Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (กฏหมายแพ่งและอาญา) …
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (กฏหมายแพ่งและอาญา)
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
องค์ประกอบของนิติกรรม
ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชนหมายถึง ผู้กระทำนิติกรรมต้องแสดงออกในฐานะเอกชน
การกระทำโดยเจตนาเป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยใจสมัคร เพื่อให้บุคคลภายนอกรับรู้ถึงความต้องการหรือเจตนาของตนที่จะทำนิติกรรมตามกฎหมาย อาจเป็นการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งอาจทำโดยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือแสดงกิริยาที่ทำให้เข้าใจอย่างหนึ่งอย่างใดและการแสดงเจตนาโดยปริยายเป็นการแสดงเจตนาไม่ชัดแจ้งแต่การกระทำอื่นๆ ที่ทำให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่า มีความประสงค์ใดในกิริยาเช่นนั้น
การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหมายถึง การกระทำที่กฎหมายให้อำนาจบุคคลกระทำได้โดยชัดแจ้ง หรือกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าห้ามกระทำ หากนิติกรรมที่กระทำนั้นขัดต่อกฎหมาย ให้ถือเป็นโมฆะ
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิหมายถึง ผลของการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คู่กรณีตามนิติกรรมนั้นๆ
ประเภทของนิติกรรม
แบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียว เกิดผลโดยการแสดงเจตนาของบุคคลเพียงฝ่ายเดียว และมีผลผูกพันทางกฎหมาย เช่น พินัยกรรม
นิติกรรมหลายฝ่าย เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยฝ่ายหนึ่งเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน จึงเกิดนิติกรรม หรือสัญญา
แบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต เช่น ให้โดยเสน่หา สัญญาการซื้อขาย สัญญาการใช้ทุนการศึกษา สัญญาค้ำประกัน
มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิตเช่น พินัยกรรม
แบ่งตามค่าตอบแทน
มีค่าตอบแทน เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่าทรัพย์
ไม่มีค่าตอบแทน เช่น การให้โดยเสน่หา สัญญายืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ย
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
บุคคลธรรมดา
สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
การตายโดยธรรมชาติหมายถึง การป่วยตาย แก่ตาย หรือถูกฆ่าตายของบุคคล
การสาบสูญหมายถึง การที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้ว่า บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลาติดต่อกัน 5ปี ในเหตุการณ์ปกติ หรือเป็นเวลา 2ปี ในกรณีที่มีเหตุอันตรายจากการรบ การสงคราม
นิติบุคคล
สิ่งซึ่งกฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และภายในวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียน
ผู้เยาว์(Minor)
ผู้เยาว์ไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ โดยลำพัง ด้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งนิติกรรมใดๆ ที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม จะเป็นโมฆียะ
บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมาย บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะใน 2กรณี คือ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือการสมรส เมื่อหญิงและชายอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
นิติกรรมที่สามารถทำได้
ทำให้ผู้เยาว์ได้ประโยชน์ สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ เช่น การรับของที่มีผู้ให้โดยเสน่หา การรับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้โดยไม่มีเงื่อนไข เป็นต้น
ผู้เยาว์ต้องกระทำเองเฉพาะตัว การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสมรส การทำพินัยกรรมเมื่อมีอายุ 15ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
สมควรแก่ฐานะและจำเป็นแก่การดำรงชีพ เช่น การซื้ออาหาร เครื่องดื่มและของใช้ในชีวิตประจำวัน การว่าจ้างรถไปโรงเรียน
จำหน่ายทรัพย์สิน ประกอบธุรกิจการค้า หรือสัญญาจ้างแรงงานที่ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตหรือยินยอม ผู้เยาว์สามารถกระทำต่อเนื่องได้
คนไร้ความสามารถ(Incompetence)
คนวิกลจริต (Unsound mind) หรือ อยู่ในภาวะผัก (Vegetative state) ที่คู่สมรส ผู้สืบสันดาน บุพการี ผู้อนุบาล หรือพนักงานอัยการยื่นเรื่องต่อศาล และศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้สามารถไม่อาจทำนิติกรรมใดๆ หากกระทำนิติกรรมนั้น ถือเป็นโมฆียะทั้งหมด หากจำเป็นต้องทำนิติกรรมใดๆ ผู้อนุบาลต้องเป็นผู้ทำแทน นิติกรรมจึงจะสมบูรณ์
