Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ - Coggle Diagram
การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ
วงจรการติดเชื้อ
“การติดเชื้อ (Infection)” เป็นปฏิกิริยาของร่างกาย (Host interaction) ที่เกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อโรค (Microorganisms) เข้าสูู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวในร่างกายอย่างมากจนทําให้หน้าที่ของร่างกายผิดปกติ และร่างกายมีปฏิกิริยาต่อเชื้อโรคโดยการสร้างภูมิคุ้มกัน (Immune response) การสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยไม่มีอาการและอาการแสดงของโรคจะเรียกว่า Inapparent infection แต่ถ้ามีอาการของโรคปรากฏให้เห็นจะเรียกว่า Infectious disease
เชื้อก่อโรค (Infectious agent) หมายถึง เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ขึ้นอยู่กับความสามารถของเชื้อในการเพิ่มจํานวนและเจริญเติบโต (Virulence) ความสามารถในการรุกรานเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย ความสามารถในการก่อโรค การก่อโรคแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด
3) เชื้อรา เช่น Candida albicans และ Canduda glabrata
4) ไวรัส เช่น เชื้อหัด อีสุกอีใส เริม ไข้หวัดใหญ่ Corona virus
2) โปรโตซัว เช่น Entamoeba histolytica ทําให้เกิดโรคบิด
5) พยาธิ เช่น พยาธิเส้นด้าย (พบมากในเด็ก) พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวตืด
1) แบคทีเรีย ได้แก่ แบคทีเรียทั้งกรัมบวก (Gram positive) และกรัมลบ (Gram negative)
ทางออกของเชื้อ (Portal of exit) เชื้อจุลชีพออกจากร่างกายของคนซึ่งเป็นโรคได้หลายทาง ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ โดยเชื้อออกมาพร้อมน้ํามูก หรือโรคบางชนิดที่เชื้อโรคออกจากร่างกายผูู้ป่วยหรือผูุ้ติดเชื้อจากการที่แมลงกัดและดูดเลือดไปกัดผู้อื่น
แหล่งกักเก็บเชื้อโรค (Reservoir) แหล่งของเชื้อโรคเป็นที่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและมีการขยายตัว เชื้อโรคแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งเชื้อโรคเฉพาะ แหล่งเชื้อโรคอาจเป็นคน สัตว์พืช ดิน และแมลงต่าง ๆ อาทิ เหา เห็บ หมัด
หนทางการแพรกระจายเชื้อ (Mode of transmission) เชื้อแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยไปสู่ผู้อื่นได้หลาย สามารถแบ่งออกได้เป็น การสัมผัส การหายใจ การแพร่กระจายโดยมีตัวนํา
ทางเข้าของเชื้อ (Portalof entry) เมื่อเชื้อโรคออกจากแหล่งเชื้อโรคแล้วจะทําให้เกิดโรคได้ โดยการหาทางเข้าไปในร่างกายมนุษย์
ใหม่ (Host)โดยมากทางเขามักเป็นทางเดียวกับที่ออกมา
ความไวในการรับเชื้อของบุคคล (Susceptible host) ภายหลังที่เชื้อจุลชีพเข้าไปในร่างกายและจะทําให้บุคคลติดเชื้อง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับลักษณะของเชื้อจุลชีพ ธรรมชาติของเนื้อเยื่อที่รับเชื้อ สุขภาพทั่วไปของแต่ละบุคคล ภูมิคุ้มกันโรค
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ความอ่อนเพลีย พบว่าคนที่อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอจะติดเชื้อง่ายกว่า มีความต้านทานต่อเชื้อโรคน้อยกว่า เช่น คนที่ทํางานหนักเกินไป
ความร้อนหรือเย็น คนที่ได้รับความร้อนหรือเย็นจัดจนเกินไปมีความไวต่อการติดเชื้อมากกว่า เนื่องจากร่างกายต้องปรับตัวต่อความร้อนหรือความเย็นมา ดังนั้นจึงทําให้ความสามารถในการต่อต้านเชื้อโรคน้อยลง
ภาวะโภชนาการ บุคคลที่ได้รับอาหารครบถ้วนความไวต่อการติดเชื้อจะน้อยกว่าคนที่ขาดอาหาร เชื่อกันว่าโปรตีนเป็นสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ และช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโต
โรคภูมิแพ้หรือโรคเรื้อรัง คนที่มีอาการแพ้ต่าง ๆ หรือมีโรคเรื้อรัง มีความต้านทานต่ํากว่าคนปกติ จึงทําให้ความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่รุกรานเข้ามาน้อยลง
ความเครียด (Stress) ถ้าบุคคลมีความเครียดเกิดขึ้น จะมีความไวต่อการติดเชื้อได้ง่ายกว่า เช่น คนที่เพิ่งฟื้นจากการผ่าตัดใหม่ๆ ยอมรับการติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรง
อายุ ในเด็กมีความไวต่อการติดเชื้อง่ายกว่าผูืใหญ่ เนื่องจากการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ได้ดีเท่าผู้ใหญ่
กรรมพันธุ์ เช่น บางคนขาดสาร Immunoglobulin ซึ่งเป็นตัวการสําคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
เพศ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับการติดเชื้อเหมือนกัน พบว่าโรคบางชนิดพบมากในแต่ละเพศไม่เท่ากัน เช่น มักพบโรคปอดบวมในผู้ชายมากกว่า และพบโรคอีดําอีแดงในผู้หญิงมากกว่า
อาชีพ บางอาชีพมีโอกาสที่จะสัมผัสกับเชื้อได้ง่าย หรือลดประสิทธิภาพของกลไกการป้องกันตนเอง เช่น คนเลี้ยงนกพิราบมีโอกาสติดเชื้อไวรัส H1N1
การรักษาทางการแพทย์บางชนิด ทําให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่น คนที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี มีการทําลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น
กระบวนการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis) เมื่อรวบรวมข้อมูลจากการประเมินมาแล้วนําข้อมูลที่ได้มากําหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
มีโอกาสเกิดการระบาดของโรคในชุมชน
การวางแผนและให้การพยาบาล (Planning and Implementation) เมื่อได้ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล จากข้อมูลสนับสนุนที่ประเมินได้ ต้องกําหนดวัตถุประสงค์ เกณฑ์การประเมินผล และ การพยาบาลตามปัญหาของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถแก้ไข หรือบรรเทาปัญหาของผู้ป่วยได้
รายงานอุบัติการณ์การเฝ้าระวังการเกิดโรคต่อคณะกรรมการการติดเชื้อของโรงพยาบาล
ล้างมือก่อนและหลังการให้การพยาบาลผู้ป่วย
ให้คําแนะนําการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและญาติ
ใช้หลัก Airborne precautions
การประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย (Assessment) โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย การรักษาที่ได้รับ ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ
การประเมินผลการพยาบาล(Evaluation)
ไม่มีการแพร่กระจายเชื้อสู่ญาติและบุคลากรในหอผู้ป่วย
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
Standard precautions คือ การนําแนวปฏิบัติของ Universal precautions และ Body substance isolation ซึ่งเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากเลือด สารน้ําของร่างกาย สารคัดหลั่งทุกชนิด และสารขับถ่าย ยกเว้นเหงื่อ การปฏิบัติตามหลัก Standard precautions ประกอบด้วย
ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือสบู่ยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง โดยล้างมือก่อนสัมผัสผู้ป่วย ก่อนให้การพยาบาลผู้ป่วย เมื่อสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง หลังสัมผัสผู้ป่วย
การล้างมือธรรมดา วิธีการ 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เปิดน้ําให้ราดมือทั้งสองข้าง ฟอกด้วยสบู่ให้ทั่วมือ โดยหันฝ่ามือถูฝ่ามือ ขั้นตอนที่ 2 ฝ่ามือถูหลังมือและกางนิ้วมือ เพื่อถูง่ามนิ้วมือ ขั้นตอนที่ 3 ฝ่ามือถูฝ่ามือและกางนิ้วมือ เพื่อถูง่ามนิ้วมือ ขั้นตอนที่ 4 มือสองข้างจับล็อคกัน ให้ฝ่ามืออีกข้างถูหลังนิ้วมือและนิ้วมือถูนิ้วมือ ขั้นตอนที่ 5 ฟอกหัวแม่มือโดยรอบ ด้วยฝ่ามือ ขั้นตอนที่ 6 ใช้ปลายนิ้วมือถูฝ่ามือทําสลับกันทั้ง 2 ข้าง ขั้นตอนที่ 7 ถูรอบข้อมือทั้ง 2 ข้าง
การล้างมือภายหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค (Hygienic hand washing) เป็นการล้างมือเพื่อขจัดเชื้อจุลชีพที่อยู่ชั่วคราวบนมือก่อนปฏิบัติการรักษาพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
การล้างมือก่อนทําหัตถการ (Surgical hand washing) เป็นการล้างมือเพื่อขจัดหรือทําลายเชื้อหรือทําลายจุลชีพซึ่งอยู่ชั่วคราวบนมือ และลดจํานวนจุลชีพประจําถิ่นบนมือเพื่อเตรียมหัตถการ เช่น การผ่าตัด การทําคลอด
การใช้ Alcohol hand rub ทดแทนการล้างมือ หรือในบริเวณที่ไม่มีอ่างล้างมือ แต่ไม่ควรใช้ในกรณีที่มือเปื้อนสิ่งสกปรก หรือสารคัดหลั่งจากร่างกายที่มองเห็นด้วยตาเปล่า โดยใชประมาณ 5 ml.
Transmission-base precautions คือ การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อที่ทําให้เกิดโรคตามทางที่เชื้อออกจากตัวผู้ป่วย และทางที่จะเข้าสู่บุคคล ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยจะต้องทราบทางออกและทางเข้าของเชื้อโรคแต่ละชนิด
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ํามูกน้ําลาย
หากไม่มีห้องแยกและไม่สามารถจัดให้ผู้ป่วยอยู่รวมกันได้และเตียงต้องห่างกัน 3 ฟุต
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ ผ้าปิดปาก
ผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน จัดให้อยู่ห้องเดียวกันได้
จํากัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจําเป็นควรให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูก
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยก
การปองกันการแพรกระจายเชื้อจากการสัมผัส
สวมเสื้อคลุมหากคาดว่าอาจสัมผัสเลือดสารคัดหลั่งหนองอุจจาระของผู้ป่วย
จํากัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจําเป็นต้องเคลื่อนย้าย ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการแปดเปื้อนเชื้อในสิ่งแวดล้อม
ถอดถุงมือและล้างมือด้วยสบู่ผสมน้ํายาฆ่าเชื้อก่อนออกจากห้องผู้ป่วย
หากสามารถทําได้ควรแยกอุปกรณ์ชนิด Non-critical items สําหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ หากไม่สามารถแยกอุปกรณ์ได้ต้องทําความสะอาดและทําลายเชื้อก่อนนําไปใช้กับผู้ป่วยรายอื่น
สวมถุงมือเมื่อให้การดูแลผู้ป่วย และเปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่เมื่อสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้องและมีนโยบายที่แน่นอน การใช้ยาต้านจุลชีพมากเกินไปหรือใช้อย่างพร่ําเพรื่อจะทําให้มีเชื้อดื้อยาม
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ(Airborne precautions)
แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อไว้ในห้องแยกพิเศษ และปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ปวย
ผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน จัดให้อยู่ห้องเดียวกันได้
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ผ้าปิดปากจมูก ชนิด N95
อากาศภายในห้องแยกควรถูกดูดออกภายนอกโดยตรงหรือผ่านเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพ
จํากัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ในกรณีความจําเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอกห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูก
การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล เพื่อให้ทราบลักษณะการเกิดและการกระจายของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
การทําลายเชื้อและการทําให้ปราศจากเชื้อต้องกระทําอย่างถูกต้อง เพื่อให้เครื่องมือ เครื่องใช้ อาคาร สถานที่ ปราศจากเชื้อโรคที่จะทําอันตรายต่อผู้ป่วยและบุคลากร
การติดเชื้อของบุคลากรในขณะปฏิบัติงานในโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์อาจจะได้รับเชื้อในขณะปฏิบัติงานได้ 3 ทาง คือถูกเข็มตําหรือของมีคมบาดมือมีบาดแผลหรือผิวหนังแตกเปนรอยและเลือดหรือสารคัดหลั่งกระเด็นเขาตา ปาก จมูก
การติดเชื้อในโรงพยาบาล
องค์ประกอบของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
คน ผู้ที่ติดเชื้อในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย ความแข็งแรงหรือภูมิต้านทานโรคเป็นปัจจัยสําคัญ โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลจะพบได้มากในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ํา เช่น เด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่เต็มที่
สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมผู้ป่วยในโรงพยาบาลครอบคลุมถึง อาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ บุคลากรในโรงพยาบาล และญาติที่มาเยี่ยม
เชื้อโรค ส่วนใหญ่เป็นเชื้อประจําถิ่น หรือเชื้อที่พบบนร่างกายผูู้ป่วยก่อโรคเหล่านี้เป็นเชื้อที่อยู่ในโรงพยาบาล จึงมีอัตราดื้อต่อยาปฏิชีวนะในอัตราสูง เนื่องจากเป็นเชื้อที่เคยสัมผัสกับยาต้านจุลชีพมาก่อน เช่น เชื้อ
MRSA, Pseudomonas aeruginosa
การแพร่กระจายเชื้อ
การแพร่กระจายเชื้อโดยฝอยละออง(Droplet spread) เกิดจากการสัมผัสกับฝอยละอองน้ํามูกน้ําลาย ยฝอยละอองอาจเกิดขึ้นขณะที่ผู้ป่วย ไอ จาม รวมทั้งการใหกิจกรรมการรักษาพยาบาล เช่น การดูดเสมหะ การตรวจหลอดลม
การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (Airborne transmission) เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยการสูดหายใจเอาเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ ชื้อจุลชีพที่แพรกระจายโดยวิธีนี้ เช่น เชื้อสุกใส
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส (Contact transmission) หมายถึงการแพร่กระจายเชื้อด้วยวิธีการสัมผัสระหว่างเชื้อก่อโรคกับบุคคลที่ไวต่อการติดเชื้อ โดยเชื้อจุลชีพแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสโดยตรง (Direct–contact transmission)เป็นการแพร่กระจายเชื้อที่มีการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างคนต่อคน เช่น การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสโดยอ้อม (Indirect–contact transmission) เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสกับสิ่งของหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อก่อโรค เช่น ลูกบิดประตู
การแพร่กระจายเชื้อโดยการผ่านสื่อนํา(Vehicle transmission) เป็นการแพร่กระจายเชื้อซึ่งเกิดจากการที่มีเชื้อจุลชีพปนเปื้อนอยู่ในเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด อาหาร น้ํา ยา เช่น การเกิดการติดเชื้อ salmonella จากอาหาร
การแพร่กระจายเชื้อโดยสัตว์พาหนะ (Vector-Borne transmission) เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยแมลง หรือสัตว์นําโรค คนได้รับเชื้อจากการถูกแมลงหรือสัตว์กัด และเชื้อที่มีอยู่ในตัวแมลงถูกถ่ายทอดสู้คน เช่น การถูกยุงที่มีไวรัสเด็งกี่
การทําลายเชื้อ และการทําให้ปราศจากเชื้อ
การทําลายเชื้อ(Disinfection) หมายถึง การกําจัดเชื้อจุลชีพบางชนิดที่แปดเปื้อนผิวหนัง อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการแพทย์ หรือพื้นผิวต่างๆ โดยใช้สารเคมี หรือใช้วิธีการทางกายภาพ การทําลายเชื้อมีด้วยกันหลายวิธี
การล้าง ผู้ล้างต้องระมัดระวังมิให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ โดยการสวมถุงมือยาง ผ้ากันเปื้อน การจับของแหลมคมต้องระมัดระวังอย่าให้ถูกตําหรือบาดได้
การต้ม เป็นวิธีการทําลายเชื้อที่ดีที่สุด ทําง่าย ประหยัด และมีประสิทธิภาพดีวิธีการต้มโดยทั่วไปแนะนําต้มเดือดนาน 20 นาที
การใช้สารเคมี เป็นวิธีการสุดท้ายที่จะใช้ถ้าไม่มีวิธีอื่น เนื่องจากฤทธิ์ของการทําลายเชื้อของสารเคมีเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น เชื้อโรค
การใช้น้ํายาฆ่าเชื้อ จําแนกตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนี้ การล้างมือธรรมดา การล้างมือก่อนทําหัตถการ เช่น การผ่าตัด การเตรียมผิวหนัง การทําแผล การทําความสะอาดฝีเย็บก่อนคลอดหรือก่อนการตรวจภายใน ใช้ Cetrimide 15% + Chlorhexidine 1.5% เจือจาง 1:100 การสวนล้างช่องคลอดใช้ Cetrimide 15% + Chlorhexidine 1.5% เจือจาง 1:100 หรือ Chloroxylenol 1:100 หรือ 1:200 การทาช่องคลอดก่อนผ่าตัดใช้ Iodophor 10%
การทําให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization) หมายถึง กระบวนการในการทําลายหรือขจัดเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียจากเครื่องมือทางการแพทย์ อุปกรณ์ที่ต้องผ่านเข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ปราศจากเชื้อ กระแสเลือดหรือเนื้อเยื่อ เช่น เครื่องมือผ่าตัด เข็มฉีดยา
วิธีการทางกายภาพ(Physical method)
การใช้ความร้อน เป็นวิธีที่ปฏิบัติได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทั่วไปเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นระยะเวลาที่ใช้ในการทําให้ปราศจากเชื้อจะสั้นลง
การใช้ความร้อนแห้ง การทําให้ปราศจากเชื้อวิธีนี้จะบรรจุอุปกรณ์ในเตาอบ วิธีนี้เหมาะสําหรับอุปกรณ์ประเภทแก้วและโลหะ
การต้ม การต้มในน้ําเดือด 100 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที สามารถทําลายเชื้อแบคทีเรียได้ทุกชนิดและเชื้อไวรัสได้เกือบทุกชนิด
การเผา ใช้ในการทําลายอุปกรณ์ที่จะไม่นํากลับมาใช้อีก
การใช้ความร้อนชื้น การนึ่งไอน้ําภายใต้ความดัน เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยระยะเวลาที่นึ่งจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดัน
การใช้รังสีการใช้รังสีคลื่นสั้นในการทําให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อเป์นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ทั้งรังสีเอกซ์ (X-ray) และรังสีแกมมา (Gamma rays) การทําให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีนี้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องให้รังสีสัมผัสโดยตรงกับเชื้อจุลชีพ
วิธีการทางเคมี(Chemical method)
การใช้แก๊ส Ethylene oxide gas (EO) เป็นวิธีทําให้ปราศจากเชื้อที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสําหรับวัสดุที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้ Formaldehyde ที่ความเข้มข้น 37% หรือที่เรียกว่า ฟอร์มาลิน (Formalin) มีฤทธิ์ทําลายเชื้อจุลชีพได้อย่างกว้างขวาง สามารถอบให้ปราศจากเชื้อได้ภายใน 6-12 ชั่วโมง ถ้าเปนสปอร์ของแบคทีเรียต้องใช้เวลานาน 2-4 วัน
การใช้ High-level disinfectant ได้แก่ Glutaraldehyde, Hydrogen peroxide และ Peracetic acid