Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคแพนิค (Panic disorder), นางสาวยุพเรศ บุญคงแก้ว 612601050 - Coggle…
โรคแพนิค (Panic disorder)
เป็นโรคที่แสดงการตื่นกลัวโดยไม่มีเหตุผล เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรงในทันที และมีอาการทางกายร่วมด้วย
สาเหตุ
มีการตอบสนองอย่างผิดปกติ ต่อสารสื่อประสาท คือระดับของ norepinephrine เพิ่มขึ้น ระดับ serotonin ลดลงระดับของ gamma-aminobutyric acid
(GABA) ลดลง
เกิดการกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดอาการใจ
สั่น หายใจไม่อิ่มและรู้สึกชา
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological
factors) พบว่าระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system: ANS) ทำงานผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สะดวก รู้สึกเหมือนขาดอากาศหายใจหรือสำลัก
ชา
ใจสั่น ใจเต้น แรงหรือเร็ว เจ็บแน่นหน้าอกหรือไม่สบาย
รู้สึกมึน โคลงเคลง โหวงเหวง คล้ายจะเป็นลม
การรักษา
การรักษาด้วยยา
กลุ่ม Selective serotonin reuptake
inhibitors (SSRIs) เช่น Fluoxetine, Sertraline
ยาต้านเศร้ากลุ่ม Tricyclic antidepressants (TCAs) เช่น Clomipramine และ Imipramine เพื่อควบคุมอาการในระยะยาว
ยากลุ่ม benzodiazepine เช่น alprazolam, lorazepam
การรักษาทางจิตสังคม
อธิบายให้ผู้ป่วยได้ทราบและเข้าใจถึงธรรมชาติของการดำเนินโรคและอาการของโรคที่เกิดขึ้น
แนะนำวิธีปฏิบัติตัว ให้มีการผ่อนคลายจากความเครียดและความวิตกกังวล
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าเป็นโรคที่รักษาได้
ควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถาม
การพยาบาล
พักผ่อนให้เพียงพอและมีสุขลักษณะการนอนที่ดี
ให้พยายามตั้งสติ อย่าตกใจ และอย่าคิดว่าจะป่วยหนักหรือจะหัวใจวายหรือเสียชีวิต เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเครียดและเป็นมากขึ้น
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีนสารเสพติดต่างๆ
ใช้วิธี “ความคิดและพฤติกรรมบำบัด” (Cognitive behavioral therapy - CBT) โดยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการแทนความกลัวแบบไร้สาเหตุด้วยความคิดความเชื่อที่เป็นเหตุเป็นผล
การฝึกจินตนาการเพื่อการผ่อนคลาย
การให้ยากล่อมประสาท/ยาคลายเครียด กลุ่ม Benzodizepine เช่น Alprazolam
ปรึกษาหรือระบายปัญหาต่าง ๆ กับคนที่ไว้ใจ
การให้ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant drugs) ในกลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เพราะช่วยปรับสมดุลการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง เช่น Fluoxetine
นางสาวยุพเรศ บุญคงแก้ว 612601050