Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม
คุณค่า ความเชื่อ ค่านิยมทางสังคมที่มีผลต่อหลักการในการดำเนินชีวิตได้
ประเภทของความเชื่อ
ความเชื่อในสิ่งปรากฏอยู่จริง เช่น น้ำทะเลมีรสเค็ม
ความเชื่อแบบประเพณี ในภาคเหนือเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับผีและอำนาจเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับป่า
ความเชื่อขั้นพื้นฐานของบุคคล มี 2 ลักษณะ คือ เกิดจากประสบการณ์ตรง และเกิดจากการแลกเปลี่ยนพบปะสังสรรค์
ความเชื่อแบบเป็นทางการ เช่น ความเชื่อที่มีต่อหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องการมีสติ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การขัดเกลาทางสังคม
ปัจจัยทางด้านบุคคล ได้แก่ ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ
ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ได้แก่ การรับรู้ และการเรียนรู้
ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีการดูแลสุขภาพ
ความเชื่อแบบการแพทย์แผนตะวันตกและวิธีการดูแลสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วยเกิดจากเชื้อโรค วิธีการดูแลสุขภาพแบบแพทย์ตะวันตก จะมีการวินิจฉัยหาสาเหตุของความเจ็บป่วย ผู้ให้การรักษา คือ แพทย์หรือหมอที่ได้ผ่านการเรียนทางด้านแพทย์ศาสตร์มาโดยเฉพาะ
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพในช่วงเปลี่ยนผ่านสถานการณ์ชีวิต
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบพื้นบ้าน
ระยะตั้งครรภ์
ระยะหลังคลอด
ระยะคลอดบุตร
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการเกิดแบบแพทย์ตะวันตก
การดูแลสุขภาพแบบการแพทย์ตะวันตกมีหลักการดูแลคล้ายคลึงการแบบพื้นบ้าน โดยมีวัตถุประสงค์ให้มารดาและทารกสมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งผ่านทุกระยะของกระบวนการให้กำเนิดได้อย่างปลอดภัย
ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่ตัวอ่อนหรือทารกได้ก่อกำเนิดขึ้นภายในมดลูก
ความเชื่อแบบพื้นบ้านและวิธีการดูแลสุขภาพ เช่น ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการขาดสมดุลธาตุ วิธีการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน จะมีการทำพิธีตั้งขันข้าวหรือการตั้งคายซึ่งเป็นการไหว้ครูเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการรักษา ได้แก่ หมอสมุนไพร หมอเป่า
ความเชื่อแบบอำนาจเหนือธรรมชาติและวิธีการดูแลสุขภาพ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค โดยมีความเชื่อที่ว่า ความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของผี วิธีการดูแลสุขภาพแบบเหนือธรรมชาติ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มหมอดู กลุ่มหมอสะเดาะเคราะห์ กลุ่มหมอธรรม และกลุ่มหมอตำรา
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความชรา
ความเชื่อเกี่ยวกับความชราและการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน
ความเชื่อเกี่ยวกับความชรา ปัจจัยชี้บ่งถึงความชรา เช่น ภาวะหมดประจำเดือนในเพศหญิง
การดูแลสุขภาพวัยชราแบบพื้นบ้าน ได้แก่ การใช้สมุนไพร เช่น สมุนไพรตำรับ (ยาดอง ยาบำรุง) สมุนไพรเดี่ยว (โสม บัวหลวง กวาวเครือขาว)
ความเชื่อเกี่ยวกับความชราและการดูแลสุขภาพแบบการแพทย์แผนตะวันตก
ความเชื่อเกี่ยวกับความชรา กำหนดอายุตั้งแต่ 60 หรือ 65ปีขึ้นไป เป็นเกณฑ์เข้าสู่วัยชรา
การดูแลสุขภาพวัยชราแบบการแพทย์แผนตะวันตก ได้แก่ การดูแลด้านโภชนาการ
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตาย
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณ กฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิดและชาติภพ
การดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบพื้นบ้าน จะมุ่งเน้นการตอบสนองทางด้านจิตวิญญาณของผู้ตายและเครือญาติ
ความเชื่อและการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับความตายแบบแพทย์แผนตะวันตก
จะพิจารณาจากการหยุดทำงานของหัวใจและการทำงานของแกนสมอง
การดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการตายแบบแพทย์แผนตะวันตก มุ่งเน้นให้ระบบและอวัยวะต่าง ๆ สามารถทำงานต่อไปได้และยืดชีวิตผู้ป่วยให้ยาวนานมากที่สุด
ค่านิยมทางสังคม
ค่านิยมทางสังคมจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยทางสังคมหลายอย่างเข้ามามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
สถาบันศาสนา บุคคลและหน่วยงานของศาสนาต่างๆ ก็มีส่วนช่วยในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมอันถูกต้อง
สื่อมวลชนมักนำความคิดเช่นนี้ออกไปเผยแพร่ คนในสังคม โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นจะรับเอาความคิดนี้เข้าไว้โดยไม่รู้ตัว ในด้านความรู้และความคิดสื่อมวลชนย่อมมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความคิดหลายๆ อย่าง
โรงเรียน คือสถาบันทางสังคมที่มีส่วนในการสร้างค่านิยมอันถูกต้องให้แก่เด็กเป็นอย่างมากในการสั่งสอนเด็กให้เกิด ความคิด ความเชื่อ อันจะนำไปสู่แบบแผนการมีพฤติกรรมที่ดี การอบรมปลูกฝังค่านิยมนั้นครูจะต้องมีการติดตามอยู่ทุกระยะ
สังคมวัยรุ่นและกลุ่มเพื่อน การคบหาสมาคมกับเพื่อนในรุ่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนสนิท
ครอบครัว เป็นสถาบันสังคมอันดับแรกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมให้แก่บุคคล เพราะครอบครัวเป็นหน่วยแรกที่อบรมสั่งสอนพฤติกรรมสังคมให้แก่คนตั้งแต่เกิดจนโต
องค์การของรัฐบาล รัฐย่อมมีส่วนในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมให้แก่สังคมตามปกติ รัฐจะควบคุมโรงเรียนและสนับสนุนสถาบันศาสนาให้ทำหน้าที่ในด้านนี้ นอกจากนั้นรัฐยังตรากฎหมายให้สิทธิและอำนาจแก่ครอบครัวในการเลี้ยงดูและอบรมเด็ก
ค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางสังคมและวิถีชีวิตของบุคคลในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าค่านิยมของสังคมนั้น เป็นสิ่งที่บุคคลในสังคมนั้นๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องกระทำต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่บุคคลยกย่องบูชา ค่านิยมทางสังคมไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความถูกต้อง
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและการแสวงหาการรักษาประชาชนในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือพิการ ดูแลรักษาสุขภาพเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วยเป็นโรค ฟื้นฟูสุขภาพให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ประเภทของวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะปกติ หมายถึง แบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมที่มีกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การกินอาหารประเภทน้ำพริกผักจิ้มและอาหารจากธรรมชาติ
ฒนธรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค เช่น การบริโภคอาหารปรุงสุก การคว่ำกะลาหรือใส่ทรายอะเบทเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยุงลาย การรับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรค
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะเจ็บป่วย หมายถึง การรับรู้ของบุคคลที่มีต่อความผิดปกติของร่างกาย
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น การดูแลการพักฟื้นของผู้ป่วยจากคนในครอบครัว
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
Knowledge
องความรู้เหล่านี้สามารถศึกษาได้จาก ศาสตร์ต่าง ๆ เช่น การบริการข้ามวัฒนธรรม
องค์ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมยังรวมไปถึงลักษณะเฉพาะ ทางด้านร่างกาย
การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม คือ การแสวงหาความรู้พื้นฐานที่ เกี่ยวข้องกับโลกทัศน์ ของบุคคลที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม
Encounter
การหาประสบการณ์โดยการเข้าไปอยู่ร่วม ในสังคมต่างวัฒนธรรม
ความสามารถในการเผชิญและจัดการกับวัฒนธรรม การที่ บุคลากรสุขภาพมีความสามารถในการจัดบริการที่เหมาะสมสําหรับผู้รับบริการที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน
Skill
การมีทักษะเกี่ยวกับวัฒนธรรม ความสามารถของบุคลากรสุขภาพในการเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและปัญหาของผู้รับบริการ การมีความไวทางวัฒนธรรม
Desire
ความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม ทําให้ ต้องการเข้าไปสู่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรม
เป็นขั้นที่สูงที่สุดของสมรรถนะทางวัฒนธรรม
Awareness
การตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม
หากบุคลากรสุขภาพ (พยาบาล) ยังไม่เข้าใจ ก็มีโอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมการบริการ ที่ไม่เหมาะสมต่อผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรม ได้
แนวทางการดูแลสุขภาพที่เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรมของการดูแลสุขภาพของประชาชน
ระบบการดูแลสุขภาพภาคพื้นบ้าน
ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน
ระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพ
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ สามารถจัดแบ่งได้ตามประโยชน์และโทษ
นบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้ให้ประโยชน์ เช่น ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแผด
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้โทษ เช่น การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมสุขภาพ เช่น การให้ทารกกินนมแม่นานถึง 2 ปี
ความหมายของวัฒนธรรมได้ (Culture)
ทางสังคมวิทยาได้จําแนกวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภท
วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์ เช่น ถ้วย ชาม
วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม การปฏิบัติสืบต่อกันมาช่น ความคิด ความเชื่อ
ความสําคัญของวัฒนธรรม
ทําให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของ การดํารงชีวิต
ทําให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน
ทําให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
ทําให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
การศึกษาวัฒนธรรมจะทําให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
ทําให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์
วัฒนธรรมเป็นเครื่องกําหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม และเป็นเครื่องกําหนดชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
องค์การหรือสมาคม หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของการจัดระเบียบเป็นองค์การหรือสมาคม มีโครงสร้างซึ่งสามารถมองเห็นได้ มีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับ
องค์พิธีหรือพิธีการหมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของพิธีหรือพิธีการต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นนับตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต คือ การเกิดจนกระทั่งตาย เช่น พิธีรับขวัญเด็ก
องค์วัตถุ ทั้งที่เป็นเครื่องมือและสัญลักษณ์ หมายถึง วัฒนธรรมในด้านวัตถุที่มีรูปร่างสามารถจับต้องได้เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
องค์มติหรือมโนทัศน์ หมายถึง วัฒนธรรมในด้านความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากคําสอนทางศาสนา เช่น ความเชื่อในเรื่องบาปบุญ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2555 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมว่า สิ่งที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของสังคมทั้งทางด้านจิตใจและวัตถุ เช่น ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ศีลธรรม วัฒนธรรมในการแต่งกาย มารยาทที่ขัดเกลาเรียบร้อย รู้จักควบคุมอารมณ์ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก นักมานุษยวิทยาได้สรุปลักษณะพื้นฐานที่สําคัญของวัฒนธรรมไว้ 6 ประการคือ
วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์
วัฒนธรรมเป็นองค์รวมของความรู้และภูมิปัญญา
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้
ฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์นิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่างๆ
วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม และค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกําหนดมาตรฐานพฤติกรรม
ฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา