Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม
ในประเทศไทย คำว่า “วัฒนธรรม” ถูกนํามาใช้อย่างเป็นทางราชการครั้งแรก ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม5
ปัจจุบันวัฒนธรรมมีความหมายว่าสิ่งที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของสังคมทั้งทางด้านจิตใจและวัตถุ
วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เป็นเครื่องมือที่มนุษย์คิดค้นเพื่อช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ในสังคมของตน
สมัยของเราเองวัฒนธรรม (Culture) หมายถึงวิถีการดำเนินชีวิต (The Way of Life) ของคนในสังคม
วัฒนธรรมจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์
เช่น ถ้วย ชาม จาน ช้อน ส้อม ตึกรามบ้านช่องและถนนหนทาง
2) วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม การปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มของตน ว่าดีงามเหมาะสม
เช่น ความคิด ความเชื่อ ภาษา ศีลธรรม ปรัชญา และกฎหมาย
ลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของวัฒนธรรมไว้ 6 ประการ
3) วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ (Symbol)
4) วัฒนธรรมเป็นองค์รวมของความรู้และภูมิปัญญา ทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ มีการวางกฎเกณฑ์แบบแผนในการดำเนินชีวิต มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
2) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (Culture is learned) ซึ่งมนุษย์จะเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อยในสังคมจนกลายเป็น “มรดกสังคม”
5) วัฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์นิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่างๆ
1) วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (Shared ideas) และค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกำหนดมาตรฐานพฤติกรรม
6) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
วัฒนธรรมมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ
2) องค์การหรือสมาคม (Organization หรือ Association) หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของการจัดระเบียบเป็นองค์การหรือสมาคม มีโครงสร้างซึ่งสามารถมองเห็นได้ มีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับ รวมทั้งระเบียบวิธีประพฤติปฏิบัติขององค์การหรือสมาคมนั้นๆ
3) องค์พิธีหรือพิธีการ (Usage หรือ Ceremony) หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของพิธีหรือพิธีการต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นนับตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต
1) องค์วัตถุ (Material) ทั้งที่เป็นเครื่องมือและสัญลักษณ์ (Instrumental And Symbolic Objects) หมายถึง วัฒนธรรมในด้านวัตถุที่มีรูปร่างสามารถจับต้องได้
4) องค์มติหรือมโนทัศน์ (Concepts) หมายถึง วัฒนธรรมในด้านความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากคำสอนทางศาสนา
ความสำคัญของวัฒนธรรม
4) ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของ การดำรงชีวิต
5) ทำให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน
3.ทำให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
6) ทำให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
2.การศึกษาวัฒนธรรมจะทำให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
7) ทำให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์
1.วัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม และเป็นเครื่องกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
คุณค่า ความเชื่อ ค่านิยมทางสังคมที่มีผลต่อหลักการในการดำเนินชีวิต
ประเภทของความเชื่อ
2)ความเชื่อขั้นพื้นฐานของบุคคล มี 2 ลักษณะ คือ เกิดจากประสบการณ์ตรง และเกิดจากการแลกเปลี่ยนพบปะสังสรรค์
3) ความเชื่อแบบประเพณี ในภาคเหนือเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับผีและอำนาจเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับป่า ภูเขาและลำน้ำ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระธาตุและผีวีรบุรุษ
1) ความเชื่อในสิ่งปรากฏอยู่จริง เช่น เชื่อว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก น้ำทะเลมีรสเค็ม
4) ความเชื่อแบบเป็นทางการ เช่น ความเชื่อที่มีต่อหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องการมีสติ ความไม่ประมาท การบำเพ็ญเพียร ความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร 5 หมู่ การบริโภคนมแม่
