Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ - Coggle Diagram
การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
วงจรการติดเชื้อ
3.ทางออกของเชื้อ
(Portal of exit) เชื้อสามารถออกจากร่างกายได้หลายทาง ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจโดยเชื้ออกมาพร้อมน้ำมูก ลมหายใจ เชื้อออกทางระบบสืบพันธ์ุ ระบบทางเดินปัสสาวะ บนแผลที่ผิวหนัง จากมารดาสู่ทารกโดยผ่านทางสายสะดือ ติดเชื้อจาดแมลงกัดและดูดเลือดไปกัดผู้อื่น
4.หนทางการแพร่กระจายเชื้อ
(Mode of transmission) เชื้อแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อหรือจากผู้ป่วยไปยังผู้อื่นได้หลายทาง เชื้อแต่ละชนิดมีการแพร่กระจายที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น การสัมผัส การหายใจ การมีตัวนำ
2.แหล่งกักเก็บเชื้อโรค
(Reservoir) แหล่งของเชื้อโรคเป็นที่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและมีการขยายตัว จะเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งเชื้อโรคที่เฉพาะ อาจเป็นคน สัตว์ พืช ดิน และแมลงต่างๆ อาทิ เหา เห็บ หมัด
5.ทางเข้าของเชื้อ
(Portal of entry) โดยหาทางเข้าไปในร่างกายมนุษย์ โดยส่วนมากมักเข้าไปทางเดียวกับทางที่ออกมา เช่น ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร อวัยวะสืยพันธุ์ และผิวหนังที่ฉีกขาด
1.เชื้อก่อโรค
(infectious agent) ความสามารถของการติดเชื้อ การเพิ่มจำนวนและการเจริญเติบโต(Virulence) ความสามารถในการรุกรานเข้าสู่เนื้อเยื่อในร่างกาย(Invasiveness)ความสามารถในการก่อโรค(Pathogenicity)
เชื้อรา
เช่น Candida albicans และ Canduda glabrata
ไวรัส
เช่น เชื้อหัด อีสุกอีใส เริม ไข้หวัดใหญ่ Corona virus
โปรโตซัว
เช่น Entamoeba histolytica ทำให้เกิดโรคบิดเป็นต้น
พยาธิ
เช่น พยาธิเส้นด้าย (พบมากในเด้ก) พยาธอใบไม้ในตับ พยาธิตัวตืด
แบททีเรีย
ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ เช่น Staphylococcus epidermidis, Staphylococcus aureusและ Clostridium difficile
6.ความไวในการรับเชื้อของบุคคล
(Susceptible host) ขึ้นอยู่กับสุขภาพและภูมิคุ้มกัน ถ้าร่างกายขาดกลไกลการป้องกันการรุกรานจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นการป้องกันที่ดีคือการตัดวงจรการติดเชื้อ ซึ่งการตัดวงจรที่สำคัญคือ การทำายหรือลดแหล่งของเชื้อโรค
การติดเชื้อในโรงพยาบาล
ความหมาย
การติดเชื้ออันเป็นผลจากการที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อจุลชีพขณะอยู้โรงพยาบาล ซึ่งอาจเป้นเชื้อที่อยู่ในตัวของปู้ป่วยเองหรือจากภายนอกร่างกายของผู้ป่วย แต่การติดเชื้อไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเท่านั้นบุคลคลอื่นที่เกี่ยวข้แงกับโรงพยาบาลอาจติดเชื้อได้ เช่น แพทย์ พยาบาลทบุคลากรทางการแพทย์ จนกระทั่งผู้มาเยี่ยมไข้ อาสาสมัครทคนส่งของ
องค์ประกอบของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเหมือนกับการติดเชื้อทั่วไป คือ เชื้อโรค คน และสิ่งแวดล้อม
2.คน
ผู้ที่ติดเชื้อในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย ฟรืออาจเป็นบุคลากรทางโรงพยาบาลได้ ผู้ป่วยที่มีภูมต้านทานโรคต่ำจะติดเชื้อได้ง่าย เช่น เด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานพัฒนาไม่เต็มที่ ผู้สูงอายุ เป็นต้น
3.สิ่งแวดล้อม
