Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด
มารดาหลังคลอดที่มีภาวะจิตแปรปรวน
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue)
มารดาจะมีอารมณ์แปรปรวนง่าย มักเกิดอาการในวันที่ 3-4 หลังคลอด
มีอาการร้องไห้ง่ายไม่มีเหตุผล
การพยาบาล
การประคับประคองทางร่างกายและจิตใจ
การให้คำอธิบายกลไกการเกิดอาการ
การช่วยเหลือตนเอง
การช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะมีความรู้สึกรุนแรงกว่าอารมณ์เศร้า พฤติกรรมที่แสดงออกจะเปลี่ยนไปจากเดิมมาก
อาการและอาการแสดง
มีอารมณ์และความรู้สึก ท้อแท้ สิ้นหวัง มองโลก ในแง่ร้าย หดหู่
หม่นหมอง วิตกกังวล รู้สึกไร้ค่าไม่มีความหมาย
มีอาการแสดงออกทางด้านร่างกาย
ซึมเศร้าอย่างรุนแรง ร้องไห้ถี่ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิ ไม่สนใจตนเอง ไม่มีความรู้สึกทางเพศ ควบคุมตนเองไม่ได้
การรักษา
โดยการให้ยา เช่น Isocarboxazind ( Marplan ) , Phenelzine ( Nardil ) , Amitriptyline ( Tryptanol , Saroten) เป็นต้น
การรักษาทางจิต แบบรายบุคคล หรือรายกลุ่ม
การใช้กลุ่มช่วยในการรักษา หรือให้คู่สมรสบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วม
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้เรียนรู้เกี่ยวกับการลดภาวะเครียด
สนับสนุนและสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้แก่หญิงหลังคลอด
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
เป็นปัญหาทางจิตที่เกิดขึ้นในระยะหลังคลอด ส่วนใหญ่เป็นอาการรุนแรงต่อเนื่อง มาจากภาวะ
อารมณ์เศร้า และภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ที่ให้การดูแลรักษาล่าช้าเกินไป
อาการและอาการแสดง
มีอาการรุนแรงทันที
รู้สึกยุ่งยากใจ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สับสน ไม่มีเหตุผล สมาธิสั้น ความจำเสีย ตัดสินใจไม่ได้ หลงผิด และ หวาดระแวง ประสาทหลอน
การรักษา
การรักษาทางกาย ได้แก่ การให้ยา antipsychotics และยา sedative , การช็อคไฟฟ้า
การรักษาทางจิต ได้แก่ การทำจิตบำบัด
การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การให้มีการสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะสามีและญาติช่วยในการดูแลแบ่งเบาภาระ
Thrombophlebitis
ความหมาย
การอักเสบของเยื่อบุหลอดเลือดพร้อมกับมีลิ่มเลือดมาจับบริเวณที่หลอดเลือดอักเสบแล้วเกิดการอุดตันของหลอดเลือดบางส่วน ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดที่มีออกซิเจนน้อยกลับคืนสู่หัวใจได้ไม่ดี
ปัจจัยเสี่ยง
ประวัติเคยมีการอักเสบของหลอดเลือดดำมาก่อน
เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
มารดาคลอดยากเบ่งคลอดนานโดยขึ้นขาหยั่ง (lithotomy)
อาการและอาการแสดง
แบ่งตามชนิดของหลอดเลือดดำที่เกิดการอักเสบ
กรณีที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำบริเวณส่วนผิว (superficial venous thrombosis) ปวดน่องเล็กน้อย บวม แดงร้อน หลอดเลือดดำที่ขาแข็ง
รณีที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำส่วนลึก (deep venous thrombosis) มีไข้ต่ำๆ ผิวหนังร้อน
แบ่งตามตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดหลอดเลือดดำอักเสบ
เกิดขึ้นประมาณ 10 วันหลังคลอด มีไข้ หนาวสั่น ไม่สุขสบาย ปวดเมื่อยร่างกาย มักจะมีอาการปวด บวมที่ขา
กรณีที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำที่อุ้งเชิงกราน (pelvic thrombophlebitis)เกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอด
การรักษา
ให้ยาต้านการจับตัวเป็นลิ่มเลือด (anticoagulant therapy) ส่วนมากมักให้ heparin ทางหลอดเลือดดำ
ยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้อได้กว้าง
การผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรง ไม่ตอบสนองจากการรักษาด้วยยา แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก
ยาบรรเทาปวด ในรายที่ปวดมากอาจให้ยาระงับปวด
ก้อนเลือดคั่งที่ฝีเย็บ (Hematoma)
สาเหตุ
• การเย็บไม่ถึงก้นแผล
• การแตกของ เส้นเลือดดำขอด (varicose vein)
• มีรายงานเกิดจากการแตกของหลอดเลือดโป่งพอง (aneurysm) บริเวณ hypogastric artery
อาการและอาการแสดง
ปวดบริเวณทีมีก้อนเลือดคั่งชัดเจน
• รู้สึกปวดถ่วงในช่องคลอด
• อาจจะมีปัญหาปัสสาวะ หรือ อุจจาระล าบาก
การรักษา
• ถ้าขนาดของก้อนเลือดคั่งไม่ใหญ่ จะรักษาตามอาการและใช้น้ำแข็งกดทับ ให้ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ
• ใส่สายสวนปัสสาวะไว้ถ้าผู้ป่วยปัสสาวะเองไม่ได้
• รักษาโดยวิธีผ่าตัดเข้าไปเอาก้อนเลือดคั่งออก
Postpartum Hemorrhage (PPH)
หมายถึง
การสูญเสียเลือดจากการคลอด
แบ่งเป็น 2 ระยะ
Early PPH (ภายใน 24 hr.)
สาเหตุ
Tone : การหดรัดตัวมดลูกไม่ดี
Tissue : มีสิ่งตกค้างในโพรงมดลูก
Trauma : การฉีดขาดของช่องทางคลอด
Thrombin : การเเข็งตัวของเลือดผิดปกติ
Late PPH (หลัง 24 hr. จนถึง 6 wk)
สาเหตุ
เนื้องอก/ไข่ปลาอุก
ติดเชื้อในโพรงมดลูก
เศษรก/เยื่อหุ้ม รกค้าง
มดลูกเข้า อู่ช้า
เลือดออกจากแผลช่องคลอด
อาการ/อาการแสดง
มีเลือดออกทางช่องคลอด
ติดเชื้อ
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
กลุ่มอาการ Sheehan's syndrome
ผลกระทบต่อมารดา
ภาวะโลหิตจาง
ภูมิต้านทานต่ำ
ภาวะ Hypovolemia
ไตล้มเหลว
การรักษา
กรณีรกไม่ลอกตัว
ล้วงรก
เย็บซ่อมแผลที่มดลูก
กรณีรกคลอดแล้วมดลูกหดตัวไม่ดี
นวดคลึงมดลูก
ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวมดลูก
สวนปัสสาวะ
ตัดมดลูก