Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การประเมินสัญญาณชีพ, pulse-logo (1), Omron-Digital-Thermometer-MC…
บทที่ 2
การประเมินสัญญาณชีพ
2.1 สัญญาณชีพ
2.1.1 ความหมายของสัญญาณชีพ
เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบถึงการมีชีวิต สามารถสังเกตและตรวจพบได้จาก อุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต
2.1.2 ข้อบ่งชี้ในการวัดสัญญาณชีพ
1) เมื่อแรกรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล
2) วัดตามระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติของโรงพยาบาลหรือตามแผนการรักษาของแพทย์
3) ก่อนและหลังการผ่าตัด
4) ก่อนและหลังการตรวจวินิจฉัยโรคที่ต้องใส่เครื่องมือตรวจเข้าไปภายในร่างกาย
5) ก่อนและหลังให้ยาบางชนิดที่มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด การหายใจ และการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
6) เมื่อสภาวะทั่วไปของร่างกายผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความรู้สึกตัวลดลง
7) ก่อนและหลังการให้การพยาบาลที่มีผลต่อสัญญาณชีพเช่น ก่อนให้ผู้ป่วยที่เดิม Bed rest มีการ ambulate
2.1.3 ค่าปกติของสัญญาณชีพ
อุณหภูมิ = 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
ชีพจร = 60-100 ครั้ง/นาท
หายใจ = 12-20 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต Systolic = 90-140 mmHg
Diastolic = 60-90 mmHg
2.2 อุณหภูมิของร่างกาย
อุณหภูมิของร่างกาย เป็นระดับความร้อนของร่างกาย ซึ่งเกิดจากความสมดุลของการสร้าง ความร้อนของร่างกายและการสูญเสียความร้อนจากร่างกายไปยังสิ่งแวดล้อม
มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส(°C) หรือองศาฟาเรนไฮต์ (° F)
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
อุณหภูมิส่วนแกนกลาง เช่น ศีรษะ ทรวงอก
อุณหภูมิผิวนอกเช่น แขน ขา อุณหภูมิผิวนอกนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามสิ่งแวดล้อม
2.2.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความร้อน และการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
1) กลไกของร่างกาย
(1) การนำความร้อน
การระบายความร้อนโดยอาศัยสื่อร่างกายต้องสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่เย็นกว่าซึ่งอาจจะเป็นอากาศรอบตัวหรือวัตถุ
การดื่มน้ำขณะมีไข้
(2) การพาความร้อน
การระบายความร้อนโดยอาศัยตัวกลาง
การเช็ดตัวขณะมีไข้
(3) การแผ่รังสี
การส่งผ่านความร้อนในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การยืนผิงไฟ
(4) การระเหยเป็นไอ
การระบายความร้อนออกมาโดยการระเหยจากพื้นผิวของร่างกาย
2) กลไกของการเกิดพฤติกรรม
การถอดเสื้อผ้า
การลดกิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มพื้นที่ผิวให้สามารถระบายความร้อน
เคลื่อนย้ายไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็น
2.2.2 ปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิของร่างกาย
1) ความผันแปรในรอบวัน
อุณหภูมิร่างกายปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน
2) อายุ
เด็กทารกแรกเกิดจะไม่คงที่ ผู้สูงอายุเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และไขมันมีน้อย และมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทำให้เสี่ยงต่อภาวะ Hypothermia ได้ง่าย
3) การออกกำลังกาย
ความร้อนจะถูกผลิตออกมาจากการหดตัว และการคลายตัวของกล้ามเนื้อ
4) อารมณ์
ผู้ที่มีความเครียดเพิ่มการหลั่ง Epinephrine และ Nor-epinephrine
5) ฮอร์โมน
เพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายมากกว่าเพศชาย
6) สิ่งแวดล้อม
สามารถเพิ่มหรือลดอุณหภูมิของร่างกายได้ ถ้าร่างกายสัมผัสอุณหภูมิแวดล้อมที่เย็น หรือร้อนเป็นเวลานานๆ
7) ภาวะโภชนาการ
คนผอมมากจะมีเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
และไขมันน้อย ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายต่ำได้
8) การติดเชื้อในร่างกาย
เช่น แบคทีเรีย เป็นต้น ร่างกายจะผลิตทอกซินและกระตุ้นให้ปล่อยสารไพโรเจนออกมา
2.2.3 การประเมินอุณหภูมิของร่างกาย
1) การวัดอุณหภูมิทางปาก (Oral temperature) เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด
เรียกว่า ปรอทวัดไข้ชนิดอมในปาก มีทั้งชนิดเป็นแท่งแก้วบรรจุปรอท
2) การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ (Axillary temperature)
เช่น ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เป็นต้น
3) การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก (Rectal temperature)
วัด Core temperature ได้ค่าเที่ยงที่สุดทางหนึ่ง มักจะใช้วัดในเด็กเล็กที่ไม่สามารถอมปรอทได้
4) Electronic temperature
(1) การวัดทางหู เป็นวัดอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย
(2) การวัดทางผิวหนัง เช่น หน้าผาก หลังใบหู ซอกคอ เป็นต้น
การประเมินอุณหภูมิของร่างกาย
(1) เทอร์โมมิเตอร์
(2) ถาดพร้อมแก้วที่บรรจุปรอท น้ำสบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ
(3) วาสลินสำหรับหล่อลื่น
(4) นาฬิกาที่มีเข็มวินาท
(5) ภาชนะใส่สำลีและกระดาษชำระที่สะอาด
(6) ชามรูปไต
(7) ปากกาน้ำเงินและแดง
(8) กระดาษบันทึก
วิธีการประเมินอุณหภูมิของร่างกาย
(1) ล้างมือให้สะอาด
(2) บอกให้ผู้ป่วยทราบ
(3) ตรวจสอบการทำงานของปรอท
(4) จัดท่าของผู้ป่วย ทางปากและรักแร้ จัดให้นั่งหรือนอน
(5) วัดอุณหภูมิร่างกาย
ทางปาก ให้ผู้ป่วยอ้าปาก
ทางรักแร้ ปลดแขนเสื้อที่วัดออก
ทางทวารหนัก
ทางห
ทางผิวหนัง
(6) เอาเทอร์โมมิเตอร์ออก เช็ดด้วยกระดาษทิชชูจากบนลงปลายด้วยวิธีการหมุน
(7) อ่านค่าอุณหภูมิที่ได้
(8) บันทึกลงกระดาษที่เตรียมไว้
(9) นำอุปกรณ์ไปล้างให้สะอาดและเก็บเข้าที
ข้อควรระวังในการวัดอุณหภูมิของร่างกาย
(1) ไม่ควรวัดอุณหภูมิทางปากหลังจากดื่มน้ำเย็นหรือร้อน ให้รออย่างน้อย 15 นาที
(2) ห้ามนำเทอร์โมมิเตอร์ที่วัดทางปากไปวัดทางทวารหนัก
(3) เทอร์โมมิเตอร์ทางปากและทางทวารหนักให้แยกภาชนะใส่และแยกทำความสะอาด
(4) ถ้าใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดทางรักแร้ ต้องเช็ดรักแร้ให้แห้งเสียก่อน และหุบรักแร้ให้แน่น
(5) ถ้าใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดทางทวารหนัก ต้องทาวาสลินให้ลื่น
(6) สลัดเทอร์โมมิเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับ 35˚ C หรือ 95˚ F ก่อนวัดทุกครั้ง
(7) เช็ดเทอร์โมมิเตอร์ด้วยสำลี
(8) ห้ามนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวางไว้นอกภาชนะที่ใส่เทอร์โมมิเตอร
(9) ถ้าอุณหภูมิที่วัดได้สูงหรือต่ำกว่าปกติมาก ให้วัดซ้ำ ถ้าผิดปกติรายงานให้หัวหน้าเวร
(10) ต้องบันทึกผลการวัดของผู้ป่วยแต่ละคนลงในสมุดบันทึกทันทีเพื่อป้องกันการลืม
2.2.4 ภาวะอุณหภูมิร่างกายผิดปกติและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดปกติ
1) อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ (Hyperthermia)
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
(1) ระยะเริ่มต้น หรือระยะหนาวสั่น
(2) ระยะไข้ เกิดขึ้นเมื่อกลไกการผลิตความร้อนของร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับใหม
(3) ระยะสิ้นสุดไข้ ี่จะลดอุณหภูมิภายในร่างกายไปสู่อุณหภูมิใหม่ ต่ำกว่าจุดที่กำหนดไว้
การลูบตัวลดไข้ มี 4 วิธี
(1) การลูบตัวด้วยน้ำธรรมดา ด้วยผ้าชุบน้ำให้เปียกหมาดๆ
(2) การลูบตัวด้วยน้ำเย็นจัดช่วยลดอุณหภูมิได้มากที่สุดในทันทีที่เช็ดตัวเสร็จ
(3) การลูบตัวด้วยน้ำอุ่นน้ำอุ่นซึ่งมีอุณหภูมิที่สูงกว่าจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและระเหยได
(4) การเช็ดตัวด้วยแอลกอฮอล์ ระเหยได้ง่ายสามารถพาความร้อนออกได้เร็ว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
(1) ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อน
(2) จัดสภาพแวดล้อมให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
(3) ดูแลเช็ดตัวลดไข้
(4) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษาของแพท
(5) วัดอุณหภูมิร่างกายภายหลังการเช็ดตัว
(6) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อทำลายเชื้อจุลชีพ
(7) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
(8) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความอบอุ่นในระยะที่มีอาการหนาวสั่น
(9) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตสูง อาหารอ่อนย่อยง่าย
(10) แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ ในรายที่ไม่มีข้อห้าม
(11) บันทึกปริมาณน้ำเข้า-น้ำออก (I/O)
(12) ดูแลช่องปากให้เยื่อบุชุ่มชื้นทำความสะอาดช่องปากบ่อย ๆ
(13) เตรียมเสื้อผ้าแห้งให้ผู้ป่วยใส่เพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดี
(14) ติดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกาย
2) อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ (Hypothermia)
ภาวะที่อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายต่ำกว่าอุณหภูมิปกติ คือต่ำกว่า 36 °C (97° F)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
(1) จัดสิ่งแวดล้อมให้อบอุ่น
2) เพิ่มความหนาของผ้าห่ม
(3) วางกระเป๋าน้ำร้อน
(4) คลุมหรือโพกศีรษะด้วยผ้าขนหนูผืนใหญ
(5) ให้ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอุ่นๆ
(6) ถูและนวดผิวหนัง
(7) ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจใช้การโอบกอด
(8) ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย โดยการอยู่กับผู้ป่วย
(9) สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
2.3 ชีพจร
ความหมาย
การหดและขยายตัวของผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย
ถ้าใช้นิ้วมือกดเส้นเลือดไว้ จะรู้สึกเส้นเลือดมีการเต้นเป็นจังหวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเต้นของชีพจร
1) อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นอัตราการเต้นของชีพจรจะลดลง
2) เพศ หญิงจะเร็วกว่าชายเล็กน้อย
3) การออกกำลังกาย
4) ภาวะไข้
5) ยาบางชนิด ลดอัตราการเต้นของชีพจร
6) อารมณ์
7) ท่าทาง
8) ภาวะเสียเลือด
2.3.2 การประเมินชีพจร
1) Temporal pulse
จับที่เหนือและข้าง ๆ ตา
2) Carotid pulse อยู่ด้านข้างของคอ
