะของชีพจร
จังหวะของชีพจรผิดปกติ ชีพจรที่เต้นไม่เป็นจังหวะแต่ละช่วงพักไม่สม่ำเสมอ ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ หรืออาจจะมีจังหวะการเต้นสม่ำเสมอสลับกับไม่สม่ำเสมอ เรียกว่า Arrhythmia หรือ Irregular
จังหวะของชีพจรปกติ จะมีช่วงพักระหว่างจังหวะเท่ากัน ชีพจรเต้นสม่ำเสมอ เรียกว่า Pulse regularis
3) ปริมาตรความแรง (Volume)
ความแรงของชีพจรขึ้นอยู่กับปริมาตรของเลือดในการกระทบผนังของหลอดเลือดแดง
1) อัตรา (Rate)
การเต้นของชีพจร จำนวนครั้งของความรู้สึกที่ได้จากคลื่นบนหลอดเลือดแดงกระทบนิ้วหรือการฟังที่ Apex ของหัวใจในเวลา 1 นาที หน่วยเป็นครั้ง/นาที อัตราการเต้นของชีพจรปกติในวัยผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที
ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่มากกว่า 100 ครั้ง/นาที เรียกว่า Tachycardia
ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที เรียกว่า Bradycardia
4) ความยืดหยุ่นของผนังของหลอดเลือด
ปกติผนังหลอดเลือดจะมีลักษณะตรงและเรียบมีความยืดหยุ่นได้ดี
ในผู้สูงอายุผนังหลอดเลือดแดงมีความยืดหยุ่นน้อยขรุขระ และไม่สม่ำเสมอ
4 การหายใจ
ความหมายและปัจจัยที่มีผลต่อการหายใจ
การหายใจ หมายถึง การนำออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ร่างกาย และขับคาร์บอนไดออกไซด์ออก โดยผ่านปอดตามลมหายใจเข้าออก
แบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
1) การหายใจเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ระหว่างปอดกับอากาศภายนอก
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
การสูดเอาอากาศเข้าไปในถุงลมของปอด เรียกว่าการหายใจเข้า จังหวะนี้จะมีการยกตัวของกระดูกซี่โครงพร้อมๆกับกระบังลมมีการหย่อนต่ำลงในท้อ
การไล่อากาศออกจากปอด เรียกว่าการหายใจออก ในจังหวะนี้จะมีการหดตัวเข้าหากันของกระดูกซี่โครง ทำให้หน้าอกบุ๋มลง พร้อม ๆ กับกระบังลมจะดันตัวสูงขึ้นไปในช่องอก
2) การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในเลือด กับเซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย
ปัจจัยที่มีผลต่อการหายใจ
การหายใจเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ตาม จังหวะและความลึกของการหายใจ บางขณะก็สามารถควบคุมได้เป็นพัก ๆ
การประเมินการหายใจ
การประเมินการหายใจ เป็นการนับอัตราการหายใจเข้าและออก นับเป็นการหายใจ 1 ครั้งไปจนครบ 1 นาทีเต็ม มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการทำงานของปอด และทางเดินของลมหายใจ
ลักษณะการหายใจที่ผิดปกติ
ในการนับการหายใจแต่ละครั้ง สิ่งที่ต้องสังเกตในขณะนับการหายใจ ได้แก่
1) อัตราเร็วของการหายใจ
อัตราการหายใจที่ผิดปกติ ได้แก่
Tachypnea อัตราการหายใจในผู้ใหญ่ มากกว่า 24 ครั้ง/นาที
Bradypnea อัตราการหายใจในผู้ใหญ่ น้อยกว่า 10 ครั้ง/นาที
Apnea การหยุดหายใจ
มีหน่วยเป็นครั้งต่อนาที ซึ่งการหายใจ 1 ครั้ง หมายถึงการหายใจเข้าและหายใจออก 1 รอบ
3) จังหวะของการหายใจ
การหายใจปกติจะมีจังหวะการหายใจเข้าและหายใจออกเท่ากันและสม่ำเสมอ
จังหวะของการหายใจที่ผิดปกติ ได้แก่
Cheyne stokes เป็นการหายใจเป็นช่วง ๆ ไม่สม่ำเสมอ โดยจะเพิ่มอัตราการหายใจ หายใจเร็วลึกและตามด้วยช่วงที่หยุดหายใจ แล้วกลับมาหายใจเร็วอีก
Biot เป็นการหายใจปกติสลับกับการหายใจเร็วลึก ไม่สม่ำเสมอเป็นช่วงสั้นๆ 2-3 ครั้ง แล้วตามด้วยหยุดหายใจช่วงสั้น ๆ อีก
5) ลักษณะเสียงหายใจที่ผิดปกติ ได้แก่
Stridor เสียงฟืด เป็นเสียงที่ได้ยินขณะหายใจเข้า เนื่องจากมีการอุดกั้นในหลอดลมใหญ่ หรือกล่องเสียง
Wheeze เป็นเสียงวี๊ดได้ยินขณะหายใจออก พบในผู้ป่วยที่มีหลอดลมตีบแคบ
6) สีของผิวหนังที่ผิดปกติ ได้แก่
Cyanosis พบเยื่อบุและผิวหนังมีสีม่วงคล้ำ ซึ่งบ่งชี้ถึงการขาดออกซิเจนเนื่องจากปริมาณออกซิเจนในเลือดลดลง
2) ความลึกของการหายใจ
ความลึกของการหายใจที่ผิดปกติ ได้แก่
Hypoventilation เป็นการหายใจช้าและตื้น
Hyperventilation เป็นการหายใจเร็วและลึก
โดยการสังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอก สามารถบอกได้ว่าหายใจลึกหรือตื้น
4) ลักษณะของการหายใจปกติ (Eupnea)
จะเป็นไปโดยสะดวกไม่ต้องใช้แรง ไม่มีเสียง และไม่เจ็บปวด
ลักษณะของการหายใจที่ผิดปกติ ได้แก่
Dyspnea เป็นอาการหายใจลำบาก การหายใจต้องใช้แรงมากกว่าปกติ
Orthopnea เป็นอาการหายใจลำบากในท่านอนราบจะหายใจได้ต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืนเท่านั้น
Paroxysmal nocturnal dyspnea เป็นอาการหายใจลำบากในตอนกลางคืน
Air hunger เป็นการพยายามหายใจโดยใช้ทั้งทางจมูก และปากอย่างรุนแรง พบในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
