Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
มดลูกกลับสู่สภาพปกติช้า (Subinvolution of uterus)
ความหมาย
เป็นภาวะที่มดลูกหยุดการยุบตัวลง (arrest) หรือมีความผิดปกติของระดับยอดมดลูก ขนาดและลักษณะโดยไม่สามารถกลับสู่สภาพปกติเหมือนก่อนคลอดได้ตามระยะเวลา
สาเหตุ
มีเศษรก หรือเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก
มีการอักเสบติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก
ความตึงตัวของการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกไม่ดี ได้แก่ มารดาครรภ์หลัง ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ
มารดาหลังคลอดที่ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ทำให้ขาดการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมพิทูอิทารี่ส่วน หลัง ช่วยในการบีบรัดของกล้ามเนื้อมดลูกระหว่างการดูดนม
ในรายที่มีมดลูกคว่ำหลัง หรือคว่ำหน้ามากจนทำให้น้ำคาวปลาไหลไม่สะดวก
ในรายที่มีเนื้องอกของมดลูก ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี เช่น Fibroids
การวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดง
มักวินิจฉัยได้เมื่อมาตรวจหลังคลอด 4 - 6 สัปดาห
โดยให้ประวัติถึงอาการผิดปกติในระยะคลอดหรือมีภาวะเลือดออกมาก
ตรวจพบ ยอดมดลูกยังสูงกว่าระดับกระดูกหัวหน่าวสัมผัสนุ่ม ระดับยอดมดลูกไม่ลดต่ำลง
น้ำคาวปลา สีไม่จางลงภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด อาจมีตกขาว และ
ปวดหลังร่วมด้วยถ้ามีการติดเชื้อ ในโพรงมดลูก
การรักษา
ถ้าให้ยาบีบตัวของมดลูกไม่ได้ผล หรือแน่ใจว่าสาเหตุเกิดจากมีรกและเศษเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูกให้ขูดมดลูก
ให้ยาปฏิชีวนะถ้ามีการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก
ให้ยาช่วยการบีบตัวของมดลูก นิยมให้ methergin 0.2 มิลลิกรัม รับประทาน วันละ 3 เวลา หลังอาหาร และก่อนนอน นาน 1 - 2 วัน
การพยาบาล
คลึงมดลูกให้หดรัดตัวก่อนวัดระดับยอดมดลูก และดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง โดยกระตุ้นให้มีการขับถ่ายปัสสาวะ
แนะนำวิธีที่ทำให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก เช่น ให้นอนคว่ำใช้หมอนรองใต้ท้องน้อย ลุกเดินเป็นต้น
ปัญหาหัวนมและเต้านม
การติดเชื้อของเต้านม (Mastitis)
สาเหตุ
การติดเชื้อของเต้านมส่วนมาก ที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเชื้อ staphylococcus aureus เชื้อเข้าทางบาดแผลหรือหัวนมที่แตก โดยมิได้ระมัดระวังเกี่ยวกับเทคนิคปราศจากเชื้อ
การวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดงพบ
ปวดเต้านมมาก กดเจ็บ มีการคั่งของน้ำนม น้ำนมออกน้อยลง
มีไข้สูง 38.3 - 40 องศาเซลเซียส
บริเวณเต้านมแดง ร้อน แข็งตึงใหญ
ในกรณีที่หัวนมแตกอาจเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงทำให้เป็นฝีที่เต้านมได้
ความหมาย
