Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) - Coggle Diagram
การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage)
ความหมาย
การเสียเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 500 ml จากการคลอดทางช่องคลอด
การเสียเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 500 mlจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัวของมารดาหลังจากคลอดระยะที่สามสิ้นสุดลง
ความเข้มข้นของเลือดลดลงร้อยละ 10 ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
การสูญเสียเลือดของมารดาจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่มีปริมาณมากกว่า 1,000 ml
การจำแนก
การตกเลือดหลังคลอดทันที (Early or immediatePPH)
การตกเลือดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด พบได้มาก และบ่อยที่สุดประมาณ 4-6 % ของการตั้งครรภ์ทั้งหมดโดยประมาณ 80 %
การตกเลือดหลังคลอดภายหลัง (Late or delayedPPH)
การตกเลือดภายหลัง 24 ชั่วโมงจนถึง6 สัปดาห์หลังคลอด
อาการแสดง
อาจจะไม่มีเลือดออกอย่างมากตั้งแต่ต้น แต่มักจะ
เป็นลักษณะเลือดออกพอสมควรแต่ไหลออกเรื่อย ๆ
BP เพิ่มสูงขึ้นในช่วงแรกต่อมาจึงตํ่าลง
ในขณะที่ HR จะเร็วขึ้นชีพจรเร็วขึ้นและเบาลง BP ลดตํ่าลงเรื่อยๆ
ร่วมกับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยอาจเริ่มเปลี่ยนแปลง
สาเหตุ
มี 4 สาเหตุหลัก (4T)
Tone
สาเหตุเกี่ยวกับความผิดปกติของการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งพบได้มากที่สุดร้อยละ 70 ของทั้งหมด เกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี (Uterine atony)
Trauma
สาเหตุเกี่ยวกับการฉีกขาดของช่องทางคลอด เช่น การฉีกขาดของปากมดลูก(Tear cervix) ช่องคลอด (Tear vaginal) แผลฝีเย็บ (Tear perineal) รวมถึงการมีเลือดออกใต้ชั้นกล้ามเนื้อ บริเวณช่องทางคลอด (Hematoma)
Tissue
สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับรก เยื่อหุ้มรก หรือชิ้นส่วนของรกตกค้างภายในโพรงมดลูก(Retained products of conception)
Thrombin
สาเหตุเกี่ยวกับการแข็งตัว ของเลือดผิดปกติ (Defects in coagulation)
ผลกระทบต่อทารก
ศีรษะของทารกได้รับอันตรายจากการรับทารกไม่ทัน
ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง
เสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือขาด
แนวทางการป้องกันและรักษาเป็น 4 Rs
1.Recognition and Prevention การรับรู้และการป้องกัน
การประเมิน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือด จากการซักประวัติ และป้องกันด้วย AMTSL ในระยะคลอด
2.Readiness
การเตรียมความพร้อม
ห้องปฏิบัติการ ธนาคารเลือด ห้องคลอด หน่วยหลังคลอด
3.Response
การตอบสนอง
การปฏิบัติการดูแลรักษาเมื่อเกิดการตก
เลือดหลังคลอด ได้อย่างรวดเร็ว (Rapid response team)
และมีระบบ ที่ชัดเจน (Checklist)
4.Reporting and Learning
การรายงาน และการเรียนรู้
การสร้างวัฒนธรรมของการ เห็นความสำคัญของข้อมูลปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยและมี การส่งเวรกัน ทำสรุปหลังเกิดเหตุการณ์ ทบทวน เหตุการณ์ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
การประเมินปัจจัยเสี่ยง
โดยใช้อักษรย่อ B-BUBBLE
1.Black ground and Body condition
การตรวจสอบประวัติการคลอด
2.Breast and Lactation
การประเมิน ลักษณะของเต้านม หัวนม และการไหลของน้ำนม และนำทารกเข้าเต้าเพื่อดูดนมมารดาโดยเร็วและดูดบ่อยทุก 2-3 ชั่วโมง
3.Uterus
การประเมินระดับยอดมดลูก และการหดรัดตัวของมดลูก
4.Bladder
การประเมินกระเพาะปัสสาวะ ค้นหา Bladder full ความรู้สึกปวด
ปัสสาวะและการ ขับถ่ายปัสสาวะหลังคลอด
5.Bleeding or Lochia
ประเมินลักษณะ และปริมาณของเลือดหรือน้ำคาวปลาที่ออกจากช่อง คลอด
ประเมินลักษณะและปริมาณของเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ทำการบันทึกทุก 15 นาที ในระยะ 2 ชั่วโมง แรก บันทึกทุก 1-2 ชั่วโมงในระยะ 4 ชั่วโมงหลังคลอด
และบันทึกทุก4 ชั่วโมงจนครบ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
Episiotomy
การประเมินบริเวณ ช่องทางคลอดและแผลฝีเย็บ พยาบาลต้องตรวจดู
ลักษณะของแผลฝีเย็บเมื่อแรกรับ และตรวจความ ผิดปกติทุก 8 ชั่วโมง โดยใช้ REEDA Scale
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดามีภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมีการคลอดเฉียบพลัน
มีโอกาสเกิดภาวะช็อกเนื่องจากมีภาวะตกเลือดหลังคลอด
ไม่สุขสบายปวดเนื่องจากมดลุกมีการหดรัดตัวถี่และรุนแรง
อ่อนเพลียเนื่องจากเสียพลังงานและสูญเสียเลือดจากการคลอด