Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยง และปัญหาสุขภาพ, image, นาย…
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยง และปัญหาสุขภาพ
การบาดเจ็บที่ศีรษะทารก (Skull injuries)
ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ
สาเหตุ
การใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด (vacuum extraction)
เกิดจากแรงดันที่กดลงบนศีรษะทารกระหว่างการคลอดท่าศีรษะ
การวินิจฉัย
คลำศีรษะทารก จะพบก้อนบวมโน มีลักษณะนุ่ม กดบุ๋ม ขอบเขตไม่ชัดเจน ข้ามแนวรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะและพบทันทีภายหลังคลอด
ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ (caput succedaneum) เกิดจากการคั่งของของเหลวในระหว่างชั้นของหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ ก้อนบวมโนนี้จะข้ามรอยต่อ (suture) ของกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตไม่แน่นอน
อาการและอาการแสดง
ด้านข้างของศีรษะ ลักษณะการบวมของก้อนโนนี้จะมีความกว้างและมีขนาดโตประมาณไข่ห่าน ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
แนวทางการรักษา
จะหายไปได้เองภายหลังคลอด ประมาณ 2 -3 วันหลังคลอด
การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกาย ประเมินลักษณะก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารก
การซักประวัติ ประวัติคลอดยาก คลอดนาน
การพยาบาล
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นเพื่อคลายความวิตกกังวล
สังเกตลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
บันทึกอาการและการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารก
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
สาเหตุุ
ระยะเวลาการคลอดยาวนาน
การใช้เครื่องดูดสูญญากาศช่วยคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
hyperbilirubinemia
การวินิจฉัย
ซักประวัติการเบ่งคลอดนานหรือการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ
ตรวจร่างกายทารกพบบริเวณศีรษะมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
อาการและอาการแสดง
จะปรากฏให้เห็นชัดเจนหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว ลักณะการบวมจะมีขอบเขตชัดเจนบนบริเวณกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
ก้อนโนเลือดมีสีผิดปกติ ทารกมีภาวะซีดได้จากการสูญเสียเลือดมาก
แนวทางการรักษา
โดยปกติจะค่อยๆหายเองภายใน 2 เดือน แต่ถ้ามีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วยและมีระดับบิลลิรูบินในเลือดสูงจำเป็นต้องได้รับการส่องไฟ
ในรายที่ก้อนเลือดขนาดใหญ่อาจรักษาโดยการดูดเลือดออก
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ เบ่งคลอดนานหรือเบ่งคลอดก่อนปากมดลูกเปิดหมด มีประวัติการได้รับการช่วยคลอดโดยเครื่องดูดสุญญากาศ
การตรวจร่างกาย ประเมินลักษณะก้อนโนเลือดที่กระดูกชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ภายหลังเกิดหลายชั่วโมงอาจพบก้อนโตขึ้น ต่อมาอาจพบภาวะตัวและตาเหลืองร่วมด้วย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระดับความเข้มข้นของเลือด การตรวจหาระดับบิลลิรูบิน
บทบาทการพยาบาล
สังเกต ลักษณะ ขนาด และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมอง
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด
สังเกตอาการซีด การเจาะหาค่า Hct และดูแลให้เลือดตามแผนการรักษาของแพทย์
ถ้ามีภาวะตัวเหลือง ให้ทารกที่ได้รับการส่องไฟตามแผนการรักษาของแพทย์
แนะนำไม่ใช้ใช้ยาทา ยานวด ประคบหรือเจาะเอาเลือดออกเอง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองเนื่องจากมีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะที่เกิดจากการคลอด
ทารกมีโอกาสติดเชื้อที่บริเวณผิวหนังรอบๆบริเวณที่มีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
การวินิจฉัย