อาคาร สถาที่ เครื่องมือเครื่องใน บุคลากรในโรงพยาบาล และยาติที่มาเยี่ยม ซึ่งในอนาคตจะมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องสอดเข้าไปในร่างกายมากขึ้นอาจเป็นผลทำให้เกิดการติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย
1.เชื้อโรค
ส่วนใหญ่เป็นเชื้อประจำถิ่น หรือเชื้อที่พบในร่างกาายผู้ป่วยเอง ในประเทศไทยพบเชื้อก่อโรคในโรงพยาบาลมากที่สุดคือ เชื้อแบททีเรียแกรมลบทรงแท่ง เชื้อพวกนี้อยู่ในโรงพยาบาลและมีอัตราเชื้อดื้อยาสูง เนื่องจากเชื้อเคบสัมผัสกับยาต้านจุลชีพมาก่อน เช่น เชื้อ MRSA, Pseudomonas aeruginosa
การแพร่กระจายเชื้อ
การแพร่กระจายเชื้แโรคเข้าสู่ผู้ป่วยเกิดขึ้นได้หลายวิธี
2.การแพร่กระจายเชื้อโดยฝอยละออง
(Droplet spread) เกิดจากการสัมผัสกับฝอยละอองน้ำมุกน้ำลายที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน
3.การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ
(Airborne transmission) เป็นการแพร่กระจายโดนการสูดหายใจเข้าเอาเชื้อในอากาศเข้าสุ่ระบบทางเดินหายใจ หรือฝุ่นล่องลอยอยู่ในอากาศ แพร่กระจายดดยวิธีนี้ เช่น เชื้อสุกใส เชื้อวัรโรค งูสวัด
5.การแพร่กระจายเชื้อโดยสัตว์พาหนะ
(Vector-Borne transmission) เป้นการแพร่กระจายเชื้อโดยแมลง หรือสัตว์นำโรค ได้รับเชื้อจากการถูกแมลงหรือสัตว์กัด ยุงที่มีเชื้อมาลาเรียนกัด แมลงวันเกาะขยะแล้วมาตอมอาหาร
4.การแพร่กระจายเชื้อโดยการผ่านสื่อนำ
(Vehicle transmission) เป็นการแพร่กระจายเชื้อซึ่งเกิดจากการที่มีเชื้อจุลชีพปนเปื้อนอยุ่ในเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด อาหาร น้ำ ยา สารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วย พบว่ามีการติดเชื้อโดยวิธีนี้อยุ่ครั้งละหลายคน เช่น เกิดจากการติดเชื้อ salmonella จากอาหาร
1.การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส
(Contact transmission) การแพร่ดดยการสัมผัสกับผุ้ที่มีเชื้อของโรค วิธีนี้มักเกิดขึ้นระหว่างการดูแลผู้ป่วย โดยจะแพร่สู้อีกคนไปยังอีกคนหนึ่ง มีอยู่ 2วิธี
1.1 การแพร่กระจายเชื้อด้วยการสัมผัสโดยตรง(Direct-contract transmission)
การสัมผัสดดยตรงระหว่างคนต่อคน เกิดจากการที่เอามือไปสัมผัสกับแหล่งโรคแล้วสัมผัสผู้ป่วย เช่น เวลาพลิกตัวอาบน้ำให้ผู้ป่วย และการทำแผล
1.2การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสโดยอ้อม(Indirect-contract transmission)
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสกับสิ่งของหรืออุปกรณืทางการแพทย์ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น ของเล่นแผนกเด็กป่วย ลุกบิดประตู ผ้าปูที่นอน เครื่องช่วยหายใจ
การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
การกำจัดเชื้อจุลชีพบางชนิดที่แปดเปื้อนผิวหนัง อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ หรือพื้นผิวต่างๆ
การทำลายเชื้อ
2.การต้ม เป็นวิธีการทำลายเชื้อที่ดีที่สุด ง่ายประหยัด และมีประสิทธิภาพ ต้มในน้ำเดือดนาน 20 นาที
3.การใช้สารเคมี เป้นวิธีการสุดท้ายถ้าไม่มีวิธีอื่น เนื่องจากฟทธิ์ของสารเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น เชื้อโรค
1.การล้าง เวลาล้างอุปกรณืต่างๆต้องสวมถุงมือ แว่นตาป้องกันและเวลาจับของมีคมต้องระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
4.การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