Paroxysmal dyspnea เป็นอาการหอบอย่างรุนแรง ต้องลุกนั่ง
5 ความดันโลหิต
ความหมายและปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต
ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของเลือดที่ไปกระทบกับผนังเส้นเลือดแดง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท
ค่าความดันโลหิตที่วัดมี 2 ค่า
Systolic pressure ซึ่งเป็นความดันที่เกิดจากการหดรัดตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อฉีดเลือดออกจากหัวใจจึงเป็นความดันที่สูงสุด
Diastolic pressure เป็นความดันที่วัดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวจึงเป็นความดันที่ต่ำสุดและจะอยู่ระดับนี้ตลอดเวลาภายในหลอดเลือดแดง
ค่าความดันโลหิตปกติในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้
2) อิริยาบถขณะวัดความดันโลหิตและการออกกำลังกาย
3) ความเครียดและการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
1) อายุ
4) ลักษณะของร่างกายและปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่
รูปร่าง คนอ้วนความดันโลหิตมักสูงกว่าคนผอม
เพศ เพศชายมักมีความดันโลหิตสูงกว่าเพศหญิงในวัยเดียวกัน ยกเว้นเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน
ยา ยาที่มีผลต่อการหดรัดตัวของหลอดเลือดจะทำให้ความดันโลหิตสูง
การประเมินความดันโลหิต
วิธีประเมินความดันโลหิตมี 2 วิธี
1) การวัดความดันโลหิตโดยทางตรง (Central venous blood pressure: C.V.P)
โดยวิธีใส่สายสวนเข้าไปใน Superior vena cava และใช้เครื่องมือวัดความดันของเลือดที่จะเข้าหัวใจห้องบนขวา
2) การวัดความดันโลหิตโดยทางอ้อม
เป็นการวัดความดันของหลอดเลือดแดง
มี 2 วิธี
การฟัง
การคลำ
เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความดันโลหิต ได้แก่
Stethoscope
phygmomanometer
มี 2 ชนิด
แบบแท่งปรอท (Mercury column)
แบบแป้นกลม ใช้ความดันอากาศแทนปรอท (Aneroid)
การประเมินความดันโลหิตมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการวินิจฉัย และเพื่อทราบปริมาณของเลือด
ลักษณะความดันโลหิตที่ผิดปกติ
1) Hypertension
หมายถึง ความดันโลหิตสูง โดย Systolic สูงกว่า 140 mmHg และ Diastolic สูงกว่า 90 mmHg
มีอาการปวดศีรษะ บริเวณท้ายทอย ตาพร่า หรือมองไม่เห็น คลื่นไส้ อาเจียน ชักและหมดสติ
2) Hypotension
หมายถึง ความดันโลหิตต่ำโดย Systolic ต่ำกว่า 90 mmHgและ Diastolic ต่ำกว่า 60 mmHg
มีอาการ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น เป็นลมหมดสติ
3) Orthostatic hypotension
หมายถึง ความดันโลหิตตกในท่ายืน การเปลี่ยนจากท่านอนราบเป็นท่ายืนทันที มีผลทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงทันที
เกิดจากหลอดเลือดส่วนปลายขยาย แต่ไม่มีกลไกการปรับตัวเพิ่มขึ้นของจำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตตก
ทำให้เป็นลมหน้ามืดได้
2.6 กระบวนการพยาบาลในการประเมินสัญญาณชีพ
การประเมินสภาพ ดังนี้
3) จากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจพิเศษอื่นๆ
2) ตรวจร่างกาย และประเมินสัญญาณชีพ
1) ซักประวัติการสัมผัสเชื้อ ระยะเวลา การรักษาก่อนมาโรงพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
2) มีภาวะติดเชื้อในร่างกาย.....(หากทราบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ)
1) ไม่สุขสบายเนื่องจากอุณหภูมิร่างกายสูง
การวางแผนการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยมีอุณหภูมิร่างกายปกติ ป้องกันอาการชักจากภาวะไข้สูง และให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
การปฏิบัติการพยาบาล
4) จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ อาการถ่ายเทได้สะดวก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
5) ให้ยา Paracetmol ลดไข้/ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ (กรณีมีการติดเชื้อร่วมด้วย) ตามแผนการรักษา
3) ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอเพื่อชดเชยปริมาณสารน้ำที่สูญเสีย
6) ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2) เช็ดตัวลดไข้โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ไม่ควรใช้น้ำเย็นเพราะจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้การระบายความร้อนไม่ดีเท่าที่ควร
1) ประเมินสัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิ ชีพจร หายใจ และความดันโลหิต อย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อจำเป็น
การประเมินผลสัญญาณชีพ
ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