Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยง, นางสาวปิยธิดา จุ่นเจิม รุ่น36/1…
เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยง
การจำแนกประเภทของทารกแรกเกิด
การจ้าแนกตามน้ำหนัก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
Low birth weight infant (LBW infant) คือ ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม ในกลุ่มนี อาจแบ่งย่อยเป็น Very low birth weight คือ น้ำหนักต่ำกว่า 1,500 กรัม และ Extremely
low birth weight (ELBW) คือน าหนักต่ำกว่า 1,000 กรัม
Normal birth weight infant (NBW infant) คือ ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิด 2,500 กรัม ถึงประมาณ 3,800 – 4,000 กรัม ประมาณร้อยละ 60 ของทารกที่เสียชีวิตในระยะ 28 วันแรก (Neonatal period) เป็นทารกที่มีน้ำหนักต่ ากว่า 2,500 กรัม ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
การจ้าแนกตามอายุครรภ์
ทารกแรกเกิดครบกำหนด (Term or mature infant) คือทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์ มากกว่า 37 สัปดาห์ ถึง 41 สัปดาห์
ทารกแรกเกิดหลังกำหนด (Posterm infant) ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์มากกว่า 41 สัปดาห์
ทารกเกิดก่อนกำหนด (Preterm infant) คือ ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์
ทารกคลอดก่อนกำหนด
หมายถึง ทารกคลอดเมื่ออายุครรภ์ < 37 สัปดาห์
สาเหตุ / ปัจจัยส่งเสริม
มารดาป่วยเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ไต ติดเชื้อ
ตั้งครรภ์แฝด มารดาติดยาเสพติด
มารดามีภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง รกลอก ตัวก่อนก้าหนด แท้งคุกคามในไตรมาสแรก มีเลือดออก ไตรมาสที่ 2 หรือ 3 การติดเชื้อในครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน
เศรษฐานะไม่ดี
อายุน้อยกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
ลักษณะของทารกเกิดก่อนก้าหนด
หายใจไม่สม่ำเสมอ มีการกลั้นหายใจเป็นระยะ (Periodic breathing) เขียว และหยุดหายใจได้ง่าย (Apnea)
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่ดี ทารกมักจะเหยียดแขนและขาขณะนอนหงาย มีการเคลื่อนไหวน้อย การเคลื่อนไหวสองข้างไม่พร้อมกัน และมักเป็นแบบกระตุก
มีกล้ามเนื้อ และไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous fat) น้อย ผิวหนังเหี่ยวย่นกล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงยังเจริญไม่ดี กระดูกซี่โครงค่อนข้างอ่อนนิ่ม ขณะหายใจอาจถูกกระบังลมดึงรั งเข้าไปเกิด Intercostal retraction
เสียงร้องเบา และร้องน้อยกว่าทารกแรกเกิดครบกำหนด Reflex ต่าง ๆ มีน้อยหรือไม่มี
ลายฝ่ามือฝ่าเท้ามีน้อยและเรียบ เล็บมือเล็บเท้าอ่อนนิ่มและสั้น
หัวนมมีขนาดเล็ก หรือมองไม่เห็นหัวนม
ผิวหนังบางสีแดงและเหี่ยวย่น มองเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังได้ชัดเจน มักบวมตามมือและเท้า ไขมันคลุมตัว (Vernix caseosa) มีน้อยหรือไม่มีเลย พบขนอ่อน (Lanugo hair) ได้ที่บริเวณใบหน้า หลังและแขน ส่วนผมมีน้อย
ท้องป่อง เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรง
น้ำหนักน้อย รูปร่างรวมทั้งแขนขามีขนาดเล็ก ศีรษะจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว กะโหลกศีรษะนุ่ม รอยต่อกะโหลก ศีรษะและขม่อมกว้างเปลือกตาบวมและนูนออกมา ตามักปิดตลอดเวลา การเจริญของกระดูกหูมีน้อย ใบหูอ่อนนิ่มเป็นแผ่นเรียบ งอพับได้ง่าย
ขนาดของอวัยวะเพศค่อนข้างเล็ก ในเพศชายลูกอัณฑะยังไม่ลงในถุงอัณฑะ รอยย่นบริเวณถุง (Rugae) มีน้อย ในเพศหญิงเห็นแคมเล็กชัดเจน
ปัญหาที่พบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนด
ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิ
Hypothermia อุณหภูมิ < 36.5 องศาเซลเซียส
ผลกระทบ
การเพิ่มการเผาผลาญและภาวะกรด
น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
ภาวะขาดน ้ำ (Dehydration)
ภาวะเลือดออก (Bleeding Disorder)
น้ำหนักลด (Poor Weight Gain)
ภาวะลำไส้เน่า (NEC)
ภาวะหยุดหายใจ(Apnea)
อัตราการตายเพิ่มขึ้น
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ
อาการและอาการแสดง ใบหน้าแดงผิวหนังเย็น เขียวคล้ำ หยุดหายใจ หายใจลำบาก ปลายมือปลายเท้าเย็น
ภาวะแทรกซ้อน น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะเลือดเป็นกรด ความต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นน้ำหนักไม่ขึ้น ท้องอืด เลือดออกใน โพรงสมอง เลือดออกในปอด ไตวาย DIC และ PPHN
การวินิจฉัย อุณหภูมิกายแกนกลางของทารก < 36.5o C (วัดทางทวารหนัก)
การวัดอุณหภูมิทารก
ทางทวารหนัก
ทารกเกิดก่อนกำหนด วัดนาน 3 นาที ลึก 2.5 ซม.
ทารกครบกำหนด วัดนาน 3 นาที ลึก 3.0 ซม.
ทางรักแร้
ทารกเกิดก่อนกำหนด วัดนาน 5 นาที
ทารกครบกำหนด วัดนาน 8 นาที
การดูแล
วัดอุณภูมิเด็ก Body temperature เด็ก 36.8-37.2 องศาเซลเซียส
ใช้ warmer, incubator หรือผ้าห่มห่อตัว
จัดให้อยู่ในที่อุณภูมิเหมาะสม (NTE) 32 - 34 องศาเซลเซียส
หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้แอร์ พัดลม ระวัง “Cold stress”
การพยาบาลทารกที่ได้รับการรักษาในตู้อบ
ป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกายทารก 4 ทาง
ตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชม.และปรับให้เหมาะสมกับสภาพของทารก
ไม่เปิดตู้อบโดยไม่จำเป็นให้การพยาบาลโดยการสอดมือเข้าทางหน้าต่างตู้อบ
เช็ดทำความสะอาดตู้ทุกวัน
การควบคุมอุณหภูมิทารกที่อยู่ใน Incubator
กรณีทารกอยู่ในตู้อบปรับอุณหภูมิด้วยมือ หรือ ปรับอุณหภูมิอัตโนมัติ (Air Servocontrol mode)
ปรับอุณหภูมิตู้อบเริ่มที่36 o C
ปรับอุณหภูมิตู้อบเพิ่มขึ นครั งละ 0.2 ๐ C ทุก 15 – 30 นาที (max 38o C)
ลดการสูญเสียความร้อน เช่น ครอบพลาสติกที่ตัวทารก
(กรณีไม่ได้ใช้ตู้อบผนัง2 ชั้น) สวมหมวกไหม พรม หรือหมวกที่หนา 2 ชั้น พันร่างกายด้วย plastic wrap
ถ้าวัดอุณหภูมิกายได้36.8 o C -37.2o C เป็นเวลา2ครั้งติดกันให้ปรับอุณหภูมิตู้อบตาม Neutral thermal environment (NTE) แล้วติดตามอุณหภูมิกายต่อทุก 15 -30 นาทีอีก 2 ครั้งและต่อไปทุก 4 ชม.