4.1 การล้างมือธรรมดา(Normal hand washing) ใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ล้างมือกาอนหรือหลังการสัมผัสผู้ป่วย
4.2 การล้างมือก่อนทำหัตถการ (Surgical handwashing)เช่นการผ่าตัด การทำคลอด ถ้าเป็นการทำการหัตถการครั้งแรกของวันให้แปรงหรือขัดมือจนถึงข้อศอกให้ทั่วทุกซอกทุกมุม chlorhexidine 4 เปอร์เซ็น หรือ lodophor 7.5 เปอร์เซ็น อย่างน้อย 5นาที ต่อไปฟอกมือให้ทั่วด้วยน้ำยาข้างต้นนาน 3-5นาที
4.3 การเตรียมผิวหนัง -เพื่อการฉีดยาใช้ Alcohol 70 เปอร์เซ็น -ผ่าตัดเล็กใช้ Alcohol 70 เปอร์เซ็น หรือ Tr.iodine 2 เปอร์เซ็น -ผ่าตัดใหญ่ใช้ฟอกให้เป็นบริเวณกว้างด้วยchlorhexidine 4 เปอร์เซ็น หรือ lodophor 7.5 เปอร์เซ็น เช็ดน้ำยาออก แล้วทาด้วย Alcohol 70 เปอร์เซ็น +chlorhexidine 0.5 เปอร์เซ็น หรือ lodophor 10 เปอร์เซ็น
4.4 การทำแผล ล้างแผลให้สะอาดด้วย Steriled normal saline ถ้าแผสกปรกเช็ดผิวหนังรอบๆแผลด้วย Alcohol 70 เปอร์เซ็น หรือ Tr.iodine 2 เปอร์เซ็น หรือ lodophor 10 เปอร์เซ็น ถ้ามีหนองมากให้ทำ wet dressing ด้วย Steriled normal saline ไม่ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทาบาดแผ เพราะจะไปทำลายการเจริญเติบดตของเนื้อเยื่อ
4.5 การทำความสะอาดฝีเย็บก่อนคลอดหรือการตรวจภายใน ใช้ Cetrimide 15 เปอร์เซ็น + Chlorhexidine 1.5 เปอร์เซ็น เจือจาง 1:100
4.6 การสวนล้างช่องคลอดใช้ Cetrimide 15 เปอร์เซ็น+Chlorhexidine 1.5 เปอร์เซ็น เจือจาง 1:100 หรือ Chlorhexidine 1:100หรือ 1:200
4.7 การทาช่องคอดก่อนผ่าตัดใช้ lodophor 10 เปอร์เซ็น
ระดับการทำลายเชื้อ แบ่งได้3ระดับ
2.การทำลายเชื้อระดับกลาง (Intermediate-level disinfection) การทำลายเชื้อวิธีนี้สามารถทำให้เชื้อ Mycobacterium tuberculosis เชื้อแบททีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราอ่อนกำลังลงจนไม่ทำให้ก่ออันตรายแก่มนุษย์ แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อแบททีเรียนได้ น้ำยาทำลายเชื้อในกลุ่มนี้ได้แก่ alcohol (70-90เปอร์เซ็น Ethanol หรือ Isopropanol) , Chlorine compounds, Phenolic และ lodophor
3.การทำลายเชื้อระดับต่ำ (Low-level disinfection) ทำลายเชื้อแบททีเรียน เชื้อไวรัส และเชื้อราได้บางชนิด ิะีนี้เหมาะสำหรับอุปกรณ์ ประเภท Noncritical items ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่สัมผัสกับผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีรอยถลอก
1.การทำลายระดับสูง(High-level disinfection) สามารถทำลายจุลชีพได้ทุกชนิด รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบททีเรีย น้ำยาทำลายเชื้อที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อระดับสูง ได้แก่ Glutaraldehyde, Chlorine dioxide, Hydrogen peroxide และ Peracetic acid
การทำให้ปราศจากเชื้อ
1.วิธีทางกายภาพ (Physical method)
1.1 การใช้ความร้อน (Thermal or Heat sterilization) เป็นวิธีที่ง่ายแลพได้ประสิทธิภาพสูง
-การใช้ความร้อนแห้ง (Dry heat).ใส่อุปกรณ์ในเตาอบ อุณหภูมิ 160-180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับอุปกรณ์ที่เป็นแก้วและโลหะ
-การต้ม (Boiling) ต้มในน้ำเดือด 100 องศาเซลลเซียส นาน 30 นาที ทำลายเชื้อแบททีเรียได้ทุกชนิดและเชื้อไวรัสเกือบทุกชนิด แต่สปอร์ของเชื้อไวรัสบางชนิดสามารถทนต่อความร้อนได้
-การเผา(Incineration)ใช้ทำลายอุปกรณ์ที่จะไม่นำกลับมาใช้อีกเลย
