Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ - Coggle Diagram
การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ
1.1 วงจรการติดเชื้อ
“การติดเชื้อ (Infection)” เป็นปฏิกิริยาของร่างกาย (Host interaction) ที่เกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อโรค (Microorganisms) เข้าสู่ร่างกาย
1.1.1 เชื้อก่อโรค (Infectious agent)
เชื้อก่อโรคแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด
1)แบคทีเรีย ได้แก่ แบคทีเรียทั้งกรัมบวกและกรัมลบ
2)โปรโตซัว เช่น Entamoeba histolytica ทําให้เกิดโรคบิด เป็นต้น
3)เชื้อรา เช่น Candida albicans และ Canduda glabrata เป็นต้น
4)ไวรัส เช่น เชื้อหัด อีสุกอีใส เริม ไข้หวัดใหญ่ Corona virus เป็นต้น
5)พยาธิ เช่น พยาธิเส้นด้าย (พบมากในเด็ก) พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวตืด เป็นต้น
1.1.2แหล่งกักเก็บเชื้อโรค (Reservoir)
1.1.3ทางออกของเชื้อ (Portal of exit)
ระบบทางเดินหายใจ
เชื้อออกทางระบบสืบพันธุ์
เชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์โดยผ่านทางสายสะดือ
1.1.4หนทางการแพร่กระจายเชื้อ (Mode of transmission)
1.1.5ทางเข้าของเชื้อ (Portalof entry)
1.1.6ความไวในการรับเชื้อของบุคคล (Susceptible host)
1.4 การทําลายเชื้อ และการทําให้ปราศจากเชื้อ
1.4.1การทําลายเชื้อ(Disinfection)
การทําลายเชื้อมีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้
1)การล้าง ผู้ล้างต้องระมัดระวังมิให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
2)การต้ม เป็นวิธีการทําลายเชื้อที่ดีที่
3)การใช้สารเคมี เป็นวิธีการสุดท้ายที่จะใช้ถ้าไม่มีวิธีอื่น เนื่องจากฤทธิ์ของการทําลายเชื้อของสารเคมีเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยต่าง ๆ
4)การใช้น้ํายาฆ่าเชื้อ จําแนกตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนี้
(1)การล้างมือธรรมดา (Normal hand washing) ใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลว
(2)การล้างมือก่อนทําหัตถการ (Surgical handwashing) เช่น การผ่าตัด การทําคลอด
(3)การเตรียมผิวหนัง
เพื่อการฉีดยาใช้ Alcohol 70%
ผ่าตัดเล็กใช้ Alcohol 70% หรือ Tr.iodine 2%
ผ่าตัดใหญ่ใช้ฟอกให้เป็นบริเวณกว้างด้วย Chlorhexidine 4% หรือ Iodophor 7.5% เช็ดน้ํายาออก แล้วทาด้วย Alcohol 70% + Clorhexidine 0.5% หรือ Iodophor 10%
(4)การทําแผล ล้างแผลให้สะอาดด้วย Steriled normal saline
(5)การทําความสะอาดฝีเย็บก่อนคลอดหรือก่อนการตรวจภายใน ใช้ Cetrimide 15% + Chlorhexidine 1.5% เจือจาง 1:100
(6)การสวนล้างช่องคลอดใช้ Cetrimide 15% + Chlorhexidine 1.5% เจือจาง 1:100 หรือ Chloroxylenol 1:100 หรือ 1:200
(7) การทาช่องคลอดก่อนผ่าตัดใช้ Iodophor 10%
ระดับการทําลายเชื้อ แบ่งออกตามประสิทธิภาพในการทําลายเชื้อได้เป็น 3 ระดับ
การทําลายเชื้อระดับสูง(High-level disinfection)
สามารถทําลายจุลชีพก่อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย
การทําลายเชื้อระดับกลาง(Intermediate-level disinfection)
การทําลายเชื้อวิธีนี้สามารถทําให้เชื้อ Mycobacterium tuberculosis เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราอ่อนกําลังลงจนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ แต่ไม่สามารถทําลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้
การทําลายเชื้อระดับต่ํา(Low-level disinfection)
สามารถทําลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราบางชนิด แต่ไม่สามารถทําลายเชื้อที่มีความคงทน
1.4.2 การทําให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization)
กระบวนการในการทําลายหรือขจัดเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียจากเครื่องมือทางการแพทย์ อุปกรณ์ที่ต้องผ่านเข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ปราศจากเชื้อ กระแสเลือดหรือเนื้อเยื่อ
สำหรับวิธีการทําให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ
1) วิธีการทางกายภาพ(Physical method)
(1) การใช้ความร้อน (Thermal or Heat sterilization)
(2) การใช้รังสี (Ionizing radiation)
2) วิธีการทางเคมี(Chemical method)
(1) การใช้แก๊ส
-Ethylene oxide gas (EO)
เป็นวิธีทําให้ปราศจากเชื้อที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสําหรับวัสดุที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้
Formaldehyde ที่ความเข้มข้น 37% หรือที่เรียกว่า ฟอร์มาลิน (Formalin)