ควรใส่ปรอทสำหรับวัดอุณหภูมิตู้อบ
เป้าหมายให้อุณหภูมิกายทารกอยู่ในเกณฑ์ปรกติคือ 37 o C (+/-0.2o C)
กรณีทารกอยู่ในตู้อบปรับอุณหภูมิอัตโนมัติ Skin Servocontrol mode
ติด Skin probe บริเวณหน้าท้อง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณตับและ bony prominence
ปรับอุณหภูมิตู้อบเริ่มที่36.5 o C
ปรับอุณหภูมิตู้อบเพิ่มขึ นครั งละ 0.1 ๐ C ทุก 15 – 30 นาที (max 38๐ C)
ลดการสูญเสียความร้อน เช่น ครอบพลาสติกที่ตัวทารก(กรณีไม่ได้ใช้ตู้อบผนัง2 ชั้น ) สวมหมวกไหม พรม หรือหมวกที่หนา 2 ชั น พันร่างกายดว้ย plastic wrap
ถ้าวัดอุณหภูมิกายได้36.8o C -37.2o C เป็นเวลา 2 ครั้งติดกัน ให้ปรับอุณหภูมิตู้อบตาม Neutral thermal environment (NTE) แล้วติดตามอุณหภูมิกายต่อทุก 15 -30 นาทีอีก 2 ครั งและต่อไปทุก4 ชม.
ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจและพิษออกซิเจน
AOP (Apnea of Prematurity)
central apnea ภาวะหยุดหายใจที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือกะบังลมและไม่มีอากาศไหลผ่านจมูกโดยมีสาเหตุมาจากศูนย์การหายใจที่บริเวณก้านสมองทำงานไม่ดี
obstruction apnea ภาวะหยุดหายใจที่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือกะบังลม แต่ไม่มีอากาศไหลผ่านจมูก เกิดจากการงอหรือการเหยียดลำคอเกิน ทำให้ช่องในลำคอไม่เปิดกว้างเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ
สาเหตุ
Prematurity
Drug
CNS problems
Gastroesophageal reflux
Impaired oxygenation
Metabolic disorder
Infection
การดูแลระบบทางเดินหายใจ
สังเกตอาการขาดออกซิเจน หายใจเร็ว เขียว ปีกจมูกบาน อกบุ๋ม (chest wall retraction) , ABG
suction เมื่อจ้าเป็น
จัดท่านอนที่เหมาะสม ศีรษะสูง เงยคอเล็กน้อย
ระวัง การส้าลัก
ให้การพยาบาลทารกขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ
BPD (Bronchopulmonary Dysplasia)
RDS (Respiratory Distress Syndrome)
ความหมาย
ภาวะหายใจล าบากเนื่องจากการขาดสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ของถุงลม
อาการและอาการแสดง
มีอาการหายใจลำบาก (Dyspnea) หายใจเร็วกว่า 60 ครั้ง/ นาที มีปีกจมูกบาน หายใจมีการดึงรั้งของกล้ามเนื้อทรวงอก (retraction) ,หายใจมีเสียง Grunting
อาการเขียว (Cyanosis)
ภาพถ่ายรังสีปอด มีลักษณะ ground glass appearance
อาจมีอันตรายจากการหายใจล้มเหลวได้ภายใน 24 ชั่วโมงแรกเกิด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีภาวะเลือดเป็นกรด
การป้องกัน
มารดาที่มีความเสี่ยงจะคลอดก่อนกำหนดแต่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก โดยเฉพาะอายุครรภ์ 24-34 สัปดาห์ ควรได้antenatal corticosteroids อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนคลอด เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างสารลดแรงตึงผิว และปอดมีความสมบูรณ์มากขึ้น ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ
Betamethazone 12 มิลลิกรัมทางกล้ามเนื้อทุก 24 ชั่วโมงจนครบ 2 ครั้ง
Dexamethazone 6 มิลลิกรัมทางกล้ามเนื้อทุก 12 ชั่วโมงจนครบ 4 ครั้ง
การป้องกันไม่ให้ทารกขาดออกซิเจนในระยะแรกเกิด ซึ่งจะทำให้เลือดเป็นกรด ขัดขวางการทำงานของการสร้างสารลดแรงตึงผิว
การรักษา
ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับออกซิเจน โดยการปรับลดความเข้มข้นและอัตราไหลของออกซิเจนภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับออกซิเจน เช่น ภาวะปอดอุดกั้นนเรื้อรัง (BPD) ภาวะจอประสาทตาพิการจากการเกิดก่อนกำหนด `(ROP)
รักษาแบบประคับประคองตามอาการ
ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
รักษาสมดุลน้ำ อิเลคโตรไลท์สมดุลกรด ด่างในเลือด
รักษาระดับฮีโมโกลบินในเลือดและความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อร่วมด้วย
ทารกบางรายอาจจ้าเป็นต้องปิด PDA ด้วย indomethacin หรือ ibuprofen
การให้ออกซิเจน ตามความต้องการของทารก เช่น การให้โดยใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือ CPAP
ให้สารลดแรงตึงผิวเพื่อทำให้ความยืดหยุ่นของปอดดีขึ้น ลดความรุนแรงของภาวะหายใจลำบาก
ROP (Retinopathy of Prematurity)
เป็นความผิดปกติ ในทารกในทารกคลอดกอนกำหนดที่มีน าาหนักนอยโดยมีลักษณะสำคัญคือ การงอกผิดปกติของเส้นเลือด (neovascularization) บริเวณรอยต่อระหว่างจอประสาทตาที่มีเลือดไปเลี ยงและจอประสาทตา ที่ขาดเลือด(หลอดเลือดจอประสาทตาเริ่มสร้างเมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ โดยเริ่มต้นที่ขั วประสาทตา (optic disc) ไปยังบริเวณขอบด้านนอก หลอดเลือดจะเจริญจนถึงด้าน nasal เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ และถึงด้าน temporal เมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์ )
ระยะเวลาการตรวจหาROP
ตรวจครั้งแรกเมื่อทารกอายุ 4 – 6 สัปดาห์ หรือเมื่อทารกอายุครรภ์รวมอายุหลังเกิด 32 สัปดาห์
ถ้าไม่พบการดำเนินของโรค ตรวจซ ้าทุก 4 สัปดาห์
ถ้าพบว่ามีการดำเนินของโรคอยู่ตรวจซ้ำทุกอาทิตย์หรือตามแผนการติดตามประเมินของแพทย์
ถ้าพบว่ามีการดำเนินของโรคอยู่ตรวจซ้ำทุกอาทิตย์หรือตามแผนการติดตามประเมินของแพทย์
ถ้าพบ ROP ควรนัดมาตรวจซ้ำทุก ๆ 1 – 2 สัปดาห์
การวินิจฉัย
ตำแหน่ง (Zone) มี 3 zone Zone I ระยะวงกลมซึ่งมีรัศมีเป็นสองเท่าของระยะทางระหว่างขั้วประสาทตา(optic disc) และศูนย์กลาง จอประสาทตา (macula)โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ขั้วประสาทตา
Zone II จอประสาทตาจากขอบนอกของ Zone Iจนถึง nasal ora serrata
Zone III จอประสาทตาจากขอบนอกของ Zone IIจนถึง temporal ora serrata
ความรุนแรง
Stage 3 Ridge with extraretinal fibrovascular proliferation
Stage 4 Subtotal retinal detachment: (a) extrafoveal detachment (b) foveal detachment
Stage 2 Ridge between vascularized and avascular retina
Stage 5 Total retinal detachment
stage1 Demarcation line between vascularized and avascular retina
Perinatal asphyxia
Mild asphyxia คะแนนแอพการ์ 5 – 7
Moderate asphyxia คะแนนแอพการ์ 3 – 4
No asphyxia คะแนน แอพการ์ 8 –10
Severe asphyxia คะแนนแอพการ์ 0-2
ปัญหาการติดเชื้อ
Sepsis
NEC (Necrotizing Enterocolitis)
การได้รับอาหารไม่เหมาะสม เร็วเกินไป
ลำไส้ขาดเลือดมาเลี้ยง
เป็นผลมาจากภาวะพร่องออกซิเจน
การย่อยและการดูดซึมไม่ดี
การพยาบาล
NPO
ห้ามวัดปรอททางทวารหนัก
แยกจากเด็กติดเชื้อ / แยกผู้ดูแล
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก aseptic technique
เฝ้าระวังสังเกตภาวะติดเชื้อ เฝ้าระวังภาวะลำไส้ทะลุ
ปัญหาระบบหัวใจ , เลือด
Neonatal Jaundice หรือ Hyperbilirubinemia
Anemia
PDA (Patent Ductus Ateriosus)
รักษา PDA โดยใช้ยา Indomethacin
ขนาดที่ให้ 0.1-0.2 มก./กก.ทุก 8 ชม. X 3 ครั้ง
ข้อห้ามใช้
BUN > 30 mg/dl , Cr > 1.8 mg/dl
Plt. < 60,000 /mm3
urine < 0.5 cc/Kg/hr นานกว่า 8 hr
มีภาวะ NEC
รักษา PDA โดยใช้ยา ibuprofen
เพื่อช่วยยับยั้งการสร้างprostaglandin ซึ่งจะทำให้ PDA ปิด
ให้ทุก 12-24 ชั่วโมง จำนวน 3-4 ครั้ง
สามารถปิดได้ร้อยละ 70
ได้ผลดีในทารกน้ำหนักตัว 500-1500 กรัม อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ และอายุไม่เกิน 10 วัน
ภาวะแทรกซ้อน NEC ไตวาย ไม่ให้ยาในทารกที่มี มากกว่า serum creatinine 1.6มิลลิกรัม/เดซิลิตรและ BUNมากกว่า20 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ปัญหาเลือดออกในช่องสมอง
IVH (Intraventricular Hemorrhage)
Hydrocephalus
ปัญหาทางโภชนาการและการดูดกลืน
NEC (Necrotizing Enterocolitis)
GER (Gastroesophageal Reflux)
Hypoglycemia
การพยาบาล
ให้อาหารอย่างเหมาะสมกับสภาพของทารก
gavage feeding (OG tube) ในเด็กเหนื่อยง่าย ดูดกลืนไม่ดี
IVF ให้ได้ตามแผนการรักษา
ระวังภาวะ NEC: observe อาการท้องอืด content ที่เหลือ
ประเมินการเจริญเติบโตชั่งน้ำหนักทุกวัน (เพิ่มวันละ 15-30กรัม)
ปัญหาพัฒนาการล้าช้า
Eye to eye contact
Skin to skin contact
การพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนด
การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ(36.8 - 37.2 ้ซ.)
ต่อมเหงื่อไม่เจริญจึงระบายความร้อนออกทางผิวหนังไม่ได้
พื้นที่ผิวของร่างกายมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว, ไขมันใต้ผิวหนังมีน้อย ทำให้สูญเสียความร้อนออกจากร่างกายได้ง่าย
ร่างกายผลิตความร้อนได้น้อย จากไขมันสีน้ำตาล (Brown fat) มีน้อย พัฒนาการกล้ามเนื อไม่ดีจึงมีการเคลื่อนไหวน้อย การสะสมของไกลโคเจนที่ตับน้อย ไม่มีการสั่นของกล้ามเนื้อ (shivering)
การมีอุณหภูมิร่างกายต่ำมากๆ "Cold stress" จะทำให้ เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่ส้าคัญ ได้แก่ Hypoxia, Hypoglycemia, Metabolic acidosis, PFC, Right toleft shunt, Intraventricular hemorrhage (IVH) เป็นต้น
ศูนย์ควบคุมความร้อนในสมองส่วน Hypothalamus ยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
การพยาบาล
จัดให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิที่ทำให้ทารกมีการใช้ออกซิเจนและสารน้ำน้อยที่สุดโดยที่อุณหภูมิร่างกายไม่เปลี่ยนแปลง (Neutral thermal environment, NTE) เช่น ให้อยู่ในตู้อบ การใช้เครื่องให้รังสีความอบอุ่น (Radiant heat warmer)
ป้องกันการสูญเสียความร้อนออกากร่างกายทั้งโดยการนำ การพาความร้อน การแผ่รังสีและการระเหย
ประเมินอุณหภูมิร่างกายตามอาการของทารก พร้อมทั้งสังเกตอาการทางคลีนิกของการมีอุณหภูมิร่างการต่ำหรือสูงกว่าปกติ เช่น มีเขียวตามปลายมือปลายเท้า เมื่อทารกมีภาวะHypothermia หรือ สีผิวแดงร้อน หายใจเร็วเมื่อทารกมีภาวะ Hyperthermia
การดูแลด้านการหายใจให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ฮีโมโกลบินของทารกเป็น Hb-F ซึ่งรับออกซิเจนได้ดี แต่ปล่อยให้เซลได้น้อย
รีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการไอมีน้อย และหายใจทางปากยังไม่ได้
ทารกเกิดก่อนก้าหนดมีความไม่สมบูรณ์ของการหายใจจาก
Apnea : กลั้นหายใจเกิน 20 วินาที หัวใจเต้นช้าลง เขียว มักจะเกิดในระยะหลับ ชนิด Rapid Eye movement หรือ Active sleep
ปอดพัฒนาไม่เต็มที่ เส้นเลือดฝอยมีน้อย Surfactant ยังสร้างไม่สมบูรณ์ ทำให้ถุงลมขยายตัวได้น้อยและช้า เมื่อหายใจเข้า แฟบได้ง่ายเมื่อหายใจออก มีอาการหายใจลำบาก
ศูนย์ควบคุมการหายใจใน medulla ยังไม่เจริญเต็มที่ กล้ามเนื้อช่วยการหายใจไม่สมบูรณ์ทำให้เกิด periodic breathing หายใจเร็วตื้นไม่สม่้าเสมอ กลั้นหายใจบ่อย
การพยาบาล
ประเมินการหายใจ อัตรา การใช้แรง retraction สีผิว ปีกจมูกและการกลั้นหายใจ บ่อยครั้งตามอาการของทารก
ดูลทางเดินหายใจให้โลง ควรกระตุ้นโดยการเขี่ยหรือเขย่าที่ใบหน้าหรือลำตัว ถ้ากลั้นหายใจบ่อยๆรายงานให้แพทย์ทราบ
ดูแลให้ได้รับยา Theophylline ตามแผนการรักษาเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะ Apnea
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
ให้ทารกได้พัก หลีกเลี่ยงการจับต้องทารกเกินความจำเป็น (over handling)
ดูแลให้ได้รับความอบอุ่นแก่ทารก ป้องกันการเกิด cold stress
ดูแลให้ทางเดินหายใจให้โล่ง ดูดเสมหะจัดท่านอนให้คอ ตรงไม่ก้มหรือเงยเกินไป
การให้สารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
มีการสะสมอาหารขณะอยู่ในครรภ์มารดาน้อย
อาการทั่วไปไม่เอื้อให้ได้รับสารอาหารจ้านวนตามต้องการ เช่น หายใจลำบาก ท้องอืด
ความต้องการสารอาหารประจ้าวัน (daily requirement) สูงกว่าทารกเกิดครบกำหนด
ความสมบูรณ์ของระบบทางเดินอาหารมีน้อย
รีเฟล็กซ์ของการดูดและกลืนมีน้อยหรือไม่มี
Cardiac sphincter ไม่ดี ปิดไม่สนิท ทารกเกิดการสำรอก อาเจียนได้ง่าย
น้ำย่อยในกระเพาะอาหารมีน้อย ตับสร้างน้ำดีได้น้อย การย่อยอาหารโดยเฉพาะพวกไขมันทำได้ไม่ดีจึงท้องอืดได้ง่าย
เกิดภาวะที่ทำให้มีการใช้พลังงานในร่างกายมากกว่าปกติเช่น ภาวะหายใจลำบากอุณหภูมิร่างกายต่ำ หรือ น้ำตาลในเลือดต่ำ
การพยาบาล
ประเมินความสามารถในการรับนมได้ของทารกเช่น จำนวน ลักษณะของgastric content อาการท้องอืด สำรอกนม หายใจลำบากหลังให้นม มีเลือดปนในอุจจาระหรือมี occult blood
ดูแลการได้รับสารน้ำและสารอาหารตามหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
การให้นมแก่ทารก พยาบาลควรส่งเสริมให้ทารกได้รับนมมารดาให้มากที่สุดเพราะมีภูมิคุ้มกันโรคและสามารถป้องกันโรค Necrotizing enterocolits ได้ กรณีที่มารดาไม่สามารถให้นมได้ ให้นมชนิด Premature formula
ชั่งน้ำหนักทุกวัน ในสัปดาห์แรกทารกจะมี physiological weight loss ประมาณ 10-20% ของน้ำหนักแรกเกิด หลังจากนั้นถ้าได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่มีความเจ็บป่วยรุนแรง น้ำหนักของทารกจะเพิ่มขึ้นวันละ 20-30 กรัม
ดูแลให้อาหารทางปาก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาการให้อาหารทางปากแก่ทารกเมื่อภาวะการหายใจค่อนข้างคงที่ ฟังได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ไม่มีอาการท้องอืด gastric content มีมากหรือผิดปกติ รวมทั้งสีผิว กำลังของกล้ามเนื้อปกติ โดยจะเริ่มด้วยนมจำนวนน้อยๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวน
เมื่อทารกอาการดีขึ้นจะสามารถรับนมได้มากขึ้น จนกระทั่งไม่ต้องยังคงให้สารน้ำและะสารอาหารทางงหลอดเลือดดำต่อไป
ใน 1 –2 วันแรกหลังเกิดดูแลงดน้ำและนม ตามแผนการรักษา โดยแพทย์จะให้สารน้ำและสารอาหารรทางหลอดเลือดดำในช่วงนี้
ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงภาวะที่จะทำให้ทารกมีการใช้พลังงานในร่างกายมากกว่าปกติ
การป้องกันการติดเชื้อ
ทารกเกิดก่อนกำหนดมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
เม็ดเลือดขาวน้อยและทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
ผิวหนังและเยื่อบุปกป้องการติดเชื้อได้น้อย
การสร้าง IgM ไม่สมบูรณ์และได้รับ IgG จากมารดามาน้อย ไม่ได้รับ Ig A จากน้ำนมมารดา
การพยาบาล
อุปกรณ์ที่ใช้กับทารกต้องใช้เฉพาะคน
ดูแลความสะอาดทั่วไปของร่างการและสิ่งแวดล้อม
เครื่องมือและสิ่งของที่ใช้กับทารกต้องสะอาดหรือผ่านการทำลายเชื้อโรค
ในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อเช่น ได้รับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ(CPR) เป็นเวลานาน มารดามีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด คลอดในสถานที่ไม่สะอาด เป็นต้น
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
การป้องกันการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ
ทารกเกิดก่อนก้าหนด เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่ายในทารกแรกเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำหมายถึงระดับ น้ำตาลในพลาสมาต่ำกว่า 40 mg% เนื่องจากสาเหตุ
glycogen ที่ตับสะสมไว้น้อยจึงสร้างกลูโคสได้จ้ากัด รวมทั้งการสร้างกลูโคส (glucogenesis) เองที่ตับก็ทำได้น้อย
มีภาวะเครียดทั้งขณะอยู่ในครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอด เช่น การขาดออกซิเจน อุณหภูมิกายต่ำทำให้มีการใช้น้ำตาลมาก
ไม่ได้รับกลูโคสจากมารดาอีกต่อไป
การพยาบาล
ดูแลให้ทารกได้รับน้ำและนมทางปาก และ/หรือสารน้ำ สารอาหารทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษา
แก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดสาเหตุส่งเสริมให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ภาวะที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำภาวะหายใจล้าบาก
ติดตามผล dextrostix หรือ blood sugar และประเมินอาการทางคลินิกของการมีภาวะน ้าตาลในเลือดต่ำ เช่น มีสั่นระรัวของมือและเท้า (Prolonged tremor) ซึม กลั้นหายใจ เขียว ชักเกร็ง
การป้องกันการเกิดเลือดออกและโลหิตจาง
ทารกเกิดก่อนก้าหนดมีแนวโน้มที่จะเกิดเลือดออกในสมองและภาวะโลหิตจางได้ง่าย
Prothrombin และ Hematogenous-factor ต่ำ ขาดวิตามินเค เลือดจึงแข็งตัวได้ยาก
เหล็กที่ได้รับจากมารดาใน 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์มีจ้านวนน้อย
ผนังเส้นเลือดพัฒนาไม่สมบูรณ์และขาด connective tissuse จึงเปราะบางง่าย
Hb-F ของทารกมีชีวิตสั่น
