Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖, แล้วแต่กรณี - Coggle Diagram
พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
นิยาม ม.4
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการ
สมรส
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไมสามารถเลี้ยงดูได้จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กก่าพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่
สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากล่าบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่า
ร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความล่าบาก
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระท่าผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพ
หรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักน่าไปในทางกระท่าผิด
“นักเรียน” หมายความว่า เด็กซึ่งก่าลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
หมวด ๑ คณะกรรมการคุ่มครองเด็ก
มาตราที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๗
-ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ
-ผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามคณะกรรมการ
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในต่าแหน่งคราวละสามปี
มาตรา ๑๖
-ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
มาตรา ๑๗
-ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
กําหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ่มครองเด็กแห่งชาติขึ้น มีอํานาจและหน้าที่ที่สําคัญ คือการเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณและมาตรการในการสงเคราะห์คุ่มครองสวัสดภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กรวมถึงการให้คําปรึกษา แนะนํา และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา การสงเคราะห์คุ่มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก นอกจากนี้ยังมีอํานาจตรวจสอบสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ่มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและ สถานพินิจ หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์คุ่มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กทั้งของรัฐและเอกชน
หมวด ๒ การปฏิบัติต่อเด็ก
การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่าในกรณีใดต้องคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสําคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และในพ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวยังได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติต่อเด็ก
มาตรา ๓๐
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอ านาจและหน้าที่
(๑) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจค้นในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระท่าทารุณกรรมเด็ก
(๒) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจค้นในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระท่าทารุณกรรมเด็ก
(๓) มีหนังสือเรียกผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นใดมาให้ถ้อยค่าหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ความประพฤติ สุขภาพ และความสัมพันธ์ในครอบครัวของเด็ก
(๔) ออกค่าสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็ก ส่งเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่การศึกษา การท่างาน หรือความประพฤติของเด็ก
(๕) เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของผู้ปกครอง และรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่การเลี้ยงดู อุปนิสัย และความประพฤติของเด็ก
(๖) มอบตัวเด็กให้แก่ผู้ปกครองพร้อมกับแนะน่าหรือตักเตือนผู้ปกครองให้ดูแลและอุปการะเลี้ยงดูเด็กในทางที่ถูกต้อง
(๗) ท่ารายงานเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อมอบให้แก่สถานแรกรับหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อมีการร้องขอ
มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา22 - 29
มาตรา 31
หมวด ๓ การสงเคราะห์เด็ก
ในหมวดนี้ได้กําหนดลักษณะของเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ไว้และกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการสงเคราะห์เด็ก โดยการสงเคราะห์ในเบื้องต้นเป็นการกําหนดสถานที่อยู่ของเด็กซึ่งต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อให้การช่วยเหลือ สงเคราะห์ พัฒนาและฟื้นฟูต่อไป โดยต้องมีการสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับตัวเด็กและครอบครัวเพื่อหาวิธีการสงเคราะห์หรือคุ่มครองสวัสดิภาพเด็กที่เหมาะสมโดยคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
มาตรา ๓๒ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่ เด็กเร่ร่อน หรือเด็กก่าพร้า เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสม เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ เด็กพิการ เด็กที่อยู่ในสภาพยากล่าบาก เด็กที่อยู่ในสภาพที่จ่าต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่ก่าหนดใกฎกระทรวง
มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา 33 - 39
หมวด ๔ การคุ่มครองสวัสดิภาพเด็ก
กําหนดลักษณะของเด็กที่พึงได้รับการคุ่มครองสวัสดิภาพ โดยในกรณีมีการกระทําทารุณกรรมต่อเด็กให้เจ้าหน้าที่มีอํานาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวและต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจหลังจากนั้นต้องจัดให้เด็กอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อหาวิธีการคุ่มครองสวัสดิภาพเด็กต่อไป ส่วนในกรณีที่พบเห็นเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด เจ้าหน้าที่ต้องดําเนินการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเด็กและครอบครัว ถ้าเห็นว่าเด็กจําเป็นต้องได้รับการคุ่มครองสวัสดิภาพหรือเห็นวาจําเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์เจ้าหน้าที่ก็ต้องดําเนินการจัดให้มีการคุ่มครองสวัสดิภาพหรือการสงเคราะห์ต่อไป ในกรณีที่มอบตัวเด็กให้แก่ผู้ปกครองหรือบุคคลที่ยินยอมรับเด็กไปปกครองดูแลอาจมีการแต่งตั้งผู้คุ่มครองสวัสดิภาพแก่เด็กและอาจมีการวางข้อกําหนดเพื่อป้องกันมิให้เด็กมีความประพฤติเสียหายหรือเสี่ยงต่อการกระทําผิด
มาตราที่เกี่ยวข้อง 41 - 47
มาตรา 40 เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่ เด็กที่ถูกทารุณกรรม เด็กที่เสี่ยงต่อการกระท่าผิด เด็กที่อยู่ในสภาพที่จ่าต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
หมวด ๕ ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเพื่อกํากับดูแลเด็ก โดยอาจ แต่งตั้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่สมัครใจและมีความเหมาะสม นอกจากนี้ยังได้มีการกําหนดห้ามมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเปิดเผยภาพหรือข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับเด็กหรือผู้ปกครองในลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เด็กหรือผู้ปกครอง
หมวด 6 สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพและ
สถานพัฒนาและฟื้นฟู
หมวด 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
หมวดที่ 8 กองทุนคุ้มครองเด็ก
หมวด 9 บทกําหนดโทษกําหนดโทษทางอาญาแก่บุคคลผู้กระทําการฝ่าฝื้นบทบัญญัติต่างๆ ตามที่พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้กําหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับได้จริงและบรรลุผลตามความมุ่งหมายนั้นเอง
มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจ่าคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจ่าทั้งปรับ มาตรา ๒๖คือ
(๑) ทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
(๒) ไม่ให้สิ่งจ่าเป็นแก่การด่ารงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็ก
(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร
(๔) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่น
(๖) กระท่าการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต
แสวงหาประโยชน์ทางการค้า
(๘) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใด
(๙) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระท่าการอันมีลักษณะ
ลามกอนาจาร
(๑๐) จ่าหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก
มาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐(๑) หรือ (๕) ตามมาตรา ๓๐ (๔) ต้องระวาง
โทษจ่าคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจ่าทั้งปรับ
มาตรา ๓๐(๑) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์
ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
o มาตรา ๓๐(๕) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระ
อาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อถามตัวบุคคล
o มาตรา ๓๐ (๔) ออกค่าสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็ก ส่งเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับ
การศึกษา การท่างาน หรือความประพฤติของเด็ก
มาตรา ๘๒
ผู้ใดจัดตั้งหรือด่าเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ
หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูตามมาตรา ๕๒ โดยมิได้รับใบอนุญาตหรือใบอนุญาตถูกเพิกถอนหรือหมดอายุ
ต้องระวางโทษจ่าคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจ่าทั้งปรับ
มาตรา ๕๒ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิ
ภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ต้องขอรับใบอนุญาตต่อปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
มาตรา ๘๑
ผู้ใดฝ่าฝืนข้อก่าหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตก่าหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตาม
มาตรา ๔๓ กรณีที่ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กเป็นผู้กระท่าทารุณกรรมต่อเด็ก ถ้ามีการฟ้อง
คดีอาญาแก่ผู้กระท่าผิดและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องนั้นจะกระท่าทารุณกรรมแก่เด็กอีก ก็ให้
ศาลที่พิจารณาคดีนั้นมีอ่านาจก่าหนดมาตรการคุมความประพฤติผู้นั้น ห้ามเข้าเขตก่าหนด หรือ
ห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กในระยะที่ศาลก่าหนด
แล้วแต่กรณี