Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
บทที่ 1 การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม
1.ความหมายของวัฒนธรรม (Culture)
วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เป็นเครื่องมือที่มนุษย์คิดค้นเพื่อช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ในสังคมของตน
วัฒนธรรม (Culture) หมายถึงวิถีการดำเนินชีวิต (The Way of Life) ของคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก นักมานุษยวิทยาได้สรุปลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของวัฒนธรรมไว้ 6 ประการ
3) วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ (Symbol)
เช่น เงินตรา สัญญาณจราจร สัญลักษณ์ทางศาสนา และภาษา ซึ่งมนุษย์สามารถเรียนรู้และถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้
พฤติกรรมของมนุษย์มีต้นกำเนิดมาจากการใช้สัญลักษณ์
4) วัฒนธรรมเป็นองค์รวมของความรู้และภูมิปัญญา
ทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
มีการวางกฎเกณฑ์แบบแผนในการดำเนินชีวิต
มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
2) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (Culture is learned)
ซึ่งมนุษย์จะเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อยในสังคมจนกลายเป็น “มรดกสังคม”
5) วัฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์นิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่างๆ
1) วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (Shared ideas) และค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกำหนดมาตรฐานพฤติกรรม
6) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
วัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภท
1) วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture)
สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์
เช่น ถ้วย ชาม จาน ช้อน ส้อม บ้าน ตึก และถนน รวมไปถึงศิลปกรรมของมนุษย์เช่น รูปปั้น ภาพวาด เป็นต้น
2) วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture)
วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม การปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มของตน ว่าดีงามเหมาะสม
เช่น ความคิด ความเชื่อ ภาษา ศีลธรรม ปรัชญา และกฎหมาย เป็นต้น
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมมีองค์ประกอบ 4 ประการ
1) องค์วัตถุ (Material)
วัฒนธรรมในด้านวัตถุที่มีรูปร่างสามารถจับต้องได้
เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ภาพเขียน สิ่งก่อสร้างต่างๆ และการสร้างสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายต่างๆ
2) องค์การหรือสมาคม (Organization หรือ Association)
วัฒนธรรมในส่วนของการจัดระเบียบเป็นองค์การหรือสมาคม มีโครงสร้างซึ่งสามารถมองเห็นได้ มีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับ
เช่น สถาบันทางสังคมต่างๆ กลุ่มหรือองค์กรต่างๆ เช่น สหภาพ สมาคม ชมรม บริษัท เป็นต้น
3) องค์พิธีหรือพิธีการ (Usage หรือ Ceremony)
วัฒนธรรมในส่วนของพิธีหรือพิธีการต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นนับตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต คือ การเกิดจนกระทั่งตาย
เช่น พิธีรับขวัญเด็ก พิธีโกนจุก หรือพิธีบวชนาค พิธีแต่งงาน พิธีงานศพ การแต่งกาย มารยาททางสังคมต่างๆ
พิธีเหล่านี้ได้จัดกระทำขึ้นเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งพิธีการต่างๆ ที่สังคมกำหนดขึ้น
4) องค์มติหรือมโนทัศน์ (Concepts)
วัฒนธรรมในด้านความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากคำสอนทางศาสนา
เช่น ความเชื่อในเรื่องบาปบุญ ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ความเชื่อในพระเจ้า รวมทั้งการมีอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น
ความสำคัญของวัฒนธรรม
1) วัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม และเป็นเครื่องกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
2) การศึกษาวัฒนธรรมจะทำให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
3) ทำให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
4) ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของ การดำรงชีวิต
6) ทำให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
7) ทำให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์