การยินยอมให้การรักษาพยาบาลของคนไร้ความสามารถจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาล เว้นแต่กรณีฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่จำเป็นต้องได้รับคำยินยอมจากผู้อนุบาล
มีนิติกรรมบางประเภทที่กฎหมายไม่อนุญาตให้คนไร้ความสามารถ และผู้อนุบาลกระทำ ได้แก่ การสมรส และการทำพินัยกรรมซึ่งถ้ากระทำนิติกรรมนั้น จะเป็นโมษะ
คนเสมือนไร้ความสามารถ(Quasi –incompetence)
กายพิการ หมายถึง ร่างกายพิการไม่สมประกอบแต่กำเนิด หรือเป็นภายหลังเพราะเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ เช่น เด็กพิการทางสมอง ผู้ป่วยอัมพาต
บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเอง หรือจัดกิจการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว และศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
จิตฟั่นเฟือน หมายถึง คนที่จิตไม่ปกติ ไม่สมประกอบ เป็นโรคจิต อาจเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือความชรา แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกลจริต เช่น ผู้สูงอายุ สมองเสื่อม ผู้ป่วยจิตเภท
ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ หมายถึง บุคคลที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยสม่ำเสมอ โดยไม่มีเหตุผลอันควร และมีรายจ่ายเกินรายได้
ติดสุรายาเมา หมายถึง ผู้ที่เสพสุราของมึนเมาต่างๆ หรือเสพยาเสพติด จนเป็นนิสัยและเลิกไม่ได้ มีอาการมึนเมาเสมอ จนไม่เหลือสภาพปกติ
สามารถใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่อย่างธรรมดาทั่วไป รวมทั้งการยินยอมรับการรักษาพยาบาล ยกเว้นนิติกรรมบางประเภท โดยเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์สิน ซึ่งถ้ากระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจในการจัดการ จำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ และกระทำการอื่นๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ลูกหนี้จึงเป็นผู้หย่อนความสามารถ ไม่สามารถกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน เว้นแต่กระทำตามคำสั่ง หรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์หรือเจ้าหนี้ แต่ไม่รวมถึงการยินยอมรับการรักษาพยาบาล
สามีภริยา
ให้ความยินยอมซึ่งกันและกันเป็นการทำนิติกรรมบางประเภท เช่น การซื้อขาย แลก เปลี่ยน การเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3ปี การประนีประนอมยอมความ การกู้ยืมเงิน การให้โดยเสน่หาเกินฐานะ เป็นต้น มิฉะนั้นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม แต่ไม่รวมถึงการยินยอมรับการรักษาพยาบาล ยกเว้นการทำหมันหรือการทำแท้งที่ถูกกฎหมาย ที่ต้องขอความยินยอมในการรักษาพยาบาล
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆะกรรม
มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เช่น สัญญาซื้อขายอาวุธปืนเถื่อนสัญญาซื้อขายยาเสพติด สัญญารับจ้างวางยาฆ่าคนตาย สัญญาชุบชีวิตคนตาย การทำเสน่ห์ให้ชายหลงรัก
ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นโมฆะ
แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ความยินยอมดังกล่าวย่อมไม่มีผลตามกฎหมาย ความยินยอมทางการแพทย์ที่จะมีผลตามกฎหมายต้องเป็นความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว
คือ ความเสียเปล่าของนิติกรรม ที่กระทำตั้งแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีที่กระทำนิติกรรม หรืออาจกล่าวได้ว่านิติกรรมเป็นโมะะ
โมฆียกรรม
การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทำ แต่สามารถบอกล้างหรือปฏิเสธนิติกรรมโดยผู้เสียหายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มีผลให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมะะตั้งแต่เริ่มแรก เสมือนไม่ได้ทำนิติกรรมใด แต่ถ้ามีการให้สัตยาบันหรือรับรองเห็นชอบในนิติกรรมนั้น ย่อมมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มแรก
การแสดงเจตนาโดยวิปริต 1.แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน 2.แสดงเจตนาโดยการฉ้อฉล ทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงผิดไปจากความเป็นจริง 3.แสดงเจตนาโดยการข่มขู่ เนื่องจากการข่มขู่ที่อันตรายใกล้จะถึงตัว และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่กลัวอันตรายนั้น
การบังคับชำระหนี้
เป็นการชำระเงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้ หรืองดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
การที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมมากที่สุด โดยการคืนทรัพย์สิน การใช้ราคาทรัพย์สิน หรือค่าเสียหาย เพื่อความเสียหายที่ก่อขึ้น