3) Brachial pulse
คลำได้ที่บริเวณข้อพับแขนด้านใน
4) Radial pulse
อยู่ที่ข้อมือด้านในบริเวณกระดูกปลายแขน
5) Femoral pulse
อยู่บริเวณขาหนีบตรงกลาง ๆ
6) Popliteal pulse
อยู่บริเวณตรงกลางข้อพับเข่า
7) Dorsalis pedis pulse อยู่บริเวณกลางหลังเท้าระหว่างนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วช
8) Apical pulse อยู่ที่ยอดของหัวใจ
9) Posterior tibial pulse
อยู่บริเวณหลังปุ่มกระดูกข้อเท้าด้านใน
2.3.3 ลักษณะชีพจรที่ผิดปกติ
1) อัตรา (Rate)
(1) ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่มากกว่า 100 ครั้ง/นาที
Tachycardia
(2) ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที
Bradycardia
2) จังหวะ (Rhythm)
(1) จังหวะของชีพจรปกติ จะมีช่วงพักระหว่างจังหวะเท่ากัน
Pulse regularis
(2) จังหวะของชีพจรผิดปกติ ชีพจรที่เต้นไม่เป็นจังหวะแต่ละช่วงพักไม่สม่ำเสมอ
Arrhythmia
3) ปริมาตรความแรง (Volume)
ระดับ 0 ไม่มีชีพจร คลำชีพจรไม่ได้
ระดับ 1 Thready มีลักษณะชีพจรแผ่วเบา
ระดับ 2 Weak ชีพจรแรงกว่าระดับ 1 ค่อนข้างเบา
ระดับ 3 Regular ลักษณะชีพจรเต้นจังหวะสม่ำเสมอ
ระดับ 4 Bounding pulse ลักษณะชีพจรเต้นแรง
2.4 การหายใจ
ความหมาย
(1) การสูดเอาอากาศเข้าไปในถุงลมของปอด เรียกว่าการหายใจเข้า
(2) การไล่อากาศออกจากปอด เรียกว่าการหายใจออก
2) การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในเลือด กับเซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย
ปัจจัยที่มีผลต่อการหายใจ
การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์
สภาวะแวดล้อม
การประเมินการหายใจ
1) อุปกรณ์
(1) นาฬิกาที่มีเข็มวินาที
(2) ปากกา
(3) กระดาษ
2) วิธีการปฏิบัติ
(1) ล้างมือให้สะอาด
(2) บอกให้ผู้ป่วยทราบและขออนุญาตจับต้องตัวผู้ป่วย
(3) เริ่มนับการหายใจหลังจากการนับชีพจรเสร็จแล้วโดยพยาบาลยังคงจับข้อมือผู้ป่วยไว้เสมือนว่ากำลังนับชีพจร
(4) นับอัตราการหายใจ สังเกตความลึก จังหวะ และลักษณะการหายใจ
(5) ประเมินการหายใจเต็ม 1 นาที
(6) บันทึกลงกระดาษที่เตรียมไว้
(7) ล้างมือให้สะอาด
ลักษณะการหายใจที่ผิดปกติ
1) อัตราเร็วของการหายใจ
(1) Tachypnea อัตราการหายใจในผู้ใหญ่ มากกว่า 24 ครั้ง/นาที
(2) Bradypnea อัตราการหายใจในผู้ใหญ่ น้อยกว่า 10 ครั้ง/นาที
(3) Apnea การหยุดหายใจ
2) ความลึกของการหายใจ
(1) Hypoventilation เป็นการหายใจช้าและตื้น
(2) Hyperventilation เป็นการหายใจเร็วและลึก
3) จังหวะของการหายใจ
(1) Cheyne stokes เป็นการหายใจเป็นช่วง ๆ ไม่สม่ำเสมอ
(2) Biot เป็นการหายใจปกติสลับกับการหายใจเร็วลึก
4) ลักษณะของการหายใจผิดปกติ
(1) Dyspnea เป็นอาการหายใจลำบาก
(2) Orthopnea เป็นอาการหายใจลำบากในท่านอนราบ
(3) Paroxysmal nocturnal dyspnea เป็นอาการหายใจลำบากในตอนกลางคืน
(4) Paroxysmal dyspnea เป็นอาการหอบอย่างรุนแรง ต้องลุกนั่ง
(5) Air hunger เป็นการพยายามหายใจโดยใช้ทั้งทางจมูก และปากอย่างรุนแรง
5) ลักษณะเสียงหายใจที่ผิดปกติ
(1) Stridor เสียงฟืด
(2) Wheeze เป็นเสียงวี๊ดได้ยินขณะหายใจออก
2.5 ความดันโลหิต
ความหมาย
แรงดันของเลือดที่ไปกระทบกับผนังเส้นเลือดแดง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท
ความแตกต่างระหว่าง Systolic pressure กับ Diastolic pressure เรียกว่า Pulse pressure
การประเมินความดันโลหิต
1) การวัดความดันโลหิตโดยทางตรง
