Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา, uk, 78073e2603121bd11a02822513251fc4, product…
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา
ความหมาย
ยา
1.วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ
2.วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค
3.วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์
4.วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างของร่างกาย
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของยาและฤทธิ์หรือผลต่างๆของยาที่มีต่อร่างกาย รวมทั้งผลที่ร่างกายกระทำต่อยาด้วย
เภสัชกรรม (Phamacy)
ศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมยา ผสมยาและจ่ายยาเพื่อรักษา
ความสำคัญของเภสัชวิทยาต่อวิชาชีพพยาบาล
พยาบาลต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับที่กฎหมายกำหนดไว้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับยาจะสามารถให้ยาแก่ผู้ป่วยเมื่อแพทย์มีคำสั่งการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
ยา (Drug) :
💊
ประเภทของยา
1.ยารักษาโรคปัจจุบัน
1.1 ยาแผนปัจจุบัน
สำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปััจจุบัน
1.2 ยาแผนโบราณ
ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียยนยาแผนโบราณ
1.3 ยาอันตราย
ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาอันตราย
1.4 ยาควบคุมพิเศษ
ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ
1.5 ยาใช้ภายนอก
ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ใช้สำหรับภายนอกไม่รวมยาเฉพาะที่
1.6 ยาใช้เฉพาะที่
สำหรับเฉพาะที่กับผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก
1.7 ยาสามัญประจำบ้าน
ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน
1.8 ยาบรรจุเสร็จ
ได้ผลิตขึ้นในรูปแบบต่างๆ ทางเภสัชกรรม
9.ยาสมุนไพร
ยาที่ได้จากพฤกษาชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ปรุงหรือแปรสภาพ
2.แบ่งตามเภสัชตำรับ
2.1 ตำแหน่งการออกฤทธิ์ทางกายวิภาค
ระบบการไหลเวียนเลือด
ระบบประสาท
ระบบทางเดินปัสสาวะ
2.2 ประโยชน์ในการรักษา
ยาแก้ปวดลดไข้
ยารักษามะเร็ง
ยานอนหลับ
2.3 กลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
2.4 แหล่งที่มาของยา
ไอโอดีนจากแร่ธาตุ
ยากลุ่มกลัยโคไซด์ที่ได้จากพืชยาว
แหล่งกำเนิดยา
จากธรรมชาติ
1 จากพืช
ราก
ใบ
ลำต้น
ผล
เมล็ด
เปลือก
1.2 จากสัตว์
โดยการสกัดจากอวัยวะบางส่วนของสัตว์
ตับอ่อน
ดีหมู
1.3 จากแร่ธาตุ
ไอโอดีน
เกลือแร่
น้ำมัน
ตัวอย่างยา
ยาใส่แผลสด Tincture iodine ซึ่งเป็นยาใช้ภายนอก
ผงน้ำตาลเกลือแร่ (Oral Rehydrating Salt, ORS) ใช้ในการทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ยา
2.จากการสังเคราะห์
โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีในห้องปฏิบัติการ
เกลือของเหล็กใช้บำรุงโลหิต
อะลูมิเนียมไฮดอกไซด์ใช้เป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
การเรียกชื่อยา
เรียกชื่อตามสูตรเคมี (Chemical name)
เรียกชื่อสามัญทางยาหรือชื่อตัวยา (generic name)
ยานอนหลับยาแก้ปวดลดไข้ยาแก้อักเสบยาถ่าย
acetylsalicylic acid
เรียกชื่อตามการค้า (trade name)
Sara
Beramol
เภสัชภัณฑ์หรือยาเตรียม
รูปแบบที่เป็นของแข็ง (solid form)
1.1 ยาแคปซูล (Capsule)
1.2 ยาเม็ด (Tablet)
1.2.1 ยาเม็ดเคลือบเพื่อให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้
vitamin B 1-6-12
1.2.2 ยาเม็ดที่ไม่ได้เคลือบ
Aspirin Paracetamol
1.3 ยาอมใต้ลิ้น (Sublingual)
1.4 ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว
1.5 ยาอม (Lozenge)
และโทรเช (Troche)
1.6 ยาผงเดือดฟู่ (Effervescent powder)
1.7 ยาผง (Pulveres หรือ power)
1.8 ยาเหน็บ (Suppositories)
ประเภทของเหลว
2.1 ยาน้ำสารละลาย
2.1.1 ยาน้ำสารละลายที่ตัวทำละลายเป็นน้ำ
น้ำปรุง (Aromatic water)ตัวยาสำคัญคือน้ำมันหอมระเหย เช่น สาระแหน่ น้ำมันกุหลาบ
ยาน้ำใส (Solutions)ตัวยาที่ละลายอยู่มักเป็นสารที่ไม่ระเหยเช่นแอลกอฮอล์กลีเซอลีน
ยาน้ำเชื่อม (Syrups) เป็นสารละลายเข้มข้นของน้ำตาลเหมาะสำหรับเด็ก
เช่น Paracetamol syrup
ยาจิบ (Linctuses) เป็นสารละลายใสมีลักษณะหนืดเล็กน้อยเพราะละลายในน้ำตาลระงับการไอขับเสมหะเช่น Codeine linctus
กลั้วคอ (Gargale) เป็นสารละลายใสและเข้มข้นตัวยามีฤทธิ์ต้านการฆ่าเชื้อละลายอยู่ในน้ำใช้ป้องกันหรือรักษาอาการติดเชื้อในลำคอ
ยาอมบ้วนปาก (Mouthwas) เป็นสารระงับเชื้อยาชายาสมานเนื้อเยื่อ
ยาหยอดหู (Otic preparations) ส่วนมากเป็นยาน้ำใสบางครั้งเป็นยาแขวนตะกอน
ยาสวนล้าง (Irrigation) เป็นสารละลายชนิดปราศจากเชื้อสำหรับล้างบาดแผล
ยาน้ำสวนทวารหนัก (Enemas) เป็นสารละลายใสประกอบด้วยตัวทำละลายซึ่งอาจเป็นน้ำกลีเซอลีนสารละลายน้ำเกลือ
2.2 ยาน้ำสารละลายที่ตัวทำละลายไม่ใช้น้ำ
ยาอิลิกเซอร์ (Elixir)
เป็นสารละลายใสชนิดไฮโดรแอลกฮอล์ที่มีกลิ่มหอมและรสหวานใช้เป็นยารับประทานเท่านั้นตัวยาที่สำคัญเป็นแอลกอฮอล์จำนวน 3-44% ผสมในน้ำหรือส่วนผสมอื่นที่ไม่ใช่น้ำ
ยาสปริริต (Spirits)
เป็นสารละลายใสของสารหอมระเหยง่ายเช่นการบูรน้ำมันผิวส้มแอมโมเนียในแอลกอฮอล์หรือแอลกอฮอล์ผสมน้ำยาสปริริตจะมีแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูงคือมากกว่า 60 %
ยาโคโลเดียน (Colodians)
หรือยากัดเป็นยาน้ำที่มีลักษณะข้นเหนียวมักใช้ทาบาดแผลขนาดเล็กมักมีส่วนประกอบของยาที่มีฤทธิ์ลอกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้วเช่น salicylic acid 10-12% ใช้รักษาตาปลาหรือหูด
ยากลีเซอริน (Glycerines)
เป็นยาน้ำที่มีลักษณะข้นเหนียวหรือกึ่งแข็งประกอบด้วยตัวยากลีเซอรินไม่น้อยกว่า 50% โดยน้ำหนักใช้เป็นยาหยอดหูยาอมบ้วนปากยาทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม
ยาถูนวด (Liniments)
เป็นยาน้ำใช้เฉพาะภายนอกอาจเป็นสารละลายใสหรือข้นเหลว
ยาป้าย (Paints)
เป็นยาน้ำที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อสมานแผลหรือระงับปวดละลายอยู่ในน้ำแอลกอฮอล์ผสมอะซีโตนใช้ป้ายผิวหนังหรือเยื่อเมือก
2.2 ยาน้ำกระจายตัว
ความหมาย
ยาน้ำแขวนตะกอนยาน้ำชนิดนี้มักมีสารช่วยในการทำให้ยาแขวนตะกอนอยู่ด้วย แต่เมื่อตั้งทิ้งไว้ยาจะตกตะกอนเวลาใช้ต้องเขย่าขวดเพื่อให้ยากระจายได้ทั่วถึงรูปแบบของยาน้ำแขวนตะกอนมีหลายชนิดแล้วแต่สารที่ใช้แขวนตะกอน
เจล (Gels)
ตัวยามีขนาดเล็ก แต่ไม่ละลายน้ำมีลักษณะเป็นกาวเช่น alum milk
โลชั่น (Lotions)
เป็นยาน้ำแขวนตะกอนชนิดใช้ภายนอก เช่น คาลาไมน์โลชั่น
แมกมาและมิลค์ (Magmas and Milk)
เป็นยาแขวนตะกอนคล้ายเจล แต่สารยามีขนาดใหญ่ลักษณะของยาจึงหนืดกว่าเช่นยาระบายแมกนีเซีย
มิกซ์เจอร์ (Mixtures)
เป็นยาน้ำผสมอาจใส่หรือไม่ใส่ยาแขวนตะกอนก็ได้
อิมัลชั่น (Emulsion)
มีทั้งรูปแบบยากินและยาทาเฉพาะที่ น้ำที่มีส่วนผสมของน้ำมันกระจายอยู่ในน้ำมีลักษณะขุ่นเหนียวเช่นยาระบายพารัฟฟินน้ำมันละหุ่งอิมัลชั่น
รูปแบบประเภทกิ่งแข็ง
ขี้ผึ้ง (Oiltment)
มีลักษณะเป็นน้ำมันเป็นยาเตรียมที่ใช้ทาผิวหนังและเยื่อเมือกเพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียหรือบรรเทาอาการอาการต่างๆส่วนมากมักจะผสมสารที่ช่วยให้การกระจายตัวและการดูดซึมของยาดีขึ้นอยู่ด้วยเช่นขี้ผึ้ง
ครีม (Paste)
เป็นยาน้ำแขวนตะกอนที่มีความข้นมากใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อทำให้รู้สึกเย็นหรือใช้แต่งแผลเพื่อบรรเทาอาการมักผสมกับตัวยาที่ทำให้เหนียวและดูดซึมได้ดี
ประเภทอื่น ๆ
ยาฉีด (Injections)
เป็นเภสัชภัณฑ์ชนิดไร้เชื้อที่บริหารยาโดยการฉีดหมายถึงการให้โดยไม่ผ่านระบบทางเดินอาหารตัวยาจะมีความบริสุทธิ์สูงไม่มีสารพิษหรือสารที่ดูดซึมไม่ได้ยาจะปราศจากเชื้อจุลชีพความคงตัวดีเป็น isotonic solution
ยาทาผิวหนัง (Applications)
เป็นยาสำหรับใช้ทาเฉพาะที่อาจเป็นยาน้ำใสอิมัลชั่นยาน้ำแขวนตะกอนก็ได้ยาพ่นฝอย (Spray) เป็นยาที่เตรียมขึ้นเพื่อหวังผลเฉพาะที่และป้องกันฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ต่อร่างกาย
ยาดม (Inhalant)
เป็นยาที่มีกลิ่นหอมระเหยสามารถสูดดมได้ง่ายใช้สูดดมเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนต่างๆ
ข้อดีข้อเสียของการให้เภสัชภัณฑ์ในวิถีทางต่างๆ
ยาชนิดรับประทาน
ข้อดี :check:
: สะดวกปลอดภัยไม่เจ็บราคาถูก หากเกิดอันตรายจากการรับประทานอาการจะไม่รุนแรงและเร็วเท่ากับฉีด
ข้อเสีย :no_entry:
:ยาอาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร
เช่นทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผลห้ามใช้ยาในผู้ป่วยอาเจียนได้ง่าย
เช่น ยาแคปซูล ยาเม็ด ยาผงเดือดฟู่ ยาผงชนิดกิน ยาน้ำเชื่อม
ยาชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ข้อดี :check:
: ออกฤทธิ์เร็วไม่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหารไม่ถูกทำลาย ใช้ในรายที่หมดสติหรืออาเจียนได้ ยาฉีดที่มีปริมาณมากสามารถให้โดยอักเสบวิธีการนี้ได้โดยวิธีการหยดช้าๆ
ข้อเสีย :no_entry:
: เกิดพิษง่ายรวดเร็วและรุนแรงถึงชีวิตมีโอกาสเกิดติดเชื้อได้ง่าย เกิดการทำลายผนังหลอดเลือดหลอดเลือดดำ
ยาชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ข้อดี :check:
: การดูดซึมเป็นไปอย่างช้าๆให้ยาออกฤทธิ์ได้นานพอควรหลังฉีดยาหากแพ้ยาเฉียบพลันสามารถใช้ tourniquest รัดเหนือบริเวณที่ฉีดยาบางแห่งได้เช่นต้นแขนหรือต้นขาจะช่วยให้การดูดซึมยาเข้าสู่กระแสโลหิตช้าลง
ข้อเสีย :no_entry:
: สามารถให้ยาได้ไม่เกิน 2 มิลลิลิตรยามีราคาแพงยาบางชนิดระคายเคืองบริเวณที่ฉีดทำให้เกิดแผลหรือฝีได้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ยาชนิดฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
ข้อดี :check:
: ยาถูกดูดซึมได้เร็วและเกิดการระคายเคืองน้อยกว่าการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง สามารถใช้กับยาฉีดที่ละลายได้ในน้ำมัน
ข้อเสีย :no_entry:
: สามารถให้ยาได้ไม่เกิน 5 มิลลิลิตร การสะสมยาไว้ที่เนื้อเยื่ออาจทำให้การดูดซึมยาช้าลง
ยาเหน็บ
ข้อดี :check:
: เหมาะกับเด็กหรือผู้ที่รับประทานยายากเช่นยาเหน็บทวารเพื่อลดไข้ออกฤทธิ์เฉพาะที่และทั่วร่างกายสำหรับยาที่ใช้เหน็บช่องคลอดจะออกฤทธิ์เฉพาะที่รักษาอาการติดเชื้อบรรเทาอาการคัดทำให้มดลูกหดรัดตัว
ข้อเสีย :no_entry:
: ไม่สะดวกต่อการใช้ราคาแพงสำหรับยาที่ใช้เหน็บช่องคลอดอาจเกิดการติดเชื้อภายในของอวัยวะสืบพันธุ์ได้
ยาพ่นฝอย ยาแอโรซอล สูดดมและยาหยอดจมูก หยอดหู
ข้อดี :check:
: ยาออกฤทธิ์เร็วและสามารถให้ยาด้วยตนเอง ยาจะออกฤทธิ์เฉพาะที่
ข้อเสีย
:no_entry: : วิธีการให้ยาไม่สะดวกปริมาณยาที่ได้ไม่แน่นอนอาจระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจและหลอดลมอาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
ยาอมใต้ลิ้น
ข้อดี :check: :
ยาถูกดูดซึมและออกฤทธิ์ได้เร็วโดยไม่ผ่านตับเช่นยาลดอาการเจ็บที่หน้าอกเพราะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไม่ถูกทำลายโดยกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
ข้อเสีย :no_entry:
: ยาบางชนิดรสชาติไม่ดียาอาจระคายเคืองเยื่อบุภายในปากใช้เวลานานไม่สะดวกในการพูด
นายศราวุฒิ เป็งมูล รหัสนักศึกษา 6201210255 เลขที่ 11 Sec B วิชา SN 201