Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานและหลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา - Coggle Diagram
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานและหลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา
[1] ความรู้พื้นฐาน
1.1) ประเภทของยา
{1} ยารักษาโรคปัจจุบัน
1.1)) ยาแผนปัจจุบัน = ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพเวชกรรม
1.2)) ยาแผนโบราณ = ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือการบำบัดโรคสัตว์
1.3)) ยาอันตราย = ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ถูกประกาศว่าเป็นยาอันตราย
1.4)) ยาควบคุมพิเศษ = ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ถูกประกาศว่าเป็นยาควบคุมพิเศษ
1.5)) ยาใช้ภายนอก = ยาแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณที่มุ่งหมายใช้ภายนอก ไม่รวมถึงยาที่ใช้เฉพาะที่
1.6)) ยาใช้เฉพาะที่ = ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายใช้เฉพาะผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก ช่องคลอด
ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก
1.7)) ยาสามัญประจำบ้าน = ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ถูกประกาศว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน
1.8)) ยาบรรจุเสร็จ = ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ได้ผลิตขึ้นเสร็จในรูปต่างๆ ซึ่งบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดผนึกไว้ และควรมีฉลากครบถ้วน
1.9)) ยาสมุนไพร = ยาที่ได้จากพฤษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งไม่ได้ปรุงหรือแปรสภาพ
{2} แบ่งตามเภสัชตำรับ
2.1)) ตำแหน่งการออกฤทธิ์ทางกายภาพ = ยาออกฤทธิ์ต่อระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท ระบบทางเดินปัสสาวะ
2.2)) ประโยชน์ในการรักษา = ใช้ร่วมกับการแบ่งยาตามกลไกการออกฤทธิ์ทางกายวิภาค เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยารักษามะเร็ง ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยานอนหลับ เป็นต้น
2.3)) กลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา = ยาระบายหรือยาถ่ายที่ทำให้ลำไส้บีบรัดตัวเพื่มขึ้น ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
2.4)) แหล่งที่มาของยา หรือคุณสมบัติทางเคมี และเภสัชวิทยาของยา = ไอโอดีน จากแร่ธาตุ ยากลุ่มกลัยโคไซด์ที่ได้จากพืช เป็นต้น
1.2) แหล่งกำเนิดยา
{1} จากธรรมชาติ
1.1)) จากพืช = ได้จากส่วนของพืชโดยตรง เช่น ราก ใบ ลำต้น ผล เปลือก เป็นต้น แล้วนำมาปรุงยาโดยไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เรียกว่า ‘ยาสมุนไพร’
1.2))จากสัตว์ = โดยการสกัดจากอวัยวะบางส่วนของสัตว์ เช่น ตับอ่อน ดีหมู ดีวัว เป็นตัน
1.3)) จากแร่ธาตุ = ไอโอดีน ทองแดง น้ำมันเกลือแร่
ยาใส่แผลสด Tincture iodine
ผงน้ำตาลเกลือแร่
ยา Lithium carbonate
ยาลดกรด
{2} จากการสังเคราะห์
