Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติเวชและนิติจิตเวช, นางสาวณัฐนรี ธีรวันอุชุกร…
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติเวชและนิติจิตเวช
การวินิจฉัยและขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัย
ทางนิติจิตเวช
การวินิจฉัย
การตรวจทางจิตเวชต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ โดยได้ข้อมูลจากทีมนิติจิตเวช
พิจารณาวัตถุประสงค์ว่าผู้ป่วยมาเพื่อต้องการทราบอะไร
การรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วนเกี่ยวกับคดีเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางจิต
ขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัย
1พิจารณาวัตถุประสงค์
ต้องการความกระจ่าง
ดูตามใบส่งตัว
2การตรวจทางจิตเวช
ต้องรีบทำอย่างละเอียด
โดยการตรวจสภาพจิต
ตรวจทางระบบประสาท
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าดูพฤติกรรม
ทดสอบทางจิตวิทยา
3การรวบรวมข้อมูล
แบ่งเป็น 2 ส่วน
เกี่ยวกับคดี
ถามข้อมูลจากคนใกล้ชิด
ถามพฤติกรรมขณะมีคดี จากตำรวจ ราชการ
เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางจิต
การตรวจรักษา
เอกสารทางการเเพทย์อื่นๆ
4วิเคราะห์ วินิจฉัย โดยการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด
5สรุปผลการวินิจฉัย
clinical diagnosis เพื่อการรักษาการพยากรณ์โรค
legal diagnosis
ขณะตรวจ วิกลจริต และสามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่
ขณะประกอบคดี สามารถรู้ผิดชอบ หรือบังคับตนเองได้หรือไม่
ความเห็นหรือข้อเสนอแนะ เช่น ภาวะอันตราย
6การเตรียมตัวให้ปากคำต่อศาล
3กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติเวช และนิติจิตเวช
กฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของบุคคลวิกลจริต
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65
ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
แต่ถ้ากระทพความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
การพิจารณาความผิดอาญา
ไม่สามารถรู้ผิดชอบหมายถึงขณะประกอบคดีผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่รู้ว่าการกระทำของตนถูกหรือผิดดีหรือชั่วควรหรือไม่ควร
ไม่สามารถบังคับตนเองได้ หมายถึง ขณะประกอบคดี ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถห้ามจิตใจ มิให้ร่างกายทำการนั้นได้ อันเกิดจากโรคจิต จิตบกพร่อง หรือจิตฟั่นเฟือน
ความสามารถในการต่อสู้คดี หรือวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายมาตรา 14
ถ้าผู้ต้องหาวิกลจริตใก้แพทย์ตรวจ ให้แพทย์มาให้ปากคำ
ผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีให้งดการสอบสวนไต่สวนมูลฟ้อง แล้วรอหาย
พิจารณาความสามารถในการต่อสู้คดี
รู้ว่าตนเองต้องคดีอะไร
รู้ถึงความหนักเบาของโทษที่จะได้รับ
สามารถเล่ารายละเอียดของคดีได้
สามารถเข้าใจขั้นตอนการดำเนินคดี
สามารถให้ปากคำต่อกระบวนการยุติธรรมได้
สามารถร่วมมือกับทนายในการปกป้องสิทธิตนเองได้
วิธีการเพื่อความปลอดภัย
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48
ถ้าศาลเห็นว่าการปล่อยตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับการลดโทษตามมาตรา 65
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 49
ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษ มีความผิด แต่รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษบุคคลใด ถ้าศาลเห็นว่าเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ศาลจะกำหนดในคำพิพากษาว่า บุคคลนั้นจะต้องไม่เสพย์สุรายาเสพติดให้ภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี นับแต่วันพ้นโทษหรือวันปล่อยตัว เพราะรอ การกำหนดโทษหรือรอการลงโทษก็ได้
วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56
ถ้ามีการทำความผิด หรือจำคุกมาก่อนเป็นโทษที่ประมาทเป็นลหุโทษ
เมื่อศาลพิจารณา แล้วยุในขณะรอกำหนดโทษ รอลงโทษแล้วปล่อยตัวจะต้องกลับตัวตามระยะเวลาที่กำหนด
เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว
แนะนำ ช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควร
ให้ฝึกหัดหรือทางานอาชีพอันเป็นกิจลักษณะ
ให้ละเว้นการคบหาสมาคม
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 57
ถ้าผู้กระทำผิดไม่ทำตามเงื่อนไขคดีก่อนจะ+เข้ากับคดีหลัง
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58
ถ้าในเวลาผู้นั้นกระทำความผิดที่ไม่ใช่ลหุโทษ
จะสั่งลงโทษจำคุกสำหรับความผิดที่ศาลพิพากษา
ความรับผิดชอบในทางอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 66
ถ้าดื่มแล้วเกิดจากความมึนเมา ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นทำให้เมา หรือถูกขืนใจ แล้วบังคับตนเองไม่ได้ จะยกโทษความผิดนั้น
ถ้าบังคับได้บ้าง จะลงโทษน้อยกว่ากฎหมายที่กำหนดไว้
ความหมายเกี่ยวกับผู้ดูแล
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 373
ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตนั้น อาจเที่ยวตามลาพังต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 246
ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อน
เมื่อจำเลยวิกลจริต
เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก
ถ้าจำเลยมีครรภ์แต่เจ็ดเดือนขึ้นไป
ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงเดือนในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้น แล้วแต่พิจารณา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 248
ถ้าวิกลจริตก่อนโทษประหารจะรอให้หายก่อน
ถ้าหายภายใน 1 ปี ให้ลดโทษจากประหารเหลือ จำคุกตลอดชีวิต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ป.พ.พ. มาตรา 29
บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าภริยาสามีก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูกหลาน เหลน ลื้อก็ดี ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลแล้วศาลจะสั่งให้บุคคลผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ คำสั่งอันนี้ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา
ป.พ.พ. มาตรา 30
บุคคลผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ท่านว่าต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล
ป.พ.พ. มาตรา 31
การใด ๆ อันบุคคลผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้ทำลงไปการนั้นท่านว่าเป็นโมฆียะ
ป.พ.พ. มาตรา 32
การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตได้ทำลง แต่หากบุคคลนั้นศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถไซร้ ท่านว่าการนั้นจะเป็นโมฆียะ ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าได้ทำลงในเวลาซึ่งบุคคลนั้นวิกลจริตอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้ทำเป็นคนวิกลจริต
ป.พ.พ. มาตรา 430
ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จาต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ระมัดระวังตามสมควร
ป.พ.พ. มาตรา 429
บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลที่ตนละเมิดบิดา มารดา หรือผู้อนุบาลเช่นว่านี้ ย่อมต้องรับผิดชอบร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร แก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
กระบวนการเกี่ยวกับนิติจิตเวช
ถูกจับดำเนินคดี
ปล่อยตัวถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้กระทำความคิด
มีหลักฐานว่ากระดำความผิด
งดสอบสวนหรือพิจารณาคดี
ตรวจวินิจตาม มาตรา 14
รักษาตามขั้นตอน
อาการทางจิตทุเลา
อาการทางจิตไม่ทุเลา
แจ้งผลการรักษาเป็นระยะ
อาการทางจิตทุเลา
ส่งกลับผู้นำส่งกระบวนการยุติธรรม
ลดโทษ/ปล่อยตัว (ตามมาตรา 65)/ ส่งกลับมารักษาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48
บทบาทของพยาบาลกับงานนิติจิตเวช
บทบาทของพยาบาลกับงานนิติจิตเวช
สังเกต และบันทึกอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด
เก็บข้อมูลของผู้ป่วยเป็นความลับ เว้นแต่เรื่องทางกฎหมาย
บริษัทประกันร้องขอข้อมูลแล้วบอกแพทย์รวมข้อมูลส่งไปโดยเร็ว
แจ้งอาการก่อนเกิดอันตรายให้แพทย์ทราบ
บทบาทของพยาบาลกับการชันสูตรพลิกศพ
การตายโดยผิดธรรมชาติ ประกอบด้วย
การฆ่าตัวตาย
ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
ตายโดยอุบัติเหตุ
ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ
หลักการเขียนรายงานการชันสูตรพลิกศพ
เขียนรายงาน ณ ที่เกิดเหตุ การจดบันทึกเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศพ ความเห็นเกี่ยวกับศพ การดำเนินการเกี่ยวกับศพ
รายงานการผ่าศพชันสูตร ซึ่งเป็นตรวจสอบสภาพภายนอก / ภายในของศพนั้นๆ
การตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อดูพยาธิสภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูสารในร่างกาย
การลงความเห็นในเรื่องเหตุ และพฤติการณ์ที่ตาย
หลักการเขียนรายงานการชันสูตรบาดแผล
ข้อเท็จจริง จำนวน ชนิด ตำแหน่ง ขนาด สิ่งแปลกปลอมที่พบในแผล ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิธีการรักษาพยาบาล และความผิดปกติที่เป็นผลจากการบาดเจ็บ
หลักการเก็บรักษาวัตถุพยาน
แยกหีบห่อ การบรรจุซอง เขียนรายละเอียด
ป้องกันการปลอมแปลงเจือปน หรือเสื่อมสภาพ
ส่งมอบวัตถุพยานด้วยความระมัดระวัง รัดกุม มีบันทึกการส่งมอบและผู้รับผิดชอบ
รวบรวมวัตถุพยานหรือสิ่งที่สงสัยว่าเป็นวัตถุพยาน
การบันทึกอาการและอาการแสดง
บันทึกอย่างถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง กระชับ ชัดเจน ใช้การขีดฆ่าและเขียนชื่อกำกับแทนการลบ
ต้องมีการสังเกตและบันทึกอาการ อาการแสดงเป็นระยะๆ
ในการบันทึกต้องระมัดระวังการใช้ภาษา อย่าใช้อารมณ์ในการเขียน
ควรเขียนให้สื่อความหมายในแง่การรักษาและกรณีที่เป็นพยานเอกสาร
คิดเสมอว่าอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นเอกสารลับ ผู้ป่วยขอดูได้ ไม่ควรเปิดเผยเอกสารนี้กับผู้อื่น ยกเว้นแพทย์ หรือในกรณีที่ต้องที่ต้องมีการเปิดเผยตามข้อกำหนดของศาล
ความหมายและความสำคัญของนิติเวชและนิติจิตเวช
จิตเวช หมายถึง ความเจ็บป่วยทางจิต ความผิดปกติของอารมณ์และบุคลิกภาพ
นิติเวช หมายถึง การนำหลักทางการแพทย์ประยุกต์ใช้ เพื่อคลี่คลายข้อพิพาทและพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ
นิติจิตเวช หมายถึง การนำหลักจิตเวชประยุกต์เพื่อประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรมและความสงบของสังคม
นางสาวณัฐนรี ธีรวันอุชุกร รุ่น 36/1 รหัสนักศึกษา 612001039 เลขที่ 38