5) ทำให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน
คุณค่า ความเชื่อ ค่านิยมทางสังคมที่มีผลต่อหลักการในการดำเนินชีวิต
หมายถึง การยอมรับคำอธิบายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ที่บุคคลได้จากการรับรู้และเรียนรู้ร่วมกันในสังคม และถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ประเภทของความเชื่อ
1) ความเชื่อในสิ่งปรากฏอยู่จริง
เชื่อว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
น้ำทะเลมีรสเค็ม
2) ความเชื่อขั้นพื้นฐานของบุคคล
มี 2 ลักษณะ
เกิดจากประสบการณ์ตรง
เกิดจากการแลกเปลี่ยนพบปะสังสรรค์
3) ความเชื่อแบบประเพณี
ในภาคเหนือเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับผีและอำนาจเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับป่า
ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระธาตุและผีวีรบุรุษ
4) ความเชื่อแบบเป็นทางการ
หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องการมีสติ
ไม่ประมาท การบำเพ็ญเพียร
ค่านิยมทางสังคม
เป็นวัฒนธรรมที่กำหนดพฤติกรรมของสมาชิกสังคมนั้นๆ โดยตรง ทุกสังคมจึงมีระบบค่านิยมของตนเอง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดค่านิยมทางสังคม
1) ครอบครัว
เป็นสถาบันสังคมอันดับแรกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมให้แก่บุคคล
ครอบครัวเป็นหน่วยแรกที่อบรมสั่งสอนพฤติกรรมสังคมให้แก่คนตั้งแต่เกิดจนโต
2) โรงเรียน
สร้างค่านิยมอันถูกต้องให้แก่เด็กเป็นอย่างมากในการสั่งสอนเด็กให้เกิด ความคิด ความเชื่อ อันจะนำไปสู่แบบแผนการมีพฤติกรรมที่ดี
3) สถาบันศาสนา
มีส่วนช่วยในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมอันถูกต้องได้เป็นอย่างดี
5) สื่อมวลชน
บุคคลได้รับความรู้และความคิดจากสื่อมวลชนเป็นอันมากในบางกรณี
เช่น ค่านิยมในการแต่งกายตามสมัยนิยม ทรงผม เป็นต้น
6) องค์การของรัฐบาล
รัฐยังตรากฎหมายให้สิทธิและอำนาจแก่ครอบครัวในการเลี้ยงดูและอบรมเด็ก
ปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมให้แก่สังคมตามปกติ
4) สังคมวัยรุ่นและกลุ่มเพื่อน
เกิดค่านิยมในกลุ่มเพื่อน
3.วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและการแสวงหาการรักษาของประชาชนในภูมิภาคต่างๆของโลก
แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือพิการ
ฟื้นฟูสุขภาพให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ดูแลรักษาสุขภาพเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วยเป็นโรค
วัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1) วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะปกติ
แบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมที่มีกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.วัฒนธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ
การกินอาหารประเภทน้ำพริกผักจิ้มและอาหารจากธรรมชาติ
การเข้าวัด ถือศีล ทำสมาธิ
งดบริโภคสุราและสิ่งเสพติด
2.วัฒนธรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค
การบริโภคอาหารปรุงสุก
การคว่ำกะลาหรือใส่ทรายอะเบทเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยุงลาย
การรับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรค
2) วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะเจ็บป่วย
การรับรู้ของบุคคลที่มีต่อความผิดปกติของร่างกาย
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.วัฒนธรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค
แต่ละสังคมความเชื่อมโยงกัน 3 ประเภท
ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน
แบบพื้นบ้าน
แบบวิชาชีพ
2.วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
การงดบริโภคอาหารแสลง
การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
สามารถจัดแบ่งได้ตามประโยชน์และโทษดังนี้
1) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมสุขภาพ
การให้ทารกกินนมแม่นานถึง 2 ปี
การห้ามหญิงหลังคลอดบริโภคน้ำดิบ
2) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้ให้ประโยชน์
ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแผด
4) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้โทษ
การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
เป็นสาเหตุโรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง
3) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่แน่ว่าให้คุณหรือโทษ
สังคมแอฟริกันบางสังคมให้เด็กกินดินหรือโคลน