Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานและหลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา - Coggle Diagram
ความรู้พื้นฐานและหลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา
แหล่งกำเนิดยา
จากธรรมชาติ
จากสัตว์โดยสารสกัดจากอวัยวะบางส่วนของสัตว์
จากแร่ธาตุ
จากพืช เป็นยาที่ได้จากส่วนต่างๆของพืชโดยตรง เรียกว่า ยาสมุนไพร (Crude drug) แต่ถ้าสกัดเอาสารที่มีอยู่ในพืชออกมาทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งสามารถกำหนดการรักษาได้เรียกว่า สารสกัดบริสุทธิ์ (Purified drug)
จากการสังเคราะห์ ปัจจุบันยาส่วนใหญ่ได้จาการสังเคราะห์ โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีในห้องปฏิบัติการ
การเรียกชื่อยา
เรียกชื่อสามัญทางยาหรือชือตัวยา (generic name) แบ่งเป็นกลุ่มๆ ชื่อยาที่รวมอยู่ในกลุ่มจะมีฤทธิ์เหมือนกัน
เรียกชื่อตามการค้า (trade name) เป็นชื่อที่บริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหนายยา เป็นผู้ตั้งและขอจกทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุข มักตั้งชื่อยาให้น่าสนใจ จำง่าย
เรียกชื่อตามสูตรเคมี (chemical name) เป็นการเรียกตามลักษณะส่วนประกอบทางเคมีของยาตั้งแต่การเรียงตัวของอะตอมหรือกลุ่มอะตอม
ประเภทของยา
ยารักษาโรคปัจจุบัน
ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาที่ควบคุมพิเศษ
ยาใช้ภายนอก หมายถึงยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ภายนอกทั้งนี้ ไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่
ยาอันตราย หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาอันตราย
ยาใช้เฉพาะที่ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายสำหรับใช้เฉพาะที่กับผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก ช่องคลอด ท่อปัสวะ และทวารหนัก
ยาแผนโบราณ หมายถึงยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือบำบัดโรคสัตว์
ยาสามัญประจำบ้าน หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน
ยาแผนปัจจุบัน หมายถึง ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์
ยาบรรจุเสร็จ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ได้ผลิตขึ้นเสร็จในรูปต่างๆทางเภสัชกรรม
ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ปรุงหรือแปรสภาพ
แบ่งตามเภสัชตำรับ
ประโยชน์ในการรักษา นิยมใช้กันมากที่สุด และอาจใช้ร่วมกับการแบ่งยาตามกลไกการออกฤทธิ์ทางกายวิภาคด้วย
กลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ตำแหน่งการออกฤทธิ์ทางกายวิภาค
แหล่งที่มาของยา หรือคุณสมบัติทางเคมี และเภสัชวิทยาของยา
เภสัชภัณฑ์หรือยาเตรียม (Pharmaceutical preparations, Pharmaceutical products) หมายถึง ยารักษาโรคซึ่งถูกปรุงแต่งเป็นรูปแบบ (dosage forms)
ประเภทของเหลว
ยาน้ำสารละลาย
ยาน้ำสารละลายทีตัวทำละลายเป็นน้ำ มีทั้งชนิดรับประทาน ชนิดใช้ภายนอกหรือใช้เฉพาะที่ ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายเพราะมีอำนาจในการละลายสูง ราคาถูก หาง่าย มีความเป็นกลาง ไม่มีรส กลิ่น สี และ ไม่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ยากลั้วคอ (Gargale) เป็นสารละลายใสและเข้มข้นตัวยามีฤทธิ์ต้านการฆ่าเชื้อ ละลายอยู่ในน้ำ ใช้ป้องกันหรือรักษาอาการติดเชื้อในลำคอ
