Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานและหลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา - Coggle Diagram
ความรู้พื้นฐานและหลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา
ความหมาย ความสำคัญต่างๆของเภสัชวิทยา
ความหมายของยา
วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ
วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใดๆของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์วัตถุ ตามข้อ 1. 2. หรือ 4.
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์
ยกเว้นข้อต่อไป
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการเกษตรหรือการอุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีได้ประกาศ
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ เครื่องกีฬา เครื่องมือ เครื่องใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสำอาง หรือเครื่องมือและส่วนประกอบของเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะหรือวิชาชีพเวชกรรม
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในห้องวิทยาศาสตร์สำหรับการวิจัย การวิเคราะห์ หรือการชันสูตรโรค ซึ่งไม่ได้กระทำโดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์
ความหมายของเภสัชวิทยา (Pharmacology)
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของยาและฤทธิ์หรือผลต่างๆของยาที่มีต่อร่างกาย รวมทั้งผลที่ร่างกายกนะทำต่อยาด้วย
ความหมายของเภสัชกรรม (Pharmacy)
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมยา ผสมและจ่ายยาเพื่อรักษา
ความสำคัญของเภสัชวิทยาต่อวิชาชีพพยาบาล
การให้ยาเป็นหน้าที่ของพยาบาล พยาบาลต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้เกิดผลที่พึงประสงค์แก่ผู้ป่วย
พยาบาลต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับที่กฎหมายกำหนดไว้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้ยา
นักศึกษาพยาบาลจะให้ยาแก่ผู้ป่วยได้ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของพยาบาลวิชาชีพ
พยาบาลวิชาชีพจะให้ยาผู้ป่วยได้ เมื่อแพทย์สั่งการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
ความหมายของ เภสัชภัณฑ์หรือยาเตรียม
(Pharmaceutical preparations ,
Pharmaceutical products)
ยารักษาโรคซึ่งถูกปรุงแต่งเป็นรูปแบบต่างๆ (Dosage forms) เพื่อความเหมาะสมในการใช้ยาได้สะดวกและได้ผลดีในการรักษา
ความหมายของ เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic)
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นไปของยาเมื่อยาเข้าสู่ร่างกาย (ร่างกายจัดการอย่างไรกับยาที่ได้รับ)
คำสำคัญทางเภสัชจลนศาสตร์
ค่าครึ่งชีวิต (Half Life)
เวลาที่ใช้ในการทำให้ยาหรือความเข้มข้นของยาลดลงเหลือ 50% จากความเข้มข้นแรก
Duration of action
ระยะเวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์ที่ต้องการจนถึงหมดฤทธิ์ที่ต้องการ
Loading dose
ขนาดยาที่ให้ครั้งแรก เพื่อให้ถึงระดับยาที่ต้องการในพลาสมา คือ การให้ยาขนาดสูงอย่างรวดเร็วเพื่อหวังผลให้ปริมาณและขนาดยาสูงขึ้นออกฤืธิ์ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
