Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ - Coggle Diagram
บทที่ 1การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ
[1] วงจรการติดเชื้อ
1.1) เชื้อก่อโรค (infectious agent)
แบคทีเรีย
โปรโตซัว
เชื้อรา
ไวรัส
พยาธิ
1.2) แหล่งกักเก็บเชื้อโรค (reservoir)
เชื้อโรคมีการเจริญเติบโตและแพร่กระจาย
เชื้อในร่างกายทำให้ก่อโรคและไม่ก่อโรค
1.3) ทางออกของเชื้อ (portal of exit)
ทางระบบทางเดินหายใจ
ทางระบบสืบพันธุ์
ทางทางเดินปัสสาวะ
จากมารดาสู่ทารก
1.4) หนทางการแพร่กระจายเชื้อ (mode of transmission)
การสัมผัส
การหายใจ
การแพร่กระจายโดยมีตัวนำ
1.5) ทางเข้าของเชื้อ (portal of entry)
ทางเดินหายใจ
ทางเดินอาหาร
ทางอวัยวะสืบพันธุ์
ผิวหนังที่ฉีกขาด
1.6) ความไวในการรับเชื้อของบุคคล (susceptible host)
ขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ความเครียด
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
[2] ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
2.1) ความเครียด (stress)
ผู้ที่มีความเครียดมากจะติดเชื้อได้ง่าย
2.2) ภาวะโภชนาการ
ผู้ที่ได้รับสารอาหารครบถ้วนจะติดเชื้อได้ยาก
2.3) ความอ่อนเพลีย
คนที่พักผ่อนน้อยจะติดเชื้อได้ง่ายกว่า
2.4) ความร้อนหรือเย็น
ผู้ที่ได้นับความร้อนหรือความเย็นมากเกินไป
จะต้องปรับตัวมากขึ้น จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
2.5) โรคภูมิแพ้หรือโรคเรื้อรัง
ผู้ที่มีโรคเรื้อรังหรือโรคภูมิแพ้จะมีความไวต่อการติดเชื้อมากกว่า
2.6) เพศ
ในแต่ละเพศมีความจำเพาะต่อการติดเชื้อต่างกัน
2.7) กรรมพันธุ์
บางคนขาด immunoglobulin ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน
2.8) อายุ
ในเด็กมีความไวต่อการติดเชื้อมากกว่าผู้ใหญ่
2.9) การรักษาทางการแพทย์บางชนิด
การได้รับการฉายรังสี
2.10) อาชีพ
บางอาชีพได้รับการสัมผัสเชื้อได้ง่าย ทำให้การป้องกันตัวเองลดลง
[3] การติดเชื้อในโรงพยาบาล
3.1) องค์ประกอบของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
[1] เชื้อโรค
เชื้อประจำถิ่น
เชื้อที่อยู่ภายในโรงพยาบาลมีความต้านทานสูง ทำให้ก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา
[2] คน
ผู้ที่มีความแข็งแรงหรือความต้านทานน้อย จะติดเชื้อได้ง่าย
[3] สิ่งแวดล้อม
การเยื่ยมญาติ
อาคาร สถานที่ เครื่องมือ
เครื่องมือทางการแพทย์
3.2) การแพร่กระจายเชื้อ
[1] การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส (contact transmission)
การสัมผัสทางตรง (direct-contact transmission)
คือ การสัมผัสโดยตรงจากคนสู่คน
การสัมผัสทางอ้อม (indirect-contact transmission)
คือ การสัมผัสสิ่งของปนเปือนบนอุปกรณ์ทางการแพทย์
[2] การแพร่กระจายเชื้อโดยฝอยละออง (droplet spread)
การสัมผัสละอองฝอยน้ำลายจากการไอ จาม พูดและ การร้องเพลงของผู้ป่วย
[3] การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (airborne transmission)
การหายใจเอาละอองเชื้อเข้าสู่ปอด
[4] การแพร่กระจายเชื้อโดยการผ่านสื่อนำ (vehicle transmission)
การที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ในเลือด เช่น การให้เลือด
[5] การแพร่กระจายเชื้อโดยสัตว์พาหะ (vector-borne transmission)
การถูกแมลงหรือสัตว์ที่มีเชื้อภายในตัวกัด
[4] การทำลายเชื้อ และการทำให้ปราศจากเชื้อ
4.1) การทำลายเชื้อ (disinfection)
1.การล้าง
สวมถุงมือ ผ้ากันเปื้อนและแว่นตาป้องกัน
2.การต้ม
เป็นการทำลายเชื้อได้ดีที่สุด โดยการต้มในน้ำเดือดนาน 20 นาที
3.การใช้สารเคมี
เป็นวิธีการสุดท้ายที่จะใช้ เพราะการใช้สารเคมีแต่ละชนิดมีผลต่อการทำลายฤทธิ์ของเชื้อโรค
4.การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
1}} การล้างมือธรรมดา
ใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลว หลังจากสัมผัสผู้ป่วยหรือสิ่งของที่ปนเปื้อน
2}} การล้างมือก่อนทำหัตถการ
ก่อนผ่าตัดหรือก่อนทำคลอด จะต้องใช้แปรงมือและแขนถึงข้อศอกให้ทั่วทุกซอกทุกมุม
3}} การเตรียมผิวหนัง
การฉีดยาใช้ Alcohol 70%
ผ่าตัดเล็กใช้ Alcohol 70% หรือ Tr.iodine 2%
ผ่าตัดใหญ่ใช้การฟอกด้วย Chlorhexidine 4% หรือ Iodophor 7.5% เช็ดน้ำยาออกแล้วทาด้วย Alcohol 70% + Clorhexidine 0.5%
หรือ Iodophor10%
4}} การทำแผล
ล้างแผลให้สะอาดด้วย Steriled normal saline | ถ้าแผลสกปรกเช็ดรอบๆแผลด้วย Alcohol 70% หรือ Tr.iodine 2% หรือ Iodophor 10% | ถ้าแผลมีหนองให้ทำ wet dressing ด้วย Steriled normal saline ไม่ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทาในบาดแผล
เพราะน้ำยาจะทำลายเนื้อเยื่อ
5}} การทำความสะอาดฝีเย็บก่อนคลอดหรือก่อนการตรวจภายใน
ใช้ Cetrimide15% + Chlorhexidine 1.5% เจือจาง 1:100
6}} การสวนล้างช่องคลอด
ใช้ Cetrimide15% + Chlorhexidine 1.5% เจือจาง 1:100 หรือ Chloroxylenol 1:100 หรือ 1:200
7}} การทาช่องคลอดก่อนผ่าตัด ใช้ Iodophor 10%
การทำลายเชื้อระดับสูง
(High-level disinfection)
การทำลายจุลชีพที่ทำให้ก่อโรคได้
การทำลายเชื้อระดับกลาง
(intermediate-level disinfection)
การทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อราอ่อนกำลังลงจนไม่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้
การทำลายเชื้อระดับต่ำ
(low-level disinfection)
การทำลายเชื้อจากการสัมผัส รอบๆตัวของผู้ป่วย
4.2) การทำให้ปราศจากเชื้อ (sterilzation)
4.2.1} วิธีการทางกายภาพ
((2)) การใช้รังสี (Ionizing radiation)
การใช้คลื่นรังสีทั้ง x-ray และแกมม่า ในการกำจัดเชื้อโรค
((1)) การใช้ความร้อน
การเผา (Incineration) ใช้ในการทำลายที่จะไม่นำมาใช้อีกต่อไป
การใช้ความร้อนแห้ง (Dry heat) อบด้วยอุณหภูมิ 160-180 องศาเซลเซียส นาน 1-2 ชั่วโมง เหมาะสำหรับประเภทแก้วและโลหะ
การต้ม (Boiling) ในน้ำเลือด 100 องศา นาน 30 นาที
การใช้ความร้อนชื้น (Moist heat) การนึ่งด้วยไอน้ำภายใต้ความดัน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
4.2.2} วิธีการทางเคมี
การใช้แก๊ส
Ethylene oxide gas (EO) = มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสำหรับวัสดุที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้
Formaldehyde 37% หรือ Formalin(ฟอร์มาลิน) ใช้อบในไอน้ำ เป็นเวลา 3-5 ชั่วโมง สามารถซึมผ่านเข้าไปทำลายสปอร์
การใช้ high-level disinfectant
การห่ออุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้วมีระยะเวลาในการคงสภาพปราศจากเชื้อ
[5] การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
5.1) Standard precautions
ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือสบู่ยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง
1.1} การล้างมือธรรมดา (Normal hand washing) เพื่อล้างมือขจัดสิ่งเปรอะเปื้อน ฝุ่นละออง เหงื่อไคลบนมือ
1.2} การล้างมือภายหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือสิ่งปนเปื้อน เพื่อขจัดจุลชีพที่อยู่ชั่วคราวบนมือก่อนปฏิบัติการรักษาพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
1.3} การล้างมือก่อนการทำหัตถการ (Surgical hand washing) เพื่อลดจำนวนเชื้อประจำถิ่นบนมือเพื่อเตรียมพร้อมทำหัตถการ
1.4} การใช้ Alcohol hand rub ทดแทนการล้างมือกรณีเร่งด่วน หรือบริเวณที่ไม่มีอ่างล้างมือ
สวมเครื่องป้องกันเมื่อคาดว่าจะมีการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งผู้ป่วย
2.1} สวมถุงมือปราศจากเชื้อ (Sterile glove)
และถุงมือสะอาด (Non-sterile glove)
2.2} สวมเสื้อคลุม
2.3} สวมผ้าปิดปากและจมูก
หยิบอุปกรณ์ที่มีคมที่ใช้กับผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง ทิ้งอุปกรณ์มีคมที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม
ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่เปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งอย่างถูกวิธี
บรรจุผ้าเปื้อนในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการสัมผัส
ทำความสะอาดและทำลายเชื้อ หรือทำให้ปราศจากเชื้อจากอุปกรณ์การแพทย์ทุกชนิดที่ใช้แล้ว
หลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลขณะปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการถูกเข็มที้ใช้กับผู้ป่วยตำ
5.2) Transmission-base precautions
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (Airborne precautions)
1.1] แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อไว้ในห้องแยกพิเศษ และปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
1.2] ผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน จัดอยู่ในห้องด้วยกันได้
1.3] อากาศภายในห้องแยกควรถูกดูดออกภายนอกโดยตรงหรือผ่านเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพ
1.4] ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยจะต้องสวมผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
1.5] จำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ในกรณีขนย้ายผู้ป่วยออกนอกห้อง จะต้องให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากชนิดใช้แล้วทิ้ง
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูกน้ำลาย (Droplet precautions)
2.1] แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยก และปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าและออกจากห้องผู้ป่วย
2.2] ผู้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน อยู่ห้องด้วยกันได้
2.3] หากไม่มีห้องแยกและไม่สามารถจัดผู้ป่วยอยู่รวมกันได้ ควรจัดระยะห่างระหว่างเตียงอย่างน้อย 3ฟุต
2.4] ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยจะต้องสวมหน้ากากปิดปาก-จมูก เมื่อให้การดูแลไม่น้อยกว่า 3 ฟุต
2.5] จำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจำเป็นควรให้ผู้ป่วย สวมใส่หน้ากากปิดปาก-จมูกชนิดใช้แล้วทิ้ง
3.การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส (Contact precautions)
3.1] สวมถุงมือเมื่อให้การดูแลผู้ป่วย และเปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่เมื่อสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย
3.2] ถอดถุงมือและล้างมือด้วยสบู่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนออกจากห้องผู้ป่วย
3.3] สวมเสื้อคลุม หากคาดว่าอาจสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง หนอง อุจจาระของผู้ป่วย
3.4] จำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้าย ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการแปดเปื้อนเชื้อในสิ่งแวดล้อม
3.5] หากสามารถทำได้ควรแยกอุปกรณ์ชนิด Non-critical items สำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ
[6] กระบวนการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
6.1) การประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย (Assessment)
การซักประวัติและตรวจร่างกายเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย การรักษาที่ได้รับ ติดต่มผลทางห้องปฏิบัติการ
6.2) การวินิจฉัย (Nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
มีโอกาสเกิดการระบาดของโรคในชุมชน
6.3) การวางแผนและให้การพยาบาล
(Planning and implementation)
ล้างมือก่อนและหลังการให้การพยาบาลผู้ป่วย
ใช้หลัก Airborne precautions
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและญาติ
รายงานอุบัติการณ์การเฝ้าระวังการเกิดโรคต่อคณะกรรมการการติดเชื้อของโรงพยาบาล
6.4) การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ไม่มีการแพร่กระจายเชื้อสู่ญาติและบุคลากรในหอผู้ป่วย