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ
2) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
การขัดเกลาทางสังคม การควบคุมทางสังคม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
3) ปัจจัยทางด้านบุคคล
ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ
1) ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา
การรับรู้ และการเรียนรู้
ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีการดูแลสุขภาพ
3)ความเชื่อแบบการแพทย์แผนตะวันตก
วิธีการดูแลสุขภาพแบบแพทย์ตะวันตก
จะมีการวินิจฉัยหาสาเหตุของความเจ็บป่วย เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคการแพทย์
4)ความเชื่อและการดูแลสุขภาพในช่วงเปลี่ยนผ่านสถานการณ์ชีวิต
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบพื้นบ้าน
ระยะตั้งครรภ์ คนโบราณเชื่อว่าการตั้งครรภ์เป็นผลจากความสัมพันธ์ของมนุษย์กับดวงดาวในระบบจักรวาล การดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ จะเกี่ยวกับสุขภาพจิต สุขภาพกาย การดูแลทารกในครรภ์ การฝากครรภ์
ระยะคลอดบุตร ความเชื่อเกี่ยวกับการคลอดบุตร ได้แก่ เรื่องความเป็นสิริมงคล ท่าทางในการคลอดการดูแลสุขภาพในระยะคลอดบุตร ได้แก่ การจัดสถานที่และท่าทางในการคลอด การตรวจครรภ์ก่อนคลอด การคลอด การจัดการเกี่ยวกับรก การร่อนกระด้ง
ระยะหลังคลอด ความเชื่อเกี่ยวกับภาวะหลังคลอด ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผี การดูแลสุขภาพในระยะหลังคลอด ได้แก่ การอยู่ไฟ การนาบหม้อหรือการทับหม้อเกลือ การประคบสมุนไพร การนวดหลังคลอด การเข้ากระโจมหรือการอบสมุนไพร การอาบสมุนไพร การงดบริโภคอาหารแสลง การบำรุงร่างกาย
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบแพทย์ตะวันตก
ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่ตัวอ่อนหรือทารกได้ก่อกำเนิดขึ้นภายในมดลูก การดูแลสุขภาพแบบการแพทย์ตะวันตกมีหลักการดูแลคล้ายคลึงการแบบพื้นบ้าน คือ มีในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด โดยมีวัตถุประสงค์ให้มารดาและทารกสมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งผ่านทุกระยะของกระบวนการให้กำเนิดได้อย่างปลอดภัย
2) ความเชื่อแบบพื้นบ้านและวิธีการดูแลสุขภาพ เช่น ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการขาดสมดุลธาตุ
วิธีการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน
หมอสมุนไพร หมอเป่า หมอกระดูกหรือหมอน้ำมัน หมอนวด และหมอตำแย
5) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความชรา
ความเชื่อเกี่ยวกับความชราและการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน
ความเชื่อเกี่ยวกับความชรา ปัจจัยชี้บ่งถึงความชรา เช่น ภาวะหมดประจำเดือนในเพศหญิง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย และความแปรปรวนของธาตุลม การดูแลสุขภาพวัยชราแบบพื้นบ้าน ได้แก่ การใช้สมุนไพร
ความเชื่อเกี่ยวกับความชราและการดูแลสุขภาพแบบการแพทย์แผนตะวันตก
ความเชื่อเกี่ยวกับความชรา กำหนดอายุตั้งแต่ 60 หรือ 65ปีขึ้นไป เป็นเกณฑ์เข้าสู่วัยชรา การดูแลด้านโภชนาการ การดูแลด้านฮอร์โมน การดูแลด้านการออกกำลังกาย การดูแลด้านการพักผ่อนนอนหลับ การดูแลด้านอุบัติเหตุ การดูแลด้านจิตใจ
1) ความเชื่อแบบอำนาจเหนือธรรมชาติและวิธีการดูแลสุขภาพ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค ความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของผี ความเจ็บป่วยเกิดจากเวทมนต์และคุณไสย ความเจ็บป่วยที่เกิดจากขวัญ
วิธีการดูแลสุขภาพแบบเหนือธรรมชาติ
กลุ่มหมอดู กลุ่มหมอสะเดาะเคราะห์ กลุ่มหมอธรรม และกลุ่มหมอตำรา
6) ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตาย
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณ กฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิดและชาติภพ
การดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน จะมุ่งเน้นการตอบสนองทางด้านจิตวิญญาณของผู้ตายและเครือญาติ กล่าวคือ ให้สร้างสมความดีและผลบุญเพื่อการตายอย่างสงบ เกิดความสุขความเจริญในภพหน้า
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบแพทย์แผนตะวันตก
จะพิจารณาจากการหยุดทำงานของหัวใจและการทำงานของแกนสมอง
การดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการตายแบบแพทย์แผนตะวันตก มุ่งเน้นให้ระบบและอวัยวะต่าง ๆ สามารถทำงานต่อไปได้และยืดชีวิตผู้ป่วยให้ยาวนานมากที่สุด ภายใต้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
ค่านิยมทางสังคม