-การใช้ความร้อนชื้น(Moist heat) นึ่งไอน้ำภายใต้ความดัน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
1.2 การใชรังสี (Ionizing radiation) การใช้รังสีคลื่นสั้นในการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ทั้งรังสีเอกซ์ และรังสีแกรมมา ต้องให้รังสีสัมผัสกับเชื้อโดยตรงจึงจะมีประสิทธิภาพ
2.วิธีทางเคมี (Chemical method)
2.1 การใช้แก๊ส
-Ethylene oxide gas(EO) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากและมีประสิทธิภาพสูงและยังเหมาะสำหรับวัตถุที่ไม่ทนความร้อนและความชื้นได้ เช่น Fiber optic scopes หัวจี้ให้เลือดหยุด มีดไฟฟ้า สายสวนต่างๆ อวัยวะเที่ยม
Formaldehyde gas ที่ความเข้มข้น 37 เปอร์เซ็น หรือที่เรียกว่า ฟอร์มาลิน มีฤทธิ์ทำลายเชื้อจุลชีพได้อย่างกว้างขวาง
2.2การใช้ High-level disinfectant ได้แก่ Glutaraldehyde, Hydrogen peroxide และ Peracetic acid การห่อหุ้มอุปกร์ที่ทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว การเก็บไว้ได้นานขึ้นอยุ่กับความหนาของวัสดุที่ใช้ห่ออุปกรณ์ วิธีเก็บรักษามีดังนี้
3.เก็บไว้ในปริมาณที่พอเหมาะ พอใช้ ไม่เก็บไว้มากเกินไป
4.วัสดุปราศจากเชื้อควรห่อด้วยพลาสติกหรือกระดาษไม่ควรใช้ยางรัดอาจทำให้วัสดุห่อหุ้มฉีกขาด
2.เก็บไว้ที่แห้ง ห่างจากอ่างหรือบริเวณที่เปียก
5.วัสดุที่ห่อจะต้องกำหนดเวลาหากหมดอายุต้องเปลี่ยนวัสดุห่อใหม่และต้องนำกลับไปทำให้ปราสจากเชื้อใหม่
1.เก็บในตู้ที่ปิดมิดชิด ไม่มีแมลงหรือสัตวืเข้าไปได้
กระบวนการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
พยาบาลเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด และเป็นผู้ที่มรบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อเพื่อป้องกันแลพลดการติดเชื้อในขณะปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลอยู่เสมอ ดดยยึดหลักปฏิบัติ Aseptic technique หรือ เทคนิคปลอดเชื้อ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของเครื่องมือเครื่องใช้
1.การประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย (Assessment) โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย
2.การวินิจฉัยทางการพยาบาล(Nursing diagnosis) เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้วก้ประเมิน ตัวอย่างการกระเมิน เช่น 2.1เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น 2.2 มีโอกาสเกิดการระบาลของโรคในชุมชน
3.การวางแผนและให้การพยาบาล(Planning and Implementation) เมื่อได้วินิจฉัยทางการพยาบาล จากข้อมูลสนับสนุนที่ประเมินได้ ต้องกำหนดวัดถุประสงค์ เกณฑ์การประเมินผล และ การพยาบาลตามปัญหาของผู้ป่วย กิจกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดังนี้
3.2 ใช้หลัก Airborne precautions
3.3 ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและญาติ
3.1 ล้างมือก่อนและหลังการให้การพยาบาลผู้ป่วย
3.4 รายงานอุบัติการณ์การเฝ้าระวังการเกิดโรคต่อคณะกรรมการการติดเชื้อของโรงพยาบาล
การประเมินการพยาบาล (Evaluation)
4.1 ไม่มีการแพร่กระจายเชื้อสู่ญาติและบุคลากรในหอผู้ป่วย
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
ความหมาย
การปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อจุลชีพจากผู้ป่วยที่มีเชื้อหรทิผู้ป่วยที่มีเชื้อแต่ไม่ปรากฎอาการแพร่ไปสู่ผู้ป่วยอื่น บุคลากรหรือญาติผู้ป่วย
1.Standard precaution