Onset
ระยะเวลาที่เริ่มให้ยาจนถึงยาเริ่มออกฤทธิ์ที่ต้องการ
ความหมายของ เภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamic)
ศาสตร์เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยาต่อร่างกาย
คำสำคัญทางเภสัชพลศาสตร์
Efficacy
ความสามารถของยาที่ทำให้เกิดฤทธิ์สูงสุด
Potency
ความแรงของฤทธิ์ยา
Affinity
ความสามารถของยาในการเข้าจับกับ Receptor
ประเภทของยา
2.แบ่งตามเภสัชตำรับ
ตำแหน่งการออกฤทธิ์ทางกายวิภาค
ประโยชน์ในการรักษา
กลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
แหล่งที่มาของยา
1.ยารักษาโรคปัจจุบัน
ยาควบคุมพิเศษ
ยาแผนปัจจุบัน หรือ ยาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ
ยาใช้ภายนอก
ยาแผนปัจจุบัน หรือ ยาแผนโบราณ ที่มีเพื่อใช้ภายนอก ไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่
ยาใช้เฉพาะที่
ยาแผนปัจจุบัน หรือ ยาแผนโบราณ ที่มีเพื่อใช้เฉพาะกับผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก
ยาสามัญประจำบ้าน
ยาแผนปัจจุบัน หรือ ยาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน
ยาอันตราย
ยาแผนปัจจุบัน หรือ ยาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาอันตราย
ยาบรรจุเสร็จ
ยาแผนปัจจุบัน หรือ ยาแผนโบราณ ที่ผลิตขึ้นในรูปแบบต่างๆทางเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดหรือผนึกไว้ และมีฉลากครบถ้วน
ยาแผนโบราณ
ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำราแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณ
ยาสมุนไพร
ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ไม่ได้ปรุงหรือแปลสภาพ
ยาแผนปัจจุบัน
ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์
แหล่งกำเนิดยา
จากธรรมชาติ
จากพืช
ยาที่ได้จากส่วนต่างๆของพืชโดยตรง เช่น ราก ใบ ลำต้น ผล เมล็ด เปลือก และนำมาปรุงเป็นยาโดยไม่เปลี่ยนแปลงรูป เรียกว่า ยาสมุนไพร (Crude drug)
ถ้าสกัดเอาสารที่มีอยู่ในพืชออกมาทำให้บริสุทธิ์ เรียกว่า สารสกัดบริสุทธิ์ (Purified drug)
จากสัตว์
สกัดจากอวัยวะบางส่วนของสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน ดีหมู ดีวัว
จากแร่ธาตุ
ไอโอดีน ทองแดง น้ำมันเกลือแร่
จากการสังเคราะห์
ยาที่อาศัยปฏิกิริยาทางเคมีในห้องปฏิบัติการ เช่น เกลือของเหล็ก ใช้บำรุงโลหิต
การเรียกชื่อยา
เรียกชื่อตามการค้า (Trade name)
เป็นชื่อที่บริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายยา เป็นผู้ตั้งและขอจดทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุข มักตั้งชื่อให้น่าสนใจ จำง่าย
เรียกชื่อตามสูตรเคมี (Chemical name)
เรียกตามลักษณะส่วนประกอบทางเคมีของยา ตั้งแต่การเรียงตัวของอะตอมหรือกลุ่มอะตอม
เรียกชื่อสามัญทางยา หรือ ชื่อตัวยา (Generic name)
แบ่งเป็นกลุ่มๆ ชื่อยาที่มีการออกฤทธิ์เหมือนกันจะอยู่กลุ่มเดียวกัน
รูปแบบเภสัชภัณฑ์หรือยาเตรียม
(Pharmaceutical preparations ,Pharmaceutical products)
รูปแบบที่เป็นของแข็ง
(Solid form)
ยาอมใต้ลิ้น (Sublingual)
ยาที่ถูกดูดซึมได้ดีในเยื่อบุภายในช่องปาก เข้าสู่กระแสโลหิตได้โดยตรง ยาจึงออกฤทธิ์เร็ว
ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว
ยาที่จำเป็นต้องเคี้ยวก่อนจึงจะออกฤทธิ์ได้ดี
ยาอม (Lozenge) และ โทรเช (Troche)
ใช้อมแก้เจ็บคอ ประกอบด้วยยาฆ่าเชื้อและยาทำลายเชื้อ ผสมน้ำตาลให้มีรสชาติน่ารับประทาน
ยาผงเดือดฟู่ (Effervescent powder)
ยาที่ละลายน้ำได้ง่าย ประกอบด้วย Sodium bacarbonate และ Acetic acid
ยาผง (Pulveres / Power)
เป็นรูปของยาผสมที่เป็นผง เพื่อเก็บได้นานขึ้น และกลิ่นรสดีขึ้น มีทั้งชนิดกินและโรยแผล
ยาเม็ด (Tablet)
ยาเม็ดเคลือบ
เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ที่ลำไส้ จึงมีการป้องกันการแตกตัวของยาที่กระเพาะอาหาร และป้องกันการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น vitamin B1,6,12
ยาเม็ดที่ไม่ได้เคลือบ
ยาที่สามารถออกฤทธิ์ที่กระเพาะอาหารได้เลย เช่น Aspirin
ยาเหน็บ (Suppositories)
ยาที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้สอดเข้าไปในช่องเปิด ตัวยาจะละลายเมื่อสอดเข้าไปในร่างกาย และออกฤทธิ์ตรงบริเวณที่เหน็บ หรือซึมเข้าสู่กระแสเลือดทั่วร่างกาย
ยาแคปซูล (Capsule)
ยาที่มีเจลาตินเป็นปลอกหุ้ม เพื่อกลบรสขมของยา
รูปแบบของเหลว
ยาน้ำสารละลาย
ยาน้ำสารละลายที่ตัวทำละลายเป็นน้ำ
ยากลั้วคอ (Gargale) : เป็นสารละลายใสและเข้มข้น ตัวยามีฤทธิ์ต้านการฆ่าเชื้อ ละลายอยู่ในน้ำ
ยาอมป้วนปาก (Mouthwash) : เป็นสารละลายใสใช้ทำความสะอาดดับกลิ่นปาก
ยาจิบ (Linctuses) : เป็นสารละลายใส มีลักษณะหนืดเล็กน้อย เพราะละลายในน้ำตาลหรือยาน้ำเชื่อม
ยาหยอดจมูก (Nasal perparetions) : เป็นสารละลายใสตัวยาละลายในน้ำ ใส่ขวดน้ำสำหรับใช้พ่นหรือหยอดเข้าทางจมูก
ยาน้ำเชื่อม (Syrups) : เป็นสารละลายเข้มข้นของน้ำตาล หรือสารอื่นที่ใช้แทนน้ำตาล
ยาหยอดหู (Otic preparetions) : เป็นยาน้ำใส หรือยาแขวนตะกอน
ยาน้ำใส (Solutions) : เป็นยาละลายน้ำใส
ยาสวนล้าง (Irrigations) : เป็นสารละลายชนิดปราศจากเชื้อสำหรับล้างบาดแผลหรือช่องต่างๆของร่างกาย มีขนาดบรรจุมากกว่ายาฉีด ใช้จุกขวดฝาเกลียวธรรมดา สำหรับใช้ครั้งเดียว
น้ำปรุง (Aromatic water) : เป็นสารละลายใสและอิ่มตัวของน้ำมันระเหยง่าย
ยาน้ำสวนทวารหนัก (Enemas) : เป็นสารละลายใส ตัวทำละลายอาจเป็นน้ำ กลีเซอลีน สารละลายน้ำเกลือ หรือสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต
ยาน้ำสารละลายที่ตัวทำละลายไม่ใช่น้ำ
ยาโคโลเดียน (Collodians) หรือยากัด : เป็นยาน้ำที่มีลักษณะข้มเหนียว ใช้ทาบาดแผลขนาดเล็ก
ยากลีเซอริน (Glycerines) : เป็นยาน้ำที่มีลักษณะข้นเหนียว หรือกึ่งแข็ง
ยาสปิริต (Spirits) : เป็นสารละลายใสของสารหอมระเหยง่าย
ยาถูนวด (Liniments) : เป็นยาน้ำใช้เฉพาะภายนอก เป็นสารละลายใส
ยาอิลิกเซอร์ (Erixir) : เป็นสารละลายใสชนิดไฮโดรแอลกอฮอล์ มีกลิ่นหอมและรสหวาน เป็นยารับประทานเท่านั้น
ยาป้าย (Paints) : เป็นยาน้ำที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อสมานแผลหรือระงับปวด ละลายอยู่ในน้ำ
ยาน้ำกระจายตัว
แมกมาและมิลค์ (Magmas and Milk) : เป็นยาแขวนตะกอนคล้ายเจล แต่มีสารยาที่ขนาดใหญ่ และหนืดกว่า
เจล (Gels) : ตัวยามีขนาดเล็กแต่ไม่ละลายน้ำ มีลักษณะเป็นกาว
อิมัลชั่น (Emulsion) : มีทั้งรูปแบบยากินและยาทาเฉพาะที่ เป็นยาน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำมันกระจายอยู่ในน้ำ ขุ่น เหนียว
โลชั่น (Lotions) : เป็นยาน้ำแขวนตะกอนชนิดใช้ภายนอก
มิกซ์เจอร์ (Mixtures) : เป็นยาน้ำผสม ใส่หรือไม่ใส่ยาแขวนตะกอนก็ได้
รูปแบบกึ่งแข็ง
ขี้ผึ้ง (Oiltment) : มีลักษณะเป็นน้ำมัน เป็นยาเตรียมใช้ทาผิวหนังและเยื่อเมือก เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย หรือบรรเทาอาการต่างๆ
ครีม (Paste) : เป็นยาน้ำแขวนตะกอนที่มีความเข้มข้นมาก ใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อ
รูปแบบประเภทอื่นๆ
ยาทาผิวหนัง (Applications) : เป็นยาทาใช้เฉพาะที่ อาจะเป็นยาน้ำใส อิมัลชั่น ยาน้ำแขวนตะกอนก็ได้
ยาพ่นฝอย (Spray) : เป็นยาที่เตรียมขึ้นเพื่อหวังผลเฉพาะที่ และป้องกันฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายส่วนอื่นๆ ตัวยากระจายเป็นอนุภาคเล็กๆ และออกฤทธิ์ในบริเวณที่ต้องการโดยตรง
ยาฉีด (Injections) : เป็นเภสัชภัณฑ์ชนิดไร้เชื้อที่บริหารยาโดยการฉีด ไม่ผ่านระบบทางเดินอาหาร ตัวยามีความบริสุทธิ์สูง ไม่มีสารพิษ หรือสารที่ดูดซึมไม่ได้
ยาดม (Inhalant) : เป็นยาที่มีกลิ่นหอมระเหย สูดดมได้ง่าย บรรเทาอาการวิงเวียนต่างๆ
ข้อดีข้อเสียของการให้เภสัชภัณฑ์ในวิถีทางต่างๆ
ยาชนิดรับประทาน
ข้อดี
หากเกิดอันตรายจากการรับประทาน อาการจะไม่รุนแรงและเร็วเท่ายาฉีด
หากเกิดพิษจากยา สามรถทำให้อาเจียนได้ง่าย
สะดวก ปลอดภัย ไม่เจ็บ ราคาถูก สามารถให้ได้ด้วยตนเอง
ข้อเสีย
ยาอาจระคายเคืองการะเพาะอาหาร
ยาอาจถูกทำลายโดยกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
กลิ่น และ สี ไม่น่ารับประทาน
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่อาเจียน หมดสติ
ไม่เหมาะกับยาที่ดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารช้า ไม่คงตัว
ยาชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ข้อดี
ใช้ในผู้ป่วยที่หมดสติหรืออาเจียนได้
ออกฤทธิ์เร็ว ไม่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ไม่ถูกทำลายโดยกรด
เหมาะกับการให้สารน้ำ
ข้อเสีย
โอกาศติดเชื้อง่าย
อาจทำให้หัวใจล้มเหลว จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเร็ว
เกิดพิษง่าย รวดเร็ว รุนแรงถึงชีวิต ราคาแพง
ยาชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ข้อดี
การดูดซึมช้า ออกฤทธิ์ได้นาน
หากแพ้ยาเฉียบพลัน สามารถใช้ Tourniquest รัดเหนือบริเวณที่ฉีดยาบางแห่งได้
ข้อเสีย
ยาบางชนิดระคายเคือง
บริเวณที่ฉีดทำให้เกิดแผลหรือฝีได้
ราคาแพง ให้ยาได้ไม่เกิน 2 มิลลิลิตร
ยาชนิดฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
ข้อดี
สามารถใช้กับยาฉีดที่ละลายได้ในน้ำมัน
ยาถูกดูดซึมได้เร็ว เกิดการระคายเคืองน้อย
ข้อเสีย
ให้ยาได้ไม่เกิน 5 มิลลิลิตร
การสะสมยาไว้ที่เนื้อเยื่อ อาจทำให้การดูดซึมช้าลง
ยาพ่นฝอย ยาแอโรซอล สูดดม และยาหยอดจมุก หยอดหู
ข้อดี
ยาออกฤทธิ์เร็ว สามารถให้ยาได้ด้วยตนเอง
ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่
ข้อเสีย
ปริมาณยาที่ได้ไม่แน่นอน
วิธีให้ยาไม่สะดวก
อาจระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจและหลอดลม
อาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
ยาเหน็บ
ข้อดี
ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่และทั่วร่างกาย
เหมาะกับเด็กหรือผู้ที่รับประทานยายาก
ข้อเสีย
ไม่สะดวกต่อการใช้งาน ราคาแพง
สำหรับยาที่ใช้เหน็บช่องคลอด อาจเกิดการติดเชื้อภายในของอวัยวะสืบพันธุ์ได้
ยาอมใต้ลิ้น
ข้อดี
ยาถูกดูดซึมเร็ว และออกฤทธิ์เร็ว โดยไม่ผ่านตับ
ยาไม่ถูกทำลายโดยกรดหรือน้าย่อยในกระเพาะอาหาร
ข้อเสีย
รสชาติของยาไม่ดี อาจระคายเคืองเยื่อบุภายในปาก
ใช้เวลานาน ไม่สะดวกในการพูด
การออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชลนศาสตร์
การดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย (Drug absorption)
ความหมายของการดูดซึมยา
อัตรา และ ปริมาณยาที่ถูกนำเข้าสู่กระแสเลือด
ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมยา
ปัจจัยเกี่ยวกับยา
วิธีการผลิตยา และรูปแบบยา
ขนาดยาที่ให้
ขนาดโมเลกุลของยา
คุณสมบัติในการละลาย
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ป่วย
การให้ยาดูดซึมผ่านหลอดเลือดฝอยบริเวณใต้ลิ้น
การให้ยาดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินหายใจ
การให้ยาผ่านทางเดินอาหาร
การให้ยาโดยการฉีดใต้ผิวหนัง
การกระจายตัวของยา (Drug distribution)
คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของยาแต่ละชนิด
การจับตัวของยากับโปรตีนในพลาสมา
ความสามารถในการผ่านเข้าสมองและรก
การสะสมของยาที่ส่วนอื่นๆ
ปริมาณการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะนั้นๆ
การแปรสภาพยาหรือการเปลี่ยนแปลงยา (Drug metabolism , Drug biotransformation)
ความสำคัญของการแปรสภาพยา
กระตุ้นการออกฤทธิ์ของยา (Mechanism of drug activation)
ยาบางชนิดไม่สามารถออกฤทธิ์ได้หลังให้ยา จำเป็นต้องถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีก่อน จึงจะออกฤทธิ์ในร่างกายได้
สิ้นสุดการออกฤทธิ์ของยา (Termination of drug action)
การแปรสภาพยาช่วยทำให้ยามีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดีขึ้น มีความเป็นประจุมากขึ้น ง่ายต่อการขับออกทางไต
เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงยา
ในร่างกายมีเอนไซม์หลายชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพยา เช่น Flavoprotien
เอนไซม์อาจอยู่ที่ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) ของอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต ปอด ทางเดินอาหาร พลาสมา ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงยาได้ตั้งแต่ยาถูกดูดซึมผ่านทางเดินอาหารและผ่านตับ
ขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงยา
Phase I reaction
เอนไซม์จะเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของยา โดยใช้กระบวนการ oxidation , reduction , hydrolysis อาศัยเอนไซม์ cytochrom P450 ทำให้ยาเป็น polar metabolism ฒากขึ้น และขับออกจากร่างกาย หรือเข้าสู่ Phase II reaction
Phase II reaction
ยา หรือ metabolite ที่มาจาก Phase I reaction ที่ยังไม่มีความเป็น polar มาก จะถูกขับออกทางไต ถูกทำให้ละลายน้ำได้ดีขึ้น โดยการรวมตัวกับ endogenous compound ในตับ
ปัจจัยที่มีผลต่อ Drug metabolism
สิ่งแวดล้อม
คนที่สูบบุหรี่จะมี metabolized ยาได้เร็วกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากเกิดภาวะเหนี่ยวนำเอนไซม์
อายุ
เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อฤทธิ์ยาและพิษของยามากกว่าผู้ใหญ่
พันธุกรรม
มีผลกระทบต่อระดับเอนไซม์ ทำให้เกิดความแตกต่าง ใน drug metabolism
ปฏิกิริยาระหว่างยาในระหว่างการเกิด metabolism
ยางบางชนิดมีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์ สามารถลดหรือยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ cytochrom P450 ในตับ
ยาบางชนิดมีคุณสมบัติเหนี่ยวนำเอนไซม์ สามารถเพิ่มการสังเคราะห์ เอนไซม์ cytochrom P450 ในตับได้
การขับถ่ายยา (Drug Excretion)
ร่างกายสามารถกำจัดยาออกได้ทางไต ตับ น้ำดี และปอด หรือทางน้ำนม และเหงื่อ ยาที่ถูกกำจัดออกไปอาจมีทั้งที่ไม่ถูกเปลี่ยนสภาพและถูกเปลี่ยนสภาพก็ได้
8.การออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชพลศาสตร์
กลไกการออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชพลศาสตร์
ออกฤทธิ์โดยไม่จับกับ receptor
ออกฤทธิ์โดยจับกับ receptor
ตัวรับ (Receptor)
เป็นองค์ประกอบของเซลล์ พบที่ผนังเซลล์ไซโตพลาสซึม หรือนิวเคลียส มีคุณสมบัติจดจำและจับกับสารที่มีลักษณะโครงสร้างจำเพาะ ทำให้การทำงานของเซลล์นั้นๆเกิดการเปลี่ยนแปลง
Agonist
ยาที่จับกับ receptor แล้วสามารถทำให้เกิดฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
Antagonist
ยาที่จับกับ receptor แล้วสามารถลดหรือบดบังฤทธิ์ของ Agonist ในการจับกับ receptor
Partial agonist
ยาที่จับกับ receptor แล้วออกฤทธิ์เพียงบางส่วน
ระดับความปลอดภัยของยา
ยาที่มีค่า Therapeytic index ต่ำ จะมีความปลอดภัยต่ำ
ยาที่มีค่า Therapeytic index สูง จะมีความปลอดภัยสูง
การแปรผันของการตอบสนองต่อยา
Hypresensitivity
การแพ้ยา จากการที่ร่างกายมี Antibody ที่ต่อต้านต่อโครงสร้างทางโมเลกุลของยาหรือส่วนประกอบของยา
Tachyphylaxis
การดื้อยาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วเมื่อได้รับยาเพียง 2-3 ครั้ง
Hyperactivity
การตอบสนองต่อยาที่มากกว่าปกติ
Tolerance
เป็นการดื้อยา หรือ ทนฤทธิ์ของยา เกิดจากการได้รับยานั้นซ้ำหลายครั้ง
Hyporeactivity
การตอบสนองต่อยาที่น้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่เกิดฤทธิ์การรักษา
Placebo effect
ฤทธิ์หลอก
Idiosyncrasy
การตอบสนองที่แตกต่างจากปกติที่ไม่พบเกิดในคนส่วนใหญ่ เกิดจากความแตกต่างทางพันธุกรรมในการเปลี่ยนแปลงยา
สาเหตุการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน
มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณยาที่จะไปถึง receptor ขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ น้ำหนัก ภาวะความเจ็บป่วย และการทำงานของไต
มีความแตกต่างกันในความเข้มข้นของ endogenous receptor ligands
มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหรือการทำงานของ receptor
มีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอวัยวะที่เกิดการตอบสนองจากการกระตุ้น receptor