ใส่สายสวนเข้าไปใน Superior vena cava
2) การวัดความดันโลหิตโดยทางอ้อม
วิธีการฟัง
วิธีการคลำ
ขั้นตอนในการวัดความดัน
โลหิตทางอ้อม
(1) แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าจะวัดความดันโลหิตที่บริเวณใด
(2) จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย
(3) วางเครื่องวัดให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจของผู้ป่วย
(4) ไล่ลมออกจากผ้าพันแขนให้หมด
(5) คลำชีพจรที่ข้อพับแขนด้านใน
(6) พันผ้าพันรอบแขนเหนือข้อพับขึ้นไป 1 นิ้ว
(7) เหน็บปลายผ้าให้เรียบร้อย
(8) ใส่หูฟังและวางแป้นของหูฟังตรงตำแหน่งชีพจรที่คลำได้
(9) บีบลูกยางด้วยอุ้งมือให้ลมเข้าไปในผ้าพันแขน
(10) ค่อย ๆ คลายเกลียวลูกยางปล่อยลมออกจากผ้าพันแขน
(11) ค่อย ๆ ปล่อยลมออกจากลูกยางช้า ๆ สังเกตเสียงที่ดังเป็นระยะ ๆ
(12) เมื่อวัดเสร็จแล้วปล่อยลมออกจากผ้าพันแขนให้หมด
3) ทำความสะอาดหูฟังและแป้นของหูฟังด้วยสำลีชุบด้วย 70 % แอลกอฮอล์
(14) ล้างมือให้สะอาดป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
(15) บันทึกผลเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการดูแล
ลักษณะความดันโลหิตที่ผิดปกติ
1) Hypertension หมายถึง ความดันโลหิตสูง โดย Systolic สูงกว่า 140 mmHg และ
Diastolic สูงกว่า 90 mmHg
มีอาการปวดศีรษะ บริเวณท้ายทอย ตาพร่า หรือมองไม่เห็น
พยายามรักษาระดับความ
ดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติ
จำกัดเกลือ
จำกัดอาหารพวกแป้ง ไขมัน น้ำตาล
พักผ่อนให้เพียงพอ
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
2) Hypotension หมายถึง ความดันโลหิตต่ำ Systolic ต่ำกว่า90mmHgและDiastolic ต่ำกว่า 60 mmHg
มีอาการ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หน้าซีด
จัดให้ผู้ป่วยนอนพัก
ควรมีการตรวจสัญญาณชีพ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3) Orthostatic hypotension หมายถึง ความดันโลหิตตกในท่ายืน การเปลี่ยนจากท่านอนราบเป็นท่ายืนทันที
ทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงทันที เกิดจากหลอดเลือดส่วนปลายขยาย แต่ไม่มีกลไกการปรับตัวเพิ่มขึ้นของจำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจ
ค่อย ๆ ลุกนั่งและ ยืนช้า ๆ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2.6 กระบวนการพยาบาลในการประเมินสัญญาณชีพ
2.6.1 การประเมินสภาพ
1) ซักประวัติการสัมผัสเชื้อ ระยะเวลา การรักษาก่อนมาโรงพยาบาล
2) ตรวจร่างกาย และประเมินสัญญาณชีพ
3) จากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.6.2 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1) ไม่สุขสบายเนื่องจากอุณหภูมิร่างกายสูง
2) มีภาวะติดเชื้อในร่างกาย
2.6.3 การวางแผนการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยมีอุณหภูมิร่างกายปกติ ป้องกันอาการชักจากภาวะไข้สูง
และให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
2.6.4 การปฏิบัติการพยาบาล
1) ประเมินสัญญาณชีพ
2) เช็ดตัวลดไข้โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น
3) ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
4) จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ
5) ให้ยา Paracetmol ลดไข้
6) ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.6.5 การประเมินผลสัญญาณชีพ
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน