Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติเวชและนิติจิตเวช, นางสาว เนหา สุกูล รุ่น 36/1…
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติเวชและนิติจิตเวช
ความหมายและความสำคัญของนิติเวชและนิติจิตเวช
จิตเวช หมายถึง ความเจ็บป่วยทางจิต ความผิดปกติของอารมณ์และบุคลิกภาพ
นิติเวช หมายถึง การนำหลักทางการแพทย์ประยุกต์ใช้ เพื่อคลี่คลายข้อพิพาทและพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ
นิติจิตเวช หมายถึง การนำหลักจิตเวชประยุกต์เพื่อประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรมและความสงบของสังคม
การวินิจฉัย และขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช
การวินิจฉัยทางนิติจิตเวช
พิจารณาวัตถุประสงค์ว่าส่วนตัวผู้ป่วยมาเพื่อต้องการทราบอะไร
การตรวจทางจิตเวชต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ โดยได้ข้อมูลจากทีมนิติจิตเวช
การรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่เกี่ยวกับคดี
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางจิต
ขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช
พิจารณาวัตถุประสงค์ คือ ต้องกระจ่างในความมุ่งหมาย
การตรวจทางจิตเวช ต้องรีบทำอย่างละเอียด
การรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อคดี อีกส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตเวช
วิเคราะห์ วินิจฉัย โดยการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ซึ่งการพิจารณาข้อสรุป
สรุปผลการวินิจฉัย
การวินิจฉัยทางคลินิก (clinical diagnosis) เพื่อการรักษาการพยากรณ์โรค
การวินิจฉัยทางกฎหมาย (legal diagnosis) ส่งที่ต้องพิจารณา คือ
การเตรียมตัวให้ปากคำต่อศาล
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติเวช และนิติจิตเวช
กฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของบุคคลวิกลจริต
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65
ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
การพิจารณาความผิดทางอาญา
ไม่สามารถรู้ผิดชอบหมายถึงขณะประกอบคดีผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่รู้ว่าการกระทำของตนถูกหรือผิดดีหรือชั่วควรหรือไม่ควร
ไม่สามารถบังคับตนเองได้ หมายถึง ขณะประกอบคดี ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถห้ามจิตใจ มิให้ร่างกายทำการนั้นได้ อันเกิดจากโรคจิต จิตบกพร่อง หรือจิตฟั่นเฟือน
ความสามารถในการต่อสู้คดี หรือวิธีพิจารณาความอาญา
พิจารณาวัตถุประสงค์ว่าส่วนตัวผู้ป่วยมาเพื่อต้องการทราบอะไร
การตรวจทางจิตเวชต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ โดยได้ข้อมูลจากทีมนิติจิตเวช
การรวบรวมข้อมูล
ส่วนที่เกี่ยวกับคดี
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางจิต
วิธีการเพื่อความปลอดภัย
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56
ถ้าศาลเห็นว่าการปล่อยตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับการลดโทษตามมาตรา 65 จะเป็นการไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน ศาลจะสั่งให้ส่งตัวไปควบคุมไว้ในสถานพยาบาลก็ได้ และคำสั่งนี้ศาลจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 49
ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษ หรือพิพากษามีความผิด แต่รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษบุคคลใด ถ้าศาลเห็นว่าเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ศาลจะกำหนดในคำพิพากษาว่า บุคคลนั้นจะต้องไม่เสพย์สุรายาเสพติดให้โทษอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี นับแต่วันพ้นโทษหรือวันปล่อยตัว เพราะรอ การกำหนดโทษหรือรอการลงโทษก็ได้
วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56
ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษเมื่อศาลใดคำนึงถึงประวัติ ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แล้วปล่อยตัวเพื่อให้โอกาส
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 57
เมื่อความปรากฏแก่ศาลหรือความตามคำแถลงของพนักงานอัยการหรือเจ้าหนักงานว่า ผู้กระทำความผิด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังที่ศาลกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณี แต่ถ้าในเวลาที่ศาลได้กำหนดตามมาตรา 56 ศาลอาญาตักเตือนผู้กระทำความผิด หรือกำหนดการลงโทษที่ยังไม่ได้กำหนดหรือลงโทษ ซึ่งรอไว้นั้นก็ได้
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58
ถ้าภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้กระทำความผิด อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้นให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณีแต่ถ้าในเวลาที่ศาลได้กำหนดตามมาตรา 56 ผู้นั้นมิได้กระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคแรกให้ผู้นั้นพ้นจากการที่ถูกกำหนดโทษหรือถูกลงโทษในคดีนั้น แล้วแต่กรณี
ความรับผิดชอบในทางอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 66
ความมึนเมานั้นจะได้เกิดโดยผู้เสพย์ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้มึนเมา หรือได้เสพย์โดยถูกขืนใจให้เสพย์และได้กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรับผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผู้กระทำความผิดจึงจะได้รับยกเว้นโทษสำหรับความผิดนั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 248
ถ้าบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต เกิดวิกลจริตก่อนประหารชีวิต ให้รอการประหารชีวิตไว้ก่อนจนกว่าผู้นั้นจะหาย ขณะทุเลาการประหารชีวิตอยู่นั้น ศาลมีอำนาจยกมาตรา 46 วรรค (2) แห่งกฎหมายลักษณะอาญามาบังคับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 246
ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อน
เมื่อจำเลยวิกลจริต
เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก
ถ้าจำเลยมีครรภ์แต่เจ็ดเดือนขึ้นไป
ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงเดือนในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้น ให้ศาลสั่งพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจจัดให้บุคคลดังกล่าวแล้วอยู่ในสถานที่อันควร
ความหมายเกี่ยวกับผู้ดูแล
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 373
ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตนั้น อาจเที่ยวตามลาพังต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ป.พ.พ. มาตรา 29
บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าภริยาสามีก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูกหลาน เหลน ลื้อก็ดี ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลแล้วศาลจะสั่งให้บุคคลผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ คำสั่งอันนี้ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา
ป.พ.พ. มาตรา 30
บุคคลผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ท่านว่าต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล
ป.พ.พ. มาตรา 31
การใด ๆ อันบุคคลผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้ทำลงไปการนั้นท่านว่าเป็นโมฆียะ
ป.พ.พ. มาตรา 32
การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตได้ทำลง แต่หากบุคคลนั้นศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถไซร้ ท่านว่าการนั้นจะเป็นโมฆียะ ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าได้ทำลงในเวลาซึ่งบุคคลนั้นวิกลจริตอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้ทำเป็นคนวิกลจริต
ป.พ.พ. มาตรา 429
บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลที่ตนละเมิดบิดา มารดา หรือผู้อนุบาลเช่นว่านี้ ย่อมต้องรับผิดชอบร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร แก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ป.พ.พ. มาตรา 430
ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จาต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ระมัดระวังตามสมควร
กระบวนการเกี่ยวกับนิติจิตเวช
บุคคลที่สงสัยว่าวิกลจริต หรือมีปัญหาสุขภาพจิตขณะประกอบคดี
ถูกจับดำเนินคดี
ปล่อยตัวถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้กระทำความคิด
มีหลักฐานว่ากระดำความผิด
งดสอบสวนหรือพิจารณาคดี
ตรวจวินิจตาม มาตรา 14
รักษาตามขั้นตอน
อาการทางจิตทุเลา
อาการทางจิตไม่ทุเลา
แจ้งผลการรักษาเป็นระยะ
1 more item...
บทบาทของพยาบาลกับงานนิติจิตเวช
ใช้การสังเกต และการบันทึกอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด และเป็นระยะๆ
เก็บข้อมูลของผู้ป่วยเป็นความลับ เว้นแต่เป็นเรื่องทางกฎหมาย
ในกรณีที่บริษัทประกันร้องขอข้อมูลของผู้ป่วย พยาบาลต้องแจ้งให้แพทย์เจ้าของไข้ทราบ แพทย์อาจจะให้พยาบาลช่วยดำเนินการในการรวบรวมข้อมูล จากนั้นให้ผนึกซอง ตีตราลับและส่งถึง ฝ่ายแพทย์ของบริษัทประกันให้เร็วที่สุด
ในกรณีผู้ป่วยจิตเวช พยาบาลควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยที่อาจก่อนให้เกิดอันตราย ในอนาคต
บทบาทของพยาบาลกับการชันสูตรพลิกศพ
กรณีมีผู้ถูกสัตว์ทำร้ายตาย และตายโดยอุบัติเหตุ ถ้าแพทย์ตามมาตรา 150 วรรคหนึ่งมีเหตุจำเป็นไม่สามารถไปชันสูตรพลิกศพได้ แพทย์อาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล แล้วรีบรายงานให้แพทย์ทราบโดยเร็ว เพื่อดำเนินการตามมาตรา 150 วรรคหนึ่งต่อไป
หลักการเขียนรายงานการชันสูตรพลิกศพ
การตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อดูพยาธิสภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูสารในร่างกาย
รายงานการผ่าศพชันสูตร ซึ่งเป็นตรวจสอบสภาพภายนอก / ภายในของศพนั้นๆ
เขียนรายงาน ณ ที่เกิดเหตุ
การลงความเห็นในเรื่องเหตุ และพฤติการณ์ที่ตาย
หลักการเขียนรายงานการชันสูตรบาดแผล
ความเห็นเกี่ยวกับแผล
ข้อเท็จจริง (จำนวน ชนิด ตำแหน่ง ขนาด สิ่งแปลกปลอมที่พบในแผล ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิธีการรักษาพยาบาล และความผิดปกติที่เป็นผลจากการบาดเจ็บ)
หลักการเก็บรักษาวัตถุพยาน
รวบรวมวัตถุพยานหรือสิ่งที่สงสัยว่าเป็นวัตถุพยาน ค
แยกหีบห่อ การบรรจุซอง เขียนรายละเอียด
ป้องกันการปลอมแปลงเจือปน หรือเสื่อมสภาพ
ส่งมอบวัตถุพยานด้วยความระมัดระวัง รัดกุม มีบันทึกการส่งมอบและผู้รับผิดชอบ
การบันทึกอาการและอาการแสดง
บันทึกอย่างถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง กระชับ ชัดเจน ใช้การขีดฆ่าและเขียนชื่อกำกับแทนการลบ
ต้องมีการสังเกตและบันทึกอาการ อาการแสดงเป็นระยะๆ
ในการบันทึกต้องระมัดระวังการใช้ภาษา อย่าใช้อารมณ์ในการเขียน
ควรเขียนให้สื่อความหมายในแง่การรักษาและกรณีที่เป็นพยานเอกสาร
พึงระลึกไว้เสมอว่าบันทึกอาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นเอกสารลับ และผู้ป่วยสามารถขอดูได้ จึงไม่ควรเปิดเผยเอกสารนี้กับผู้อื่น ยกเว้นแพทย์ หรือในกรณีที่ต้องที่ต้องมีการเปิดเผยตามข้อกำหนดของศาล
นางสาว เนหา สุกูล รุ่น 36/1 เลขที่ 61
อ้างอิง
สื่อการเรียนการสอน บทที่ 7 นิติเวชและนิติจิตเวช