Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒ - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒
มาตรา ๒ ในพระราชบัญญัตินี้
เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าหกปีบริบูรณ์ และให้หมายความรวมถึงเด็กซึ่งต้องได้รับการพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา
การพัฒนาเด็กปฐมวัย หมายความว่า การดูแล การพัฒนา และการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
ผู้ดูแลปฐมวัย หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ซึ่งเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย หมายถึง ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนยืบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการหรือเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ รวมทั้งโรงเรียน ศูนย์การเรียน หน่วยการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชน
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจในการจัดทำนโยบายยุทศาสตร์และแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบ
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มารดาได้รับการดูแลในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อให้บุตรที่อยู่ในครรภ์มีสุขภาวะและพัฒนาการที่ดี
(๒) ให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับคุ้มครองให้พ้นจากล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด
(๓) ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
(๔) สร้างคุณลักษณะให้เด็กปฐมวัยมีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิด สร้างสรรค์และสามารถซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(๕) บ่มเพาะเจตคติของเด็กปฐมวัยให้เคารพคุณค่าของบุคคลอื่น มีจิตวิญญาณของการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเสมอภาค
(๖) ให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๖ ให้หน่วบงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง มีภารกิจร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งส่งเสริมให้ดูแลในความดูแลได้รับการพัฒนามาตรฐานและแนวปฎิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๗ บิดา มารดา และผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้เด็กปฐมวัยซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการพัฒนาตามแนวปฎิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๘ การจัดการเรียนรู้ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องเป็นไปเพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย แต่ต้องไม่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสอบแข่งขันระหว่าเด็กปฐมวัย
หมวด ๒ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด้กปฐมวัย
มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกสมาคมสันนิบาดแห่งประเทศไทย นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมองค์บริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนแปดคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาพิเศษ ด้านการสาธารรสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ และด้านสื่อมวลชน ด้านละหนึ่งคน และด้านการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจำนวนสองคน
มาตรา ๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙(๓) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๑๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๕(๓) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๕) นายกรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตร ๙๐
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๔) ขาดการประชุมคณะกรรมการสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
มาตรา ๑๓ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙(๓) พ้นจากตำแหน่งก่อวาระ ให้ดำเนิการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
มาตรา ๑๔ คณะกรมมการมีหน้าที่และอำนาจดังนี้
(๑) จัดทำนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฎิรูปประเทศ
(๒) อนุมัติแผนงบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปีแบบบูรณาการของหน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๓) เสนอนโยบายและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษา
(๔) เสนอให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่จำเป็นเพื่อดำเนินการตามนโยบายระดับชาติ ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) บูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยของหน่วยงานรัฐ องคืกรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้เป้นไปตามนโยบายระดับชาติด้านการพํฒนาเด็กปฐมวัย
(๖) กำหนดมาตรฐานและแนวปฎิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๗) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเด็กปฐมวัยเข้าศึกษาในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษา
(๘) กำหนดสมรรถนะและตัวชี้วัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๙) ติดตามและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๑๐) ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑๑) ส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและครูอาจารย์สามารถดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพตามหลักการและปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๖ ในการปฎิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกกมการมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะอนุกรรมการ เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
มาตรา ๑๗ ให้มีคณะอนุกรรมการบูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งมีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะให้ความเห็นชอบต่อคณะกรรมการในเรื่องต่อไปนี้
(๑) จัดทำแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(๒) กำหนดแนวทางบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
(๓ป จัดทำแผนงบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปีแบบูรณาการของหน่วยงานรัฐและองคืกรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๔) กำหนดแนวทางการติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) จัดทำมาตรฐานและแนวปฎิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๖) จัดทำสมรรถนะและตัวชี้วัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๗) ปฎิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๘ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม งานวิชาการ การศึกษาข้อมูลและกิจการต่างๆที่เกี่ยวกับงานคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
มาตรา ๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๕(๓) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
(๓) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นโทษที่กระทำความผิดโดยประมาทหรืความผิดลหุโทษ
(๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง
(๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐและเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่
หมวดที่ ๓ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการเสนอแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
มาตรา ๒๐ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรา ๑๔ ต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา การใช้บังคับแผน การบริหารและการพัฒนาเด็กปฐมวัย วิธีปฎิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระยะเวลาในการดำเนินการให้ชัดเจน และอย่างน้อยต้องมีแนวทางการดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
(๑) แผนงานและโครงการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการการใช้งบประมาณด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๒) การบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
(๓) การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพ
(๔) การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมในครอบครัวและชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) การจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความสามารถ ศักยภาพ และคุณธรรม
(๖) การจัดทำฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๑ เมื่อใดมีการประกาศแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย จัดทำแผนปฎิบัติการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยและปฎิบัติการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการติดตามให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ปฎิบัติการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือภาคเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
หมวดที่ ๔ การพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๓ ในการผลิตครูหรือพัฒนาครูด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยในสถาบันอุดมศึกษา จัดให้มีการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักการและปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๔ สถานพยาบาลของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชนที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขแก่หญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มีการบริการสุขภาพแก่ มารดาและบุตรอย่างทั่วถึง
มาตรา ๒๕ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัยต้องจัดให้มีการอบรม เลี้ยงดู เพิ่มพูนประสบการณ์ ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้มีการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมในช่วงรอยต่อตั้งแต่ก่อนระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๒๖ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชนที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ต้องจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย รวมทั้งติดตามดูแลปฐมวัยให้ได้รับสวัสดิการและบริการด้านการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง
มาตรา ๒๗ นอกจากการดำเนินการตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๒๖ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ใ้ห้บริการสาธารณสุข จัดการศึกษา และจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย ดังนี้
(๑) ให้ความรู้ ส่งเสริมทักษะ และสร้างเสริมเจตคติที่ดีแก่ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๒) จัดให้มีการคัดกรองที่เป็นระบบและได้มาตรฐานเพื่อค้นหาเด็กปฐมวัยที่พิการหรือมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญา หรือเด็กปฐมวัยไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาศ หรือเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการการพัฒนาเป็นพิเศษอย่างทันท่วงที และจัดให้เด็กปฐมวัยเหล่านี้เข้าถึงสิทธิและได้รับโอกาศในการพัฒนาที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ และบริการรวมทั้งความช่วยเหลืออื่นใดทางการพัฒนาและการศึกษาที่สอดคล้องเหมาะสมกับความจำเป็น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๘ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน อาจดำเนินการแบบบูรณาการโดยจัดให้มีบริการสาธารณสุข จัดการศึกษา หรือจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัยในหน่วยงานเดียวกันได้