Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.3 ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์, นางสาวสุกัญญา พลเยี่ยม รหัสนักศึกษา60270110…
4.3 ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์
มดลูกปลิ้น ( Uterine inversion)
ความหมาย
ภาวะที่มดลูกปลิ้นตลบเอาผนังด้านในออกมาอยู่ด้านนอกหรือโผล่ออกมาทางช่องคลอด
ชนิดของมดลูกปลิ้น
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ (complete inversion) มดลูกปลิ้นโดยส่วนที่ปลิ้นพ้นปากมดลูก
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์และเคลื่อนต่ำลงมานอกปากช่อง คลอด (Prolapsed of inverted uterus)
มดลูกปลิ้นแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete inversion) มดลูกปลิ้นโดยส่วนที่ปลิ้นยังไม่พ้นปาก มดลูก
สาเหตุ
รกเกาะแน่นแบบ Placenta accrete
สายสะดือสั้นจนดึงรั้ง
การทำคลอดรกไม่ถูกวิธี
การเพิ่มแรงดันภายในช้องท้องอย่างรวดเร็วและรุนแรง
มีพยาธิสภาพที่มดลูก
อาการและอาการแสดง
ตรวจภายในจะคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณปากมดลูกช่องคลอดหรือก้อนโผล่ออกมานอกช่องคลอด
จะมีอาการปวด ช็อก ตกเลือดทางช่องคลอดอย่างเฉียบพลัน และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
ยอดมดลูกเป็นแอ่งคล้ายปล่องภูเขาไฟ
ในรายที่เรื้อรังผนังเยื่อบุมดลูกจะแห้ง และเป็นแผลทำให้เกิดตกขาว เลือดออกกะปริบกะปรอย อาจมี อาการปวดหลังถึงอุ้งเชิงกราน และถ่ายปัสสาวะขัดหรือรู้สึกถ่วงที่ช่องคลอด
การพยาบาล
Vital signs ทุก 5-15 นาที
ดูแลให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกเมื่อดันมดลูกกลับ
การช่วยเหลือเพื่อป้องกันภาวะ shock เมื่อเกิดภาวะมดลูกปลิ้น ประเมินความรู้สึกตัวให้สารน้ำ
ถ้า manual reinversionไม่สำเร็จเตรียมผู้ป่วยเพื่อผ่าตัด
ประเมินชนิดของมดลูกปลิ้นอย่างรวดเร็ว
เตรียม CPR เมื่อเกิดภาวะ shock
ป้องกันการเกิดมดลูกปลิ้น โดยทำคลอดอย่างระมัดระวังและถูกวิธี
ภาวะรกค้าง รกติด
รกค้าง ( retained placenta) หมายถึง ภาวะที่รกไม่ลอกตัว หรือคลอด ออกมาภายใน 30 นาที หลังทารกคลอด
รกติด ( placenta accreta) หมายถึง ภาวะที่รกมีการฝังตัวลึกกว่าชั้นปกติ ทำให้ไม่สามารถคลอดรกได้
ชนิดของรก
placenta increta
placenta percreta
placenta accrete
ปัจจัยเสี่ยง
มารดาอายุมาก
ตั้งครรภ์ หลายครั้ง
เคยมีรกติดแน่นในครรภ์ก่อน
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหลายครั้ง
รกเกาะต่ำ
เคยมีแผลผ่าตัดที่ ตัวมดลูกหรือเคยขูด มดลูกมาก่อน
อาการและอาการแสดง
เลือดออกทางช่องคลอดจำนวนมากภายหลังคลอด
ตรวจพบว่ามีบางส่วนของเนื้อรกหรือ membrane ขาดหายไป
มดลูกหดรัดตัวไม่ดีหลังคลอด
มารดามีอาการ กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ตัวเย็นซีด เหงื่อออก ความดันโลหิตลดต่ำลง ระดับความรู้สึกตัวลดลง ซึ่งเป็นอาการช็อค
ไม่มีอาการแสดงของรกลอกตัว หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่ชัดเจนระยะหลังคลอดรกนาน 30 นาที
แนวทางการรักษา
รกไม่คลอดนาน 30 นาที พิจารณาให้ oxytocin 10 ยูนิต
ทำ controlled cord traction
การพยาบาล
ภายหลังล้วงรก ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกจำนวนเลือดออก และสัญญาณชีพ เพื่อประเมินภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก และดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
ติดตามประเมินการติดเชื้อ และภาวะตกเลือดในระยะหลังคลอด ประเมินระดับยอดมดลูกลักษณะน้ำคาวปลา ติดตามสัญญาณชีพ
ทารกขาดออกซิเจนในครรภ์
สาเหตุ
ด้านมดลูก
มดลูกมีการหดรัดตัวที่รุนแรงมากผิดปกติ หรือเกิดจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดบริเวณมดลูก (Vascular degeneration)
ด้านรก
หลอดเลือดที่บริเวณรกเสื่อมสภาพ หรือขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีการลอกตัวของรกก่อนกำหนด
ด้านมารดา
มารดามีความดันโลหิตต่ำ หรือช๊อคจากโรคหัวใจ มีภาวะซีดมารดามีภาวะเป็นกรด และมารดามีความดันโลหิตลดลงเมื่อเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว
ด้านสายสะดือ
สายสะดือถูกกดทับ หรือบิดเป็นเกลียว หรือเกิดการพับงอ
ด้านทารก
ทารกมีการติดเชื้อ พิการแต่กำเนิด มีภาวะซีด หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดในครรภ์แฝด
ผลกระทบ
ต่อมารดา
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติของทารกจะเพิ่มความเครียดและความวิตกกังวล
เกิดปัญหาด้านจิตสังคมในระยะคลอดที่มารดาอาจจะต้องเผชิญ
ต่อทารก
การได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเป็นเวลานาน
ความพิการของสมอง
มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือเป็นเด็กปัญญาก่อนในเวลาต่อมา
การรักษา
ให้ Oxygen mask ในปริมาณ 6 – 10 ลิตร / นาที
บันทึกการเต้นของหัวใจทารกด้วยเครื่อง Monitor ตลอดเวลา
เปลี่ยนท่านอนของมารดา
ในกรณีที่มารดาได้รับ Oxygocin ควรหยุดการให้ทันที
ทำคลอดตามความเหมาะสม ถ้าปากมดลูกเปิดเต็มที่
เจาะ Fetal scalp blood sampling เพื่อประเมินภาวะ Acidosis
อาการและอาการแสดง
มีขี้เทาปนออกมากับน้ำคร่ำในทากที่มีศีรษะเป็นส่วนนำ
มีการเปลี่ยนแปลงของการเต้นของหัวใจทารก
จากการตรวจ Fetal scalp blood sampling พบค่า pH ต่ำกว่า หรือเท่ากับ7.20 ซึ่งถือว่ามีภาวะ Acidosis
ทารกในครรภ์ดิ้นอย่างรุนแรงและมากขึ้น แสดงถึงภาวะ Acute fetal distress
ภาวะมดลูกแตก (Uterine Rupture)
สาเหตุ
มดลูกแตกจากการได้รับการกระทบกระเทือน
มดลูกแตกจากรอยแผลเดิมเช่น PS
มดลูกแตกเองเช่น CPD
ชนิด
มดลูกแตกตลอดหมดหรือแตกชนิคสมบูรณ์
มดลูกแตกบางส่วน
อาการและอาการแสดง
ก่อนมดลูกแตก
การคลอดไม่ก้าวหน้า
มองเห็นหน้าท้องเป็น Bandl’s ring
กระสับกระส่าย PR เบาเร็ว RR ไม่สม่ำเสมอ
มีการหดรัดตัวและรุนแรงของมดลูก
เจ็บปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง
fetal distress อาจพบ FHS ไม่สม่ำเสมอ
อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
เมื่อมดลูกแตกแล้ว
อาจพบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดจำนวนเล็กน้อย
ท้องโป้งตึงและปวดรุนแรง จากเลือด น้ำคร่ำ ทารก ระคายเยื่อบุช่องท้อง
ถ้ามดลูกแตกขณะเจ็บครรภ์อาการเจ็บครรภ์จะหายไป
FHS เปลี่ยนแปลงหรือหายไป
คลำพบส่วนของทารกชัดเจนขึ้น
PV พบส่วนนำลอยอยู่สูงขึ้นจากเดิม
เจ็บปวดมดลูกส่วนล่างรุนแรงและรู้สึกมีการฉีกขาดของอวัยวะภายใน
แนวทางการรักษา
การผ่าตัด
ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง
เตรียมผู้คลอด C/S และตามกุมารแพทย์เพื่อ CPR ทารก
กรณีที่ทารกเสียชีวิตต้องดูแลสุขภาพจิตผู้คลอดและครอบครัว
ถ้ามดลูกแตกแล้วมีภาวะช็อคให้ RLS เลือดทดแทนและออกซิเจนอย่างเพียงพอ
การพยาบาล
ก่อนมดลูกแตก
เฝ้าดูแลความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิดถ้ามีอาการแสดงว่ามีแนวโน้มมดลูกจะแตกรายงานแพทย์เพื่อ C / S
ผู้คลอดที่ได้รับยาเร่งคลอดควรประเมิน UC และ FHS อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
ประเมินและวินิจฉัยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกแตกในผู้คลอดและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาผ่าตัดทำคลอด
สังเกตอาการและอาการแสดงก่อนมดลูกแตก หากรีบรายงานแพทย์ทันที
P / S แนะนำให้เว้นระยะมีบุตรอย่างน้อย 2 ปี
เมื่อมดลูกแตก
ประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอดและอาการของภาระช็อก
เตรียมผู้คลอดให้พร้อม C / S
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนและเลือดตามแผนการรักษา
เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพและรายงานกุมารแพทย์
ประเมิน V/S และ FHS ทุก 5 นาที
ดูแลให้ ATB ป้องกันการติดเชื้อภายในช่องท้องตามแผนการรักษา
NPO และให้ IV fluid ตามแผนการรักษาติดตามและรายงานสูติแพทย์ทราบ
เฝ้าระวังภาวะตกเลือดเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดปกติ
นางสาวสุกัญญา พลเยี่ยม รหัสนักศึกษา602701104 นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่นที่35