มีเส้นเลือดมาเลี่ยงที่ ventricle ของสมองมากมาย เสี่ยงต่อการเกิด Intra ventricular hemorrhage (IVH) ได้ เมื่อทารกมีภาวะความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือเมื่อทารกมีภาวะการเป็นกรด หรืออุณหภูมิกายต่ำ เป็นต้น
การพยาบาล
ดูแลการได้รับ Vit. E และ FeSO4 ทางปากตามแผนการรักษา
ขณะดูดเสมหะหรือขณะใส่สายยางเข้าไปในทางเดินอาหาร ควรจะใส่อย่างระมัดระวัง นุ่มนวล
หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ควรจะฉีดเข้าทางหลอดเลือดด้า ถ้าจำเป็นต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ควรใช้เข็มที่คม หลังฉีดยาหรือ off IV.fluid ควรกดบริเวณที่แทงเข็มไว้นานๆ
ติดตามและรายงานผล CBC ดูแลการได้รับเลือดในรายที่มี platelet หรือ Hematocrit ต่ำ
ดูแลให้ทารกได้รับการฉีด Vit K1 เข้ากล้ามเนื้อตามแผนการรักษา
สังเกตและรายงานอาการที่แสดงว่ามีเลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ เช่น gastric content มีเลือดปน มีจุดเลือดบริเวณผิวหนัง อุจจาระมีเลือดปน มีอาการซึม ชัก ในรายที่เลือดออกในสมอง (IVH) เป็นต้น
ดูแลให้ทารกได้รับธาตุเหล็กตามแผนการรักษา
การคงไว้ซึ่่งความสมดุลของน้ำ กรด-ด่าง และอิเลคโทรลัยต์
ไตยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ Glomerular filtration rate ต่ำทำให้ความสามารถในการควบคุมสมดุลของน้ำกรด-ด่าง อิเลคโทรลัยต์และการขับสารต่างๆ ออกจากร่างกายมีขีดจ้ากัด
การพยาบาล
ดูแลการได้รับสารน้ำและอิเลคโทรลัยต์ให้เพียงพอตามแผนการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับ ทางหลอดเลือดดำ ต้องตรวจเช็คชนิด จ้านวนสารน้ำ อิเลคโทรลัยต์ที่ได้รับอย่างเคร่งครัด
จดบันทึก Intake และ output อย่างละเอียดและถูกต้อง ควรบันทึกปัสสาวะเป็นซีซี. มากกว่านับจ้านวนครั งในทารกที่ต้องการติดตามอย่างใกล้ชิด ทารกแรกเกิดควรจะมีปัสสาวะ 2 – 3 มล. / กก. /ชม. ถ้าปัสสาวะออกมากกว่า 4 มล. / กก. / ชม. ถือว่าปัสสาวะออกมาก หากน้อยกว่า 1 มล. / กก. /ชม. ถือว่าปัสสาวะออกน้อย
ติดตามผล blood gas BUN electrolyte urine specific gravity
สังเกตอาการและอาการแสดงของการมีภาวะไม่สมดุลย์ของน้ำ กรด-ด่าง และอิเลคโทรลัยต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเกิด
การป้องกันการเกิดการแตกทำลายของผิวหนัง
ผิวหนังของทารกเกิดก่อนก้าหนดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ มีชั้น stratum corneum น้อยชั้นกว่าทารกครบกำหนดผิวหนงชั้น epidermis และ dermis อยู่กันอย่างหลวม ๆ และมี keratin เคลือบผิวหนังน้อยท้าให้มีผิวหนังบางเพิ่มการซึมซ่านผ่าน ( permeability ) ของผิวหนังและเพิ่มการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง ผิวหนังบาดเจ็บ แตกทำลาย (Skin breakdown)ได้ง่าย
การพยาบาล
การแกะพลาสเตอร์ หรือ เทปออกจากผิวหนัง จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก และสังเกต อาการแพ้หรือการแตกทำลายของผิวหนังจากการใช้พลาสเตอร์
ระมัดระวังการรั่วของสารน้ำออกจากหลอดเลือดในรายที่ได้รับสารน้ำ, สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
หลีกเลี่ยงการใช้พลาสเตอร์กับทารกเกินความจำเป็น ถ้าจำเป็นพลาสเตอร์ที่ใช้กับทารกเหล่านี ควรใช้แบบที่ไม่ติดแน่นจนเกินไป
การติด probe หรือ electrode ต่างๆ ไม่ควรติดแน่นเกินไปและเปลี่ยนตำแหน่งการติดรวมทั้งเปลี่ยนท่านอนบ่อย ๆ ตามความเหมาะสมและอาการของทารก
ระมัดระวังการใช้สารละลาย สารเคมี กับผิวหนังทารก เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อทางผิวหนัง
การป้องกันการเกิด Retinopathy of Prematurity (ROP)
การเกิดROPในทารกเกิดก่อนก้าหนด เกิดจากปัจจัยสำคัญคือพัฒนาการของหลอดเลือดที่ไปเลี่ยง retina ยังไม่สมบูรณ์ โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือการได้รับออกซิเจนมากเกินไปจึงมีการเกิดหลอดเลือดใหม่ (neovascularization)ที่ผิดปกติส่งผลให้เกิดการหลุดลอกของจอตา ( retinal detachment ) ได้ในระยะต่อมาท้าให้ทารกมีสายตาเลือนราง หรือตาบอด
การพยาบาล
ดูแลให้ทารกรับออกซิเจนเท่าที่จำเป็น
ในทารกที่ได้รับออกซิเจน ควรใช้ pulse oximeter ติดตามO2 saturation ตลอดเวลา ดูแลให้ทารกมีระดับ O2 saturation อยู่ระหว่าง 88 – 95 %
ดูแลให้ทารกได้รับยาวิตามินอีตามแผนการรักษา
ดูแลให้ทารกมีภาวะ ROP รุนแรงและอยู่ในเกณฑ์บ่งชี ให้ได้รับการรักษาโดย ใช้แสงเลเซอร์
เตรียมทารกแรกเกิดที่มีอายุในครรภ์น้อยกว่า 35 สัปดาห์ หรือน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 1,800 กรัมที่ได้รับการรักษาโดยออกซิเจนและทารกแรกเกิดที่ไม่ได้รับการรักษาโดยออกซิเจนแต่มีอายุในครรภ์น้อยกว่า 30 สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 1,300 กรัม ให้ได้รับการตรวจหาภาวะ ROP ตั้งแต่อายุหลังปฏิสนธิ 31 สัปดาห์ เป็นต้นไป
การดูแลการได้รับวิตามินและเกลือแร่
เนื่องจากทารกเหล่านี จะมีการสะสมแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินอี น้อยรวมทั้งความสามารถในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำมีน้อย จึงมีโอกาสขาดวิตามิน และเกลือแร่ได้
การดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารกแรกเกิด (Developmental care)
ทารกเกิดก่อนกำหนดเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของพัฒนาการระบบประสาทและพฤติกรรม
ความเจ็บป่วยของทารกทำให้ได้รับการรักษาที่ส่งผลต่อพัฒนาการ เช่น อยู่ในตู้อบเปิดเผยร่างกาย, จับต้องมากเกินจำเป็น เจ็บปวดจากการตรวจรักษา
สิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยไม่เหมาะสม เช่น แสง เสียง ที่มากเกินไป
ช่วงเวลาที่อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งมีความเหมาะสมต่อพัฒนาการด้านต่างๆ มีน้อย
การพยาบาล
การจัดท่า
หลีกเลี่ยงการเหยียดแขนขา (extension) พยายามให้ทารกอยู่ในท่าแขน ขางอเข้าหากลางล้าตัว (flexion)ไม่ว่าในขณะอุ้ม เคลื่อนย้ายและนอน ล้าคอตรงไม่ก้มหรือเงยมากเกินไป
ห่อตัวทารกให้แขนงอ มือสองข้างอยู่ใกล้ๆ ปาก (hand to mouth) หลีกเลี่ยงการห่อตัวแบบเก็บแขน(mummy restraint) เพื่อให้ทารกสามารถปลอบโยนตนเองได้
ใช้ผ้าอ้อมหรือผ้าห่มผืนเล็กม้วนๆ วางรอบๆ กายของทารกเสมือนเป็นรังนก
การจับต้องทารก
จับต้องทารกเท่าที่จำเป็น, ให้การพยาบาลด้วยสัมผัสที่นุ่มนวล ( gentle touch ) พยายามจัดกิจกรรมการพยาบาลต่างๆ ให้อยู่ในเวลาเดียวกัน (cluster nursing care) ควรสัมผัสทารกก่อนการจับต้อง
เพื่อให้การรักษาพยาบาล การเคลื่อนย้ายทารก ควรจัดให้อยู่ในทางแขน ขา งอ และอยู่ในแนวกลางลำตัว
จัดสภาพแวดล้อมในหอผู้ป่วยให้มีการกระตุ้นทางแสงและเสียงน้อยที่สุด
ก่อน ขณะ และหลังให้การพยาบาลควรประเมิน สัญญาณ (cues) ของทารกว่าทารกอยู่ในภาวะเครียด สงบและผ่อนคลาย หรืออยากมีปฏิสัมพันธ์ และตอบสนองตามสื่อสัญญาณที่ประเมินได้ ในทารกที่มีภาวะเครียดอาจช่วยโดย
ให้ดูดจุกนมหลอก (pacifier) ซึ่งเป็นการดูดที่ไม่ได้สารอาหารหรือใช้สองมือของผู้ดูแลรวบแขน ขา ของทารกเข้าหากึ่งกลางลำตัว มืออยู่ใกล้ปาก ซึงเรียกวิธีนี ว่า tucking หรือให้ทารกจับนิ้วมือผู้ดูแลหรือสิ่งของ
ถ้าทารกแสดงสื่อสัญญาณว่าอยากมีปฏิสัมพันธ์ พูดคุยด้วยเสียงเบา นุ่มนวล (soft voice) มองสบตา (eye contact)
ส่งเสริมสัมพันธภาพบิดามารดา-ทารก (bonding, attachment)
เมื่อบิดามารดาเข้าเยี่ยมทารก ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย การรักษาพยาบาลที่ทารกได้รับใน
ขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลที่จะทำได้
เปิดโอกาสให้บิดามารดาซักถาม ระบายความรู้สึก
ส่งเสริม, กระตุ้นให้มารดามาเยี่ยมทารกให้เร็วที่สุด (ถ้ามารดาไม่มีข้อจ้ากัด) โดยการประสานงานหรือร่วมมือกับพยาบาลแผนกมารดาหลังคลอด
ส่งเสริมการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา เพราะนมมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดเหมาะสมกับทารกเกิด
ก่อนกำหนดมากกว่านมมารดาปกติเพราะมีโปรตีนและเกลือแร่สูงกว่า
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Hyperbilirubinemia)
เกิดจาก
บิลลิรูบิน (bilirubin) ในเลือดสูงกว่าปกติถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากอาจจะท้าให้เกิดภาวะ Kernicterrus
แบ่งออกเป็น
ภาวะตัวเหลืองจากสรีรภาวะ (Physiological jaundice)
เกิดจาก ทารกแรกเกิดมีการสร้างบิลิรูบินมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเม็ดเลือดแดงอายุสั่นกว่า
ความไม่สมบูรณ์ในการทำงานของตับจึงทำให้กระบวนการในการขับบิริลูบินออกยังทำได้ช้า พบในช่วงวันที่ 2 – 4 หลังคลอด หายไปเองใน 1 – 2 สัปดาห์
ภาวะตัวเหลืองจากพยาธิภาวะ ( Pathological jaundice)
เป็นภาวะที่ทารกมีบิลลิรูบินในเลือดสูงมากผิดปกติ และเหลืองเร็ว ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังเกิด เกิดได้จากหลายสาเหตุ
มีการดูดซึมของบิลิรูบินจากลำไส้เพิ่มขึ้น เช่น ทารกดูดนมได้น้อย ภาวะลำไส้อุดตัน
ตับกำจัดบิลิรูบินได้น้อยลงเนื่องจากภาวะต่างๆ
มีการสร้างบิลิรูบินเพิ่มขึ นกว่าปกติ เช่น G6PD deficiency ABO incompatability, RH incompatability cephallhematoma, polycythemia,thalassemia
สาเหตุ
มีการสร้างบิลลิรูบินเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ จากภาวะต่างๆที่มีการทำลายเม็ดเลือดแดง
มีการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงจากหมู่เลือดของแม่ลูกไม่เข้ากัน ที่พบบ่อย ABO incompatability แม่มีเลือกลุ่ม Oลูกมีเลือดกลุ่ม Aหรือ B
มีความผิดปกติเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ เช่น congenital spherocytosis
มีความผิดปกติของเอนไซด์ในเม็ดเลือดแดง เช่น G6PD deficiency
มีเลือดออกในร่างกาย เช่น cephalhematoma ecchymosis hemangioma หรือมีเลือดออกในลำไส้
เม็ดเลือดแดงเกิน (polycythemia ) จากการที่ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนเรื้อรัง
โรคธาลัสซีเมีย
มีการดูดซึมของบิลิรูบินจากลำไส้มากขึ้น จากภาวะต่างๆ เช่น ภาวะลำไส้อุดตัน
มีการกำจัดบิลิรูบินได้น้อยลง จากท่อน้ำดีอุดตัน การขาดเอนไซด์บางชนิดแต่กำเนิด
มีการสร้างบิลิรูบินเพิ่มมากขึ้น ร่วมกับการกำจัดได้น้อยลง ได้แก่ การติดเชื้อ
มีการดูดซึมของบิลิรูบินจากลำไส้มากขึ้น จากภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Breastfeeding jaundice เกิดจากได้รับน้ำนมช้า ไม่เพียงพอ การกำจัดขี้เทาช้า ทำให้มีการดูดซึมกลับของบิลิรุบิน
Breastmilk jaundice syndrome พบในทารกอายุ 4-7 วัน สาเหตุที่ชัดเจนยังไม่ทราบแน่นอน
อันตรายจากการมีบิลิรูบินสูง
ท าให้เกิด kernicterus เข้าสู่เซลล์สมอง และทำให้สมองได้รับบาดเจ็บและมีการตายของเซลล์ประสาท ทำให้ทารกมีความพิการของสมองเกิดขึ้นอย่างถาวร
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ซีด เหลือง ตับ ม้ามโตหหรือไม่ มีจุดเลือดออก บริเวณใดหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับบิลิรูบิน direct bilirubin indirect bilirubin
หมู่เลือด ABO Rh
Direct Coombs’test เพื่อดู blood group incompatibility
CBC เพื่อดูการติดเชื้อ
peripheral blood smear เพื่อดูลักษณะของเม็ดเลือดแดง ที่ผิดปกติและดูการติดเชื้อ
Reticulocyte count เพื่อสนับสนุนว่ามีการแตกของเม็ดเลือดแดง
G-6-PD เพื่อดูภาวะพร่องเอนไซด์
ประวัติ มีบุคคลในครอบครัวมีโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่ายหรือไม่ มารดามีโรคประจำตัวการได้รับยาการติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่
การรักษา
การส่องไฟ (phototherapy)
ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาด้วยการส่องไฟ
Increases metabolic rate พบว่าทารกอาจมีน้ำหนักตัวลดลง
Increased water loss / dehydration ทารกมีภาวะเสียน้ำมากจากการระเหยของน้ำ เพราะว่าอุณหภูมิรอบตัวของทารกสูงขึ้น จึงจะต้องมีการทดแทนโดยให้น้ำมากขึ้นกว่าเดิม
Diarrhea ทารกอาจถ่ายเหลวจากการที่แสงที่ใช้ในการรักษา ทำให้มีการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้ ทำให้มีการขาด enzyme lactase เป็นการชั่วคราว และจะดีขึ้นเมื่อหยุดการรักษาควรให้ทารกดูดนมมากๆ
Retinal damage ถ้าไม่ได้ปิดตาทารกให้มิดชิด อาจมีการบาดเจ็บเนื่องจากถูกแสงส่องนานทำให้ตาบอดได้
Bronze baby หรือ tanning ทารกอาจจะมีสีผิวคล้ำขึ้นจากการที่ต้องถูกแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน
Disturb of mother-infant interaction เนื่องจากต้องให้ทารกรักษาด้วยการส่องไฟอาจทำให้มารดามีโอกาสได้อุ้มและ สัมผัสทารกน้อยลง
Thermodynamic unstable ทารกอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงหรือต่ำกว่าปกติ ประเมินสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอทุก 4 ชั่วโมง
non-specific erythrematous rash อาจมีผื่นขึ้นตามตัวเป็นการชั่วคราว
การพยาบาล
ดูแลให้ทารกได้นอนอยู่บริเวณตรงกลางของแผงหลอดไฟ ในระยะห่างจากหลอดไฟ ประมาณ 35-50 เซนติเมตร
บันทึกและรายงานการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพทุก 2-4 ชม. ถ้าพบว่าอุณหภูมิกายของทารกต่ำมาก ปลายมือปลายเท้าเย็น ใช้เครื่องทำความอุ่น(Radiant warmer) หรืออยู่ในตู้อบ ให้อุ่นขึ้น ส่วนทารกที่มีอุณหภูมิสูงอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดน้ำ ต้องตรวจดูความตึงตัวของผิวหนัง กระหม่อม และการชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน
ถอดเสื้อผ้าทารกออกและจัดให้ทารกอยู่ในท่านอนหงาย หรือนอนคว่ำและเปลี่ยนท่านอนทุก 2-4 ชม.เพื่อให้ผิวทุกส่วนได้สัมผัสแสง
สังเกตลักษณะอุจจาระ ระหว่างการส่องไฟทารกอาจถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นอาจจะมีอาการถ่ายเหลวสีเขียวปนเหลืองจากบิลิรูบินและน้ำดี
ปิดตาทารกด้วยผ้าปิดตา (eyes patches) เพื่อป้องกันการกระคายเคืองของแสงต่อตา เช็ดทำความสะอาดตา และตรวจตาของทารกทุกวันเพราะอาจมีการระคายเคืองจากผ้าปิดตา ทำให้ตาอักเสบ ควรเปิดตาทุก 4 ชม.และเปลี่ยนผ้าปิดตาทุก 8-12 ชม.ระหว่างให้นมควรเปิดผ้าปิดตาเพื่อให้ทารกได้สบตากับมารดา เป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกันระหว่างมารดากับทารก
ดูแลให้ทารกได้รับการตรวจเลือดหาระดับบิลิรูบินในเลือดอย่างน้อยทุก 12 ชม. เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโรคอย่างต่อเนื่องและได้ผลชัดเจน จนกว่าบิลิรูบินจะลดลงเป็นปกติ
สังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับการส่องไฟรักษา ได้แก่ ภาวะขาดน้ำ ถ่ายเหลว ดูดนมไม่ดี มีผื่นที่ผิวหนัง หรือภาวะแทรกซ้อนที่ตา
การเปลี่ยนถ่ายเลือด (exchange transfusion)
การพยาบาล
ดูแลให้ร่างกายทารกอบอุ่น
ในขณะเปลี่ยนถ่ายเลือดต้องบันทึกปริมาณเลือดเข้า ออก ตรวจวัดสัญญาณชีพ
เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อม
สังเกตภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจวาย แคลเซียมในเลือดต่ำน้ำตาลในเลือดต่ำ ตัวเย็น ติดเชื้อ
อธิบายให้บิดามารดาทราบ
ภายหลังการเปลี่ยนถ่ายเลือดตรวจวัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที ทุก 30 นาที จนกระทั่งคงที่
ปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำ
หมายถึง
น้ำตาลในพลาสมาต่ำกว่า 40 mg% ( พฤหัส พงษ์มี, 2562 )อาการแสดง : ซึม ไม่ดูดนม มีสะดุ้งผวา อาการสั่น ซีดหรือเขียว หยุดหายใจ ตัวอ่อนปวกเปียกอุณหภูมิกายต่้า ชักกระตุก
สาเหตุ
glycogen ที่ตับสะสมไว้น้อยจึงสร้างกลูโคสได้จำกัด รวมทั้งการสร้างกลูโคส (glucogenesis) เองที่ตับก็ท้าได้น้อย
มีภาวะเครียดทั้งขณะอยู่ในครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอด เช่น การขาดออกซิเจนอุณหภูมิกายต่ำทำให้มีการใช้น้ำตาลมาก
ไม่ได้รับกลูโคสจากมารดาอีกต่อไป
อาการ
ซึม ไม่ดูดนม มีสะดุ้งผวา อาการสั่น ซีดหรือเขียว หยุดหายใจ ตัวอ่อนปวกเปียกอุณหภูมิกายต่ำ ชักกระตุก
การรักษา
ทารกครบกำหนดที่มีอาการ่วมกับระดับน้ำตาลน้อยกว่า 40 มก./ดล.ให้สารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด
ทารกไม่มีอาการ
แรกเกิด-อายุ 4 ชั่วโมง ให้นมภายใน 1 ชั่วโมงแรก ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด 30 นาทีหลังให้นม
มื้อแรกถ้าระดับน้ำตาลน้อยกว่า 25 มก/ดล. ให้นมและติดตามระดับน้ำตาลในเลือด 1 ชั่วโมง
ถ้าน้อยกว่า 25 มก/ดล. ให้สารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด
25-40 มก/ดล. ให้นมหรือสารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด
อายุ 4-24 ชั่วโมง ให้นมทุก 2-3 ชั่วโมง ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดก่อนมื้อนม ถ้าระดับน้ำตาลน้อย
กว่า 35 มก/ดล. ให้นมและติดตามระดับน้ำตาลในเลือด 1 ชั่วโมง
ถ้าน้อยกว่า 35 มก/ดล. ให้สารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด
35-45 มก/ดล. ให้นมหรือสารละลายกลูโคสทางหลอดเลือด
การดูแล
กรณีที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ ตรวจติดตามทุก 30 นาที ในรายไม่แสดงอาการ ให้กินนม หรือสารละลายกลูโคส ถ้ากินไม่ได้ให้สารละลายกลูโคสทางหลอดเลือดดำ
ควบคุมอุณหภูมิห้องและดูแลความอบอุ่นแก่ทารก
กรณีทารกเสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะต้องตรวจหาระดับน้ำตาล ภายใน 1-2 ชม.หลังคลอด และติดตามทุก 1-2 ชม.ใน6-8 ชม.แรกหรือจนระดับน้ำตาลจะปกติ รีบให้5,10 %D/W ทางปาก หรือ NG tube ใน 1-2 มื้อแรก แล้วให้นม
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
MAS
ภาวะตื่นตัวของทารกเมื่อ แรกเกิดเรียกว่า vigorous ได้จากการประเมินทารกโดย ทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลทารกแรกเกิดเมื่อ 10 ถึง 15 วินาทีหลังเกิด โดยทารกต้องมีอาการดังต่อไปนี คือ
มีกำลังกล้ามเนื้อดี
อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
มีแรงหายใจด้วยตนเองได้ดี
หาก ทารกแรกเกิดมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งในข้อที่ กล่าวมาทารกจะได้รับการประเมินว่าไม่ตื่นตัวเรียกว่า non vigorous ทารกที่ไม่ตื่นตัวเมื่อแรกเกิดเสี่ยงต่อการสูดสำลักขี เทา และมัก
ต้องการการกู้ชีพโดยเฉพาะการ ช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก(positive pressure ventilation; PPV)เพื่อให้มีการหายใจที่เพียงพอต่อการน้ำออกซิเจน และเลือดไปยังอวัยวะที่สำคัญคือหัวใจ สมอง และต่อม หมวกไต
โดยปกติกลไกของร่างกายทารกในครรภ์จะ ป้องกันไม่ให้เกิดการถ่ายขี เทาออกมาปนในน้ำคร่ำขณะ ที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา การถ่ายขี้เทาออกมาปนใน น้ำคร่ำขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์เกิดได้2ลักษณะคือ
ลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยาปกติที่เกิดจาก การเคลื่อนตัวของลำไส้ที่พัฒนาสมบูรณ์แล้วของทารก ในครรภ์เช่น ทารกในครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกินกำหนด ทำให้เกิดการถ่ายขี้เทาออกมาปนในน้ำคร่ำ
ลักษณะความผิดปกติทางพยาธิสภาพของ รกและทารกในครรภ์ที่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิด จากความผิดปกตินั้นเช่นภาวะรกท างานผิดปกติ(placental insufficiency) ภาวะน้ำคร่ำน้อย
ความรุนแรงแบ่งได้เป็น3 ระดับ
อาการรุนแรงปานกลาง อาการหายใจเร็วมีความรุนแรงมากขึ้น มีการดึงรั้งของช่องซี่โครง และมีความรุนแรงสูงสุดเมื่ออายุ 24ชั่วโมง
อาการรุนแรงมาก ทารกจะมีระบบหายใจล้มเหลวทันที หรือภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังเกิด
อาการรุนแรงน้อย ทารกมีอาการหายใจเร็วระยะสั้นๆ เพียง24-72ชั่วโมง ทำให้แรงดันลดลง และมีค่าความเป็นกรด-ด่างปกติ อาการมักหายไปใน 24-72ชั่วโมง
การพยาบาล
วัดความดันโลหิตทุก2- 4 ชั่วโมง เฝ้าระวังการเกิดความดันต่ำจาก PPHN
รบกวนทารกให้น้อยที่สุด
ดูแลให้ได้รับออกซิเจน ติดตามอาการแสดงของการขาดออกซิเจน ได้แก่ หายใจเร็ว อกบุ๋ม ปีกจมูกบาน ใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจมากขึ้น เขียว
สังเกตอาการติดเชื้อ
ดูแลตามอาการ
ดูแลตามอาการและ
การควบคุมและการป้องกันการติดเชื้อ
การควบคุมอุณหภูมิอย่างเหมาะสม
การช่วยการดูแลทางเดินหายใจและการรักษาระบบทางเดินหายใจอย่างเหมาะสม
ดูแลภาวะน้ำหนักตัวแรกเกิดลด
ประเมินการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ประเมินการแหวะนมและการอาเจียน
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะตัวเหลือง
การดูแลทางโภชนาการ
การติดตามภาวะความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นทั้งระยะสั้นและระยะยาว
คำศัพท์ต่างๆ
MAS = meconium aspiration syndrome การสูดสำลักขี้เทาในทารกแรกเกิด
MSAF = ภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำ meconium stained amniotic fluid
TTNB = Transient tachypnea of the Newborn
PPHN =persistent pulmomary hypertension of the newborn ภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด
BPD =Broncho pulmonary dysplasia
VAP =Ventilator-associated Pneumonia โรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ หมายถึง การติดเชื้อในเนื้อปอดซึ่งเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง
ROP = Retinopathy of prematurity
DIC=Disseminated Intravascular Coagulation ภาวะที่กลไกการแข็งตัวของเลือดทำงานผิดปกติและเกิดการแพร่กระจาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดที่ทำให้เส้นเลือดอุดตันทั้งแบบกึ่งเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
NEC =Necrotizing enterocolitis
NTE = Neutral Thermal Environment
RDS = Respiratory distress syndrome
CPAP = Continuous Positive Airway Pressure
นางสาวปิยธิดา จุ่นเจิม รุ่น36/1 เลขที่69 รหัสนักศึกษา612001070