ยาอมบ้วนปาก (Mouthwash) เป็นสารละลายใสใช้ทำความสะอาดดับกลิ่นปาก กระพุ้งแก้ม โดยเฉพาะตัวยาที่ใช้เป็นสารระงับเชื้อ ยาชา ยาสมานเนื้อเยื้อ
ยาจิบ (Linctuses) เป็นสารละลายใส มีลักษณะหนืดเล็กน้อย เพราะละลายในน้ำตาลหรือยาน้ำเชื่อม ประกอบด้วยตัวยาที่ใช้ระงับการไอ ขับเสมหะ ซึ่งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ลำคอด้วย
ยาหยอดจมูก (Nasal preparations) เป็นสารละลายใส ประกอบด้วยตัวยาละลายในน้ำ ใส่ขวดน้ำสำหรับใช้พ่นหรือหยอดเข้าทางจมูกใช้บรรเทาอาการคัดจมูก
ยาน้ำเชื่อม (Syrups) เป็นสารละลายเข้มข้นของน้ำตาล หรือสารอื่นที่ใช่แทนน้ำตาลในน้ำ ใช้เป็นยารับประมานเท่านั้น
ยาหยอดหู (Otic preparations) ส่วนมากเป็นยาน้ำใส บางครั้งเป็นยาแขวนตะกอน
ยาน้ำใส (Solutions) เป็นยาละลายน้ำใสประกอบด้วยตัวยาซึ่งอาจเป็นสารของแข็งหรือของเหลวละลายในน้ำบริสุทธิ์ หรือเป็นของเหลวชนิดอื่นที่เหมาะสม
ยาสวนล้าง (lrrigation) เป็นสารละลายชนิดปราศจากเชื้อสำหรับล้างบาดแผลหรือช่องต่างๆของร่างกาย มักนิยมเรียกว่า Douches มีขนาดบรรจุมากกว่ายาฉีดใช้จุกขวด เป็นฝาเกรียวธรรมดา และบรรจุสำหรับใช้ครั้งเดียว
น้ำปรุง (Aromatic water) เป็นสารละลายใสและอิ่มตัวของน้ำมันระเหยง่าย ตัวยาสำคัญคือ น้ำมันหอมระเหย หรือสารระเหยอื่นๆในน้ำบริสุทธิ์
ยาน้ำสวนทวารหนัก (Enemas) เป็นสารละลายใสประกอบด้วยตัวทำลายซึ่งอาจเป็นน้ำกลีเซอลีน สารละลายน้ำเกลือ หรือสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต
ยาน้ำสารละลายที่ตัวทำละลายไม่ใช้น้ำ
ยาสปิริริต (Spirits) เป็นสารละลายใสของสารหอมละเหยง่าย ยาสปริริตจะมีแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง มากกว่า60%
ยาโคโลเดียน (Collodians) หรือยากัด เป็นยาน้ำที่มีลักษณะข้น เหนียว มักใช้ทาบาดแผลขนาดเล็ก มักมีส่วนประกอบของยาที่มีฤทธิ์ลอกผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว
ยาอิลิกเซอร์ (Elixir) เป็นสารละลายใสชนิดไฮโดรแอลกฮอล์ ที่มีกลิ่นหอมและรสหวานใช้เป็นยารับประทานเท่านั้น ตัวยาที่สำคัญเป็นแอลกอฮอล์จำนวน 3-4% ผสมในน้ำหรือส่วนผสมอื่นที่ไม่ใช่น้ำ
ยากลีเซอริน (Glycerines) เป็นยาน้ำที่มีลักษณะข้นเหนียว หรือกึ่งแข็ง ประกอบด้วยตัวยากลีเซอรินไม่น้อยกว่า50% โดยน้ำหนักใช้เป็นยาหยอดหู ยาอมบ้วนปาก ยาทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม
ยาถูนวด (Liniments) เป็นยาน้ำใช้เฉพาะภายนอกอาจเป็นสารละลายใส หรือข้นเหลว
ยาป้าย (Paints) เป็นยาน้ำที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อสมานแผลหรือระงับปวด ละลายอยู่ในน้ำ แอลกอฮอล์ผสมอะซีโตนใช้ป้ายผิวหนังหรือเยื่อเมือก
ยาน้ำกระจายตัว
แมกมาและมิลค์ (Magmas and Milk) เป็นยาแขวนตะกอนคลายเจล แต่สารยามีขนาดใหญ่ ลักษณะของยาจึงหนืดกว่า
โลชั่น (Lotions) เป็นยาน้ำแขวนตะกอนชนิดใช้ภายนอก
มิกซ์เจอร์ (Mixtures) เป็นยาน้ำผสม อาจใส่หรือไม่ใส่ยาแขวนตะกอนก็ได้