ปัจจัยทางสังคมหลายอย่างเข้ามามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
3) สถาบันศาสนา บุคคลและหน่วยงานของศาสนาต่างๆ ก็มีส่วนช่วยในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมอันถูกต้องได้เป็นอย่างดี
2) โรงเรียน คือสถาบันทางสังคมที่มีส่วนในการสร้างค่านิยมอันถูกต้องให้แก่เด็กเป็นอย่างมากในการสั่งสอนเด็กให้เกิด ความคิด ความเชื่อ อันจะนำไปสู่แบบแผนการมีพฤติกรรมที่ดี การอบรมปลูกฝังค่านิยมนั้นครูจะต้องมีการติดตามอยู่ทุกระยะ
4) สังคมวัยรุ่นและกลุ่มเพื่อน การคบหาสมาคมกับเพื่อนในรุ่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนสนิท หรือการทำกิจกรรมอื่นๆในสังคมวัยรุ่น
1) ครอบครัว เป็นสถาบันสังคมอันดับแรกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมให้แก่บุคคล เพราะครอบครัวเป็นหน่วยแรกที่อบรมสั่งสอนพฤติกรรมสังคมให้แก่คนตั้งแต่เกิดจนโต
5) สื่อมวลชน ในปัจจุบันบุคคลได้รับความรู้และความคิดจากสื่อมวลชนเป็นอันมากในบางกรณี บุคคลก็ยอมรับเอาความรู้ และความคิดเหล่านั้นไปยึดถือเป็นค่านิยมบางประการของตน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด
6) องค์การของรัฐบาล รัฐย่อมมีส่วนในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมให้แก่สังคมตามปกติ รัฐจะควบคุมโรงเรียนและสนับสนุนสถาบันศาสนาให้ทำหน้าที่ในด้านนี้ นอกจากนั้นรัฐยังตรากฎหมายให้สิทธิและอำนาจแก่ครอบครัวในการเลี้ยงดูและอบรมเด็ก การเผยแพร่ข่าวและความคิดของสื่อมวลชนก็มักอยู่ภายใต้การควบคุมหรือสนับสนุนของรัฐ จึงกล่าวได้ว่ารัฐมีบทบาทสาคัดในการปลูกฝังค่านิยมให้แก่คนในสังคม ถ้าไม่ได้กระทำโดยทางตรงก็กระทำโดยทางอ้อม
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ
แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือพิการ
ดูแลรักษาสุขภาพเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วยเป็นโรค
ส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ฟื้นฟูสุขภาพให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ประเภทของวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะปกติ หมายถึง แบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมที่มีกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ
เช่น การกินอาหารประเภทน้ำพริกผักจิ้มและอาหารจากธรรมชาติ การออกกำลังกาย การเข้าวัด ถือศีล ทำสมาธิ ทำบุญตักบาตร
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค
เช่น การบริโภคอาหารปรุงสุก การคว่ำกะลาหรือใส่ทรายอะเบทเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยุงลาย
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะเจ็บป่วย หมายถึง การรับรู้ของบุคคลที่มีต่อความผิดปกติของร่างกาย
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค
ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน แบบพื้นบ้าน และแบบวิชาชีพ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
เช่น การดูแลการพักฟื้นของผู้ป่วยจากคนในครอบครัว การงดบริโภคอาหารแสลง
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ตามประโยชน์และโทษ
2) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้ให้ประโยชน์
เช่น ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแฝด
3) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่แน่ว่าให้คุณหรือโทษ
เช่น สังคมแอฟริกันบางสังคมให้เด็กกินดินหรือโคลน
1) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมสุขภาพ
เช่น การให้ทารกกินนมแม่นานถึง 2 ปี หรือการห้ามหญิงหลังคลอดบริโภคน้ำดิบ
4) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้โทษ
เช่น การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นสาเหตุโรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง
แนวทางการดูแลสุขภาพที่เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรมของการดูแลสุขภาพ
2) ระบบการดูแลสุขภาพภาคพื้นบ้าน เป็นการปฏิบัติการรักษาที่มิใช่รูปแบบของวิชาชีพ ไม่มีการจัดองค์กร ใช้อำนาจเหนือธรรมชาติ
เช่น ไสยศาสตร์และประเภทที่ไม่ใช่อำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น สมุนไพร
3)ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน เป็นส่วนของการดูแลสุขภาพภาคประชาชนซึ่งถูกปลูกฝังถ่ายทอดกันมาตามวัฒนธรรม ความเชื่อที่เกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย
1)ระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพ เป็นส่วนของการปฏิบัติการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ มีการจัดองค์กรที่เป็นทางการ