Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 …
บทที่ 1
การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ
การติดเชื้อในโรงพยาบาล
การติดเชื้ออันเป็นผลจากการที่ผู้ป่วย
ได้รับเชื้อจุลชีพขณะอยู่ในโรงพยาบาล อาจเป็นเชื้อที่มีอยู่ตัวผู้ป่วยเอง
หรือเป็นเชื้อจากภายนอกร่างกายผู้ป่วย
องค์ประกอบของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
คน
ผู้ที่ติดเชื้อส่วนมากจะเป็นผู้ป่วย บุคลากรในโรงพยาบาล
พบได้มาก
ในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ
เช่น
เด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่เต็มที่
ผู้สูงอายุ
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมผู้ป่วยในโรงพยาบาลครอบคลุมถึง อาคาร สถานที่ เครื่องมือ บุคลากรในโรงพยาบาล และญาติที่มาเยี่ยม
ถ้ามีการใช้เครื่องมือที่มีการสอดใส่เข้าไปในร่างกาย จะทำให้ผู้ป่วยจึงมีโอกาสติดเชื้อสูง
เชื้อโรค
เป็นเชื้อประจําถิ่น หรือเชื้อที่พบบนร่างกายผู้ป่วยเอง
พบมากที่สุด
Gram negative bacilli
การแพร่กระจายเชื้อ
การแพร่กระจายเชื้อโดยการผ่านสื่อนํา
(Vehicle transmission)
การแพร่กระจายเชื้อซึ่งเกิดจากการที่มีเชื้อจุลชีพปนเปื้อนอยู่ในเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด อาหาร
น้ำ ยา สารน้ำที่ให้แก่ผู้ป่วย
ทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ป่วยหลายราย
เช่น
การเกิดการติดเชื้อ
salmonella จากอาหาร
การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ
(Airborne transmission)
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสูดหายใจเอาเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
เชื้อจุลชีพที่แพร่กระจายโดยวิธีนี้
เช่น เชื้อสุกใส เชื้อวัณโรค งูสวัด
การแพร่กระจายเชื้อโดยสัตว์พาหนะ
(Vector-Borne transmission)
การแพร่กระจายเชื้อโดยแมลง หรือสัตว์นําโรค
แมลงจะถ่ายทอดเชื้อสู่คน
เช่น
ถูกยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัด
แมลงวันเกาะขยะแล้วมาเกาะอาหาร
การแพร่กระจายเชื้อโดยฝอยละออง
(Droplet spread)
การสัมผัสกับฝอยละอองน้ำมูกน้ำลายที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน
เกิดขึ้นขณะที่ผู้ป่วย ไอ จาม พูด และ
ร้องเพลง รวมทั้งการให้กิจกรรมการรักษาพยาบาล
เช่น การดูดเสมหะ การตรวจหลอดลม
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส
(Contact transmission)
เป็นการแพร่กระจายเชื้อที่มีการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างคนต่อคน โดยเชื้อจุลชีพแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง
แพร่กระจายได้ 2 วิธี
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสโดยตรง
(Direct–contact transmission)
การสัมผัสโดยตรงระหว่างคนต่อคน
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสโดยอ้อม
(Indirect–contact transmission)
การสัมผัสกับสิ่งของที่มีการปนเปื้อนเชื้อก่อโรค
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
วิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล และสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
Standard precautions
การนําแนวปฏิบัติของ Universal precautions และ
Body substance isolation
เป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากเลือด สารน้ําของร่างกายสารคัดหลั่งทุกชนิด และสารขับถ่าย
ยกเว้นเหงื่อ
การปฏิบัติตามหลัก Standard precautions
หยิบจับอุปกรณ์ที่มีคมที่ใช้กับผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง
ทําความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่เปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งอย่างถูกวิธี
สวมเครื่องป้องกันเมื่อคาดว่าจะสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งผู้ป่วย
การใช้เครื่องป้องกันร่างกายจะใช้เมื่อจําเป็นในกรณีที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น และเมื่อหมดกิจกรรมนั้นแล้วให้ถอดเครื่องป้องกันร่างกายนั้นออก
การใช้เครื่องป้องกันร่างกายแต่ละชนิด
เสื้อคลุม
ใช้เมื่อจะสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้อโรค
ผ้าปิดปากและจมูก
ใช้ป้องกันการแพร่เชื้อจากจมูกและปากจากผู้สวมสู่คนที่อยู่ใกล้เคียง
ถุงมือ
ถุงมือปราศจากเชื้อ
1 more item...
ถุงมือสะอาด
1 more item...
บรรจุผ้าเปื้อนในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการสัมผัส
กับสารคัดหลั่ง
ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือสบู่ยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง
ล้างมือก่อนสัมผัสผู้ป่วย และหลังสัมผัสผู้ป่วย
การล้างมือออกเป็น 4 ประเภท
การล้างมือภายหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค (Hygienic handwashing)
เป็นการล้างมือเพื่อขจัดเชื้อจุลชีพที่อยู่ชั่วคราวบนมือก่อนปฏิบัติการรักษาพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
1 more item...
การล้างมือก่อนทําหัตถการ (Surgical hand washing)
เป็นการล้างมือเพื่อขจัดหรือทําลายเชื้อหรือทําลายจุลชีพซึ่งอยู่ชั่วคราวบนมือ และลดจํานวนจุลชีพประจําถิ่นบนมือเพื่อเตรียมหัตถการ
1 more item...
การล้างมือธรรมดา (Normal hand washing)
การล้างมือเพื่อขจัดสิ่งเปรอะเปื้อน ฝุ่นละอองเหงื่อไคลบนมือ ฟอกมือด้วยน้ำกับสบู่
1 more item...
การใช้ Alcohol hand rub
ทดแทนการล้างมือในกรณีเร่งด่วน หรือในบริเวณที่ไม่มีอ่างล้างมือ แต่ไม่ควรใช้ในกรณีที่มือเปื้อนสิ่งสกปรกที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
1 more item...
ทําความสะอาดและทําลายเชื้อ หรือทําให้ปราศจากเชื้ออุปกรณ์การแพทย์ทุกชิ้นที่ใช้กับผู้ป่วยแล้ว
หลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลขณะปฏิบัติงาน โดยเฉพาะถูกเข็มที่ใช้กับผู้ป่วยตํา
Transmission-base precautions
วิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ
(Airborne precautions)
เป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ล่องลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน หรือฝุ่นที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
หากมีอาการที่ไม่ทราบสาเหตุ
ควรปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติ
อากาศภายในห้องแยกควรถูกดูดออกภายนอกโดยตรง
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
ผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน จัดให้อยู่ห้องเดียวกันได้
จํากัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อไว้ในห้องแยกพิเศษ และปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูกน้ำลาย (Droplet precautions)
เป็นการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจุลชีพที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน จากการไอ จาม พูด การดูดเสมหะ การส่องกล้อง
แนวทางการปฏิบัติ
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยก และปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
ผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน จัดให้อยู่ห้องเดียวกันได้
หากไม่มีห้องแยกและไม่สามารถจัดให้ผู้ป่วยอยู่รวมกันได้ ควรจัดระยะห่างระหว่างเตียง ไม่น้อยกว่า 3 ฟุต
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ ผ้าปิดปาก-จมูก เมื่อให้การดูแลผู้ป่วยในระยะ 3 ฟุต
จํากัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจําเป็นควรให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดชนิดใช้แล้วทิ้ง (Disposable mask)
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส
(Contact precautions)