เจล (Gels) ตัวยามีขนาดเล็กแต่ไม่ละลายน้ำ มีลักษณะเป็นกาว
อิมัลชั่น (Emulsion) มีทั้งรูปแบบยากินและยาทาเฉพาะที่ เป็นยาน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำมันกระจายอยู่ในน้ำ มีลักษณะขุ่นเหนียว
รูปแบบประเภทกึ่ง
ขี้ผึ้ง (Oilemtnt) เป็นยาเตรียมที่ใช้ทาผิวหนังและเยื้อเมือกเพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ครีม (Paste) เป็นยาใช้สหรับป้องกันการติดเชื้อ ทำให้รู้สึกเย็นหรือใช้แต่งแผล เพื่อบรรเทาอาการ มักผสมกับตัวยาที่ทำให้เหนียวและดูดซึมได้ดี
รูปแบบที่เป็นของแข็ง (solid form)
ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว เวลาจะให้ต้องเคี้ยวก่อนยาจึงจะออกฤทธิ์ได้ดี
ยาอม (Lozenge) และ โทรเช (Troche) ใช้อมแก้เจ็บคอ ประกอบด้วยยาฆ่าเชื้อและยาทำลายเชื้อ ผสมน้ำตาลให้มีรสชาติน่ารับประทาน
ยาอมใต้ลิ้น (Sublingual) หรือในกระพุ้งแก้ม ถูกดูดซึมได้ดีในเยื้อบุในช่องปาก เข้าสู่กระแสโลหิตได้โดยตรงยาจึงออกฤทธิ์เร็ว ไม่ถูกทำลายโดยกระเพาะอาการ
ยาผงเดือดฟู่ (Effervescent powder) เป็นยาที่ละลายน้ำได้ง่าย
ยาเม็ด (Tablet) เป็นยาผงแห้งที่อัดเม็ดมี2ชนิด
ยาเม็ดเคลือบ เพื่อให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ เป็นการป้องกันการแตกตัวของยาที่กระเพราะอาหาร และป้องกันการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารด้วย
ยาเม็ดที่ไม่ได้เคลือบ
ยาผง (Pulveres หรือ power) ยาผสมที่เป็นผงเพื่อเก็บยาได้นานและกลิ่นรสดีขึ้นมีทั้งชนิดกินและโรยแผล
ยาแคปซูล (Capsule) เป็นยาที่มีเจลาตินเป็นปลอกหุ้ม เพื่อกลบรสขมของยา
ยาเหน็บ (Suppositories) ใช้สอดเข้าไปในช่องเปิด ตัวยาจะละลายเมื่อสอดเข้าใส่ในร่างกาย และออกฤทธิ์ตรงบริเวณที่เหน็บ หรือซึมเข้าสู่กระแสเลือดทั้วร่างกาย
ประเภทอื่นๆ
ยาทาผิวหนัง (Applications) เป็นยาน้ำใส อิมัลชั่น ยาน้ำแขวนตะกอนก็ได้
ยาพ่นฝอย (Spray) หวังผลเฉพาะที่ และป้องกับฤทธิ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ มักใช้ประกอบกับเครื่องพ่น เพื่อให้ตัวยากระจายเป็นอนุภาคเล็กๆ ออกฤทธิ์ในบริเวณที่ต้องการโดยตรง
ยาฉีด (Injections) เป็นเภสัชภัณฑ์ชนิดไร้เชื้อ การให้โโยไม่ผ่านระบบทางเดินอาหาร ตัวยาจะมีความบริสุทธิ์สูง ไม่มีสารผิษหรือสารที่ดูดซึมไม่ได้ เป็น isotonic solution ยาน้ำใส ยาผงผสมแห้งชนิดไร้เชื้อ ยาแขวนตะกอนชนิดไร้เชื้อ ห้ามฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือไขสันหลัง
ยาดม (Inhalant) เป็นยาที่มีกลิ่นหอมระเหย สามารถสูดดมได้ง่าย ใช้สูดดมเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนต่างๆ
เภสัชวิทยาและเภสัชกรรม
เภสัชวิทยา (Pharmacology) หมายถึงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของยาและฤทธิ์หรือผลต่างๆของยาที่มีต่อร่างกาย รวมทั้งผลที่ร่างกายกระทำต่อยาด้วย
เภสัชกรรม (Pharmacy) หมายถึงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมยา ผสมยาและจ่ายยาเพื่อรักษา
ความหมายของยา
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์
วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป
วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ ไม่หมายความรวมถึง
ใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ เครื่องกีฬา เครื่องมือ เครื่องใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสำอาง เครื่องมือและส่วนประกอบของเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะหรือวิชาชีพเวชกรรม
ใช้ในห้องวิทยาศาสตร์ การวิจัย การวิเคราะห์ การชันสูตรโรคซึ่งมิได้กระทำโดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์
ใช้ในการเกษร การอุตสาหกรรม
หลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา
การออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชพลศาสตร์
กลไกการออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชพลศาสตร์
ตัวรับ (Receptor) โดย receptor มีคุณสมบัติที่จะจดจำ (recognize) และจับกับสารที่มีลักษณะโครงสร้างจำเพาะเจาะจง
Agonist หมายถึง ยาที่จับกับ receptor แล้วสามารถทำให้เกิดฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ออกฤทธิ์โดยจับกับ receptor
Antagonist หมายถึง ยาที่จับกับ receptor แล้วสามารถลดหรือบัดบังฤทธิ์ของ agonist ในการจับกับ receptor
ออกฤทธิ์โดยไม่จับกับ receptor
Chemical action
Physical action
Partial agonist หมายถึง ยาที่จับกับ receptor แล้วออกฤทธิ์เพียงบางส่วน
คำสำคัญทางพลศาสตร์
Efficacy หมายถึง ความสามรถของยาที่ทำให้เกิดฤทธิ์สูงสุด
Potency หมายถึง ความแรงของฤทธิ์ยา
Affinty หมายถึง ความสามารถของยามนการเข้าจับกับ receptor
เภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamic)
การจับของยากับ receptor (drug-receptor concept)
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดยาที่ใช้กับการตอบสนองที่เกิดขึ้นในร่างกาย (dose response relationship)
ระดับความปลอดภัยของยา (Therapeutic index;TI) การหาระดับความปลอดภัยของยามักจะทำการทดลองผ่านสัตว์ทดลอง ระดับความปลอดภัยของยาเป็นสัดส่วนของยาที่ทำให้หนูตาย 50% ต่อขนาดยาที่ได้ผลในการรักษา50%
ยาที่มีค่าtherapeutic index ต่ำจะมีความปลอดภัยต่ำ
ยาที่มีค่า therapeutic index สูงจะมีความปลอดภัยในการใช้สูง
การออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชจลนศาสตร์
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic)
การกระจายตัวของยา (Drugs distribution)
การจับตัวของยากับโปรตีนในพลาสม่า (plasma protein binding)
ความสามารถในการผ่านเข้าสมองและรก (capillary permeability) BBB ป้องกันไม่ให้สารหรือยาที่เป็นอันตรายเข้าไปยังสมอง ยาละลายในไขมันได้ดี ผ่านBBB placenta barrier ช่วยป้องกันยาบางชนิดที่จะเข้าไปสู่ทารกในครรภ์ (fetus) และอาจมีผลทำให้ทารกเกิดความพิการได้
คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของยาแต่ละชนิด ยาที่ละลายในไขมันได้ดีจะสามารถกระจายตัวไปยังอวัยวะเป้าหมายได้ดีกว่ายาที่ละลายในไขมันน้อย ยาในรูปแบบของเหลวกระจายตัวได้ดีกว่ายาในรูปแบบที่เป็นของแข็ง
การสะสมของยาที่ส่วนอื่น (accumulation at other site) ที่เซลล์ไขมัน (fat as a reservoir) กระดูกและฟัน (bone and teeth) อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่ออวัยวะที่ยาไปสะสมได้ หรืออาจทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ช้ากว่าปกติ
ปริมาณการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะนั้นๆ หลังจากยาถูกดูดซึมแล้วยาจะไปสู่อวัยวะที่มีปริมาณการไหลเวียนของลือดสูงได้อย่างรวดเร็ว
การแปรสภาพยาหรือการเปลี่ยนแปลงยา (Drug metabolism,Drug biotransformation)
ปัจจัยที่มีผลต่อ drug metabolism
พันธุกรรม ในคนที่มีความบกพร่องของเอนไซม์ pseudocholinesterase พบว่าการ metabolized สาร succinylcholine อัตราเร็วเพียงครึ่งเดียวของคนที่มีเอนไซม์นี้ปกติ
สิ่งแวดล้อม คนที่สูบบุหรี่จะมีการ metabolized ยาได้เร็วกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากเกิดภาวะเหนี่ยวนำเอนไซม์ คนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้สัมผัสกับยาฆ่าแมลงจะ metabolized ยาได้เร็วกว่าคนปกติทั่วไป
อายุ เด็กและผู้สูงอายุจะไวต่อฤทธิ์และพิษของยามากกว่าผู้ใหญ่ การทำงานของเอนไซม์ที่ตับยังไม่สมบูรณ์ฉะนั้นการแปรสภาพของยาจะต่ำลงในเด็กทารก และในผู้สูงอายุอาจมีการแปรสภาพของยาเปลี่ยนแปลงไป จากความแข็งแรงของร่างกายที่ลดลงและการทำงานของอวัยวะต่างๆเปลี่ยนแปลงไป
ปฏิกิริยาระหว่างยาในระหว่างการเกิด metabolism
ยาบางชนิดมีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์ (enzyme inhibitor) ยาที่สามารถลดหรือยับยั้งการทำงานของ enzyme cytochrome P450 ในตับ ส่งผลให้กรณีให้ยาที่มีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์หากให้ยาร่วมกับยาชนิดอื่นทำให้ยาชนิดอื่นที่ให้ร่วมถูกแปรสภาพได้ช้าทำให้ยาอื่นที่ให้ร่วมด้วยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์นานขึ้น และหากยามีระดับสูงเกินความเป็นพิษของยาอื่นที่ให้ร่วมกันได้ ยาที่มีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์
ความเจ็บป่วยและความสามารถในการทำงานของตับ ตับเป็นอวัยวะสำคัญในการแปรสภาพยา จะส่งผลกระทบต่อการ metabolism ยาต่างๆ ในร่างกาย
ยาบางชนิดมีคุณสมบัติเหนี่ยวนำเอนไซม์ (enzyme inducer) เพิ่มการสังเคราะห์ enzyme cytochrome P450-dependent drugs-oxidizing ในตับได้ หากให้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาชนิดอื่น ทำให้ยาชนิดอื่นที่ให้ร่วมกันมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ลดลงเนื่องจากเมื่อมีปริมาณ enzyme cytochrome P450 เพิ่มขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงยาและทำลายยาอื่นอย่างลวดเร็วและมากขึ้น
เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงยา
เอนไซม์อาจอยู่ที่ไซโตพลาสซึม (cytoplasm) ตับ (อวัยวะที่สำคัญในการแปรสภาพยา) ไต ปอด ทางเดินอาหาร พลาสม่า ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงยาได้ตั้งแต่ยาถูกดูดซึมผ่านทางเดินอาหารและผ่านตับ
ในร่างกายมี enzyme หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพยา ซึ่งยาแต่ละชนิดจะใช้ enzyme ในการแปรสภาพยาหรือเปลี่ยนแปรงยาแตกต่างกันไป
การดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย (Drug absorption)
ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมยา
ปัจจัยเกี่ยวกับตัวยา
วิธีการผลิตยา และรูปแบบยา
ขนาดยาที่ให้ (dosage)
ขนาดโมเลกุลของยา ยาที่มีขนาดน้ำหนักโมเลกุลของยาต่ำจะซึมผ่าน cell membrane ได้เร็วกว่า
คุณสมบัติในการละลายในไขมัน (lipophilic) ยาหรือสารที่มีคุณสมบัติละลายได้ดีในไขมัน ผ่าน cell membrane ส่วนที่เป็นไขมันได้ดี และถูกดูดซึมได้ดี
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ป่วย
พยาธิสภาพของร่างกาย โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาการ และปริมาณอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารมีผลลดการดูดซึมของยาผ่านทางเดินอาหารได้ โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ลดลง มีผลลดการดูดซึมยาทางหลอดเลือดได้
สภาวะทางสรีรวิยาและอารมณ์ของผู้รับยา ทำให้การเคลื่อนที่ของยาช้าลง
วิธีการบริหารยา (routes of administration) เป็นปัจจัยที่กำหนดอัตตราและความสามารถในการดูดซึมยาเข้าสู่กระแสเลือด
การได้รับอาหารหรือยาชนิดอื่นร่วมด้วย อาหารอาจมีผลลดการดูดซึมยาบางชนิดได้ ฉะนั้นยาบางชนิดจึงต้องรับประทานในขณะท้องว่าง
การขับถ่ายยาออกจากร่างกาย (Drug Excretion) ร่างกายสามารถกำจัดยาออกได้ทางไต ตับ น้ำดี และปอด
คำสำคัญทางเภสัชจลนศาสตร์
Loading dose ขนาดยาที่ให้ครั้งแรกเพื่อให้ถึงระดับยาที่ต้องการใรพลาสมา คือ การให้ยาในขนาดสูงอย่างรวดเร็วเพื่อหวังผลให้ปริมาณและขนาดยาสูงขึ้นออกฤทธิ์ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
Onset ระยะเวลาที่เริ่มให้ยาจนถึงยาเริ่มออกฤทธิ์ที่ต้องการ
ค่าครึ่งชีวิต คือ เวลาที่ใช้ในการทำให้ยาหรือความเข้มข้นของยาลดลงเหลือ 50%
Duration of action ระยะเวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์ที่ต้องการจนถึงหมดฤทธิ์ที่ต้องการ
การแปรผันของการตอบสนองต่อยา
Hypersensitivity หรือ Allergic reaction การแพ้ยาจากที่ร่างกายมี antibody (Ab) ที่ต่อต้านต่อโครงสร้างทางโมเลกุล (structure) ของยาหรือส่วนประกอบของยา ทำให้เกิดอาการจากปฏิกิริยาภูมิแพ้
Tolerance เป็นการดื้อหรือทนฤทธิ์ของยา ซึ่งเกิดจากการได้รับยาชนิดนั้นหลายครั้ง ทำให้มีการตอบสนองต่อยาในครั้งหลังๆลดลง
Hyperactivity การตอบสนองต่อยาที่มากกว่าปกติ
Tachyphylaxis การดื้อยาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วเมื่อได้รับยาเพียง 2-3 ครั้ง
Hyporeactivity การตอบสนองต่อยาที่น้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่เกิดฤทธิ์รักษา
Placebo effect ฤทธิ์หลอก
Idiosyncrasy การตอบสนองที่แตกต่างตากปกติที่ไม่พบเกิดในคนส่วนใหญ่
สาเหตุการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน
มีความแตกต่างกันในความเข็มข้นของ endogenous receptor ligands
มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหรือการทำงานของ receptor
มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณยาที่จะไปถึง receptor ซึ่งจะขึ้นกับ pharmacokinetic ของยา เพศ อายุ น้ำหนัก ภาวะความเจ็บป่วย รวมถึงการทำงานของตับและไต
มีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอวัยวะที่เกิดการตอบสนองจากการกระตุ้น receptor