Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์, จัดทำโดย…
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
วิวัฒนาการของกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
เดิมอยู่ภายใต้ “พระราชบัญญัติ การแพทย์ พ.ศ. 2466”
“การบำบัดโรคทางยาและทางผ่าตัด รวมทั้งการผดุงครรภ์ การช่างฟัน การสัตวแพทย์ การปรุงยา การพยาบาล การนวดหรือการรักษา คนเจ็บป่วยไข้โดยประการใดๆ”
พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2480 มีพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ได้แก่แผนโบราณ, แผนปัจจุบัน
พ.ศ. 2518 เพิ่ม กายภาพบำบัดและเทคนิคการแพทย์
5 กันยายน พ.ศ.2528 ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528” บังคับใช้ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2528
พ.ศ. 2472 ตัดสาขาสัตวแพทย์ออก
“พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540” บังคับใช้ 24 ธันวาคม 2540 จนถึงปัจจุบัน
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายพาณิชย์ เกี่ยวข้องกับการค้าขาย
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดำเนินพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น บังคับให้ฝ่ายที่ผิดปฏิบัติตามคำพิพากษา
กฎหมายแพ่ง กำหนดสิทธิ หน้าที่ และ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างเอกชนกับเอกชน
นิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน
การกระทำโดยเจตนา (ชัดแจ้ง, ไม่ชัดแจ้ง)
การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ
ประเภทของนิติกรรม
พิจารณาแบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียว: ทำคนเดียวมีผลผูกพันทางกฎหมาย
นิติกรรมหลายฝ่าย: 2คนขึ้นไปทุกฝ่ายตกลงยินยอมตามข้อตกลง
พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต เช่น ให้โดยเสน่หา สัญญาต่างๆ
มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต เช่น พินัยกรรม
พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
มีค่าตอบแทน เช่น สัญญาจ้างงาน
ไม่มีค่าตอบแทน เช่น การให้โดยเสน่หา
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
บุคคล: ตายดดยธรรมชาติ สาบสูญ
นิติบุคคล
ผู้เยาว์ อายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือสมรสเมื่อหญิงและชายอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
คนไร้ความสามารถ: ทำนิติกรรมไม่ได้ ถ้าทำแล้วนิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ
คนเสมือนไร้ความสามารถ: ไม่สามารถทำงานได้ ทำให้เสียทรัพย์สิน
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
สามีภริยา เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน ต้องให้ความยินยอมการทำนิติกรรม
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆะกรรม: ไม่มีผลทางกฎหมายไม่สามารถฟ้องร้องบังคับตามกฎหมาย
โมฆียกรรม: ภายใต้กฎหมายกำหนด
บังคับชำระหนี้: ชำระเงิน ส่งมอบทรัพย์สินเพื่อใช้หนี้
ชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน: พิจารณาจำนวนเงินชดใช้ค่าเสียหาย
ความรับผิดทางแพ่งเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ความรับผิดตามสัญญา
ความรับผิดจากการละเมิด
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด
ตัวการต้องรับผิดชอบภายในของเขตอำนาจของตัวแทน
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต
ครูบาอาจารย์
อายุความภายใน 1 ปี ไม่เกิน 10 ปี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๔๕ ทำให้เขาถึงตาย เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เสียเสรีภาพ ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพันตามกฎหมายจะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอก
มาตรา ๔๔๔ ทำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ต้องชดใช้ค่าใช้จ่าย
มาตรา ๔๒๐ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึง แก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิ ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
มาตรา ๔๔๖ ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เสียเสรีภาพ ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินก็ได้
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาล และการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
ความผิดต่อส่วนตัว เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว
ความผิดต่อแผ่นดิน เป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรงเสียหายต่อสังคม
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
การกระทำ: ผู้กระทำต้องรู้สึกตัวและรู้ว่าตนกำลังทำสิ่งใด
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
ยกเว้นโทษ
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
กระทำด้วยความจำเป็น
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ลดหย่อนโทษ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
การกระทำโดยบันดาลโทสะ
มีความดีมาก่อน รับสารภาพผิด เป็นพยาน
อายุความ
อายุความฟ้องคดีทั่วไป: อายุความแปรตามอัตราโทษตามความผิด
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้
โทษทางอาญา
ประหารชีวิต เป็นโทษสูงสุด ลงโทษผู้กระทำความผิดคดีอุกฉกรรจ์
จำคุก จำกัดเสรีภาพของนักโทษไว้ในเรือนจำตามเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
กักขัง
ปรับ ถ้าไม่ชำระภายใน 30 วัน จะถูกยึดทรัพย์สินหรือกักขังแทน
ริบทรัพย์สิน
ลหุโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำงานเพื่อบริการสังคม ทำความผิดต้องจ่ายค่าปรับแต่ไม่มีเงินจ่ายให้ทำงาน
ประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๕๙: ต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท
มาตรา ๓๐๐: ผู้ใดกระทำโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส จำคุกไม่เกิน3ปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๕: ผู้ใดกระทำความผิดในขณะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
มาตรา ๖๗: กระทำผิดด้วยความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับ หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อภยันตรายไม่ได้เกิดจากการะทำของตนเกินกว่าเหตุไม่ต้องได้รับโทษ
มาตรา ๗๐: ผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
มาตรา ๗: ผู้ใดบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
มาตรา ๒๖๔ : ปลอมเอกสารจำคุกไม่เกิน3ปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๖๙: ปลอมใบประกอบวิชาชีพคุกไม่เกิน2ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๑: ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้อง โทษจำคุกไม่เกิน10ปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
มาตรา ๓๒๓: เผยแพร่ความลับข้อมูลผู้ป่วย จำคุกไม่เกิน6เดือนปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๗๔: เห็นผู้อืนได้รับอันตรายแล้วไม่ช่วย จำคุกไม่เกิน1เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ยกเว้น
โรคติดต่อร้ายแรงเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
ผู้ป่วยไม่อาจรับผิดชอบหรือตัดสินใจด้วยตนเอง ต้องแจ้งเรื่องราวให้แก่ญาติ
เป็นข้อผูกพันหรือหน้าที่
คำสั่งศาล
ผู้ป่วยรับรู้และยินยอมให้เปิดเผย
รายงานบาดแผลที่ผู้ป่วยมารักษา เนื่องจากก่อคดีอาชญากรรม
การรายงานการทุบตีทำร้ายร่างกายในครอบครัว
แนวปฏิบัติในการรักษาความลับของผู้ป่วย
กรณีศึกษานักศึกษาพยาบาลไม่เขียนนามสกุลผู้ป่วย
ไม่นำข้อมูลผู้ป่วยมาพูดในที่สาธารณะ
ไม่นำแฟ้มผู้ป่วยออกจากวอร์ด ไม่วางไปเรื่อย
ไม่เปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยต่อญาติหากไม่ได้รับความยินยอม
จัดทำระเบียบการขอสำเนาเวชระเบียนของผู้ป่วยต่อบุคคลที่สาม
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต
จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Good Samaritan Act
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย
ทอดทิ้งทำให้ถึงแก่ชีวิต
จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่ เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปล่อยให้ผู้ป่วยจิตเวชทำร้ายผู้อื่นและตนเอง
ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร: การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
ใช้เอกสารเท็จนั้นในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน
จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เป็นผู้ทำคำรับรองเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นผู้ใช้หรืออ้างคำรับรองนั้นโดยทุจริต
ความผิดฐานปลอมเอกสาร
นำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้ในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
ปลอมลายมือชื่อผู้อื่น
ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร ไม่รับฟังความกังวลของผู้ป่วย
ความบกพร่องด้านการบันทึก เช่นไม่จดบันทึกข้อมูลผู้ป่วยไว้ในเวชระเบียน
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย
โทษของความประมาท
ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ: ลหุโทษ
ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส: จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
การทำให้หญิงแท้งลูก
ทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม: จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม
ไม่สมัครใจ: จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ได้รับอันตรายสาหัส: จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับ 20,000 – 200,000 บาท
ถึงแก่ความตาย: จำคุกไม่เกิน 5 – 10 ปี ปรับ 100,000 – 400,000 บาท
ทำให้ตนเองแท้งลูก: จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท ทั้งจำทั้งปรับ
พยายามทำให้หญิงแท้งลูกจนครบกระบวนการแต่ไม่แท้ง
การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมาย
จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืนกระทำชำเรา
จัดทำโดย นางสาววรกาญจน์ กวินรัตน์ชัย 6001210873 B