ความเสียหายที่คำนวณราคาเป็นเงินได้ คือ ความเสียหายที่แน่นอนและไม่ไกลเกินเหตุ รวมถึงการคืนทรัพย์สิน หรือใช้ราคาค่าเสียหายของความเสียหายที่เกิดขึ้น
ความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณราคาเป็นตัวเงินได้ เช่น หมิ่นประมาท ค่าทำขวัญ
ค่าสินไหมทดแทน
กรณีผู้เสียหายเสียชีวิต
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น
ค่าขาดไร้อุปการะ กรณีที่ผู้ตายมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบุคคลตามกฎหมาย
ค่าขาดแรงงาน
ถ้ายังไม่ตายทันที สามารถเรียกค่ารักษาพยาบาลที่จำป็น เช่น ค่ายา ค่ารักษา ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้
เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย
ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็น
ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างเจ็บป่วย
ค่าเสียความสามารถในการประกอบอาชีพ
ค่าขาดแรงงานในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอก
ค่าเสียหายอื่นที่ไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงิน หรือค่าทำขวัญ
ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
สัญญาหมายถึง การกระทำของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ที่แสดงเจตนาด้วยใจสมัครถูกต้องตรงกันที่จะกระทำหรืองดเว้นการกระทำและตกลงกันทุกข้อโดยไม่มีข้อสงสัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดผลผูกพันโดยชอบตามกฎหมาย
ความรับผิดจากการละเมิดหมายถึง การกระทำหรืองดเว้นการกระทำ โดยจงใจหรือประมาทต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้ละเมิดหรือผู้กระทำต้องรับผิดจากการกระทำโดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายหมายถึง การประทุษกรรม หรือกระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายด้วยการฝ่าฝืนข้อห้าม หรือละเว้นการกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายบัญญัติให้กระทำ งดเว้นในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำ การใช้สิทธิที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่นที่ไม่ยินยอมต่อการกระทำนั้น โดยจงใจหรือประมาท
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อหมายถึง การกระทำโดยมิได้จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังในระดับวิญญูชน
การกระทำโดยจงใจหมายถึง การกระทำที่ตั้งใจหรือเจตนาโดยผิดกฎหมาย ไม่มีสิทธิหรือใช้สิทธิเกินขอบเขต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
ความเสียหายแก่ชีวิต ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ความเสียหายแก่ร่างกาย ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
ความเสียหายแก่อนามัย ความสุขสบายและความรู้สึกต่างๆ เช่น เศร้าใจ เสียใจ
ความเสียหายแก่เสรีภาพ การทำให้ผู้อื่นถูกจำกัดอิสรภาพ เช่น การกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่น การไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้าน หรือไม่มีคำสั่งจำหน่ายผู้ป่วย
ความเสียหายแก่ทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ การให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายหรือการทำให้ผู้อื่นเสียสิทธิต่างๆที่ได้มาถูกต้อง
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด
ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทำไปภายในของเขตอำนาจของตัวแทน
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต
ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์
อายุความคือ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ถ้าผู้เสียหายใช้สิทธินั้นร้องเรียนต่อศาลเกินระยะเวลาที่กำหนด ศาลจะมีคำสั่งยกฟ้องได้ เนื่องจากคดีขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๑๕,๑๙,๒๐-๒๙,๓๑-๓๔,๓๖,๖๑-๖๖,๘๓,๑๑๒,๑๔๙-๑๕๓,๑๕๗,๑๕๙,๑๖๔,๑๗๒-๑๗๘,๑๘๑,๓๖๖,๔๒๐,๔๒๕-๔๒๗,๔๒๙-๔๓๐,๔๓๘,๔๔๓-๔๔๖,๔๔๘,๔๕๖,๑๐๑๕,๑๐๔๘-๑๐๔๙,๑๔๗๖,๑๔๘๐,๑๕๔๗,๑๕๙๙,๑๖๐๐-๑๖๐๒,๑๗๐๓-๑๗๐๔
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน
เป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม เช่น การกระทำที่มีผลต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรการปลอมและการแปลงเอกสาร การลักทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ความผิดต่อส่วนตัว
เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงมีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และกฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจน เช่นความผิดฐานฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ผู้อื่น หมิ่นประมาท
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง เช่นการฆ่าผู้อื่นมีความผิดทางกฏหมาย แต่ถ้ามีการไตร่ตรองหรือเตรียมการไว้ก่อน หรือฆ่าโดยการทรมาณ กระทำทารุณโหดร้าย จะได้รับโทษเพิ่ม
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร เช่น การประทุษร้าย คือการกระทำให้ผู้อื่นไม่สามารถขัดขืนได้ เช่นการฉีดยา ให้ยานอนหลับ หากไม่ได้เป็นการรั้กษาถือว่าเป็นการประทุษร้ายตามกฏหมายอาญา
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ หากขณะกระทำยังไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังมีกฎหมายบัญญัติว่าการการกระทำอย่างเดียวกันนั้นจะเป็นความผิด ศาลหรือผู้พิพากษาจะนำกฎหมายใหม่มาใช้บังคับลงโทษผู้กระทำผิดไม่ได้
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
การกระทำ
ผู้กระทำต้องรู้สึกตัวและรู้ว่าตนกำลังทำอะไร เช่น พยาบาลผูกมัดผู้ป่วย พยาบาลรู้ว่ากำลังผูกมัดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ แต่ถ้าผูกมัดแน่นเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยพิการได้
การงดเว้นหน้าที่ของตน เช่น พยาบาลไม่ดูดเสมหะให้แก่ผู้ป่วยทำให้เสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจจนผู้ป่วยเสียชีวิต
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยเหมือนเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
การกระทำโดยเจตนา เช่น พยาบาลรู้ว่าการฉีดยาแก้ปวดเกินขนาดทำให้กดกา่รหายใจ ถ้าผู้ป่วยตาย พยาบาลมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่หากไม่ตายจะมีความผิดฐานพยายามฆ่า
การกระทำโดยประมาท เช่น การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ
วิสัย เช่น พยาบาลวิชาชีพย่อมมีความระมัดระวังในการท แผลมากกว่าคนทั่วไป พฤติการณ์ เช่น การช่วยทำคลอดฉุกเฉินในรถทัวร์หรือในแท๊กซี่ จะให้มีเครื่องมือพร้อมและปลอดเชื้อเหมือนกับการคลอดในห้องคลอดของโรงพยาบาลไม่ได้
การกระทำโดยไม่เจตนา เช่น ใช้มีดฟันที่ขาผู้ตาย มีบาดแผลเล็กน้อยแค่ผิวหนังฉีกขาด ถ้ารักษาตามหลักวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ทำให้ถึงตายได้ แต่ผู้ตายปล่อยแผลให้สกปรกเกิดการติดเชื้อและเป็นบาดทะยักตาย กรณีนี้ถือว่าผู้กระทำมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นตายโดยไม่เจตนา
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
เหตุยกเว้นความรับผิด
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น หญิงสาวกัดลิ้นผู้ชายที่เข้ามาลวนลามจนขาด ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเอง จึงได้รับการยกเว้นความรับผิด
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ เช่น ความผิดฐานข่มขืนชำเรา หากหญิงยินยอมการกระทำของชายก็ไม่เป็นความผิด
เหตุยกเว้นโทษ
กระทำด้วยความจำเป็นเป็นการกระทำเพราะเหตุถูกบังคับ หรืออยู่ภายใต้อำนาจของใครหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืน
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต บุคคลกระทำผิดขณะที่ไม่สามารถรับผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะเป็นโรคจิต จิตบกพร่อง จิตฟั่นเฟือน
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าผู้กระทำทราบว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วยังทำตามคำสั่ง จะไม่ได้รับยกเว้นโทษ
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี กระทำความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ บางความผิดระหว่างสามี ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับการยกเว้นโทษ ได้แก่ ลักทรัพย์วิ่งราวทรัพย์
เหตุลดหย่อนโทษ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด กฎหมายยอมให้บุคคลยกความไม่รู้นี้ขึ้นเป็นเหตุของการขอลดหย่อนโทษได้ โดยขึ้นกับสภาพความคิดและพฤติการณ์เฉพาะตัวของผู้กระทำผิด
การกระทำโดยบันดาลโทสะ การที่บุคคลกระทำความผิด เพราะความกดดันจากการถูกข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรมจนเป็นเหตุให้บันดาลโทสะ
เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษได้แก่ เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีความดีมาก่อน รับสารภาพผิด
อายุความ
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดฐานบุกรุกหรือหมิ่นประมาท กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
อายุความฟ้องคดีทั่วไป อายุความ 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือ 20 ปี และ อายุความ 1ปี สำหรับความผิดลหุโทษ
โทษทางอาญา
โทษประหารชีวิตเป็นโทษสูงสุด สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดคดีอุกฉกรรจ์
โทษจำคุกเป็นโทษจำกัดเสรีภาพของนักโทษที่ถูกควบคุมไว้ในเรือนจำ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
โทษกักขังเป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง ได้แก่ เปลี่ยนโทษจำคุกไม่เกิน 3เดือน
โทษปรับการเสียค่าปรับ คือ การชำระเงินต่อศาลตามจำนวนที่ศาลกำหนดไว้ในคำพิพากษา ถ้าไม่ชำระภายใน 30วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นอาจถูกยึดทรัพย์สินหรือกักขังแทนค่าปรับ
โทษริบทรัพย์สิน เช่น ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ใครจัดทำหรือมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดทรัพย์สินซึ่งเกี่ยวข้องกับสินบนของเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจ ให้รางวัลในการกระทำความผิด
ลหุโทษ คือ ความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำงานเพื่อบริการสังคม
ผู้นั้นกระทำความผิดและต้องโทษปรับ แต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ
ศาลพิพากษาปรับไม่เกิน 200,000 บาท และผู้กระทำผิดมีความประสงค์จะขอทำงาน เพื่อบริการสังคมหรือทำงานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับ
ผู้ที่ถูกลงโทษโดยการทำงานบริการสังคม จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติ
ผู้ที่จะทำงานบริการสังคมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางศีลธรรม วินัย หรือโครงการอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร
ละเว้นการคบหาสมาคมหรือประพฤติใดๆ ที่อาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกัน
ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด
ให้ผู้ดูแลรายงานเกี่ยวกับการทำงานให้ศาลทราบ
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย เช่น ไม่ทักท้วงเมื่อแพทย์มีคำสั่งให้จำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยอาการยังไม่ดีพอที่จะกลับบ้าน
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ ประเมินอาการในแต่ละเวรไม่ครบถ้วน ไม่ปรับปรุงแผนการดูแล ไม่สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ ประเมินผู้ป่วยแรกรับไม่ครบถ้วน ไม่ซักประวัติการแพ้ยาหรือสารอื่นๆ ไม่สอบถามยาที่ผู้ป่วยได้รับ ไม่วางแผนการดูแล ไม่ปฏิบัติตามนโยบายหรือแนวปฏิบัติของโรงพยาบาล ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจา
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ปฏิบัติตามคู่มือการใช้เครื่องมือ ไม่ตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องมือก่อนนำมาใช้ อาจเกิดอันตรายได้ทั้งผู้ใช้งานและผู้ป่วย
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร ไม่รายงานแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือรายงานแพทย์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยอาการทรุดหนัก
ความบกพร่องด้านการบันทึก เช่น ไม่บันทึกสาระของคำสั่งพร้อมกับลงเวลาที่สั่ง รวมถึงช่วงเวลาที่โทรตาม
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพกับการปฏิเสธการรักษา
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ จำคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต จำคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
เป็นผู้ทำคำรับรองเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นผู้ใช้หรืออ้างคำรับรองนั้นโดยทุจริต
ใช้เอกสารเท็จนั้นในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดฐานปลอมเอกสาร
ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน เติมหรือตัดทอนข้อความ
นำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้ในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
ความผิดฐานปลอมเอกสาร รวมถึงผู้ที่กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่ง
ประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง
๒,๑๘,๑๙,๒๓,๒๘-๓๐/๒,๓๒-๓๔,๓๗,๔๖,๔๗,๕๙,๖๔,๖๕,๖๗,๖๘,๗๐,๗๑๗๓,๙๖,๑๐๒,๒๖๔,๒๖๙,๒๗๖-๒๗๗ตรี,๒๘๒-๒๘๓,๒๘๘,๒๙๑,๒๙๗,๓๐๐-๓๐๕,๓๐๗,๓๒๓,๓๗๓,๓๗๔,๓๙๐,๓๙,๒๔๗,
การทำให้หญิงแท้งลูก
การพยายามทำให้หญิงแท้งลูก หากหญิงนั้นยอม ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ เพราะความผิดยังไม่สำเร็จ
การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมาย
จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืนกระทำชำเรา
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ได้รับอันตรายสาหัสอย่างอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 –10 ปีหรือปรับตั้งแต่ 20,000 –200,000 บาท และถ้าหญิงตั้งครรภ์ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 –10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 –400,000 บาท
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