Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - Coggle Diagram
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ความหมายและลักษณะของกฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพ่งเป็นส่วนหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
กฎหมายพาณิชย์: เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการใดๆ
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง: เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการด าเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น
นิติกรรม
ปพพ. มาตรา 149 “นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร
นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลด้วยใจสมัครและถูกต้องตามกฎหมาย
องค์ประกอบของนิติกรรม
ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน หมายถึง ผู้กระทำนิติกรรมต้องแสดงออกในฐานะเอกชน มิใช่เจ้าพนักงานของรัฐ
การกระทำโดยเจตนา เป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยใจสมัคร การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง อาจทำโดยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือแสดงกิริยาและการแสดงเจตนาโดยปริยาย เป็นการแสดงเจตนาไม่ชัดแจ้ง
การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การกระทำที่กฎหมายให้อำนาจบุคคลกระทำได้โดยชัดแจ้ง
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิหมายถึง ผลของการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
ประเภทของนิติกรรม
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจำนวนคู่กรณ์
นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมที่เกิดผลโดยการแสดงเจตนาของบุคคลเพียงฝ่ายเดียว
นิติกรรมหลายฝ่าย ได้แก่ นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต เช่น การให้โดยเสน่หา สัญญาการซื้อ
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต เช่น พินัยกรรม
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่มีค่าตอบแทน อาทิ สัญญาจ้างงาน สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน
นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน อาทิ การให้โดยเสน่หา สัญญายืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ย
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
ความสามารถของบุคคล (Capacity) หมายถึง สภาพที่กฎหมายกำหนดขอบเขตให้บุคคลมีสิทธิหรือใช้สิทธิ
บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
บุคคลธรรมดา หมายถึง ในทางกฎหมายกำหนดให้สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตายส่วนการตายตามกฎหมายมี 2 กรณี
การตายโดยธรรมชาติหมายถึง การป่วยตาย แก่ตาย หรือถูกฆ่าตายของบุคคล
การสาบสูญ หมายถึง การที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี
นิติบุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งกฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้เยาว์(Minor) หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมาย ผู้เยาว์สามารถกระท านิติกรรมบางประเภทด้วยตนเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือ 1. นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ประโยชน์ สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ 2. นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องกระทำเองเฉพาะตัว 3. นิติกรรมที่สมควรแก่ฐานะและจำเป็นแก่การดำรงชีพ 4. นิติกรรมการจำหน่ายทรัพย์สิน ประกอบธุรกิจการค้า
คนไร้ความสามารถ (Incompetence) หมายถึง คนวิกลจริตหรืออยู่ในภาวะผัก
คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi – incompetence) หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเองมีเหตุบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งคือ กายพิการ จิตฟั่นเฟือน ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
สามีภริยา เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน จึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกัน
สภาพบังคับทางแพ่ง
หมายถึง โทษตามกฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.)
โมฆะกรรม หมายถึง ความเสียเปล่าของนิติกรรม ที่กระทำตั้งแต่ต้น
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือีลธรรมอันดีของประชาชน
นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
โมฆียกรรม หมายถึง การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทำ
ความสามารถของบุคคล นิติกรรมใดที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายเป็นโมฆียะ
การแสดงเจตนาโดยวิปริตได้แก่ การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน,การแสดงเจตนาโดยการฉ้อฉล,การแสดงเจตนาโดยการข่มขุ่
การบังคับชำระหนี้เป็นการชำระเงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
ความเสียหายที่คำนวณราคาเป็นเงินได้
ความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณราคาเป็นตัวเงินได้
ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ความรับผิดจากการละเมิด หมายถึง การกระทำหรืองดเว้นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย หมายถึง การประทุษกรรม หรือกระทำต่อผู้อื่น
2.การกระทำโดยจงใจ หมายถึง การกระทำที่ตั้งใจหรือเจตนาโดยผิดกฎหมาย
ทำให้บุคคลอื่นเสียหายหมายถึงการกระทำที่ทำให้บุคคลอื่นขาดประโยชน์ที่เคยได้รับ
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทำโดยมิได้จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังในระดับวิญญูชน
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด
ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทำไปภายในของเขตอำนาจของัวแทน
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิด
ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่น
อายุความ คือ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น
มาตรา ๑๕ สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ
มาตรา ๒๐ ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘
มาตรา ๒๑ ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
มาตรา ๒๒ ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้นหากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง
มาตรา ๒๓ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
มาตรา ๒๔ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
มาตรา ๒๕ ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๖ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จ าหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่ง
มาตรา ๒๗ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้า
มาตรา ๒๘ บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายายร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
มาตรา ๒๙ การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระท าลง การนั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา ๓๑ ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว
มาตรา ๓๒ บุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้
มาตรา ๖๒ บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดมาตรา ๖๔ คำสั่งศาลให้เป็นคนสาบสูญหรือคำสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
มาตรา ๖๕ นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอ านาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๖๖ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน
ความผิดต่อส่วนตัว
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
“ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฏหมาย”
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
การกระทำ
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
เหตุยกเว้นความรับผิด 2 ลักษณะ คือ การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและเสียหายยินยอมให้กระทำ
เหตุยกเว้นโทษ
กระทำด้วยความจำเป็น,การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต,การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน,การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี,การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์,
เหตุลดหย่อนโทษ มีการกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด,การกระทำโดยบันดาลโทสะ,หตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษ
อายุความ มีอายุความฟ้องคดีทั่วไป ,อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้
โทษทางอาญา
โทษประหารชีวิต
โทษจำคุก
โทษกักขัง
โทษปรับ
โทษริบทรัพย์สิน
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ การแพทย์ไม่ถูกต้อง
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร
ความบกพร่องด้านการบันทึก
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพกับการปฏิเสธการรักษา
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
การทำให้หญิงแท้งลูก
ประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง เช่น
มาตรา ๑๙ ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย
มาตรา ๒๘ ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ก าหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
มาตรา ๗๓๓ เด็กอายุยังไม่เกินสิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