เป็นการปฏิบัติเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อที่เกิดจากการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม
การป้องกันนี้มีแนวทางการปฏิบัติ
สวมเสื้อคลุม หากคาดว่าอาจสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หนอง อุจจาระของผู้ป่วย
จํากัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง
ถอดถุงมือและล้างมือด้วยสบู่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนออกจากห้องผู้ป่วย
หากสามารถทำได้ควรแยกอุปกรณ์ชนิด Non-critical items สําหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ
สวมถุงมือเมื่อให้การดูแลผู้ป่วย และเปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่เมื่อสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง
การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อที่ทําให้เกิดโรคตามทางที่เชื้อออกจากตัวผู้ป่วย และทางที่จะเข้าสู่บุคคล
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันโรคน้อย ควรจะแยกจากแหล่งของเชื้อโรค
สิ่งแวดล้อม อาคาร สถานที่ ควรให้สะอาดและแห้ง ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคหรือที่อยู่ของสัตว์พาหะ
การทําลายขยะ
การแยกขยะในโรงพยาบาล
ขยะทั่วไป
ขยะเป็นพิษ
ขยะติดเชื้อ
ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่
กําจัดเชื้อโรค
การทําลายเชื้อและการทําให้ปราศจากเชื้อต้องกระทําอย่างถูกต้อง
การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล
เพื่อให้ทราบลักษณะการเกิดและการกระจายของ
การติดเชื้อในโรงพยาบาล
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้องและมีนโยบายที่แน่นอน
การติดเชื้อของบุคลากรในขณะปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
ได้รับเชื้อในขณะปฏิบัติงาน
มือมีบาดแผลหรือผิวหนังแตกเป็นรอย
เลือดหรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตา ปาก จมูก
ถูกเข็มตําหรือของมีคมบาด
การปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อจุลชีพจากผู้ป่วยที่มีเชื้อ
หรือผู้ป่วยที่มีเชื้ออยูู่แต่ไม่ปรากฏอาการ (Carrier) แพร่ไปสู่ผู้อื่น
สามารถทําได้หลายวิธี
เช่น
การทําลายเชื้อบนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
การทําความสะอาดมือ
การแยกผู้ป่วย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
โรคภูมิแพ้หรือโรคเรื้อรัง
คนที่มีอาการแพ้ต่าง ๆ หรือมีโรคเรื้อรัง มีความต้านทานต่ำกว่าคนปกติ
เพศ
พบว่าโรคบางชนิดพบมากในแต่
ละเพศไม่เท่ากัน
ความร้อนหรือเย็น
คนที่ได้รับความร้อนหรือเย็นจัดจนเกินไปมีความไวต่อการติดเชื้อมากกว่า ทําให้ความสามารถในการต่อต้านเชื้อโรคน้อยลง
กรรมพันธุ์
บางคนขาดสาร Immunoglobulin เป็นตัวการสําคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
ความอ่อนเพลีย
คนที่อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอจะติดเชื้อง่ายกว่า
อายุ
เด็กมีความไวต่อการติดเชื้อง่ายกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ได้ดีเท่าผู้ใหญ่
ภาวะโภชนาการ
บุคคลที่ได้รับอาหารครบถ้วนความไวต่อการติดเชื้อจะน้อยกว่าคนที่ขาดอาหาร ส่วนคนที่ขาดอาหารมักติดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น วัณโรค
การรักษาทางการแพทย์บางชนิด
การฉายรังสี
รับยาที่กดการสร้างภูมิคุ้มกัน
ความเครียด (Stress)
บุคคลมีความเครียดเกิดขึ้น จะมีความไวต่อการติดเชื้อได้ง่ายกว่า
อาชีพ
บางอาชีพมีโอกาสที่จะสัมผัสกับเชื้อได้ง่าย
เช่น
คนเลี้ยงนกพิราบมีโอกาสติดเชื้อไวรัส H1N1
วงจรการติดเชื้อ
การติดเชื้อ (Infection) เกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อโรค
(Microorganisms) เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเเบ่งตัวเยอะมาก จนทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ ร่างกายมีปฏิกิริยากับเชื้อโรคโดยการสร้างภูมิคุ้มกัน ไม่มีอาการแสดง เรียกว่า Inapparent infection และมีอาการแสดง เรียกว่า Infectious disease
ทางออกของเชื้อ (Portal of exit)
ระบบทางเดินปัสสาวะ
เชื้อที่อยู่บนแผลที่ผิวหนัง
ระบบสืบพันธุ์
สายสะดือ
ระบบทางเดินหายใจ
แมลงกัดและดูดเลือดและไปกัดผู้อื่นต่อ
หนทางการแพร่กระจายเชื้อ (Mode of transmission)
เชื้อแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยไปสู่ผู้อื่นได้หลายทาง เชื้อจุลชีพแต่ละชนิดมีวิธีการแพร่กระจายที่แตกต่างกัน
การสัมผัส
การแพร่กระจายโดยมีตัวนํา
การหายใจ
แหล่งกักเก็บเชื้อโรค (Reservoir)
แหล่งของเชื้อโรคเป็นที่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโต
และมีการขยายตัว
แหล่งเชื้อโรคอาจเป็นคน สัตว์
พืช ดิน และแมลงต่าง ๆ อาทิ เหา เห็บ หมัด
คนหรือสัตว์ ที่มีเชื้อก่อโรคอยู่ในตัวและตนเองไม่เกิดโรค แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่นได้เรียกว่า Carrier
เชื้อก่อโรค (Infectious agent)
เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ขึ้นอยู่กับการเพิ่มจํานวน การเจริญเติบโต การรุกรานไปยังเนื้อเยื่อ และการก่อโรค
เชื้อก่อโรคแบ่งออกเป็น 5 ชนิด
แบคทีเรีย
Gram positive and Gram negative
พยาธิ
พยาธิเส้นด้าย พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวตืด
ไวรัส
เชื้อหัด อีสุกอีใส เริม ไข้หวัดใหญ่ Corona virus
เชื้อรา
Candida albicans and Canduda glabrata
โปรโตซัว
Entamoeba histolytica ทําให้เกิดโรคบิด
ทางเข้าของเชื้อ (Portal of entry)
เชื้อโรคออกจากแหล่งเชื้อโรคแล้วหาทางเข้าไปในร่างกายมนุษย์ใหม่ (Host) โดยมากทางเข้ามักเป็นทางเดียวกับที่ออกมา
พบบ่อยๆ
ทางเดินอาหาร
อวัยวะสืบพันธุ์
ทางเดินหายใจ
ผิวหนังที่ฉีดขาด
ความไวในการรับเชื้อของบุคคล (Susceptible host)
บุคคลติดเชื้อง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับลักษณะของเชื้อจุลชีพ ธรรมชาติของเนื้อเยื่อที่รับเชื้อ สุขภาพทั่วไปของแต่ละบุคคล ภูมิคุ้มกันโรค
โดยธรรมชาติร่างกายมีกลไกและสิ่งที่จะต่อสู้กับจุลชีพที่มารุกรานอยู่แล้ว
หากร่างกายขาดกลไกเหล่านี้ จะทําให้ง่ายต่อการติดเชื้อ มากขึ้น
บุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรง จะทําให้บุคคลนั้นมีความต้านทานต่อการติดเชื้อได้ดี
การทำลายเชื้อ และ
การทำให้ปราศจากเชื้อ
การทําให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization)
กระบวนการในการทําลายหรือขจัดเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียจากเครื่องมือทางการแพทย์
วิธีการทําให้อุปกรณ์
ปราศจากเชื้อ
วิธีการทางกายภาพ (Physical method)
การใช้ความร้อน
(Thermal or Heat sterilization)
เป็นวิธีที่ปฏิบัติได้ง่ายและมี
ประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีการทําให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ
การใช้ความร้อนแห้ง (Dry heat)