(2) การใช้ High-level disinfectant ได้แก่ Glutaraldehyde, Hydrogen peroxide และ Peracetic acid
ห่ออุปกรณ์ที่ผ่านการทําให้ปราศจากเชื้อแล้วจะมีระยะเวลาในการคงสภาพปราศจากเชื้อ หรือที่เรียกว่า Shelf life ได้นานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของวัสดุที่ใช้ห่ออุปกรณ์ การผนึกห่ออุปกรณ์
วิธีการเก็บรักษาที่ดีมีดังนี้
เก็บไว้ในตู้มีฝาปิดมิดชิด ไม่มีแมลงหรือสัตว์เข้าไปรบกวน
เก็บไว้ในที่แห้ง ห่างจากอ่างล้างมือหรือบริเวณที่เปียกชื้้น
เก็บไว้ในปริมาณพอเหมาะ พอใช้ ไม่ควรสะสมไว้มากเกินไป
วัสดุปราศจากเชื้อห่อพลาสติกหรือกระดาษ ไม่ควรเอายางรัดเพราะจะทําให้วัสดุห่อหุ้มฉีกขาด
วัสดุที่ห่อและทําให้ปราศจากเชื้อในสถานพยาบาล ต้องใช้ในกําหนดเวลา
1.5การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลและสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข 2 ประเภท
1.5.1Standard precautions
การนําแนวปฏิบัติของ Universal precautions และ Body substance isolation ซึ่งเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากเลือด
การปฏิบัติตามหลัก Standard precautions
1)ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือสบู่ยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง
การล้างมือออกเป็น 4 ประเภท
(1) การล้างมือธรรมดา
(2) การล้างมือภายหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค
(3) การล้างมือก่อนทําหัตถการ
(4) การใช้ Alcohol hand rub ทดแทนการล้างมือในกรณีเร่งด่วน
2)สวมเครื่องป้องกันเมื่อคาดว่าจะสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งผู้ป่วย
(1)ถุงมือ มี 2 ประเภท คือ ถุงมือปราศจากเชื้อ (Sterile glove) และถุงมือสะอาด (Non–sterile glove)
(2)เสื้อคลุม ใช้เมื่อจะสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้อโรค
(3)ผ้าปิดปากและจมูก ใช้ป้องกันการแพร่เชื้อจากจมูกและปากจากผู้สวมสู่คนที่อยู่ใกล้เคียง
3)หยิบจับอุปกรณ์ที่มีคมที่ใช้กับผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง ทิ้งอุปกรณ์มีคมที่ใช้แล้วในภาชนะที่เหมาะสม ไม่สวมปลอกเข็มกลับคืน
4)ทําความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่เปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งอย่างถูกวิธี
5)บรรจุผ้าเปื้อนในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง
6)ทําความสะอาดและทําลายเชื้อ หรือทําให้ปราศจากเชื้ออุปกรณ์การแพทย์ทุกชิ้นที่ใช้กับผู้ป่วยแล้ว
7)หลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลขณะปฏิบัติงาน โดยเฉพาะถูกเข็มที่ใช้กับผู้ป่วยตํา
1.5.2 Transmission-base precautions
การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อที่ทําให้เกิดโรคตามทางที่เชื้อออกจากตัวผู้ป่วย และทางที่จะเข้าสู่บุคคล
วิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 3 วิธี
1)การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ
(1)แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อไว้ในห้องแยกพิเศษ (Isolation) และปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
(2)ผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน จัดให้อยู่ห้องเดียวกันได้
(3)อากาศภายในห้องแยกควรถูกดูดออกภายนอกโดยตรงหรือผ่านเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพ ห้องแยกควรมีการหมุนเวียนอากาศอย่างน้อย 6 รอบต่อชั่วโมง
(4)ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ผ่าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
(5)จํากัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ในกรณีความจําเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอกห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดใช้แล้วทิ้ง
2) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ํามูกน้ําลาย
(1)แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยก และปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
(2)ผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน จัดให้อยู่ห้องเดียวกันได้
3)หากไม่มีห้องแยกและไม่สามารถจัดให้ผู้ป่วยอยู่รวมกันได้ ควรจัดระยะห่างระหว่างเตียง ไม่น้อยกว่า 3 ฟุต
(4)ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ ผ้าปิดปาก-จมูก เมื่อให้การดูแลผู้ป่วยในระยะ 3 ฟุต
(5)จํากัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจําเป็นควรให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดชนิดใช้แล้วทิ้ง
3) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส
(1)สวมถุงมือเมื่อให้การดูแลผู้ป่วย และเปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่เมื่อสัมผัสสิ่งคัดหลั่งหรือส่วนของร่างกายที่นำจะมีเชื้อโรคจํานวนมากขณะให้การพยาบาลผู้ป่วยรายเดิม
(2)ถอดถุงมือและล้างมือด้วยสบู่ผสมน้ํายาฆ่าเชื้อก่อนออกจากห้องผู้ป่วย
(3)สวมเสื้อคลุมหากคาดว่าอาจสัมผัสเลือดสารคัดหลั่งหนองอุจจาระของผู้ป่วย
(4)จํากัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจําเป็นต้องเคลื่อนย้าย ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการแปดเปื้อนเชื้อในสิ่งแวดล้อม
(5)หากสามารถทําได้ควรแยกอุปกรณ์ชนิด Non-critical items สําหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ หากไม่สามารถแยกอุปกรณ์ได้ต้องทําความสะอาดและทําลายเชื้อก่อนนําไปใช้กับผู้ป่วยรายอื่น
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
1) กําจัดเชื้อโรค แหล่งของเชื้อโรคอาจจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรืออาคารสถานที่ ต้องกําจัดให้มากที่สุดเท่าที่ทําได้
2) ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันโรคน้อย ควรจะแยกจากแหล่งของเชื้อโรค และพยายามรักษาสาเหตุที่ทําให้ภูมิคุ้มกันโรคเสียไป
3) สิ่งแวดล้อม อาคาร สถานที่ ควรให้สะอาดและแห้ง
(1) การทําลายขยะขยะพวกที่เป็นเลือด หนอง หรือน้ำสามารถเทลงโถส้วมได้
(2) การแยกขยะในโรงพยาบาล
4) การทําลายเชื้อและการทําให้ปราศจากเชื้อต้องกระทําอย่างถูกต้อง
5) การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้องและมีนโยบายที่แน่นอน
6) การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล เพื่อให้ทราบลักษณะการเกิดและการกระจายของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
7) การติดเชื้อของบุคลากรในขณะปฏิบัติงานในโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์อาจจะได้รับเชื้อในขณะปฏิบัติงานได้ 3 ทาง คือถูกเข็มตําหรือของมีคมบาดมือมีบาดแผลหรือผิวหนังแตกเป็นรอยและเลือดหรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา ปาก จมูก
1.6 กระบวนการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
1.6.1การประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย (Assessment)
1.6.2การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
1)เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
2)มีโอกาสเกิดการระบาดของโรคในชุมชน
1.6.3 การวางแผนและให้การพยาบาล (Planning and Implementation)
1) ล้างมือก่อนและหลังการให้การพยาบาลผู้ป่วย
2) ใช้หลัก Airborne precautions
3) ให้คําแนะนําการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและญาติ
4) รายงานอุบัติการณ์การเฝ้าระวังการเกิดโรคต่อคณะกรรมการการติดเชื้อของโรงพยาบาล
1.6.4 การประเมินผลการพยาบาล(Evaluation)
1) ไม่มีการแพร่กระจายเชื้อสู่ญาติและบุคลากรในหอผู้ป่วย
1.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
1.2.6 เพศ
1.2.7 กรรมพันธุ์
1.2.5 โรคภูมิแพ้หรือโรคเรื้อรัง
1.2.8 อายุ
1.2.4 ความร้อนหรือเย็น
1.2.9 การรักษาทางการแพทย์บางชนิด
1.2.3 ความอ่อนเพลีย
1.2.10 อาชีพ
1.2.2 ภาวะโภชนาการ
1.2.1 ความเครียด (Stress)
1.3 การติดเชื้อในโรงพยาบาล
1.3.1 องค์ประกอบของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
2)คน ผู้ที่ติดเชื้อในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย แต่อาจจะเป็นบุคลากรในโรงพยาบาลได้ ความแข็งแรงหรือภูมิต้านทานโรคเป็นปัจจัยสําคัญ
3)สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมผู้ป่วยในโรงพยาบาลครอบคลุมถึง อาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ บุคลากรในโรงพยาบาล และญาติที่มาเยี่ยม
1)เชื้อโรค ส่วนใหญ่เป็นเชื้อประจําถิ่น หรือเชื้อที่พบบนร่างกายผู้ป่วยเอง
1.3.2 การแพร่กระจายเชื้อ
3)การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (Airborne transmission)
4)การแพร่กระจายเชื้อโดยการผ่านสื่่อนํา(Vehicle transmission)
2)การแพร่กระจายเชื้อโดยฝอยละออง(Droplet spread)
5)การแพร่กระจายเชื้อโดยสัตว์พาหนะ (Vector-Borne transmission)
1)การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส
(1)การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสโดยตรง
(2)การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสโดยอ้อม