เป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากเลือด สารน้ำของร่างกายสารคัดหลั่งทุกชนิด และสารขับถ่าย ยกเว้นเหงื่อ การปฏิบัติตามหลักStandard precaution ประกอบด้วย
1.3 เวลาจะหยิบจับอุปกรณ์หรือสิ่งของมีคมควรระมักระวัง เมื่อใช้อุปกรณ์ต่างๆแล้วให้แยกอุปกรณ์ไว้ให้เหมาะสมตามที่ของมัน
1.4 ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่เปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งให้ถูกวิธี
1.2 สวมเครื่องป้องกันเมื่อคาดว่าจะสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
1.2.2 เสื้อคลุม เช่นเมื่ออุ้มเด็ก
1.2.3 ผ้าปิดปากและปิดจมุก
1.2.1 ถุงมือ มีถุงมือปราสาจากเชื้อและถุงมือสะอาด
1.5 บรรจุผ้าเปื้อนในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
1.1การล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งการล้างมือจะมีอยู่ 4 ประเภท
1.1.2 การล้างมือภายหลังการสัมผัสผู้ป่วยหรือสารปนเปื้อนเชื้อโรค
1.1.3 การล้างมือก่อนการหัตถการ
1.1.1การล้างมือธรรมดา คือ มีอยู่7ขั้นตอนตามหลักของการล้างมือ
1.1.4 การใช้แอลกอฮอล์ ทดแทนในกรณีล้างมือเร่งด่วน
1.6 ทำความสะอาดและทำลายเชื้อ หรือทำให้ปราศจากเชื้อ โดยทำความสะอาดทุกชิ้นหลังจากใช้กับผุ้ป่วยแล้ว
1.7 หลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลขณะปฏิบัติงานดดยเฉพาะถูกเข็มที่ใช้กับผู้ป่วยตำ
2.Transmission-base precaution
คือการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่ทำให้เกิดโรคตามทางที่เชื้ออกจากผู้ป่วยและทางที่จะเข้าสุ่บุคคลอื่น
2.2 การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูกน้ำลาย ควรปฏิบัติดังนี้
2.2.2 ผู้ป่วยโรคเดียวกันจัดให้อยู่ในห้องเดียวกันได้
2.2.3 หากไม่มีห้องแยกควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ห่างกันไม่น้อยกว่า 3 ฟุต
2.2.1 แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยก และปิดประตุทุกครั้งหลังเข้าออก
2.2.4 ผู้ที่เข้าไปให้การดุและจะต้องสวมผ้าปิดปาก-จมุก เมื่อให้การดูแลในระยะ3 ฟุต
2.2.5 จำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
2.3การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการสะมผัส ควรปฏิบัติดังนี้
2.3.3 สวมเสื้อคลุม ถ้าคลาดว่าจะสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง หนอง อุจจาระ
2.3.4 จำกัดการเคลื่อนย้ายผุ้ป่วย
2.3.2 ถอดถุงมือและล้างมือด้วยสบุ่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนออกจากห้องผู้ป่วย
2.3.5 แยกอุปกรณ์ชนิด Non-critical items สำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ หากแยกไม่ได้ก็ทำความสะอาดทำลายเชื้อก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วยอื่น
2.3.1 สวมถุงมือเมื่อให้การดูแลผุ้ป่วย
2.1 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ ควรปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
2.1.3 อากาศภายในห้องคสรถูกดูดออกสู่ภายนอกโดยผ่านเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพ ควรมีอากาศหมุนเวียนอย่างน้อย 6 รอบต่อชั่วโมง
2.1.4 ผู้ที่เข้าไปในห้องผู้ป่วยจะต้องใช้ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
2.1.2 ผุ้ป่วยโรคเดียวกันจัดให้อยู่ในห้องเดียวกันได้
2.1.5 จำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
2.1.1 แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไว้ในห้องแยกพิเศษ
