Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานและหลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา - Coggle Diagram
ความรู้พื้นฐานและหลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา
ความหมายของยา
วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค
วัตถุที่เป็นเภสัชเคมี หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใดๆของร่างกาย
เภสัชวิทยาและเภสัชกรรม
เภสัชวิทยา(Pharmacology)
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของยาและฤทธิ์หรือผลต่างๆของยาที่มีต่อร่างกาย
เภสัชกรรม(Pharmacy)
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมยา ผสมยาและจ่ายยาเพื่อรักษา
ประเภทของยา
ยารักษาโรคปัจจุบัน
ยาแผนปัจจุบัน
ใช้ในการประกอบอาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดสัตว์
ยาแผนโบราณ
ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ซึ่งอยู่ในตำราแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ
ยาอันตราย
ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาอันตราย
ยาควบคุมพิเศษ
ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาที่ควบคุมพิเศษ
ยาใช้ภายนอก
ยาสำหรับใช้ภายนอก ไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่
ยาใช้เฉพาะที่
ใช้เฉพาะที่กับผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก
ยาสามัญประจำบ้าน
ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน
ยาบรรจุเสร็จ
ยาที่ผลิตขึ้นในรูปต่างๆทางเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อ และมีฉลากครบถ้วน
ยาสมุนไพร
ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่
แบ่งตามเภสัชตำรับ
ตำแหน่งการออกฤทธิ์ทางกายวิภาค เช่น ยาออกฤทธิ์ต่อระบบการไหลเวียนเลือด
ประโยชน์ในการรักษา
ยาแก้ปวดลดไข้
ยารักษามะเร็ง
ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
ยานอนหลับ
กลไลการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ยาระบายหรือยาถ่ายที่ทำให้ลำไส้บีดรีดตัวเพิ่มขึ้น
แหล่งที่มาของยาหรือคุณสมบัติทางเคมี
แหล่งกำเนิดยา
จากธรรมชาติ
พืช
ราก ใบ ลำต้น ผล เมล็ด เปลือก นำมาปรุงเป็นยาโดยไม่แปลี่ยนแปลงรูป เรียกว่า ยาสมุนไพร
สัตว์
สกัดจากอวัยวะบางส่วน เช่น ตับ ตับอ่อน ดีหมู ดีวัว
แร่ธาตุ
ไอโอดีน ทองแดง น้ำมันเกลือแร่
ตัวอย่างยาที่ได้จากแร่ธาตุ
ยาใส่แผลสด Tincture iodine ซึ่งเป็นยาใช้ภายนอก
ผงน้ำตาลเกลือแร่ (oral Rehydrating Salt;ORS)ใช้ทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่
จากการสังเคราะห์
เกลือของเหล็ก ใช้บำรุงโลหิต
อะลูมิเนียมไฮดอกไซด์ ใช้เป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
การเรียกชื่อยา
เรียกชื่อตามสูตรเคมี(chemical name)
เรียกตามลักษณะส่วนประกอบทางเคมีของยาตั้งแต่การเรียงตัวของอะตอมหรือกลุ่มอะตอม
เรียกชื่อสามัญทางยา หรือชื่อตัวยา(generic name)
แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้อักเสบ ยาถ่าย
เรียกชื่อตามการค้า (trade name)
ยาในกลุ่มacetaminophen มีชื่อทางการค้า เช่น sara Beramol Paracetamol Tylenal
เภสัชภัณฑ์หรือยาเตรียม
รูปแบบที่เป็นของแข็ง(solid form)
ยาเเคปซูล (capsule)
ยาที่มีเจลลาตินเป็นปลอกหุ้ม เพื่อกลบรสขมของยา เช่น Chloramphenical Tetracyclin
ยาเม็ด(Tablet)
ยาเม็ดเคลือบ
ออกฤทธิ์ในลำไส้ ป้องกันการแตกตัวของยาที่กระเพาะอาหาร และป้องกันการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น vitaminB-1-6-12
ยาเม็ดไม่ได้เคลือบ
Aspirin Paracetamol
ยาอมใต้ลิ้น(sublingual)
ดูดซึมได้ดีในเยื่อบุในช่องปาก เข้าสู่กระแสโลหิตโดยตรงยาจึงออกฤทธิ์เร็ว เช่น ยาเม็ดTestosterone
ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว
ต้องเคี้ยวก่อนจึงจะออกฤทธิ์ได้ดี เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
ยาอม และ โทรเช
สเตร็ปซิล ดีกีวดิน
ยาผงเดือดฟู่
ยาที่ละลายน้ำได้ง่าย
ยาผง
ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง
ยาเหน็บ
ยาที่ใช้สอดเข้าไปในช่องเปิด เช่น ช่องคลอด ทวารหนัก ตัวยาจะละลายเมื่อสอดเข้าใส่ในร่างกาย และออกฤทธิ์บริเวณที่เหน็บ เช่น Dulcolaxใช้เหน็บเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ
ประเภทของเหลว
ยาน้ำสารละลาย
ยาน้ำสารละลายที่ตัวทำละลายเป็นน้ำ
น้ำปรง
ตัวยาสำคัญคือน้ำมันหอมระเหย เช่น สาระแหน่ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันดอกส้ม เช่น การบูร หรือสารระเหยอื่นๆ
ยาน้ำใส
แอลกอฮอล์ กลีเซอลีน
ยาน้ำเชื่อม
น้ำผึ้ง ซอร์บิทอล ใช้เป็นยารับประทานเท่านั้น
ยาจิบ
ประกอบด้วยตัวยาที่ใช้ระงับการไอ ขับเสมหะ ซึ่งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ลำคอด้วย
ยากลั้วคอ
เป็นสารละลายใสและเข้มข้น ตัวยามีฤทธิ์ต้านการฆ่าเชื้อ ละลายอยู่ในน้ำใช้ป้องกันหรือรักษาอาการติดเชื้อในลำคอ
ยาอมบ้วนปาก
ใช้ทำความสะอาดดับกลิ่นปาก
ยาหยอดจมูก
ใช้บรรเทาอาการคัดจมูก
ยาหยอดหู
ยาสวนล้าง
มักนิยมเรียกว่า Douches มีลักษณะโดยมีขนาดบรรจุมากกว่ายาฉีดใช้จุกขวดเป็นฝาเกลียวธรรมดา และบรรจุสำหรับใช้ครั้งเดียว
ยาน้ำสวนทวารหนัก
ยาน้ำสารละลายที่ตัวทำละลายไม่ใช่น้ำ
ยาอิลิกเซอร์(Elixir)
ยาสปริริต(spirits)
ยาโคโลเดียน(collodians)หรือ ยากัด
ยากลีเซอรินGlycerines)
ยาถูนวด(Liniments)
ยาป้าย(Paints)
ยาน้ำกระจายตัว
ยาน้ำแขวนตะกอน ยาน้ำชนิดนี้มักมีสารช่วยในการทำให้ยาแขวนตะกอนอยู่ด้วย แต่ถ้าตั้งทิ้งไว้ยาจะตกตะกอน
รูปแบบของยาน้ำแขวนตะกอนมีหลายชนิด แล้วแต่สารที่ใช้แขวนตะกอน ได้แก่
เจล(Gels)
โลชั่น(Lotion)
แมกมาและมิลค์(Magmas and Milk)
มิกเจอร์(Mixtures)
อิมัลชั่น(Emulsion)
รูปแบบประเภทกึ่งแข็ง
ขี้ผึ้ง(oiltment)
มีลักษณะเป็นน้ำมัน เป็นยาเตรียมที่ใช้ทาผิวหนังและเนื่อเมือกเพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ครีม(Paste)
ใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อ ทำให้รู้สึกเย็นหรือใช้แต่งแผล เพื่อบรรเทาอาการ
ประเภทอื่นๆ
ยาฉีด(injections)
การให้โดยไม่ผ่านระบบทางเดินอาหาร ตัวยาจะมีฤทธิ์สูง ไม่มีสารพิษหรือสารที่ดูดซึมไม่ได้
ยาทาผิวหนัง(applications)
เป็นยาสำหรับใช้ทาเฉพาะที่
ยาพ่นฝอย(spray)
มักใช้ประกอบกับเครื่องพ่น เพื่อให้ตัวยากระจายเป็นอนุภาคเล็กๆ
ยาดม(Inhalant)
เป็นยาที่มีกลิ่นหอมระเหย สูดดมได้ง่าย ใช้สูดดมเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ
ข้อดี ข้อเสียของการให้เภสัชภัณฑ์ในวิถีทางต่างๆ
ยาชนิดรับประทาน
ยาแคปซูล ยาเม็ด ยาผงเดือดฟู่ ยาผงชนิดกิน ยาน้ำเชื่อม
-ข้อดี สะดวก ปลอดภัย ราคาถูก สามารถให้ได้ด้วยตนเอง
-ข้อเสีย ไม่เหมาะกับยาที่ดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารช้า ไม่คงตัว
ยาชนิดเข้าหลอดเลือดดำ
-ข้อดี ออกฤทธิ์เร็ว ไม่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ไม่ถูกทำลายโดยกรดหรือน้ำย่อย
-ข้อเสีย มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เกิดการทำลายผนังหลอดเลือด หลอดเลือดดำอักเสบ
ยาชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
-ข้อดี ดูดซึมอย่างช้าๆ ให้ยาออกฤทธิ์ได้นานพอควร
-ข้อเสีย ยามีราคาแพง บริเวณที่ฉีดทำให้เกิดแผลหรือฝีได้
ยาชนิดฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
-ข้อดี ยาถูกดูดซึมได้เร็ว เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
-ข้อเสีย การสะสมยาไว้ที่เนื้อเยื่ออาจทำให้การดูดซึมยาช้าลง
ยาพ่นฝอย ยาแอโรซอล สูดดม และยาหยอดจมูก หยอดหู
-ข้อดี ออกฤทธิ์เร็ว และสามารถให้ยาได้ด้วยตนเอง
-ข้อเสีย วิธีการให้ยาไม่สะดวก ปริมาณยาไม่แน่นอน
ยาอมใต้ลิ้น
-ข้อดี ยาถูกดูดซึมและออกฤทธิ์ได้เร็วโดยไม่ผ่านตับ
-ข้อเสีย ยาบางชนิดรสชาติไม่ดี ยาอาจระคายเคืองเยื่อบุภายในช่องปาก
ยาเหน็บ
เหน็บทวารหนัก เหน็บช่องคลอด
-ข้อดี เหมาะกับเด็กหรือผู้ที่รับประทานยายาก
-ข้อเสีย ไม่สะดวกต่อการใช้ ราคาแพง
หลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา
การออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชจลนศาสตร์
เภสัชจลนศาสตร์(pharmacokinetic)
การดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย (Drug absorption)
การดูดซึมยา หมายถึง อัตราและปริมาณยาที่ถูกนำเข้าสู่กระแสโลหิต
ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมยา
ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวยา
ขนาดและโมเลกุลของยา ยาที่มีขนาดน้ำหนักโมเลกุลต่ำจะซึมผ่าน cell membrane ได้เร็วกว่า
วิธีการผลิตยา รูปแบบยา
ขนาดยาที่ให้ เป็นปัจจัยที่กำหนดความเข้มข้นของยา
คุณสมบัติในการละลายในไขมัน
ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ป่วย
วิธีการบริหารยา
การให้ยาผ่านทางเดินอาหาร โดยพบว่า pHของ medium มีผลต่อการดูดซึมของยา ดังนี้
ยาที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน เช่น แอสไพรินจะถูกดูดซึมได้ดีใน medium ที่เป็นกรด(pHต่ำ) เช่น กระเพาะอาหาร
ยาที่มีคุณสมบัติเป็นด่างอ่อน เช่น มอร์ฟีน จะถูกดูดซึมได้ดีใน medium ที่เป็นด่าง (pHสูง) เช่น ลำไส้เล็ก
การให้ยาดูดซึมผ่านหลอดเลือดฝอยบริเวณใต้ลิ้น(ยาอมใต้ลิ้น)
ยาที่ละลายในไขมันได้ดี มีคุณสมบัติเป็นด่าง การอมใต้ลิ้นช่วยให้ยาสามารถดูดซึมผ่านหลอดเลือดฝอยได้เร็วและดี เพราะใต้ลิ้นจะมีร่างแหหลอดเลือดฝอยหนาแน่น
การให้ยาดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินหายใจ (ยาแบบสูดดม)
จะอยู่ในรูปก๊าซและของเหลวที่ระเหยได้ดี จะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดได้ง่ายและรวดเร็ว
การให้ยาโดยการฉีดใต้ผิวหนัง(subcutaneous :sc)กล้ามเนื้อ(muscle:IM)หลอดเลือดดำ(intravenous:IV)
การให้ยาโดยวิธีนี้ยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้100%ส่วนความเร็วในการดูดซึมยาขึ้นกับทางในการบริหารฉีดยาและรูปแบบของยาที่ใช้
พยาธิสภาพของร่างกาย
โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน
โรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่น หัวใจล้มเหลว ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ลดลง
สภาวะทางสรีรวิทยาและอารมณ์ของผู้รับยา เช่น การนอนทำให้ยาเคลื่อนที่ไปยังกระเพาะอาหารช้าลง
การได้รับอาหารหรือยาชนิดอื่นร่วมด้วยอาหารอาจมีผลลดการดูดซึมยาบางชนิดได้
การกระจายตัวของยา(Drugs distribution)
การกระจายตัวของยา จะขึ้นอยู่กับ
ปริมาณการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะนั้นๆ
หัวใจ ตับ ไต และสมอง
คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของยาแต่ละชนิด
คุณสมบัติการละลายในไขมัน
การจับตัวของยากับโปรตีนในพลาสมา
การรวมของยากับพลาสมาโปรตีนส่งผล
ลดการกระจายตัวของยา
ความสามารถในการผ่านเข้าสมองและรก
บางส่วนของสมองมีblood brain barrier (BBB)จะไม่ยอมให้ยาผ่านได้ มีหน้าที่ป้องกันระบบประสาทสมองส่วนกลาง โดยจะป้องกันไม่ให้สารหรือยาที่เป็นอันตรายเข้าไปยังสมอง
การสะสมของยาที่ส่วนอื่น ที่เซลล์ไขมัน กระดูกฟัน อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่ออวัยวะที่ยาไปสะสมได้
การแปรสภาพยาหรือการเปลี่ยนแปลงยา
เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงยา
เอนไซม์อาจอยู่ที่ไซโทพลาซึมของอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต ปอด ทางเดินอาหาร พลาสม่า ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงยาได้
ในร่างกายมี enzymes หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพยา เช่น flavoprotein ซึ่งยาแต่ละชนิดจะใช้enzymes ในการแปลสภาพยา
ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงยาแบ่งได้2ขั้นตอน
Phase I reaction
Phase II reaction
ปัจจัยที่มีผลต่อdrug metabolism
พันธุกรรม
สิ่งแวดล้อม
อายุ
ปฏิกิริยาระหว่างยาในระหว่างการเกิด metabolism
ยาบางชนิดมีคุณสมบัติเหนี่ยวนำเอนไซม์ คือยาบางชนิดที่สามารถเพิ่มการสังเคราะห์enzyme cytochrome P450-dependents ในตับได้
ในขณะที่ยาบางชนิดมีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์ คือ ยาที่สามารถลดหรือยับยั้งการทำงานของenzyme cytochrome P-450ในตับ
ความเจ็บป่วยและความสามารถในการทำงานของตับ ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญในการแปลสภาพ หากมีภาวะ เช่น ตับอักเสบ ตับแข็ง จะส่งผลต่อกระบวนการmetabolisms ยาต่างๆในร่างกาย
การขับถ่ายยา (Drug excretion)
ร่างกายสามารถกำจัดยาออกได้ทางไต ตับ น้ำดี และปอด ส่วนอวัยวะหลักในการกำจัดยาคือ ไต
คำสำคัญทางเภสัชจลนศาสตร์
ค่าครึ่งชีวิต(Half life)
เวลาที่ใช้ในการทำให้ยาหรือความเข้มข้นของยาลดลงเหลือ50%
Lodging dose
ขนาดยาที่ให้ครั้งแรกเพื่อให้ถึงระดับยาที่ต้องการในพลาสม่า
Onset
ระยะเวลาเริ่มให้ยาจนถึงยาเริ่มออกฤทธิ์
Duration of action
ระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ที่ต้องการจนถึงหมดฤทธิ์
การออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชพลศาสตร์
เภสัชพลศาสตร์
เภสัชพลศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยาต่อร่างกาย
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์โดยไม่จับกับreceptor
ออกฤทธิ์โดยจับกับreceptor
ตัวรับreceptor
มีคุณสมบัติที่จะจดจำ และจับกับสารที่มีลักษณะโครงสร้างจำเพาะเจาะจงแล้วมลทำให้การทำงานของเซลล์นั้นๆเปลี่ยนแปลง
Agonist
ยาที่จับกับreceptorแล้วสามารถทำให้เกิดฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
Antagonist
ยาที่จับกับreceptorแล้วสามารถลดหรือบดบังฤทธิ์ของagonist
Partial agonist
ยาที่จับกับreceptorแล้วออกฤทธิ์เพียงบางส่วน
คำสำคัญทางเภสัชพลศาสตร์
Affinity
ความสามารถของยาในการเข้ากับจับreceptor
Efficacy
ความสามารถของยาที่ทำให้เกิดฤทธิ์สูงสุด
Potency
ความแรงของฤทธิ์ยา
ระดับความปลอดภัยของยา
การหาระดับความปลอดภัยของยามักจะทดลองผ่านสัตว์ทดลอง เช่น หนูแรท หนูเมาส์
ยาที่มีค่า therapeutic index ต่ำจะมีความปลอดภัยต่ำ
ยาที่มี therapeutic index สูงจะมีความปลอดภัยสูง
การแปรผันการตอบสนองต่อยา
Idiosyncrasy
การตอบสนองที่แตกต่างจากปกติที่ไม่พบในคนส่วนใหญ่
Hyporeactivity
การตอบสนองยาที่น้อยกว่าปกติ
Hyperactivity
การตอบสนองต่อยามากกว่าปกติ
Hypersensitivity หรือ Allergic reaction
การแพ้ยาจากที่ร่างกายมีantibodyที่ต่อต้านต่อโครงสร้างทางโมเลกุล
Tolerance
การดื้อยาหรือทนฤทธิ์ยา เกิดจากการได้รับยาชนิดนั้นหลายครั้ง
Tachyphylaxis
การดื้อยาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วเมื่อได้รับยาเพียง2-3ครั้ง
Placebo effect
ฤทธิ์หลอก
สาเหตุการตอบสนองยาที่ต่างกัน
มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณยาที่จะไปถึงreceptor
มีความแตกต่างกันในความเข้มข้นของendogenous receptor ligands
มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหรือการทำงานของreceptor
มีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอวัยวะที่เกิดการตอบสนองจาก
การกระตุ้นreseptor