ใช้อุณหภูมิสูง 160-180 องศาเซลเซียส
เป็นเวลานาน 1-2 ชั่วโมง
การใช้ความร้อนชื้น (Moist heat)
การเผา (Incineration)
การต้ม (Boiling)
ต้มในน้ําเดือด 100 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
การใช้รังสี (Ionizing radiation)
การใช้รังสีคลื่นสั้นในการทําให้อุปกรณ์ปราศจาก
เชื้อเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ทั้งรังสีเอกซ์ (X-ray) และรังสีแกมมา (Gamma rays) จะต้องให้รังสีสัมผัสโดยตรงกับเชื้อจุลชีพ วิธีนี้จึงไม่จัดว่าเป็นการทําให้
ปราศจากเชื้อที่แท้จริง
รังสีอุลตร้าไวโอเลท (Ultraviolet light: UV) สามารถทําลายเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด แต่การแทรกซึมเข้าสู่อุปกรณ์ไม่ดี
วิธีการทางเคมี (Chemical method)
การใช้แก๊ส
Ethylene oxide gas (EO)
เป็นวิธีทําให้ปราศจากเชื้อที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสําหรับวัสดุที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้
Formaldehyde
มีฤทธิ์ทําลายเชื้อจุลชีพได้อย่างกว้างขวาง สามารถอบให้ปราศจากเชื้อได้ภายใน 6-12 ชั่วโมง ถ้าเป็น
สปอร์ของแบคทีเรียต้องใช้เวลานาน 2-4 วัน
การใช้ High-level disinfectant
ได้แก่
Hydrogen peroxide
Peracetic acid
Glutaraldehyde
การห่ออุปกรณ์ที่ผ่านการทําให้ปราศจากเชื้อแล้วจะมีระยะเวลาในการคงสภาพปราศจากเชื้อ หรือที่เรียกว่า Shelf life
วิธีการเก็บรักษาอุปกรณ์ที่ดี
เก็บไว้ในปริมาณพอเหมาะ พอใช้ ไม่ควรสะสมไว้มากเกินไป
วัสดุปราศจากเชื้อห่อพลาสติกหรือกระดาษ ไม่ควรเอายางรัดเพราะจะทําให้วัสดุห่อหุ้มฉีกขาด
เก็บไว้ในตู้มีฝาปิดมิดชิด ไม่มีแมลงหรือสัตว์เข้าไปรบกวน
วัสดุที่ห่อและทําให้ปราศจากเชื้อในสถานพยาบาล ต้องใช้ในกําหนดเวลา
หากหมดอายุจะต้องนํากลับไปห่อใหม่และทําให้ปราศจากเชื้ออีกครั้งก่อนนําไปใช้
เก็บไว้ในที่แห้ง ห่างจากอ่างล้างมือหรือบริเวณที่เปียกชื้น
ระยะเวลาเก็บอุปกรณ์ ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
คือ
อุณหภูมิ 18-22 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์
35-70% และไม่มีลมผัดผ่าน จะสามารถเก็บได้นานที่สุด
การทําลายเชื้อ (Disinfection)
การกําจัดเชื้อจุลชีพบางชนิดที่แปดเปื้อนผิวหนัง อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการแพทย์ หรือพื้นผิวต่างๆ
ใช้สารเคมี
สารเคมีที่ใช้ทําลายเชื้อก่อโรคที่อยู่บนเครื่องมือหรือบนพื้นผิวต่างๆ เรียกว่า น้ํายาทําลายเชื้อ (Disinfectants)
สารเคมีที่ใช้ทําลายเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อของร่างกาย เรียกว่า (Antiseptics)
วิธีทางกายภาพ
วิธีการทําลายเชื้อ
การต้ม
การใช้สารเคมี
การล้าง
การใช้น้ํายาฆ่าเชื้อ
การทาช่องคลอดก่อนผ่าตัด
ใช้ Iodophor 10%
การสวนล้างช่องคลอด
ใช Cetrimide 15% + Chlorhexidine 1.5% เจือจาง 1:100 หรือ Chloroxylenol 1:100 หรือ 1:200
การทําแผล ล้างแผลให้สะอาดด้วย
Steriled normal saline
ล้างแผลให้สะอาดด้วย Steriled normal saline
ถ้าแผลสกปรกเช็ดผิวหนังรอบ ๆ แผลด้วย Alcohol 70%
ถ้ามีหนองมากให้ทํา Wet dressing ด้วย Steriled normal saline
การทําความสะอาดฝีเย็บก่อนคลอด
หรือก่อนการตรวจภายใน
ใช้ Cetrimide 15% + Chlorhexidine 1.5% เจือจาง 1:100
การล้างมือธรรมดา (Normal hand washing)
ใช้สบู่ก่อนหรือสบู่เหลว การล้างมือหลังสัมผัส