จากประวัติการคลอด เช่น เชิงกรานแม่เล็กกว่าปกติ ทารกอยู่ในท่าท้ายทอยหันหลัง (occiput posterior position: OPP)ท่าหน้า หรือท่าก้น ภาวะ CPD การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศหรือคีมช่วยคลอด ระยะการคลอดยาวนาน การคลอดเร็ว
อาการและอาการแสดง
Reflex ลดน้อยลงหรือไม่มี โดยเฉพาะ moro reflex จะเสียไป
กำลังกล้ามเนื้อไม่ดี มีอาการอ่อนแรง
มีภาวะซีด หรือมีอาการเขียว (cyanosis)
ซึม ไม่ร้อง
ดูดนมไม่ดี หรือไม่ยอมดูดนม
ร้องเสียงแหลม
การหายใจผิดปกติ มีหายใจเร็ว ตื้น ช้า ไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดหายใจ
กระหม่อมโป่งตึง
ภาวะแทรกซ้อน
เลือดออกกดศูนย์หายใจทำให้ทารกหายใจลำบาก
ทารกอาจเกิดปัญญาอ่อน (mental retardation)
แนวทางการรักษา
ถ้ามีความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจได้รับการรักษาโดยเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบรรเทาอาการความดันในสมอง
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารกถ้าตัวเย็น
ดูแลให้ได้รับยาระงับการชัก และให้วิตามินเค
ดูแลให้ออกซิเจนถ้าทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำอย่างเพียงพอ
สาเหตุ
ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานในขณะคลอดหรือเกิดภายหลังคลอด
การได้รับอันตรายรุนแรงจาการคลอด
ทารกคลอดก่อนกำหนด
บทบาทการพยาบาล
ดูแลให้ทารกหายใจสะดวกและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
กรณีที่ให้ออกซิเจน ควรสำรวจปริมาณออกซิเจนที่ทารกได้รับความไม่ควรเกิน 40% หรือตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำที่เพียงพอ
ให้ทารกอยู่ในตู้อบ (incubator) ที่มีการควบคุมอุณหภูมิตู้ไว้
เตรียมเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือทารกไว้ให้พร้อม
ตรวจสอบสัญญาณชีพ และบันทึกไว้ทุก 2- 4 ชั่วโมง ตามระดับความรุนแรงของอาการ
ป้องกันและไม่ให้ทารกได้รับอันตรายจากการชัก จัดวางเตียงของทารกไว้บริเวณที่พยาบาลสังเกตอาการทารกได้ง่าย
ดูแลให้ทารกได้พักผ่อน รบกวนทารกให้น้อยที่สุด
ดูแลฉีดวิตามินเค จำนวน 1 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อเพื่อป้องกันเลือดที่จะออกเพิ่ม
ประคับประคองจิตใจมารดาและบิดาเพื่อลดความวิตกกังวล
ให้การดูแลอย่างต่อเนื่องควรมีการส่งต่อพยาบาลชุมชนในการติดตามเยี่ยมบ้านและนัดทารกมาตรวจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อภาวะชักเนื่องจากภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
ทารกเสี่ยงต่อภาวะตัวเหลืองเนื่องจากมีภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
การบาดเจ็บของกระดูก (Bone injuries)
กระดูกไหปลาร้าหัก
การตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าแขนทั้งสองข้างของทารกเคลื่อนไหวไม่เท่ากัน โดยทารกจะยกแขนข้างที่ดีได้เท่านั้น
กรณีที่กระดูกเดาะทารกอาจยกแขนได้ก็ได้ แต่ถ้าคลำตรงบริเวณที่หักอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ
อาการและอาการแสดง
ทารกจะมีอาการหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อสัมผัสบริเวณที่กระดูกหัก
อาจพบว่ามีอาการบวมห้อเลือด ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหักน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
brachial plexus ของทารกอาจได้รับอันตรายร่วมด้วย
หลังจากจำหน่ายทารกกลับบ้านไปแล้วหลายสัปดาห์ พบว่าอาจมีก้อนนูนที่ไหปลาร้าหรือคลำได้ก้อนแข็ง
สาเหตุ การคลอดทารกท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก ทารกตัวโตหรือคลอดท่าก้นที่แขนเหยียดซึ่งผู้ทำคลอดดึงแขนออกมา
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่หายได้เองค่อนข้างเร็ว มักเกิดกระดูกงอกใหม่ภายใน 1 สัปดาห์
รักษาโดยให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกไหลปลาร้าหักอยู่นิ่ง ๆ โดยการกลัดแขนเสื้อติดกับตัวเสื้อประมาณ 10 – 14 วัน
บทบาทการพยาบาล
ดูแลไม่ให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหว
ดูแลให้ได้รับความสุขสบาย และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่ม
ดูแลให้ทารกได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลความสุขสบายจากการขับถ่าย
ดูแลให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจแก่ทารก
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
กระดูกต้นขาหัก
สาเหตุ การคลอดท่าก้น ผู้ทำคลอดดึงขาทารกขณะที่ติดอยู่ที่ทางเข้าเชิงกราน (pelvic inlet)ิ
การตรวจร่างกาย ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าทารกไม่ยกขา และสังเกตว่าทารกจะไม่เคลื่อนไหวขาข้างที่หัก
อาการและอาการแสดง
อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทารกคลอด
เวลาผ่านไปหลายวันจะพบว่าขาทารกมีอาการบวม
มื่อจับทารกเคลื่อนไหวหรือถูกบริเวณที่กระดูกต้นขาหักทารกจะร้องไห้
แนวทางการรักษา
(incomplete) รักษาโดยการใส่เฝือกขายาว ประมาณ 3 -4 สัปดาห์
(complete) รักษาโดยการห้อยขาทั้งสองข้างไว้กับราวที่ขวางปลายเตียง ขาเหยียดตรง ให้ก้นและสะโพกลอยจากพื้นเตียง ดึงขาไว้นาน 2-3 สัปดาห์
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกมีโอกาสเกิดกระดูกไหปลาร้า แขนและขาที่หักติดผิดรูป
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับการหักของกระดูกทารก
กระดูกต้นแขนหัก
การตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าทารกจะไม่งอแขน เมื่อจับแขนขยับทารกจะร้องไห้เนื่องจากรู้สึกเจ็บ
อาการและอาการแสดง
ในรายที่มีกระดูกหักสมบูรณ์ (complete) อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะคลอด แขนข้างที่หักจะมีอาการบวมและทารกไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่หักเนื่องจากรู้สึกเจ็บ
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น ผู้ทำคลอดดึงทารกออกมา แขนเหยียดหรือการคลอดท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
แนวทางการรักษา
ถ้าอาการไม่รุนแรงเป็นเพียงกระดูกแขนเดาะ จะรักษาโดยการตรึงแขนให้แนบกับลำตัวเพื่อไม่ให้แขนเคลื่อนไหว 1-2 สัปดาห์
ถ้าหากกระดูกแขนหักสมบูรณ์ จะรักษาโดยการจับแขนตรึงกับผนังทรวงอก ศอกงอ 90 องศา แขนส่วนล่างและมือทาบขวางลำตัวใช้ผ้าพันรอบแขนและลำตัว หรือใส่เฝือกอ่อนจากหัวไหล่ถึงสันหมัด
การบาดเจ็บของเส้นประสาท
facial nerve injury
สาเหตุ การคลอดยาก การใช้คีมช่วยคลอดทำให้กดเยื่อประสาทสมองคู่ที่ 7
การตรวจร่างกาย จากการสังเกตสีหน้าของทารกเวลานอน เวลาร้องไห้หรือแสดงสีหน้าท่าทาง
อาการและอาหารแสดง
มีอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า
ทารกจะลืมตาได้เพียงครึ่งเดียว ตาปิดไม่สนิท
ริมฝีปากล่างตก ไม่มีรอยย่นที่หน้าฝากเห็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อทารกร้องไห้
แนวทางการรักษา
ถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้าเพียงถูกกดอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน ถึงสัปดาห์
ถ้าเส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
การพยาบาล
ดูแลไม่ให้ดวงตาของทารกได้รับอันตราย
ดูแลให้ทารกได้รับอาหารเหมาะสมตามความต้องการของทารก
ดูแลให้ทารกได้รับการตอบสนองด้านจิตใจ
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อการสูดสำลักเนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต
ทารกเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่จอตาเนื่องจากไม่สามารถปิดตาให้สนิทได้
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับการเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าของทารก
Brachial nerve injury
อาการและอาหารแสดง
C5-C6 Erb Duchenne Paralysis
C7-C8 และ T1 Klumpke’ s paralysis
การตรวจร่างกาย
C5-C6 ตรวจ moro reflex, grasp reflex
C7-C8 และ T1 ตรวจ moro reflex
สาเหตุ
ทารกที่คลอดโดยมีส่วนนำเป็นก้นหรือคลอดยากบริเวณแขนหรือไหล่จากการที่ดึงไหล่ออกไปจากศีรษะในระหว่างการคลอด