สังเคราะห์โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีในห้องปฏิบัติการ เช่น เกลือของเหล็ก ใช้บำรุงโลหิต อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ใช้เป็นยาลดหรดในกระเพาะอาหาร
1.3) เวชภัณฑ์หรือยาเตรียม
{1} ประเภทของแข็ง
1.1)) ยาแคปซูล (capsule) = ยาที่มีเปลือกเจลาตินห่อหุ้ม เพื่อกลบรสขมของยา
Amoxycillin
Ampicillin
Tetracyclin
Chloramphenical
1.2)) ยาเม็ด (tablet) = ยาผงแห้งอัดเม็ด
1.2.1] ยาเม็ดเคลือบ เพื่อให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ ป้องกันการแตกตัวของยาที่กระเพาะอาหาร เช่น Vit. B 1-6-12
1.2.2] ยาเม็ดที่ไม่ได้เคลือบ เช่น Aspirin Paracetamol
1.3)) ยาอมใต้ลิ้น (Sublingual) = เป็นยาที่ดูดซึมได้ดีในเยื่อยุช่องปาก เข้าสู่กระแสโลหิตได้โดยตรง
Testosterone
Nitroglycerine
1.4)) ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว = จะต้องเคี้ยวก่อนยาจึงจะออกฤทธิ์
ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
1.6)) ยาผงเดือดฟู่ (Effervescent powder) = ยาละลายน้ำได้ง่าย ประกอบด้วย sodium bicarbonate และ Acetic acid
1.7)) ยาอม (Pulveres หรือ Power) = เป็นยาผสมที่เป็นผง เพื่อเก็บยาไว้ได้นาน และกลิ่นรสดีขึ้น มีทั้นกินและโรยแผล
ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง
1.5)) ยาอม (Lozenge) = ใช้อมแก้เจ็บคอ ประกอบด้วยยาฆ่าเชื้อและยาทำลายเชื้อ ผสมน้ำตาลทำให้มีรสชาติ รับประทานได้ง่ายขึ้น
สเตร็ปซิล
ดีกีวดิน
1.8)) ยาเหน็บ (Suppositories) = ยาที่เตรียมเหน็บช่องคลอด และทวารหนัก เพื่อออกฤทธิ์ตรงบริเวณที่เหน็บ หรือซึมเข้าสู่กระแสเลือดทั่วร่างกาย
Protosedyl
Dulcolax
{2} ประเภทของเหลว
2.1)) ยาน้ำละลายที่ตัวทำละลายเป็นน้ำ
น้ำปรุง(Aromatic water) = สารละลายใสและอิ่มตัวของน้ำมันระเหยง่าย เช่น สาระแหน่ น้ำมันกุกลาบ น้ำมันดอกส้ม
ยาน้ำใส(Solutions) = เป็นยาละลายน้ำใส ซึ่งอาจเป็นสารของแข็งหรือของเหลว เช่น แอลกอฮอล์ กลีเซอลีน
ยาน้ำเชื่อม(Syrups) = เป็นสารละลายเข้มข้นของน้ำตาล หรือสารอื่นที่ใช้แทนน้ำตาลในน้ำ เช่น น้ำผึ้ง ซอร์บิทอล เป็นยาใช้รับประทานเท่านั้น
ยากลั้วคอ(Gargale) = เป็นสารละลายใสและเข้มข้นมีตัวยาต้านการฆ่าเชื้อ ป้องกันหรือรักษาอาการติดเชื้อในลำคอ
ยาอมบ้วนปาก(Mouthwash) = ใข้ทำความสะอาดดับกลิ่นปาก กระพุ้งแก้ม
ยาหยอดจมูก(Nasal preparations) = ใส่ขวดน้ำพ่นหรือหยอดเข้าทางจมูก ใช้บรรเทาอาการคัดจมูก
ยาหยอดหู(Otic preparations) = เป็นยาน้ำใส บางครั้งเป็นยาแขวนตะกอน
ยาน้ำสวนทวารหนัก(Enemas) = สารละลายน้ำใสอาจเป็นน้ำกลีเซอลีน สารละลายน้ำเกลือ หรือสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต
2.2)) ยาน้ำที่ตัวทำละลายไม่ใช้น้ำ
ยาอิลิกเซอร์(Elixir) = สารละลายใสชนิดไฮโดรแอลกอฮอล์ มีกลิ่นหอมและรสหวานใช้เป็นยารับประทานเท่านั้น
ยาสปริริต(Spirits) = สารละลายใสหอมระเหยง่าย เช่น การบูร น้ำมันผิวส้ม แอมโมเนีย
ยาโคโลเดียน(Collodians) = ยามีลักษณะเหนียวข้น มักใช้ทาบาดแผลขนาดเล็ก
ยากลีเซอรีน(Glycerines) = มีลักษณะเหนียวข้นหรือกึ่งแข็ง ใช้เป็นยาหยอดหู ยาอมบ้วนปาก ยาทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม
ยาถูนวด(Liniments) = ใช้ภายนอกเป็นสารละลายใสหรือข้นเหลว
ยาป้าย(Paints) = ช่วยในการสมานแผลหรือระงับปวด ละลายในน้ำได้
2.3)) ยาน้ำกระจายตัว
แมกมาและมิลค์(Magmas and milk) = ยาแขวนตะกอนคล้ายเจล แต่สารยามีขนาดใหญ่ ลักษณะยาจึงหนืดกว่า เช่น ยาระบายแมกนีเซีย
โลชั่น(Lotions) = เป็นยาน้ำแขวนตะกอนชนิดใช้ภายนอก เช่น คาลาไมน์ โลชั่น
เจล(Gels) = ตัวยาขนาดเล็กแต่ไม่ละลายน้ำ มีลักษณะเป็นกาว เช่น alum milk
มิกซ์เจอร์(Mixtures) = ยาน้ำผสม อาจใส่หรือไม่ใส่ยาแขวนตะกอนก็ได้
อิมัลชั่น(Emulsion) = มีทั้งรูปแบบยากินและยาทาเฉพาะที่ เช่น ยาระบายรัฟฟิน น้ำมันละหุ่ง เป็นต้น
{3} ประเภทกึ่งแข็ง
ขี้ผึ้ง (Oiltment) = มีลักษณะเป็นน้ำมัน ใช้ทาบริเวณผิวหนัง เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย หรือบรรเทาอาการต่างๆ
ครีม (Paste) = ยาน้ำแขวนตะกอนที่มีความข้นมาก ใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อ ทำให้แผลรู้สึกเย็นหรือใช้แต่งแผล เพื่อบรรเทาอาการ
{4} ประเภทอื่นๆ
ยาฉีด(injections) = บริหารยาโดยการฉีด การให้โดยไม่ผ่านระบบทางเดินอาหาร ตัวยาจะมีความบริสุทธิ์
ยาพ่นฝอย(Spray) = ยาที่เตรียมขึ้นเพื่อหวังเฉพาะที่ และป้องกันฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ต่อร่างกาย
ยาทาผิวหนัง(Applications) = ยาสำหรับทาเฉพาะที่ อาจเป็นยาน้ำใส อิมัลชั่น ยาน้ำแขวนตะกอนก็ได้
ยาดม(Inhalant) = ยาที่มีกลิ่นหอมระเหยสามารถสูดดมได้ง่าย ใช้สูดดมเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนต่างๆ
[2] หลักทั่วไปทางเภสัชวิทยา
2.1) เภสัชจลนศาสตร์(Pharmacokinetic)
{2.1.1} การดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย
(Drug absorpyion)
ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมยา เกี่ยวกับตัวยา
ขนาดของโมเลกุลของยา
วิธีการผลิตยา และรูปแบบยา
ขนาดยาที่ให้
คุณสมบัติในการละลายในไขมัน
ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมยา เกี่ยวกับผู้ป่วย
วิธีการบริหารยา
การให้ยาผ่านทางเดินอาหาร
การให้ยาดูดซึมผ่านหลอดเลือดฝอยบริเวณใต้ลิ้น
การให้ยาดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินหายใจ
การให้ยาโดยการฉีดใต้ผิวหนัง
การให้ยาดูดซึมผ่านทางผิวหนัง
การให้ยาแบบเหน็บทวารหนักหรือช่องคลอด
พยาธิสภาพของร่างกาย
สภาวะทางสรีระวิทยาและอารมณ์ของผู้รับยา
การได้รับอาหารหรือยาชนิดอื่นร่วมด้วย
{2.1.2} การกระจายตัวของยา (Drugs distribution)
ปริมาณการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะนั้นๆ หลังจากยาถูกดูดซึมแล้วยาไปสู่อวัยวะที่มีปริมาณการไหลเวียนของเลือดสูงได้อย่างรวดเร็ว
คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของยาแต่ละชนิด เช่น คุณสมบัติการละลายในไขมัน
การจับตัวของยากับโปรตีนในพลาสม่า การรวมตัวของยากับพลาสม่าส่งผลต่อการกระจายตัวของยา
ความสามารถในการผ่านเข้าสมองและรก บางส่วนของสมองจะไม่ยอมให้ยาผ่านได้
การสะสมของยาที่ส่วนอื่น ที่เซลล์ไขมัน กระดูกและฟัน อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่ออวัยวะที่ยาไปสะสมได้ หรืออาจออกฤทธิ์ได้ช้ากว่าปกติ
2.1.3) การแปรสภาพยาหรือการเปลี่ยนแปลงยา
(Drug metabolism)
[1] เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงยา
Phase l reaction : เอนไซม์จะเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของยา โดยอาศัยกระบวนการ oxidation reduction hydrolysis
Phase ll reaction : ยาหรือเมตาบอลิซึม จาก Phase l ที่ไม่มีความเป็น polar มากจะถูกขับออกทางไตจะต้องทำให้ละลายน้ำได้ดีขึ้นโดยการรวมตัวกับ endogenous compound ในตับ
[2] ปัจจัยที่มีผลต่อ drug metabolism
พันธุกรรม
สิ่งแวดล้อม
อายุ
[3] ปฏิกิริยาระหว่างยาในระหว่างการเกิด metabolism
ยาบางชนิดมีคุณสมบัติเหนี่ยวนำเอนไซม์ ทำให้ยาชนิดอื่นที่ให้ร่วมกันมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ลดลง
ในขณะที่ยาบางชนิดมีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์ ส่งผลในกรณีให้ยาที่มีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์หากให้ยาร่วมกับยาชนิดอื่น
ความเจ็บป่วยและความสามารถในการทำงานของตับ ส่งผลต่อการ เมตาบอลิซึม ยาต่างๆในร่างกาย
{2.1.4} การขับถ่ายยา (Drug Excretion)
สามารถขับออกทางไต ตับ น้ำดี และปอด นอกจากนี้อาจถูกกำจัดออกทางน้ำนมและเหงื่อได้แต่ในปริมาณที่น้อยมาก
2.2) การออกฤทธิ์ของยาทางเภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamic)
{2.2.1} กลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชพลศาสตร์
ตัวรับ (Receptor) = มีคุณสมบัติที่จะจดจำ และจับกับสารที่มีลีกษณะโครงสร้างจำเพาะเจาะจงแล้วทำให้การทำงานของเซลล์นั้นๆ ทำงานได้ดีขึ้น
Agonist = ยาที่จับกับ receptor แล้วสามารถทำให้เกิดฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
Antagonist = ยาที่จับกับ receptor แล้วสามารถลดหรือบดบังฤทธิ์ของ agonist ในการจับกับ receptor
Partial agonist = ยาที่จับกับ receptor แล้วออกฤทธิ์เพียงบางส่วน
{2.2.2} ระดับความปลอดภัยของยา
(Therapeutic index : TI)
มักจะทำการทดลองกับสัตว์ก่อน เพื่อหาระดับความปลอดภัย ต่อขนาดยาที่ได้รับในการรักษา
สูตร TI = LD50/ED50
{2.2.3} การแปรผันของการตอบสนองต่อยา
Idiosyncrasy = การตอบสนองที่แตกต่างจากปกติที่ไม่พบเกิดในคนส่วนใหญ่
Hyporeactivity = การตอบสนองต่อยาที่น้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่เกิดฤทธิ์รักษา
Hyperactivity = การตอบสนองต่อยาที่มากกว่าปกติ
Hypersensitivty = การแพ้ยาจากร่างกายมี antibody ที่ต่อต้านต่อโครงสร้างทางโมเลกุล
Tachyphylaxis = การดื้อยาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วเมื่อได้รับยาเพียง 2-3 ครั้ง
Tolaerance = การดื้อยาหรือทนฤทธิ์ของยา ซึ่งเกิดจากการได้รับยาชนิดนี้หลายครั้ง
Placebo effect = ฤทธิ์หลอก