Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Polycythemia
ภาวะเลือดข้น, อ้างอิง
พบแพทย์. (2559). เลือดข้น…
Polycythemia
ภาวะเลือดข้น
สาเหตุของเลือดข้น
ภาวะเลือดข้นที่มีสาเหตุจากไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาในปริมาณที่มากเกินไป (Absolute Polycythemia) แบ่งได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
ภาวะเลือดข้นที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ (Primary Polycythemia หรือ Polycythemia Vera) ทำให้ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในปริมาณที่มากผิดปกติ และผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดในปริมาณที่มากผิดปกติด้วยเช่นกัน มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
ภาวะเลือดข้นที่มีสาเหตุมาจากการผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิติน (Erythropoietin) ในปริมาณที่มากเกินไป (Secondary Polycythemia)
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnoea) ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ จึงผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิตินมากขึ้น
-
การตรวจวินิจฉัยโรค
-
-
การตรวจหาสารพันธุกรรมเจเอเคทู (JAK2) ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ที่มีภาวะเลือดข้นที่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารพันธุกรรมเจเอเคทู (Polycythemia Vera)
การรักษา
การถ่ายเลือด (Phlebotomy) วิธีการจะคล้ายกับการบริจาคเลือด โดยจะรักษาทุกสัปดาห์ หากอาการดีขึ้นจะลดลงเหลือทุก ๆ 6-12 สัปดาห์ หรือน้อยกว่านั้น จนกว่าผู้ป่วยจะมีระดับความเข้มข้นของเลือดลดลงไปจากเดิมประมาณ 45%
การใช้ยา เมื่อผู้ป่วยมีระดับความเข้มข้นของเลือดลดลงแล้ว แพทย์อาจจะให้รับประทานยาเพื่อชะลอการทำงานของไขกระดูกในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
ยาไฮดรอกซียูเรีย (Hydroxyurea) ใช้ในการป้องกันและรักษาผู้ที่มีภาวะม้ามโต ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของภาวะเลือดข้น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย
ยาอินเตอร์เฟอรอนอัลฟ่า (Interferon-Alpha) เป็นยาที่ใช้ชะลอการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้จากการใช้ยา เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
ยาแอสไพริน (Aspirin) เป็นยาต้านเกร็ดเลือด ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงอาจช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น อาการแสบร้อนที่มือและเท้า อาการคัน อาการปวด เป็นต้น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงการยืดร่างกายโดยเฉพาะที่บริเวณขาและข้อเท้า เพื่อให้เลือดไหลเวียนในร่างกายได้ดีขึ้นและช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดได้
-
หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้ร่างกายหนาวหรือร้อนมากเกินไป เพราะจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดและดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันอาการเลือดข้นขึ้น
การป้องกัน
ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์เพื่อป้องกันน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาชนิดต่างๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ
ภาวะแทรกซ้อน
ในผู้ที่มีภาวะเลือดข้นแบบ Polycythaemia Vera อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน ม้ามโต
หมายถึง
ภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดในจำนวนที่มากผิดปกติ ทำให้เลือดข้นขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย และทำให้ผู้ป่วยหน้าแดง มือและเท้าแดง ความดันโลหิตสูง เลือดกำเดาไหล ฟกช้ำ เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรง ไอเรื้อรัง ประวัติมือเท้าแดงคล้ำ คันเวลาอาบน้ำอุ่น อาการอ่อนเพลีย คุณภาพการนอนไม่ดี อาจสังเกตพบว่ามีหน้าแดง หลอดเลือดดำใต้ลิ้นขยายตัว รวมถึงภาวะ cyanosis ที่ริมฝีปาก ติ่งหู และ ปลายนิ้ว ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
-