ผู้ป่วยหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
การล้างมือก่อนทําหัตถการ
(Surgical handwashing)
ถ้าเป็นการทําหัตถการครั้งแรกของวันให้แปรงมือและแขนถึงข้อศอกให้ทั่วทุกซอกทุกมุม
การเตรียมผิวหนัง
เพื่อการฉีดยาใช้ Alcohol 70%
ผ่าตัดเล็กใช้ Alcohol 70%
ผ่าตัดใหญ่ใช้ฟอกให้เป็นบริเวณกว้างด้วย Chlorhexidine 4%
ระดับการทําลายเชื้อ
การทําลายเชื้อระดับกลาง
(Intermediate-level disinfection)
สามารถทำลายเชื้อ Mycobacterium tuberculosis เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราอ่อนกําลังลงจนไม่
ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ แต่ไม่สามารถทําลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้
น้ํายาทําลายเชื้อ
แอลกอฮอล์ (70-90% Ethanol หรือ Isopropanol), Chlorine compounds, Phenolic และIodophor, Pasteurization
การทําลายเชื้อระดับต่ำ
(Low-level disinfection)
สามารถทําลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา บางชนิด แต่ไม่สามารถทําลายเชื้อที่มีความคงทน
วิธีนี้เหมาะสําหรับอุปกรณ์ประเภท Noncritical items ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สัมผัสกับผิวหนังปกติ
เช่น หม้อนอน เครื่องวัดความดันโลหิต โต๊ะข้างเตียง ราวกั้นเตียง
การทําลายเชื้อระดับสูง
(High-level disinfection)
สามารถทําลายจุลชีพก่อโรคได้ทุกชนิด
รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย
น้ํายาทําลายเชื้อที่มีคุณสมบัติในการทําลายเชื้อระดับสูง
Glutaraldehyde, Chlorine dioxide, Hydrogen peroxide และ Peracetic acid
กระบวนการพยาบาลในการป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ
พยาบาลเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด เพราะทุกกิจกรรมของพยาบาลล้วนแต่จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้
พยาบาลควรให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในขณะปฏิบัติงาน โดยยึดหลัก Aseptic technique หรือ เทคนิคปลอดเชื้อ
เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยได้ ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยวัณโรค เข้ารับการรักษาด้วยอาการมีไข้ ไอเรื้อรัง
การประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย (Assessment)
โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย การรักษาที่ได้รับ ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
(Nursing diagnosis)
นําข้อมูลที่ได้มากําหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เช่น
เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
มีโอกาสเกิดการระบาดของโรคในชุมชน
การวางแผนและให้การพยาบาล
(Planning and Implementation)
จากข้อมูลที่ประเมินได้ ต้องกําหนดวัตถุประสงค์ เกณฑ์การประเมินผล และ การพยาบาลตามปัญหาของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถแก้ไขได้
กิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
ใช้หลัก Airborne precautions
ให้คําแนะนําการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและญาติ
ล้างมือก่อนและหลังการให้การพยาบาลผู้ป่วย
รายงานอุบัติการณ์การเฝ้าระวังการเกิดโรคต่อคณะกรรมการการติดเชื้อของโรงพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ไม่มีการแพร่กระจายเชื้อสูญญาติและบุคลากรในหอผู้ป่วย