Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง Posttraumatic stress disorder (PTSD),…
โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง Posttraumatic stress disorder
(PTSD)
เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง เช่น การถูกข่มขืนทภัยธรรมชาติ
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ PTSD อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่นเดียวกับภาวะทางจิตใจอื่นๆ ทั้งปัจจัยทางร่างกายและสภาวะเหตุการณ์ในชีวิต แต่อาจเป็นเหตุการณ์ที่ตึงเครียด น่ากลัวหรือกระทบกระเทือนจิตใจอย่างมาก
อาการและอาการแสดง
เกิดอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว เปลี่ยนไปจากเดิม
เก็บตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าสังคม เบื่ออาหาร
เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นตามมาหลอกหลอนอยู่บ่อย ๆ
มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในเชิงลบ รู้สึกว่าชีวิตตัวเองหม่นหมอง ไม่มีค่า
การวินิจฉัยโรค
A. ผู้ป่วยเผชิญหรือถูกคุกมจากเหคุการณ์ที่เฉียดตาย บาดเจ็บรุนแรงหรือความรุนแรงทางเพศ โดยทางใดทางหนึ่ง (หรือหลายทาง)
เป็นผู้พบเห็น หรือเป็นพยานในเหตุการณ์
รับรู้เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่รัก
เผชิญเหตุการณ์โดยตรง
รับรู้รายละเอียดของเหตุการณ์รุนแรงซ˶าๆ
B. มีอาการในรูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ผุดขึ้นมาซ้ำๆ โดมีลักษณะดังต่อไปนี้ตั้งแต่
ความทรงจําร้ายๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ทําให้ทุกข์ทรมานผุดขึ้นมาอยู่ซ้ำๆ โดยไม่ตั้งใจ
ฝันร้าย เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
มีการกระทําหรือความรู้สึกเสมือนเหตุการณ์เกิดขึ้นมาอีก
มีความทุกข์ใจอย่างมากเมื่อพบกับสถานการณ์ที่
เป็นสัญลักษณ์หรือคล้ายกับเหตุการณ์นั้น
มีปฏิกิริยาทางร่างกายเมื่อพบกับสถานการณ์
ที่เป็นสัญลักษณ์หรือคล้ายกับเหตุการณ์นั้น
C.มีพฤติกรมหลีกสี่ยงเมื่อเจอสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ตั้งแต่หนึ่งข้อขึ้นไป
หลีกเลี่ยงหรือพยายามจะเลี่ยงความทรงจํา ความคิด ความรู้สึก ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
หลีกเลี่ยงสิ่งภายนอกที่ทําให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น
D. มีความนึกคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางลบหลังเกิดเหตุการณ์ ตั้งแต่สองข้อขึ้นไป
มีสภาวะอารมณ์ทางลบอย่างต่อเนื่อง
ความสนใจหรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ลดลงอย่างมาก
มีความคิดเกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบของ
เหตุการณ์นั้นบิดเบือนไปจากความเป็นจริง
อย่างต่อเนื่อง
รู้สึกแปลกแยกจากผู้อื่น
มีความเชื่่อและความกาดหวังกับตัวเอง คนอื่น และโลกภายนอกในแง่ลบอย่างเกินจริงตลอด
ไม่สามารถรู้สึกถึงอารมณ์ทางบวกได้
ไม่สามารถจําส่วนที่สําคัญของเหตุการณ์นั้นได้
E. มีอาการตื่นตัวเปลี่ยนไปมากหลังประสบเหตุการณ์นั้น โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ตั้งแต่สองข้อขึ้นไป
หงุดหงิด และโกรธง่าย
มีพฤติกรรมบ้าบิ่น หรือทําร้ายตนเอง
ระแวดระวังมากไป
ตกใจมากกว่าปกติ
ปัญหาด้านสมาธิ
ปัญหาการนอน
F. ระยะเวลาของความผิดปกติ (อาการตามเกณฑ์ข้อ B, C, D และ E) นานกว่า 1 เดือน
G. อาการเหล่านี้ก่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานอย่างมีความสําคัญทางการแพทย์
H. อาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นผลจากการใช้สาร เช่น ยาหรือาสรเสพติด หรือโรคทางกาย
การรักษา
การรักษาโรค PTSD
การรักษาทางจิตใจ เช่น Trauma-focused therapy สํารวจและพูดคุยกันในเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แนะนําการผ่อนคลาย
การรักษาแบบอื่น ๆ ได้แก่ Family Therapy
กลุ่มบําบัด แบบช่วยเหลือกัน ชุมชน เพื่อน หรือ กลุ่มให้ความรู้
การใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน
การจัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ได้แก่ Psychoeducation ให้ความรู้แก่ผู้ที่ป่วย พ่อแม่ ผู้
เกี่ยวข้อง ถึงอาการการดําเนินโรค การรักษา
การรักษาด้วยยา
Antidepressants (SSRIs, tricyclic antidepressants) SSRI (Selective Serotonin Reuptake
Inhibitors) ได้แก่ Sertraline Paroxitine Fluoxitine และ Venlafaxine XR
Psychostimulants หรือ adrenergic agonists (clonidine)
Antianxiety medications (benzodiazepines, propranolol)
การพยาบาล
ช่วยผู้ป่วยให้ยอมรับถึงความเกี่ยวพันกันระหว่าง
เหตุการณ์ร้ายที่เขาเผชิญกับความรู้สึก
ให้ผู้ป่วยประเมินพฤติกรรมที่ผ่านมาในแง่ของ
การกระทบกระเทือนจิตใจ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยกล้าระบายความรู้สึกออกมาเป็นคําพูด
ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่า ความรู้สึกและพฤติกรรมการแสดงออกของเขา เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้เหมือน ๆ กันกับทุกคนที่ต้องเผชิญเหตุการณ์นั้น :
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยหาวิธีแก้ปัญหาขึ้นมาหลาย ๆ อย่าง เช่น การออกกำลังกาย
แสดงความเข้าอกเข้าใจ และยอมรับพฤติกรรมการแสดงออกของผู้ป่วย
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ทบทวนความ
กระทบกระเทือนใจและรายละเอียดของเหตุการณ์
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบเรียบร้อยและดูปลอดภัย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้สร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ กับผู้อื่น
สร้างสัมพันธภาพ แนะนําตัวด้วยท่าทีที่สงบ
ให้ความรู้กับผู้ประสบภัย พ่อแม่ให้เข้าใจผลทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้น
รักษาด้วยยาตามแผนการรักษาของแพทย์
นางสาวยุพเรศ บุญคงแก้ว 612601050