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อต้องทำให้ถูกต้อง
5.การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้องและมีนโยบายที่แน่นอน
3.สิ่งแวดล้อม อาคาร ควรสะอาดและแห้ง มีการกำจัดของเสียอย่างถูกต้อง
-การทำลายขยะ เลือด หนองสามารถเทลงโถสัวมได้ กระดาษผ้าทิ้งแบบธรรมดา ส่วนเข็ม ใบมีด จะต้องทิ้งในถังที่ส่งไปทำลายโดยการเผา
-การแยกขยะในโรงพยาบาล 1.ขยะติดเชื้อ ถุงสีแดง 2.ขยะทั่วไป แยกแห้งกับเปียก ถุงสีดำ 3.ขยะเป็นพิษ เช่นแท่งแก๊ส ถ่านไฟฉาย 4.ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ ใส่ถุงสีขาว
6.การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล
2.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคน้อยควรแยกจากแหล่งของเชื้อ
การติดเชื้อของบุคลากรในขณะปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
1.กำจัดเชื้อโรค
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
5.โรคภูมแพ้หรือโรคเรื้อรัง
คนที่มีอาการแพ้หรือโรคเรื้อรังมีความต้านทานต่ำกว่าคนปกติ ทำให้ความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อที่รุกรานได้น้อยลง
6.เพศ
พบว่าโรคบางชนิดพบในแต่ละเพศไม่เท่ากัน เช่น มักพบโรคปอดบวมในเพศชายมากกว่า และพบโรคอีดำอีแดงในเพสหญิงมากกว่า
4.ความร้อนหรือความเย็น
คนที่ได้รับความร้อนหรือความเย็นจัดเกินไปมีความไวต่อการติดเชื้อมากกว่า เนื่องจากร่างกายต้องปรับตัวมากจากอุรหภูมิที่เปลี่ยนไป และเชื่อว่าความเย็นจัดเกินไปจะลดการเคลื่อนไหวของขนอ่อนในระบบทางเดินหายใจ ลดจำนวนเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ผิว และลดการสร้างแอนติบอดี ดังนั้นจึงทำให้ความสามารถในการต่อต้านเชื้อโรคน้อยลง
7.กรรมพันธุ์
เช่น บางคนขาดสาร immunoglobulin ชึ่งเป็นตัวสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน
3.ความอ่อนเพลีย
พบว่าคนที่อ่อนเพลียและพักผ่อนไม่เพียงพอจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าเพราะมีความต้านทานที่น้อยกว่า เช่น คนที่ทำงานหนักเกินไป
8.อายุ
เด็กและผู้สูงอายุจะมีภูมิต้านทานน้อยกว่าวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ เนื่องจาดอาจเกิดจากร่างกายได้รับอาหารไม่เพียงพอ และผุ้สูงอายุมักมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย
2.ภาวะโภชนาการ
บุคคลที่ได้รับอาหารครบถ้วนความไวต่อการติดเชื้อจะน้อยกว่าคนที่ขาดอาหาร ดปรตีนช่วยสร้างเนื้อเยื่อและช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโต คนที่ขาดสารอาหารจึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น วัณโรค
9.การรักษาทางการแพทย์บางชนิด
ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่น คนที่ได้รับการรักษาด้วยการแายรังสี มีการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ลดการสร้างเม้ดเลือดขาวและแอนติบอดี ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ หรือคนที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน
1.ความเครียด
(Stress) ถ้ามีความเครียดจะมีความไวต่อการติดเชื้อได้ง่าย เช่น คนที่เพิ่งผ่าตัดใหม่ๆ จได้รับการติดเชื้อง่ายกว่าคนที่มีสุขภาะแข้งแรง
10.อาชีพ
บางอาชีพมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อได้ง่าย กรือลดประสิทธืภาพของกลไกลการป้องกันตนเอง เช่น คนเลี้ยงนกพิราบมีโอกาสติดเชื้อไวรัส H1N1