แนวทางการรักษา
ให้แขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว
ทำกายภาพบำบัด
ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
การพยาบาล
ดูแลให้ส่วนที่ได้รับอันตรายไม่เคลื่อนไหว
ดูแลให้แขนที่ได้รับอันตรายได้ออกกำลัง
ดูแลความสุขสบายและการผ่อนคลายให้ทารกที่ต้องตรึงแขน
ดูแลตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจทารก
ช่วยให้มารดาและบิดามั่นใจในการดูแลทารก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกมีโอกาสเกิดอัมพาตที่แขนถาวร เนื่องจากเส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขนได้รับบาดเจ็บ
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่เส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขนทารก
ทารกน้ำหนักตัวผิดปกติ
Preterm baby และ Low birth weight infant
ทารกที่เกิดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์เต็มหรือน้อยกว่า 259 วัน และมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม
ลักษณะ
น้ำหนักตัวน้อย
รูปร่างรวมทั้งแขนขามีขนาดเล็ก
ศีรษะจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว กะโหลกศีรษะนุ่ม รอยต่อกะโหลกศีรษะและขม่อมกว้าง
เปลือกตาบวมและนูนออกมา ตามักปิดตลอดเวลา
ผิวหนังบางสีแดงและเหี่ยวย่น มองเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังได้ชัดเจน มักบวมตามมือและเท้า
ไขเคลือบตัว (vernix caseosa) มีน้อยหรือไม่มีเลย
พบขนอ่อน (Lanugo hair) ได้ที่บริเวณใบหน้า หลังและแขน ส่วนผมมีน้อย
ลายฝ่ามือฝ่าเท้ามีน้อยและเรียบ เล็บมือเล็บเท้าอ่อนนิ่มและสั้น
กล้ามเนื้อมีกำลังน้อย
เกิด Intercostals retraction
เสียงร้องเบา และร้องน้อยกว่าทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนด
ผลกระทบของภาวะคลอดก่อนกำหนดต่อทารก
ระบบทางเดินหายใจ หายใจลำบาก
ระบบประสาท ที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำหรือสูงเกินไป
ระบบหัวใจและระบบเลือด ที่พบบ่อย patent ductus arteriosus; PDA
ระบบทางเดินอาหารและภาวะโภชนาการที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะลำไส้ขาดเลือดมาเลี้ยง
ระบบภูมิต้านทาน ที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ะบบเมตาบอลิซึมและต่อมไร้ท่อ ที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของปอดไม่สมบูรณ์
เสี่ยงต่อภาวะอุณหภูมิกายต่ำ เนื่องจากกลไกการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำงานไม่สมบูรณ์
เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย
บทบาทการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับนมมารดาหรือนมผสมตามแผนการรักษา
ดูแลและแนะนำมารดาบิดาในการป้องกันการติดเชื้อ
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง
ดูแลให้วิตามินเค 1 มิลลิกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่าย
ดูแลควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
Large for gestational age
ผลกระทบต่อทารก
ทารกคลอดยาก
Hypoglycemia
Hyperbilirubinemia
Polycythemia
ภาวะแคลเซียม แมกนีเซียมในเลือดต่ำ
ความพิการแต่กำเนิด ส่วนใหญ่เป็นความพิการของหัวใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากไม่ได้รับน้ำตาลจากมารดาภายหลังคลอด
สาเหตุ มักพบในมารดาที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่มีระดับสูงจากภาวะเบาหวาน
ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า percentile ที่ 90 หรือมากกว่า 4,000 กรัม ในทารกคลอดครบกำหนด
Postterm baby
ลักษณะ
มีภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
มีการสะสมไขมันใต้ผิวหนังลดลง มีการหลุดลอกของไข
ผมและเล็บจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ
ผิวหนังแห้งแตก เหี่ยวย่น และหลุดลอก
รูปร่างผอม มีลักษณะขาดสารอาหาร แต่ตื่นตัว
มีขี้เทาเคลือบติดตามตัว
หน้าตาดูแก่กว่าเด็กทั่วไป
บทบาทการพยาบาล
ในระยะรอคลอดให้ติดตามผลการตรวจ EFM ทุก 1-2 ชั่วโมง
ในระยะคลอด ดูแลป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
ในระยะหลังคลอด ดูแลดูดสิ่งคัดหลั่งจากปากและจมูก
ทารกที่มี APGAR score ปกติให้ดูแลเหมือนทารกแรกเกิดทั่วไป แต่ทารกที่มี APGAR score ต่ำกว่าปกติให้ดูแลให้เหมาะสมตามระดับของภาวะพร่องออกซิเจนแรกคลอด
ทารกที่เกิดเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากรกเสื่อม สายสะดือถูกกด และการสำลักน้ำคร่ำในระยะคลอด
เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด เนื่องจากการหายใจลำบากจากการสูดสำลักขี้เทา
ทารกแรกเกิดติดเชื้อ
โรคซิฟิลิส
แนวทางการรักษา
แยกทารกออกจากทารกคนอื่น ๆ
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา
ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคซิฟิลิส พยาบาลจะต้องสังเกตภาวะ congenital syphilis และส่ง cord blood for VDRL ติดตามผลเลือด
การติดเชื้อ Treponemq pallidum ในช่วงอายุครรภ์ก่อน 16 สัปดาห์
โรคหัดเยอรมัน
สามารถติดต่อได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ผ่านทางรกช่วงไตรมาสแรกมีโอกาสติดเชื้อถึงร้อยละ 80
อาการแสดง
ต้อกระจก ต้อหิน PDA septal defect, pulmonary artery stenosis
สมองพิการและปัญญาอ่อน ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์
เกร็ดเลือดต่ำ ซีด ตับม้ามโต ความผิดปกติของโครโมโซม
แนวทางการรักษา
แม้ไม่มีอาการแสดงใด ๆ ควรได้รับการแยกจากทารกปกติ
เก็บเลือดทารกส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายทารกอย่างละเอียด
ปัจจัยเสี่่ยง
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดเป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติออกจากช่องคลอดในระยะก่อนคลอด
มารดาที่มีประวัติการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะมีอาการไข้หรือออกผื่น
โรคสุกใส
มารดาเป็นโรคสุกใสในระยะตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ทารกมีความผิดปกติในหลาย ๆ ระบบ ได้แก่ ผิวหนัง ตา แขนขา ทางเดินอาหาร และระบบประสาท หรือทารกอาจเสียชีวิต
แนวทางการรักษา
มารดาและทารกควรได้รับการแยกกันดูแลจนกระทั่งมารดามีการตกสะเก็ดของตุ่มสุกใสจนหมด
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อสุกใสภายใน 5 วันก่อนคลอดหรือ 2 วันหลังคลอดควรได้รับ varicella-zoster immunoglobulin (VZIG) ทันทีที่คลอดหากมารดาติดเชื้อนานกว่า 5 วันไม่จำเป็นต้องให้ VZIG
หากมารดาติดเชื้อนานกว่า 5 วันไม่จำเป็นต้องให้ VZIG
โรคหนองในแท้
ส่วนใหญ่ ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ มีอาการจะพบว่ามีขี้ตามาก บางครั้งมีลักษณะคล้ายหนอง หนังตาบวม การติดเชื้อบริเวณตาของทารก
แนวทางการรักษา
นอกจากการป้ายตาด้วยยาปฏิชีวนะ หลังจากนั้นทารกต้องได้รับยา Cefixin 1 mg/kg ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ
ต้องเช็ดตาของทารกด้วย NSS หรือล้างตาทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าหนองจะแห้ง
ทารกจะได้รับเชื้อ Neisseria gonorrhea โดยตรงหลังจากมีถุงน้ำคร่ำแตก หรือผ่านช่องทางคลอดที่ติดเชื้อ
โรคเริม
มีไข้ อ่อนเพลีย การดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ตับ ม้ามโต ชัก หรือบางรายพบมีตุ่มน้ำพอง
แนวทางการรักษา
แยกจากทารกคนอื่น ๆ และดูแลอย่างใกล้ชิด
ดูแลให้ได้รับยา Acyclovir ตามแผนการรักษา
เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex virus หลังคลอด
โรคเอดส์
เกิดจากเชื้อไวรัส HIV การติดต่อจากมารดาไปสู่ทารกสามารถติดต่อได้โดยผ่านทางรก การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งจากมารดาขณะคลอด และหลังคลอด และการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
แนวทางการรักษา
ให้หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะ
อาหารทารกโดยไม่จำเป็น
ได้รับยา NVP ชนิดน้ำขนาด 6 มิลลิกรัมทันทีหรือภายใน 8 -12 ชั่วโมงหลังคลอดร่วมกับ AZT 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังจากนั้นจะให้ยา AZT ต่อทุก 2 ชั่วโมง
หา viral load ด้วยวิธี real time PCR assay
โรคตับอักเสบบี
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี การถ่ายทอดทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก ทารกสามารถติดเชื้อจากมารดาได้ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ คลอด จนถึงหลังคลอด
แนวทางการรักษา
ดูดมูกและเลือดออกจากปากและจมูกของทารกออกมาให้มากที่สุด
ทารกสามารถดูดนมมารดาได้ทันทีหลังคลอดแต่หากมารดามีหัวนมแตกให้งดให้บุตรดูดนมเพราะอาจแพร่การกระจายเชื้อสู่ทารกได้
ดูแลให้ทารกแรกเกิดได้รับ HBIG เข้ากล้ามเนื้อโดยเร็วที่สุด
แนะนำให้มารดาพาทารกมาตรวจเลือดตามนัดเมื่ออายุ 9-12 เดือน เพื่อตรวจหา HBsAg และ Anti-HBs
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีการติดเชื้อในร่างกาย เนื่องจากมีการสัมผัสสารคัดหลั่งของมารดาจากการคลอดร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์
บทบาทการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับนมมารดาและน้ำอย่างเพียงพอ
สังเกตอาการผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจและให้การช่วยเหลือเมื่อทารกมีภาวะหายใจลำบาก
ประเมินสัญญาณชีพ
ดูแลและแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของร่างกายทารก
แยกของใช้ของมารดากับทารกและมีการทำลายเชื้ออย่างเหมาะสม
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
แจ้งอาการและแนวทางการรักษาที่ทารกได้รับแก่มารดาบิดา
ทารกแรกเกิดจากมารดาติดสารเสพติด
แอมเฟตามีนและอนุพันธ์
น้้าหนักแรกเกิดน้อย มีความผิดปกติของหัวใจแต่ก้าเนิด ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะสมองตาย ท้าให้มีการท้าลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก
สุรา
Fetal Alcohol Syndrome (FAS)
เจริญเติบโตช้าในครรภ์
การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานไม่ดี
ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ
มีลักษณะผิดรูปของใบหน้าชัดเจน ศีรษะเล็ก
เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีอาการแสดงของการขาดแอลกอฮอล์และภาวะแทรกซ้อนหลังเกิด
มีโอกาสเกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า
เฮโรอีน
ภาวะแทรกซ้อน fetal distress , preterm , PPROM, พิการแต่ก้าเนิด, IUGR,(NAS)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสียสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ เนื่องจากมีอาการท้องเสียและอาเจียน
เสี่ยงต่อน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากดูดนมได้ไม่ดี
มีโอกาสเกิดสัมพันธภาพระหว่างมารดา บิดาและทารกไม่ดี เนื่องจากทารกมีอาการถอนยาและต้องถูกแยกจากมารดาและบิดาตั้งแต่แรกเกิด
ทารกไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการถอนยาเฮโรอีน
เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากระบบประสาทถูกกดและจากภาวะชัก
บุหรี่
เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนเรื้อรัง จากหลอดเลือดหดรัดตัวร่วมกับมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากขึ้น
การขนส่งออกซิเจน
การเจริญเติบโตช้า มีน้ำหนักน้อย
คลอดก่อนกำหนด และเกิดภาวะหายใจลำบาก
มีสติปัญญาต่ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิดและภาวะแทรกซ้อนจากภาวะคลอดก่อนกำหนด
มีโอกาสเกิดการเจริญเติบโตล่าช้ากว่าปกติจากการที่เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ดี
มารดารู้สึกผิดและวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วยของทารก
ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด
ภาวะที่การแลกเปลี่ยนก๊าซของปอดหรือรกเสียไปทำให้ออกซิเจนในเลือดต่้า คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด ทำให้อวัยวะต่างๆได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอเป็นเหตุให้เซลล์และอวัยวะต่าง ๆ สูญเสียหน้าที่หรือตาย
ปัจจัยขณะตั้งครรภ์
อายุมากกว่า 35 ปี หรือน้อยกว่า 16 ปี
โรคเบาหวาน
เลือดออกในระยะตั้งครรภ์
มารดาได้รับยารักษาในการรักษาโรคบางอย่าง เช่น magnesium,adrenergic blocking agents
ติดยาเสพติดหรือสุรา
มีประวัติการตายในระยะเดือนแรกของชีวิต (neonatal death) ในครรภ์ก่อนๆ
PIH /chronic hypertension
Oligohydramnios /Polyhydramnios
Post term gestation
ตั้งครรภ์มากกว่า 1 คน
มารดาป่วยด้วยโรคบางอย่างเช่น โรคหัวใจ ไทรอยด์ เป็นต้น
ทารกในครรภ์มีความพิการ
คลอดก่อนก้าหนดหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนก้าหนด
ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง
ปัจจัยขณะคลอด
ท่าก้นหรือส่วนน้าผิดปกติ
การติดเชื้อ
การเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
สายสะดือย้อย
มารดาได้รับ sedative หรือยาแก้ปวด
การคลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง
Meconium stain amniotic fluid
จังหวะหรืออัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ
การช่วยต้องมีการประเมินทารกและให้การช่วยเหลือเป็นขั้นตอน
A = (Airway)
B = ( Breathing)
D = (drug)
C = (circulation)
การช่วยเหลือพื้นฐานหรือขั้นต้น
ปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
การจัดท่านอนสำหรับทารก
การดูแลเรื่องความอบอุ่นและป้องกันการสูญเสียความร้อนให้แก่ทารก
การดูดเสมหะ
Clearing the airway of meconium
Tactile stimulation
Oxygen administration
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เนื้อเยื่อร่างกายขาดออกซิเจนเนื่องจากทารกมีภาวะหายใจลำบาก
มีโอกาสชักเนื่องจากสมองถูกทำลายจากการขาดออกซิเจน
มีโอกาสหัวใจเต้นผิดปกติ ไตทำงานผิดปกติ และเนื้อเยื่อลำไส้ตามเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายไม่เพียงพอ
มีโอกาสเกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้าเนื่องจากภาวะเจ็บป่วย
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยของทารกและแผนการรักษาที่ทารกได้รับ
ภาวะสูดสำลักขี้เทาเข้าปอด (Meconium aspiration syndrome)
ภาวะหายใจลำบากที่เกิดจากการที่ทารกสูดสำลักขี้เทาซึ่งปนในน้ำคร่ำเข้าทางเดินหายใจ ปอด
สาเหตุ
เมื่อทารกได้รับออกซิเจนระหว่างที่อยู่ในครรภ์ไม่พอ จะทำให้ทารกถ่ายขี้เทาออกมาทารกหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าสู่ปอด แล้วอุดกั้นทางเดินหายใจ
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อทารกสำลักขี้เทาเข้าปอด จะเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจเกิด ball-valve effect ในปอด ลมเข้าปอดได้แต่ระบายออกไม่ได้ ทำให้ถุงลมโป่งและแตก
อาการ
หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบาก มีการดึงรั้งของช่องซี่โครง (retraction) อาการเขียว อกโป่ง เสียงปอดผิดปกติจะได้ยินเสียง crepitation และ rhonchi อาจพบมีขี้เทาติดตามเล็บ ผิวหนังและสายสะดือ ทำให้สายสะดือมีสีเหลือง
การดูแลทารก
ระยะคลอด
ทำการดูดน้ำคร่ำและขี้เทาด้วยลูกยางแดง ในปากและจมูกตามลำดับทันทีที่ศีรษะพ้นช่องคลอด
พิจารณาใส่ ETT เพื่อดูดขี้เทาในรายที่มี asphyxia
เตรียมเครื่องมือ ประสานกุมารแพทย์
ยหลังการดูดขี้เทาในหลอดลม ควรใส่สายยางดูดขี้เทาจากกระเพาะอาหารด้วย
ระยะหลังคลอด
รักษาระดับของ oxygen ให้อยู่ในระดับ 80-100 มม.ปรอท
พิจารณาใช้เครื่องช่วยหายใจ
ดูแลให้ได้รับ oxygen
ระยะก่อนคลอด
ติดตาม FHS อย่างใกล้ชิด
ในรายที่ทารกมีความผิดปกติของ FHS แพทย์พิจารณาการคลอด
เฝ้าระวังการตั้งครรภ์ที่มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะขี้เทาปนเปื้อนในน้ำคร่ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอดเนื่องจากมีภาวะหายใจลำบากจากการสูดสำลักขี้เทา
นาย พงศ์ศิริ พรมจารี รหัส 602701059