ในระยะให้นมบุตรเต้านมอยู่ในภาวะที่มีท่อเปิดของน้ำนมเป็นจำนวนมาก เลือดที่มาเลี้ยงเต้านมมีปริมาณสูง ทำให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เมื่อเกิดการติดเชื้อจะทำให้เกิดการอักเสบของเต้านม ถ้า
ไม่ได้รับการดูแลรักษาทันที มักเกิดขึ้นภายใน 2 -3 สัปดาห์ หลังคลอด
การรักษา
ให้ยาแก้ปวด
ถ้ามีหนองเกิดขึ้นให้ทำ incision and drainage
ตรวจดูอาการและอาการแสดง ส่งเพาะเชื้อจากน้ำนมและหัวนม บางครั้ง อาจต้องเพาะเชื้อจากในปากทารกด้วย
เมื่อแผลที่หัวนมหายเป็นปกติ ก็เริ่มให้บุตรดูดนม หรือปั๊มน้ำนมได้ และพยายามหลีกเลี่ยงมิให้เกิดอาการบวม
การพยาบาล
ดูดนมข้างที่มีการติดเชื้อ จนกว่าการอักเสบจะหาย
ลดการกระตุ้นเต้านมและหัวนมบริเวณที่มีการติดเชื้อ ใช้ความร้อนเป่าหรืออบเพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำนมดี ลดความเจ็บปวด
แนะนำการทำความสะอาดหัวนมให้เพียงพอ และให้ทารกดูดนมอย่างถูกต้องในข้างที่ปกติ
แนะนำการสวมเสื้อชั้นใน หรือพันผ้าช่วยพยุงเต้านม ต้อง
ระวังไม่พันผ้าแน่นหรือสวมเสื้อชั้นในคับเกินไป จะยับยั้งการผลิตน้ำนม
ลดความกลัว ความวิตกกังวล ให้กำลังใจ โดยอธิบายให้ทราบถึง การปฏิบัติตน ที่ถูกต้องเมื่อมีภาวะติดเชื้อของเต้านม
หัวนมแตก หรือเป็นแผล
ความหมาย
ในระยะหลังคลอดผิวหนังที่เต้านมขยายมากขึ้นกว่าในระยะตั้งครรภ์ ทำให้ผิวหนังที่เต้านมและหัวนมตึง และเปราะบาง อีกทั้งยังได้รับการเสียดสีจากการดูดนมของทารก โดยเฉพาะการดูดไม่ถูกวิธี การสัมผัสกับเสื้อชั้นใน และขาดการดูแลความสะอาดบริเวณหัวนม ซึ่งทำให้เกิดภาวะหัวนมแตกหรือเป็นแผลได
สาเหตุ
ทารกดูดนมแรงและนานเกินไป ในระยะแรกเริ่มก่อนน้ำนมมา
การให้บุตรดูดเฉพาะหัวนมโดยไม่ได้ให้เหงือกของทารกกดลงบนลานนม
Colostrum ที่ถูกบีบออกมา หรือซึมผ่านหัวนมจะแข็งจับปลายหัวนมจนเป็นสะเก็ด การแกะจะทำให้เกิดแผลถลอกขึ้นได้
การดึงหัวนมออกจากปากบุตรไม่ถูกวิธี
การให้บุตรดูดนมแต่ละครั้ง เริ่มให้ข้างเดียวกันตลอด จึงทำให้ดูดเป็นเวลานาน
ปล่อยให้หัวนมเปียกชื้นอยู่ตลอด
การรักษา
ทายาเพื่อช่วยให้แผลหายดีขึ้น เช่น kamillosan cream , unquentum boric acid , lanolin
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้มารดาอุ้มบุตรให้นมในท่าที่ผ่อนคลาย ประคับประคองศีรษะให้กระชับอกในขณะให้นมบุตร
แนะนำวิธีให้นมบุตร โดยให้บุตรอมหัวนมให้มิดและให้ลิ้นอยู่ใต้ลานนมให้เหงือกกดบริเวณลานนม
แนะนำมารดาให้ทารกดูดนมข้างที่เจ็บน้อยก่อน จะช่วยให้เกิด letdown reflex และทารกไม่ดูดแรงมาก
หลังการให้ทารกดูดนมแต่ละครั้ง ควรเช็ดหัวนมให้สะอาดเพื่อป้องกัน คราบน้ำนมเกาะ
แนะนำการทำความสะอาดหัวนมและเต้านมด้วยการอาบน้ำธรรมดา ไม่ฟอกสบู่ ไม่เช็ดหัวนมและลานนมด้วยสารระคายเคืองอื่น
มีรายงานว่า ถ้าใช้น้ำนมทา คือบีบน้ำนมออกเล็กน้อยแล้วทาหัวนมและรอบ ๆ แล้วปล่อยให้แห้งจะช่วยให้หายเร็วขึ้น
ถ้าเป็นรุนแรงอาจให้ทารกดูดนมโดยใช้ nipple shield ครอบหัวนมไว้และให้ทารกดูดหัวนมยางบน nipple shield
ดูแลผิวหนังบริเวณหัวนมและเต้านมให้ชุ่มชื้น ด้วยการทาครีมลาโนริน หรือทาครีมวิตามินซี วิตามินเอ หรือวิตามินดีหลังอาบน้ำอย่างสม่ำเสมอ