Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด (ภาวะแปรปรวนทางจิตหลังคลอด…
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด (ภาวะแปรปรวนทางจิตหลังคลอด ostpartal psychiatric disorder)
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues , Maternal or baby blues)
ความหมาย
เป็นภาวะที่หญิงหลังคลอดไม่สามารถปรับตัวทางจิตใจ และอารมณ์ตามเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น หรือไม่สามารถเผชิญปัญหาในระยะหลังคลอดได้โดยการปรับตัวนี้เป็นความผิดปกติชนิดที่ไม่รุนแรง เพราะในระยะหลัง คลอดมารดาจะมีอารมณ์แปรปรวนง่าย ต้องเผชิญกับประสบการณ์ใหม่ เช่น การดูแลบุตร
สาเหตุ
การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ จากการมีฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ลดลงอย่างรวดเร็วในระยะหลังคลอด
ความเครียดทางจิตใจในระยะหลังคลอด
การตั้งครรภ์และการคลอด โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์แรก หรือมีภาวะแทรกซ้อน ในระยะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะร่างกายอ่อนเพลีย
ความเครียดจากสังคมและสิ่งแวดล้อม เกิดจากความตระหนักกับความรู้สึก ของคนอื่น
หญิงหลังคลอดที่มีแนวโน้มในการเกิดภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
มีความรู้สึกวิตกกังวลท้อแท้ ตื่นเต้น ความรู้สึกไว เงียบขรึม
มีอารมณ์เศร้าเหงา สับสน อารมณ์รุนแรง สีหน้าไม่สุขสบาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
เบื่ออาหาร อาการจะเป็นอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ หลังคลอดและจะหายเองหรืออาจมีอาการรุนแรงขึ้น ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม
การพยาบาล
ส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะคู่สมรสช่วยให้กำลังใจ ประคับประคอง ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ในระยะหลังคลอด
คอยสังเกตและบันทึกอาการด้านอารมณ์ของมารดาหลังคลอด
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลบุตร และตนเองในระยะหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
ความหมาย
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นภาวะที่จิตใจมีความซึมเศร้าอย่างรุนแรง แตกต่างกับภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด คือ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะมีความรู้สึกรุนแรงกว่า พฤติกรรมที่แสดงออกจะเปลี่ยนไปจากเดิมมาก
สาเหตุ
มารดาที่มีประวัติซึมเศร้าหลังคลอด หรือมีภาวะเจ็บป่วยหลังคลอด
มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่ายในการตั้งครรภ์
มารดาหลังคลอดครรภ์แรก
ขาดการประคับประคองจากญาติ คู่สมรส หรือสังคม
ขาดสัมพันธภาพกับบิดา มารดา หรือ คู่สมรส
มีความรู้สึกขาดความพึงพอใจในตนเอง
มีความเครียดทางจิตใจ เช่น ปัญหาชีวิตสมรส การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา
ประสบการณ์การคลอดลำบาก การบาดเจ็บจากการคลอด หรือมีปัญหาในระยะหลังคลอด
มีความเครียดทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความกังวลในการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเศรษฐกิจ
มีประสบการณ์จากการคลอดในครรภ์ก่อน ๆ ไม่ดี
อาการและอาการแสดง
มองโลก ในแง่ร้าย หดหู่หม่นหมอง วิตกกังวล รู้สึกไร้ค่าไม่มีความหมาย ไม่มีคนต้องการ
ซึมเศร้าอย่างรุนแรง ร้องไห้ถี่ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
มีอารมณ์และความรู้สึก ท้อแท้ สิ้นหวัง
ไม่มีสมาธิ ไม่สนใจตนเอง ไม่มีความรู้สึกทาง
เพศ ควบคุมตนเองไม่ได้ ถ้ารุนแรงจะคิดช้า พูดช้า
การรักษา
การรักษาทางจิต แบบรายบุคคล หรือรายกลุ่ม
การใช้กลุ่มช่วยในการรักษา หรือให้คู่สมรสบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วม
โดยการให้ยา เช่น Isocarboxazind ( Marplan ) , Phenelzine (Nardil ) , Amitriptyline( Tryptanol , Saroten)
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้เรียนรู้เกี่ยวกับการลดภาวะเครียด
สนับสนุนและสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้แก่หญิงหลังคลอด
การพยาบาล
ให้มารดาได้รับความสุขสบายด้านร่างกาย บรรเทาอาการเจ็บปวด
อธิบายให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแจะจิตใจหลังคลอด
ดูแลให้มารดาหลังคลอดได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ดูแลช่วยเหลือและให้คำแนะนำการปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด และการเลี้ยงดูบุตร
ให้โอกาสหญิงหลังคลอดได้ซักถาม และมีส่วนร่วมในการเตรียมตัวเพื่อเป็นมารดาที่สมบูรณ์ และการเลี้ยงบุตรที่สมบูรณ
ส่งเสริมให้กำลังใจให้มารดารู้สึกว่าเป็นบุคคลสำคัญในการดูแลทารก โดยให้ การช่วยเหลือมารดาในการดูแลทารกเมื่อพบว่ามารดามีความยุ่งยากในการดูแลบุตร และให้มารดามีส่วนร่วมด้วย
แนะนำสามี และญาติ ให้กำลังใจแก่มารดา ให้ความสนใจ เอาใจใส่ประคับประคอง
จัดกลุ่มสอนเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังคลอด บทบาทการเป็นบิดามารดา การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตในระยะหลังคลอด ตั้งแต่ในระยะการตั้งครรภ์
อธิบายให้ทราบถึงอาการแสดงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
สังเกตอาการดูแลอย่างใกล้ชิด ในรายที่มีอาการรุนแรงเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายจากการทำร้ายบุตรโดยสนใจคำพูดของมารดาที่แสดงออก
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
ความหมาย
เป็นปัญหาทางจิตที่เกิดขึ้นในระยะหลังคลอด ส่วนใหญ่เป็นอาการรุนแรงต่อเนื่อง มาจากภาวะอารมณ์เศร้า และภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ที่ให้การดูแลรักษาล่าช้าเกินไป
สาเหตุ
มารดาที่มีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด
มีประวัติเป็น manic-depressive
มารดาที่มีภาวะเครียดจากการตั้งครรภ์
มารดาที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนอยู่ก่อนการตั้งครรภ์
มีประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวด้วยโรคทางจิตเวช
มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ตลอดระยะการตั้งครรภ์ และ การเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือน
อาการและอาการแสดง
รู้สึกยุ่งยากใจ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สับสน ไม่มีเหตุผล สมาธิสั้น ความจำเสีย
ตัดสินใจไม่ได้ หลงผิด และหวาดระแวง ประสาทหลอน
อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการรุนแรงทันที
การรักษา
การรักษาทางกาย
การให้ยา antipsychotics และยา sedative , การช็อคไฟฟ้า
การรักษาทางจิต
การทำจิตบำบัด
การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม
การให้มีการสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะสามี และญาติช่วยในการดูแลแบ่งเบาภาระ
การพยาบาล
รับฟังหญิงหลังคลอดให้ระบายความรู้สึก และปัญหาที่มีเพื่อประเมินความรู้สึกที่เป็นจริงและให้ความเห็นอกเห็นใจ
ให้ความเป็นกันเอง ความใกล้ชิด เพื่อให้มารดาเกิดความไว้วางใจอบอุ่น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
ส่งเสริมและกระตุ้นให้เข้ากลุ่มจิตบำบัด เมื่อมีความพร้อม
ดูแลให้ได้รับความต้องการพื้นฐานประจำวัน ได้แก่ สุขภาพอนามัย ความสะอาด ให้ได้รับอาหารเพียงพอ
อธิบายให้สามีและญาติเข้าใจและทราบถึงวิธีการรักษา ตลอดจนให้คำแนะนำถึง การปฏิบัติต่อมารดา เพื่อขอความร่วมมือ
ส่งเสริมให้มารดาของหญิงหลังคลอด ในการดูแลใกล้ชิด โดยแสดงบทบาทการเป็นมารดา และให้กำลังใจ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
สังเกตอาการที่อาจรุนแรงมากขึ้น ให้ความสนใจทุกกิจกรรมและคำพูด
ในรายที่มีประวัติซึมเศร้า หรือภาวะโรคจิตหลังคลอด หรืออาการรุนแรง ควรส่งต่อเพื่อให้คำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพจิต และติดตามเยี่ยมทุก 2 - 6 สัปดาห์ เพื่อประเมินอาการของโรค
การดูแลต่อที่บ้าน สามีของหญิงหลังคลอดเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะนี้เพราะต้องรับหน้าที่ดูแลทั้งภรรยาและทารก
แนะนำแหล่งให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ สถานบริการด้านสาธารณสุขในชุมชน
ติดตามเยี่ยมหลังคลอด ตามความต้องการของหญิงหลังคลอด และปัญหา เน้นการมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง